ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 8 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 141 - 160 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
141 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูประบบด้านทันตสาธารณสุขไทยตามแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุข ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา | สว. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
การพิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ
และเร่งรัดการปฏิรูประบบด้านทันตสาธารณสุขไทยตามแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุข
ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณารายงานผลการศึกษาดังกล่าว
สรุปได้ว่า การจัดตั้งกรมทันตสุขภาพเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์ด้านทันตสาธารณสุขของประเทศอาจกระทบกับงบประมาณและรายจ่ายบุคลากรภาครัฐในระยะยาว
ประกอบกับการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ต้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒
มกราคม๒๕๖๒ ในการณีที่มีความจำเป็นต้องจัดตั้งหน่วยงานใหม่ ควรระบุข้อเสนอให้ยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานที่มีอยู่เดิม
เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนทั้งในด้านภารกิจและงบประมาณ ทั้งนี้
กระทรวงสาธารณสุขจะรับไปพิจารณาเพื่อให้มีกลไกในการขับเคลื่อน จัดแผน
หรือแนวทางการพัฒนาระบบทันตสาธารณสุขที่มีความชัดเจนและมีส่วนร่วมตลอดจนการดำเนินการตามรายงานผลการพิจารณาศึกษานี้
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
142 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี | พม. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นเงินทั้งสิ้น
๒๗๙,๓๘๑,๐๐๐ บาท
เพื่อเป็นเงินอุดหนุนสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี
ที่ค้างจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวนทั้งสิ้น ๙๓,๑๒๗ ราย
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
143 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ. .... | ทส. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้นกชนหิน (Rhinoplax
vigil) เป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติม ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นขององค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย
ที่เห็นว่าการอนุรักษ์นกชนหิน (Rhinoplax vigil) ให้คำนึงถึงการวางแผนด้านพื้นที่ป่าและธรรมชาติ
ให้มีความเหมาะสมต่อจำนวนนกชนหิน (Rhinoplax vigil) ในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
144 | โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม : เมืองเก่าสงขลา (Culture Smart City : Songkhla Old Town) | วธ. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม
: เมืองเก่าสงขลา (Culture Smart City : Songkhla Old Town) ในนามรัฐบาล โดยวงเงินงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบฯ
ปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ เป็นจำนวน ๖๐ ล้านบาท ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และในปีต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงวัฒนธรรม
(กรมส่งเสริมวัฒนธรรม) ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงวัฒนธรรม (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม)
รับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการควรบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่น
ในการขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมวัฒนธรรมในพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ประกอบกับโครงการเป็นการใช้งบประมาณผูกพันระยะยาว ๕ ปี
เห็นควรให้มีการติดตามประเมินผลและทบทวนถึงปัญหาอุปสรรคอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ
และให้มีการจัดทำบทเรียนกลไกความสำเร็จในการพัฒนาให้เกิดเป็นเมืองต้นแบบ
เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนของประเทศในภาพรวมด้านการพัฒนาพื้นที่เชิงวัฒนธรรมที่เชื่อมกับการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
บนฐานการเชื่อมต่อการทำงานกับกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อีกทั้ง
ในส่วนของการผลักดันประเด็นเรื่อง soft power ของกระทรวงวัฒนธรรมควรมีการจัดทำแผนในลักษณะบูรณาการทุกมิติร่วมกันเป็นภาพใหญ่ของประเทศ
โดยกำหนดบทบาทของแต่ละหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน
บนพื้นฐานของการสร้างความเข้าใจร่วมกันถึงความหมายและขอบเขตของการใช้ soft
power ในมิติการพัฒนาประเทศ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
145 | ผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2565 (Ministers Responsible for Trade Meeting 2022) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค
ประจำปี ๒๕๖๕ (Ministers
Responsible for Trade Meeting 2022) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่
๑๙-๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน
และมอบหมายหน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นและดำเนินการในประเด็นสำคัญ เช่น (๑)
การหารือภาครัฐ-ภาคเอกชนระหว่างรัฐมนตรีการค้าเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC
Business Advisory Council : ABAC) เกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก
(Free Trade Area of the Asia-Pacific : FTAAP) จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ซึ่งที่ประชุมเห็นพ้องในประเด็นต่าง ๆ เช่น การใช้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
(Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) และความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก
(Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership : CPTPP)
เป็นแนวทางในการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Free
Trade Area of the Asia-Pacific : FTAAP) และ (๒)
วาระการอยู่ร่วมกับโควิด-๑๙ และอนาคต
โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นสำคัญที่จะเป็นแนวนโยบาย/มาตรการเพื่อส่งเสริมให้เขตเศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวจากโควิด-๑๙
เป็นต้น ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่เห็นควรพิจารณาปรับแก้ถ้อยคำภาษาไทยของแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปคในบางถ้อยคำ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
๒. ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับประเด็นการขจัดการอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่มีประสิทธิภาพในปี
๒๕๖๕ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสมต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
146 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายวรณัฐ คงเมือง) | นร.08 | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายวรณัฐ คงเมือง ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ
ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
147 | รายงานประจำปีและรายงานงบการเงินขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ประจำปี 2564 --------------------------------------------- | พน. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปีและรายงานงบการเงินขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
(องค์กรร่วมฯ) ประจำปี ๒๕๖๔ ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีแล้ว
โดยงบการเงินขององค์กรร่วมฯ แสดงข้อมูลถูกต้อง สอดคล้องกับสถานการณ์ดำเนินงาน
รายรับและรายจ่าย และงบกระแสเงินสดขององค์กรร่วมฯ ณ สิ้นปี ๒๕๖๔
และได้รับความเห็นจากคณะกรรมการองค์กรร่วมฯ ในการประชุม ครั้งที่ ๑๓๘
และการประชุมสมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ ๓๐ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ แล้ว
โดยมีรายรับสุทธิขององค์กรร่วมฯ จำนวน ๕๔๑.๗๘ ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สถานะกองทุนองค์กรร่วมฯ มียอดรวมจำนวน ๙๑๘.๘๓ ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และนำส่งรายได้ให้รัฐบาลทั้งสองประเทศ จากการขายปิโตรเลียมเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๓-ตุลาคม
๒๕๖๔ รวมจำนวน ๗๓๘.๓๙ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
148 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 และวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565) | ปสส. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร วันจันทร์ที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ และวันจันทร์ที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๕
ซึ่งพิจารณาเรื่องที่คณะรัฐมนตรีส่งมาให้วิปรัฐบาลพิจารณา ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน
พ.ศ. .... พิจารณาระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๑๕
(สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันอังคารที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๕ พิจารณาระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพุธที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๕ และพิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพฤหัสบดีที่ ๘ กันยายน
๒๕๖๕ ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
149 | ขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง | สสว. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
150 | การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ยธ. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ในอัตราไม่เกิน ๑๒,๓๐๙ อัตรา
โดยแบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง
และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ดังนี้ ๑)
ให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ระดับดีเด่นไม่เกินร้อยละ ๒.๕
ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง ๓๔๓,๙๖๘
อัตรา คิดเป็นอัตราไม่เกิน ๘,๕๙๙ อัตรา ๒) ให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ระดับดีเด่นไม่เกินร้อยละ ๑.๕
ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน ๒๔๗,๓๒๗ อัตรา คิดเป็นอัตราไม่เกิน ๓,๗๑๐ อัตรา และ ๓)
สำหรับงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของส่วนราชการต้นสังกัดเป็นลำดับแรกก่อน
หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้เบิกจ่ายจากงบกลางรายการเงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการเป็นลำดับต่อไป ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่ควรพิจารณากำหนดกรอบอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษฯ
อย่างเคร่งครัด โดยการทบทวนปรับลดการพิจารณาบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดประเภทเกื้อกูลเท่าที่จำเป็น
รวมทั้งควรมีการพิจารณาคัดเลือก และจัดสรรอัตราบำเหน็จความชอบที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
151 | การกู้เงินเพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ตามนโยบายของรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ 2566 | พน. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกู้เงินเพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft)
ตามนโยบายของรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ภายใต้กรอบวงเงินไม่เกิน ๘๕,๐๐๐ ล้านบาท ประกอบด้วย สัญญากู้ยืมเงิน (Term Loan) กู้เบิกเกินบัญชี ตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำ Trust Receipt (T/R) และการทำสัญญากู้เงินเมื่อทวงถาม
(Call
Loan) หรือรูปแบบอื่นที่กระทรวงการคลังเห็นชอบ โดยขอให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้จนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ในกรณีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับชำระหนี้
เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามสภาพคล่องของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตามสภาวะตลาดการเงินในขณะนั้น
และประโยชน์ในการบริหารจัดการภาระหนี้ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และให้กระทรวงพลังงาน (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ เช่น การกำหนดมาตรการช่วยเหลือประชาชนให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
การเร่งสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในประเด็นสถานการณ์พลังงาน
การประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก
และควรเร่งเตรียมความพร้อมสำหรับการระดมทุนในรูปแบบใหม่ ๆ
เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนสำหรับการลงทุนในโครงการ ควรบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และพิจารณาเบิกเงินกู้เท่าที่จำเป็นเพื่อไม่ให้เกิดภาระดอกเบี้ยต่อองค์กรในระยะยาว
โดยการดำเนินการกู้เงินดังกล่าวต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ภายใต้วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานอย่างถูกต้องครบถ้วน
การกู้ยืมเงินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะต้องได้รับอนุมัติไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะและกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐก่อนการเริ่มดำเนินการด้วย
ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพิจารณาก่อหนี้ตามความจำเป็นที่เกิดขึ้นจากการบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
(Ft) ตามนโยบายรัฐบาล
และประสานกับกระทรวงการคลังในการบริหารจัดการภาระหนี้ให้มีต้นทุนทางการเงินต่ำที่สุด
พร้อมทั้งร่วมกับสำนักงานกำกับกิจการพลังงานพิจารณาแนวทางการชำระคืนตามหลักการวินัยทางการเงินการคลังและมีผลกระทบต่อภาระค่าไฟฟ้าในอนาคตต่ำที่สุด
ควรคำนึงถึงหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งภาระทางการคลังที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
152 | การโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส) | นร. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติรับโอน นายธีระพงษ์
วงศ์ศิวะวิลาศ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ
(นักบริหารระดับสูง) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕
เป็นต้นไป ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
153 | สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 15 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 30 มิถุนายน 2565) | นร.04 | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๖ (ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม-๓๐ มิถุนายน
๒๕๖๕) สรุปได้ ดังนี้ (๑) ผลการดำเนินงานตามนโยบายหลัก ๙ ด้าน เช่น
การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ
การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก
การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม
และ (๒) นโยบายเร่งด่วน ๘ เรื่อง เช่น การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม
การยกระดับศักยภาพแรงงาน การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต
การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
154 | ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .... [สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 และวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 256)] | ปสส. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน
พ.ศ. .... ต่อรัฐสภาเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
155 | รายงานประจำปี 2564 ของกองทุนการออมแห่งชาติ | กค. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๔ ของกองทุนการออมแห่งชาติ
ประกอบด้วย ผลการดำเนินงาน แผนการดำเนินงาน รายงานการกำกับดูแลกิจการ และรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองแล้วเห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
156 | ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีจราจร พ.ศ. .... | ศย. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร วันจันทร์ที่
๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕
ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ.
.... ต่อรัฐสภาเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
157 | การเสนองบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปี 2566 ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย | พน. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบงบประมาณ
๕,๐๐๐,๐๐๐
ดอลลาร์สหรัฐ และแผนการดำเนินงานประจำปี ๒๕๖๖ ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และเร่งรัดการเสนองบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปีขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
ต่อคณะรัฐมนตรีตามกรอบระยะเวลาที่ข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๓๖)
ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
พ.ศ. ๒๕๓๓ กำหนด เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๓
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
158 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (1. นายทศพล เพ็งส้ม ฯลฯ จำนวน 5 ราย) | นร.04 | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
จำนวน ๕ ราย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้งเป็นต้นไป
ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ได้เห็นชอบแล้ว ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายทศพล เพ็งส้ม ๒. นายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา ๓. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ๔. นายอภิวัฒน์ ขันทอง ๕. นายชื่นชอบ คงอุดม
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
159 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (1. พลตำรวจตรี ปิยะพันธ์ ปิงเมือง ฯลฯ จำนวน 4 คน) | ปปง. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จำนวน ๔ คน
เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ ดังนี้ ๑. พลตำรวจตรี ปิยะพันธ์ ปิงเมือง ๒. นายวรวิทย์ สุขบุญ ๓. นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ๔. นายจตุพร บุรุษพัฒน์
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
160 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 3/2565 | ศอบต. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
(กพต.) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๕
ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑.
เรื่องเพื่อทราบ จำนวน ๒ เรื่อง ได้แก่ (๑) ผลการขับเคลื่อนสนามบินเบตงให้เปิดบริการเชิงพาณิชย์
และ (๒) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ไตรมาส ๑ ปี ๒๕๖๕ ๒.
เรื่องการติดตามความก้าวหน้าตามมติ กพต. จำนวน ๔ เรื่อง ได้แก่ (๑)
รายงานผลการดำเนินโครงการยกระดับการพัฒนาพื้นที่เมืองเบตง จังหวัดยะลา “Amazean Jungle
Trail” (๒) รายงานความคืบหน้าการขับเคลื่อนโครงการตำบลมั่นคง
มั่งคั่ง ยั่งยืน เพื่อขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ภายใต้ระบบ ๑ ข้าราชการ ๑ ครัวเรือนยากจน ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
(๓) รายงานความคืบหน้าโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
เป็นกรณีเร่งด่วน และการจัดทำปะการังเทียมพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดชายแดนภาคใต้
และ (๔) ผลการจัดกิจกรรมมหกรรมการอ่านแห่งชาติ “มหัศจรรย์สร้างสรรค์
และการอ่านเพื่อเด็กปฐมวัยชายแดนใต้” ภูมิภาษา วิถีพหุวัฒนธรรม
นวัตกรรมเพื่อสุขภาวะเด็กปฐมวัย ๓.
เรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน ๓ เรื่อง ได้แก่ (๑) ขออนุมัติกรอบแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
หาดใหญ่-สงขลา ระยะ ๖ ปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ (๒) ขออนุมัติกิจกรรมโคบาลชายแดนใต้
ภายใต้โครงการเมืองปศุสัตว์ ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาล จังหวัดชายแดนภาคใต้
และ (๓) ขอความเห็นชอบกรอบข้อเสนอโครงการส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
|