ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 9 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 161 - 180 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
161 | รายงานงบการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2546 ของการยางแห่งประเทศไทย | กษ. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานงบการเงิน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ของการยางแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย งบแสดงฐานะทางการเงิน และงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบแล้วเห็นว่างบการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินและมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทั้งนี้ ในการรายงานครั้งต่อ ๆ ไป
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (การยางแห่งประเทศไทย)
เร่งรัดการเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนพัฒนายางพารา
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองแล้วต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็วภายในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดด้วย
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
162 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 25/2565 | นร.11 สศช | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
และเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ในคราวประชุมครั้งที่ ๒๕/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑) อนุมัติให้กรมควบคุมโรค
กระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-๑๙) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน ๓๐,๐๐๒,๓๑๐ โดส (Pfizer) โดยปรับกลุ่มเป้าหมายในกลุ่มที่ ๕
เพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการฉีด Pfizer (Maroon cap) สำหรับเด็กอายุ
๖ เดือน ถึงอายุน้อยกว่า ๕ ปี และขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการจากเดิมเดือนกันยายน
๒๕๖๕ เป็น เดือนธันวาคม ๒๕๖๕ และ (๒) มอบหมายให้กรมควบคุมโรค เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ
eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
และรับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ไปพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กระทรวงต้นสังกัดติดตามหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
และกำกับดูแลหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนดไว้
เร่งรัดปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ข้อ ๒๒ และ ๒๓
สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรก
เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรเร่งการดำเนินโครงการฯ
ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่ขอขยายอย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด พร้อมทั้งให้กรมควบคุมโรครับความเห็นเพิ่มเติมของคณะกรรมการฯ
ไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
163 | ร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 และร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 | พม. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕
และร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ.
๒๕๖๕ และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พิจารณารับรองร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ หรือร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ในการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ.
๒๕๖๕ (ค.ศ. ๒๐๒๒) ในวันพุธที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๕ โดยร่างแถลงการณ์ฯ ทั้ง ๒ ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ
และการเสริมพลังสตรีผ่านระบบทางเศรษฐกิจ ภายใต้หัวข้อ
“การเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรีผ่านระบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน
และเศรษฐกิจสีเขียว” ผ่านการร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ปุตราจายา
ค.ศ. ๒๐๔๐ ของเอปค แผนปฏิบัติการอาทีโอรา และแผน ลา เซเรนา
เพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
ที่เห็นว่าร่างถ้อยแถลงการณ์ประชุมฯ และร่างถ้อยแถลงประธานฯ
ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
ดังนั้น ร่างถ้อยแถลงฯ ทั้งสองฉบับจึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา
๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕
และร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ.
๒๕๖๕ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
164 | มาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา | ป.ย.ป. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบมาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
ในประเด็นที่เกี่ยวกับการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของเยาวชนไทยด้วยมาตรการสนับสนุนอินเทอร์เน็ตและมาตรการสนับสนุนคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา
เพื่อการศึกษาซึ่งจะได้ดำเนินการในกลุ่มนักเรียนที่มีฐานะยากจนและยากจนพิเศษตามเกณฑ์ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ในระดับชั้น ป.๑-ม.๖ และเทียบเท่า ตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ยุทธศาสตร์ และการสร้างความสามัคคีปรองดองเสนอ ๒.
ให้สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง กระทรวงการคลัง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมาตรการตามข้อ ๑
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยให้รับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย โดยให้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาความซ้ำซ้อนในการดำเนินการ
เกิดการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและสามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาได้อย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ๓.
ให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งรัดการส่งเสริม พัฒนา
และฝึกอบรมครูผู้สอนให้มีความรู้ความสามารถในการนำอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มศักยภาพ
รวมทั้งการพัฒนาทักษะให้ครูผู้สอนสามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
165 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายอารัญ บุญชัย) | กก. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายอารัญ บุญชัย ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕
เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
166 | แจ้งผลคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ.1455-1472/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อ.418-435/2565 ระหว่างนายนิพนธ์ เซ๊ะวิเศษ กับพวกรวม 19 คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวกรวม 7 คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย | อส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
ในคดีหมายเลขดำที่ อ.๑๔๕๕-๑๔๗๒/๒๕๕๘ คดีหมายเลขแดงที่
อ.๔๑๘-๔๓๕/๒๕๖๕ ระหว่างนายนิพนธ์
เซ๊ะวิเศษ กับพวกรวม ๑๙ คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ ๑ กับพวกรวม
๖ คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
และความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย
ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
การที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย
พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นให้ยกฟ้องคดี ทำให้คดีนี้ถึงที่สุดแล้ว ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
167 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสระแก้ว และตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว พ.ศ. .... | คค. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลสระแก้ว และตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสระแก้ว และตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว
จังหวัดสระแก้ว เพื่อสร้างและขยายทางหลวงชนบท ถนนสาย ก
ตามโครงการผังเมืองรวมสระแก้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าก่อนการก่อสร้างทางหลวงชนบททุกเส้นทาง
ควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการก่อสร้างทางหลวงชนบทกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการระบายน้ำไม่ทันและอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมหรืออุทกภัยต่อไปในอนาคต
หากโครงการก่อสร้างและขยายทางหลวงชนบทถนนสาย ก ตามโครงการผังเมืองรวมเมืองสระแก้ว
เป็นถนนผังเมืองรวมตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองรวม จะไม่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ
หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๒
ควรตระหนักและให้ความสำคัญต่อระยะเวลาในการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาในครั้งต่อไปด้วย
รวมทั้งควรเร่งรัดการดำเนินการสำรวจพื้นที่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งทางบกอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
168 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 เพิ่มเติม | นร.14 | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายใต้กรอบวงเงิน
๙๑๑.๗๑๒๐ ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี ๒๕๖๕ และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง
ปี ๒๕๖๕/๒๕๖๖ เพิ่มเติม จำนวน ๕๗๖ รายการ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และหน่วยรับงบประมาณรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
ที่ควรให้หน่วยรับงบประมาณเร่งรัดการดำเนินโครงการโดยให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และหลักธรรมาภิบาลให้ถูกต้องและครบถ้วนในทุกขั้นตอน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
169 | ขอความเห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยอนุญาตให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเช่าพื้นที่บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงห้วยขวางของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เพื่อก่อสร้างอาคารและสนามฝึกซ้อมกีฬาสำหรับเด็กและเยาวชน | คค. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
170 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2537 เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล | ทส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๕ มกราคม ๒๕๓๗ เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ
จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์
กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี
และไม้ตาล จากเดิม “เห็นควรให้ความเห็นชอบในหลักการอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย)
เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส
สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม
มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
โดยให้ทดลองดำเนินการในบางพื้นที่ก่อน
เช่นเดียวกับการแปรรูปไม้ยางพาราตามหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒
พฤษภาคม ๒๕๒๔ ทั้งนี้ ในการอนุญาตให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุญาตและมาตรการตรวจสอบควบคุมเช่นเดียวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ มกราคม ๒๕๓๒” เป็น “อนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้
(โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์
กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี
ไม้ตาล และไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน
โดยมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และมาตรการตรวจสอบควบคุมตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้กำหนด”
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการเพิ่มไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกขึ้นอยู่ในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ต้องมีกฎหมาย ระเบียบ มาตรการ หรือเงื่อนไขกำชับไว้ชัดเจน
ในการนำวัตถุดิบป้อนโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับของโรงงาน
ให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรี ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และควรมีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ได้จากอุตสาหกรรมไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ
ให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้มีที่มาจากการตัดไม้ทำลายป่า
ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
และเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้อย่างคุ้มค่า
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม
คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการตรวจสอบที่มาของไม้ที่จะนำมาแปรรูปให้ชัดเจนและรัดกุม
เพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบตัดไม้จากป่าธรรมชาติ หรือการนำไม้ที่ได้จากที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิมาแปรรูปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
171 | การให้การยอมรับในข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด (Ban Amendment) | ทส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการให้การยอมรับในข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด
(Ban Amendment)
และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำตราสารการยอมรับ (Instrument of
Acceptance) และส่งมอบให้เลขาธิการสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก
ประเทศสหรัฐอเมริกาต่อไป โดยการแก้ไขอนุสัญญาบาเซลฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑)
ห้ามประเทศตามภาคผนวก VII ได้แก่ ประเทศสมาชิกในกลุ่ม OECD,
EC และลิกเตนสไตน์ ส่งของเสียอันตราย (เช่น
ของเสียจากการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ ของเสียจากการผลิต การผสม หรือการใช้สารเคมี
หมึก เรซิน และของเสียจากการกำจัดของเสียอุตสาหกรรม)
ไปยังประเทศอื่นที่ไม่อยู่ในภาคผนวก VII และเพิ่มเติมภาคผนวก
๒,๘ และ ๙ เกี่ยวกับขยะพลาสติก เช่น โพลีเอทิลีน (PE)
โพลีโพรพีลีน (PP) โพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) ให้เป็นของเสียอันตรายในอนุสัญญาบาเซลฯ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตราย
และการกำจัด (Ban Amendment)
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นว่าข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลฯ
เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่หากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยืนยันว่าสามารถดำเนินการได้ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่เพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญาและไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา
๑๗๘ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก็ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
ขยะที่นำเข้ามาต้องสะอาดและไม่มีของเสียอันตรายปนเปื้อน
ควรพิจารณาด้วยความรอบคอบเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งขยะหรือของเสียอันตรายกับขยะพลาสติก
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
(องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) กระทรวงอุตสาหกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการดำเนินการบริหารจัดการขยะพลาสติกในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เพื่อให้สามารถนำขยะพลาสติกในประเทศไปใช้เป็นวัตถุดิบรีไซเคิลทดแทนการนำเข้าขยะพลาสติกจากต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น
รวมทั้งช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการได้ด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
172 | แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (1. ศาสตราจารย์ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ ฯลฯ รวม 7 คน) | กค. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รวม ๗ คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๖ กันยายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ
ดังนี้ ๑. ศาสตราจารย์ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ ประธานกรรมการ ๒. นายสุริยะ วงศ์คงคาเทพ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ) ๓. รองศาสตราจารย์ชยันต์ ตันติวัสดาการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการเงิน) ๔. รองศาสตราจารย์ชโยดม สรรพศรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการเงิน) ๕. รองศาสตราจารย์พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการประเมินผล) ๖. รองศาสตราจารย์จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการประเมินผล)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
173 | แจ้งผลคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ. 762 - 786/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 1295 - 1297/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 461 - 482/2565 ระหว่างนางสาวงามชื่น คูอมรพัฒนะ กับพวกรวม 30 คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ถูกฟ้องคดี (คณะรัฐมนตรีผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 6) เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และความรับผิดอย่างอื่น ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจ ตามกฎหมาย | อส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ. ๗๖๒-๗๘๖/๒๕๕๘ คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๑๒๙๕-๑๒๙๗/๒๕๖๔ และคดีหมายเลขแดงที่ อ. ๔๖๑-๔๘๒/๒๕๖๕ ระหว่างนางสาวงามชื่น คูอมรพัฒนะ กับพวกรวม
๓๐ คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน
ผู้ถูกฟ้องคดี (คณะรัฐมนตรีผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๖) เรื่อง
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
และความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย
ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย
พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นให้ยกฟ้องคดี
ทำให้คดีนี้ถึงที่สุดแล้ว ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
174 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 15/2565 | นร.11 สศช | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
เห็นชอบ และรับทราบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑) อนุมัติให้จังหวัดสกลนคร
จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดชัยนาท
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
ภายใต้เงื่อนไขว่าในกรณีที่จังหวัดไม่สามารถลงนามและผูกพันสัญญาในโครงการที่ได้รับอนุมัติภายในเดือนกันยายน
๒๕๖๕ ให้จังหวัดเสนอขอยกเลิกโครงการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป (๒)
อนุมัติให้จังหวัดสกลนคร จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเชียงใหม่
ยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน ๑๔ โครงการ และ ๕ กิจกรรมย่อย กรอบวงเงิน ๔๘,๗๖๘,๕๗๔.๗๕ บาท (๓)
อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเราเที่ยวด้วยกัน (เฟส ๓)
โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการฯ จากเดิมเดือนสิงหาคม ๒๕๖๕
เป็นเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ (๔) มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ
eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
และเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จให้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนข้อ
๑๙ และข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ (๕) มอบหมายให้กระทรวงการคลัง
(สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ)
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ พิจารณาจัดเตรียมแหล่งเงินและกรอบวงเงินเพื่อรองรับกรณีการตรวจสอบเหตุทุจริต
(Fraud List) ในโครงการเราเที่ยวด้วยกัน และโครงการอื่น ๆ
ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบการทุจริต อาทิ โครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการเราชนะ
โครงการคนละครึ่ง เสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีตามมาตรา ๘ (๓)
แห่งพระราชกำหนดฯ และ (๖) รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ ราย ๓ เดือน ครั้งที่ ๙ (๑ พฤษภาคม-๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕) พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
ข้อ ๑๙ และ ๒๐ สำหรับโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรก เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรกำกับติดตามหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนด
ให้เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลให้ทันต่อสถานการณ์
เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
175 | การลงนามความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลด้านยาแผนโบราณ (ASEAN Agreement on Regulatory Framework for Traditional Medicines ; TM Agreement) และความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ASEAN Agreement on Regulatory Framework for Health Supplements ; HS Agreement) | สธ. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการลงนามความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลด้านยาแผนโบราณ
(ASEAN Agreement on Regulatory Framework for
Traditional Medicines; TM Agreement) และความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
(ASEAN Agreement on Regulatory Framework for Health Supplements; HS
Agreement) ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ ๕๔
ระหว่างวันที่ ๕-๑๑ กันยายน ๒๕๖๕ ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยร่างความตกลงทั้ง
๒ ฉบับ
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางเกี่ยวกับข้อกำหนดคุณภาพของยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
โดยประเทศสมาชิกอาเซียนต้องรับประกันว่า ยาแผนโบราณหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแล้วแต่กรณีที่เป็นไปตามความตกลงและภาคผนวกที่เกี่ยวข้องสามารถวางจำหน่ายในตลาดของประเทศสมาชิกอาเซียนได้
และการใช้บังคับร่างความตกลงทั้ง ๒ ฉบับ
ต้องได้รับการประกาศหรือได้รับการให้สัตยาบันหรือการยอมรับโดยประเทศสมาชิกทุกประเทศตามที่สอดคล้องกันกับข้อกำหนดภายในประเทศซึ่งจำเป็นสำหรับการบังคับ
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ ที่เห็นว่าร่างความตกลงทั้ง
๒ ฉบับ เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งน่าจะมีผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม
หรือการค้าหรือการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวางที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
รวมทั้งเป็นหนังสือสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรีตามมาตรา ๑๗๘ วรรคสาม
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงทั้ง ๒ ฉบับ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ๒.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามในความตกลงทั้ง
๒ ฉบับ และเมื่อลงนามแล้ว ให้กระทรวงสาธารณสุขส่งความตกลงทั้ง ๒ ฉบับ
ให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
แล้วเสนอรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก่อนแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันต่อไป ทั้งนี้
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ (เรื่อง
แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการเสนอหนังสือสัญญาตามบทบัญญัติมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย) ๓.
ให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในความตกลงทั้ง
๒ ฉบับ ๔.
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการจัดทำสัตยาบันสารสำหรับความตกลงทั้ง ๒ ฉบับ
ให้แก่เลขาธิการอาเซียน เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบความตกลงทั้ง ๒ ฉบับแล้ว
และกระทรวงสาธารณสุขได้มีหนังสือแจ้งยืนยันมายังกระทรวงการต่างประเทศว่า
ฝ่ายไทยได้ดำเนินกระบวนการต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการมีผลบังคับใช้ของความตกลงเสร็จสิ้นแล้ว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
176 | การร่วมลงนาม รับรอง และให้ความเห็นชอบเอกสาร รวมถึงท่าทีในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister: AEM) ครั้งที่ 54 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
177 | รัฐบาลราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย (นายอับดุรเราะห์มาน อับดุลอะซีซ อัลซุฮัยบานี) | กต. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายอับดุรเราะห์มาน อับดุลอะซีซ อัลซุฮัยบานี (Mr.
Abdulrahman Abdulaziz Alsuhaibani) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายอัลดุลเลาะมาน อัลอุมรอน (Mr.
Abdulrahman Al-Omran) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
178 | แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช (1. นายคงรัฐ ก้อนทอง ฯลฯ จำนวน 12 คน) | กษ. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช จำนวน ๑๒ คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๖ กันยายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ดังนี้ ๑. นายคงรัฐ ก้อนทอง ผู้แทนเกษตรกร
ภูมิภาคเหนือ ๒. นายณรงค์ศักดิ์ กิจบำรุง ผู้แทนเกษตรกร ภูมิภาคกลาง ๓. นายบุญถม วงศรีเทพ ผู้แทนเกษตรกร ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๔. นายไพริน นพภัณฑ์ ผู้แทนเกษตรกร
ภูมิภาคตะวันออก ๕ นายณรงค์ มาลัยทอง ผู้แทนเกษตรกร
ภูมิภาคตะวันตก ๖ นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ผู้แทนเกษตรกร
ภูมิภาคใต้ ๗. นางสาวจรีรัตน์
ฉันทวุฒิพร ผู้แทนนักวิชาการ ด้านปรับปรุงพันธุ์พืช ๘. นางสาววิมล พรหมทา ผู้แทนนักวิชาการ
ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ๙. นางกนกพร ดิษฐกระจันทร์ ผู้แทนองค์การพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตร ๑๐ นายกฤษฎา บุญชัย ผู้แทนองค์การพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ๑๑. รองศาสตราจารย์สุรวิช
วรรณไกรโรจน์ ผู้แทนสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์พืชและขยายพันธุ์พืช ๑๒. นางฐะปานี อาตมางกูร ผู้แทนสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์พืช
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
179 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการสร้างรายได้ด้วยการรับงานไปทำที่บ้านเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา | สว. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง แนวทางการสร้างรายได้ด้วยการรับงานไปทำที่บ้านเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณารายงานผลการศึกษาดังกล่าว
สรุปได้ว่า กระทรวงแรงงานได้มีกลขับเคลื่อนขับเคลื่อนแรงงานนอกระบบไปสู่การปฏิบัติผ่านศูนย์ประสานและสนับสนุนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ
๗๖ จังหวัด ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบจังหวัดภาคประชาชน ๗๖ แห่ง หน่วยบริการชุมชนจังหวัดภาคประชาชน
๒๖๑ แห่ง
และมีการผลักดันร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ
พ.ศ. ....
ให้มีผลใช้บังคับในการรขับเคลื่อนภารกิจของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน
รวมถึงได้กำหนดค่าตอบแทนในการรับงานไปทำที่บ้านอย่างเป็นธรรมตามพระราชบัญญัติผู้รับงานไปทำที่บ้าน
พ.ศ. ๒๕๕๓ และได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... โดยปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับสภาพการจ้างงานที่รับงานไปทำที่บ้าน
และสอดคล้องกับหลักการมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
ตลอดจนได้มีการดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการมีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงาน
โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้กับพนักงานไปยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
และสิทธิอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
180 | ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการจัดหาเครื่องจักรกลสูบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง | กษ. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๖๖๓,๘๗๙,๓๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการจัดหาเครื่องจักรกลสูบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง
รวม ๓ รายการ จำนวน ๒๐๓ เครื่อง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ที่เห็นว่าควรวางแผนการบริหารจัดการและบำรุงรักษาเครื่องจักรกลสูบน้ำให้เพียงพอ ตลอดจนบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
รวมทั้งขอให้กรมชลประทานจัดทำแผนบริหารจัดการเครื่องสูบน้ำ สถานที่ติดตั้ง
และบูรณาการร่วมกับเครื่องจักรเครื่องมือที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไปดำเนินการต่อไปด้วย
|