ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 6 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 101 - 120 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
101 | การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3 | กค. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
102 | ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 (แก้ไขเพิ่มเติมเครื่องแบบของข้าราชการกรมราชทัณฑ์) | ยธ. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ (แก้ไขเพิ่มเติมเครื่องแบบของข้าราชการกรมราชทัณฑ์)
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๘๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗)
ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘
และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะเครื่องแบบพิธีการ
และเพิ่มเครื่องแบบปฏิบัติงานสำหรับข้าราชการกรมราชทัณฑ์ เพื่อให้เครื่องแบบข้าราชการกรมราชทัณฑ์มีความเหมาะสมกับภารกิจ
และเป็นสากล ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
103 | ขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน (กรณีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับรายจ่าย) วงเงิน 15,200 ล้านบาท และวงเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 1,500 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | คค. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกู้เงินของการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (รฟท.)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ดังนี้ (๑)
เงินกู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่องในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ วงเงิน ๑๕,๒๐๐ ล้านบาท
เพื่อให้มีเงินสดหมุนเวียนในการใช้จ่ายดำเนินงาน และการชำระหนี้เงินกู้ และ (๒)
เงินกู้ระยะสั้น วงเงิน ๑,๕๐๐ ล้านบาท
โดยให้ดำเนินการคัดเลือกสถาบันการเงินด้วยวิธีการประมูลวงเงินกู้ระยะสั้น
(วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี)
เพื่อให้มีวงเงินสำรองไว้ใช้เสริมสภาพคล่องในการบริหารโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ โดย
รฟท. จะเป็นผู้รับภาระต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๙/๑๓๒๓๘ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หนังสือสำนักงบประมาณ
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๒๔/๔๒๒๓ ลงวันที่ ๒๖
กรกฎาคม ๒๕๖๕) เช่น ให้กระทรวงการคลังพิจารณา วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข
และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินและการค้ำประกันเงินกู้ได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นของการกู้เงินดังกล่าว
การกู้ระยะสั้น (วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี) ให้ รฟท.
พิจารณาคัดเลือกสถาบันการเงินด้วยวิธีประมูลวงเงินกู้ระยะสั้น
(วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี) และให้ รฟท.
เร่งรัดดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาองค์กรตามมติคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
104 | ร่างกฎกระทรวงการควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากร พ.ศ. .... | กค. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเพื่อกำหนดเพิ่มระบบติดตามการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากร
(ของที่อยูในการควบคุมของกรมศุลกากรและยังไม่ได้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ครบถ้วนก่อนตรวจปล่อยของออกไป)
ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Customs Tracking and Monitoring Systems : CTMS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ควบคุม ติดตาม และตรวจสอบการขนส่งแบบ Real
Time ที่เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ (Thai
Customs Electronics System : TCES) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้พิจารณาประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
การจัดเก็บค่าบริการการควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรมิใช่ค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติศุลกากร
พ.ศ. ๒๕๖๐ และไม่สอดคล้องกับข้อ ๕
ของหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการ
โดยได้กำหนดหลักการเรียกเก็บค่าบริการไว้ว่า ไม่พึงกำหนดค่าบริการไว้ในกฎหมาย และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นค่าบริการสำหรับวิธีระบบ
CTMS เป็นระยะเวลา ๑ ปี
ตามที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล กรมศุลกากรควรพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
รวมทั้งไม่เป็นภาระกับผู้ประกอบการและประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทราบต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
105 | ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2535 เกี่ยวกับการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชน | ทส. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘
กันยายน ๒๕๓๕ (เรื่อง การปรับปรุงภารกิจและโครงสร้างของกรมป่าไม้ และร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมป่าไม้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ....) เฉพาะในส่วนของการปลูกต้นไม้ในเขตป่าสงวนเสื่อมโทรมที่มีผู้ครอบครองอยู่แล้ว
ที่ขอแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓
เป็นการอนุมัติให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชนให้ระงับการพิจารณา
เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขครบทั้ง ๕ ประการ
รวมทั้งเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓ (เรื่อง
การอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้)
เฉพาะในส่วนของการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชน
และเห็นชอบให้ภาคเอกชนเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการปลูกสร้างสวนป่า
ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไปได้
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมีมาตรการรองรับการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โดยเฉพาะการตรวจสอบสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อป้องกันไม่ให้ภาคเอกชนรายใหญ่สามารถซื้อหรือสวมสิทธิ์ของเกษตรกรรายย่อย
การควบคุมไม่ให้มีการรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่าไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และการกำหนดเขตพื้นที่ในการเข้าทำประโยชน์ให้ชัดเจน
และคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศจากการปลูกสร้างสวนป่าใกล้บริเวณพื้นที่ที่มีระบบนิเวศเปราะบางและพื้นที่ป่าอนุรักษ์
โดยดำเนินมาตรการดังกล่าวให้รัดกุมเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจฐานรากในประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำการกระจายการถือครองที่ดินและการเข้าถึงทรัพยากร
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับไปพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมในการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมประกอบการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้
เพื่อการปลูกสวนป่าภาคเอกชน โดยส่งเสริมให้เอกชนปลูกไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
๕๘ ชนิดด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
106 | การแก้ปัญหาส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (บริเวณพื้นที่โรงงานมักกะสัน) | สกพอ. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กรมที่ดิน
และกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการแก้ไข ทบทวน
หรือปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา
๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการขอใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดิน อนุญาตให้ใช้ไม่เกิน ๕ ปี
นับแต่วันออกใบอนุญาต และการห้ามไม่ให้ขุดพื้นดินลึกจากพื้นดินทั่วไปเกินกว่า ๕
เมตร
เพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินสามารถดำเนินการขออนุญาตการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
[Environmental Impact Assessment
(EIA)] และขออนุญาตก่อสร้างได้ในระหว่างที่อยู่ในขั้นตอนการขอถอนสภาพตามมาตรา
๘ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทั้งนี้
สำหรับการขอใช้และการขอถอนสภาพลำรางสาธารณประโยชน์ที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติปัจจุบันนั้น
เมื่อได้มีการปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ
และมีผลใช้บังคับแล้วให้สามารถใช้แนวทางปฏิบัติตามระเบียบใหม่ไปดำเนินการต่อเนื่องได้
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
การรถไฟแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด
เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าของการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ
และกระทบต่อการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในภาพรวม
และควรมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและการรถไฟแห่งประเทศไทย
ประสานกับกระทรวงมหาดไทยและกรมที่ดินอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้สามารถมอบที่ดินได้ตามสัญญา
โดยการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวควรให้ความสำคัญกับการดำเนินการภายใต้แนวคิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน
เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่ภายใตแนวคิดดังกล่าวของประเทศไทย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
107 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | สธ. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบโครงการจัดหายารักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 สำหรับหน่วยบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และอนุมัติการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 จำนวนเงินทั้งสิ้น ๓๖๕,๖๘๑,๗๐๗.๔๐ บาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
108 | การจ่ายเงินสวัสดิการพิเศษให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ | กษ. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
109 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 [ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….] | สกพอ. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ [ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เรื่อง
แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….] โดย กพอ.
มีมติเห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน
๙๙.๘๗๘๘ ล้านบาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒.
อนุมัติร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง
แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
๗ แห่ง พื้นที่รวมประมาณ ๗,๙๘๖ ไร่ ซึ่ง กพอ. มีมติเห็นชอบแล้ว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ๙๙.๘๗๘๘ ล้านบาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าเช่าสำนักงาน ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสำนักงาน
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วน
รวมทั้งภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป (หากมี)
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกดำเนินการตามความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ ๔.
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.ร. โดยให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรส่งเสริมการดำเนินงานด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
ควรพิจารณาอย่างรอบคอบไม่ให้กระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนโดยรอบ
และพิจารณาถึงพื้นที่ที่สามารถรองรับการขยายการลงทุนรวมถึงการลงทุนในกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ด้วย
ควรพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีมาดำเนินการในโอกาสแรก
หากไม่เพียงให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒ อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้
หากมีภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
และกำกับดูแลและบูรณาการการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
110 | ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.12 | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน
(Joint
KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
โดยมีกรอบแนวทางและเกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
รวมทั้งกำหนดการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพิ่มเติมจากปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ ใน ๓ ประเด็น ได้แก่ (๑) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (๒)
การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และ ๓) การท่องเที่ยว
และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนตัวชี้วัดดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายต่อไป
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการร่วมกับสำนักงาน
ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.
รวมทั้งข้อสังเกตและความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข เช่น
ควรกำหนดตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ให้ครอบคลุมภารกิจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
และควรมีการทบทวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวชี้วัดเป็นระยะ
เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
ไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนก่อนแจ้งให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
111 | โครงการอาคารรักษาพยาบาลศิริราชและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล | อว. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
112 | รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2565 | กค. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สรุปได้ ดังนี้ (๑) เป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับปี
๒๕๖๕ คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๔)
อนุมัติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ ๑-๓ เป็นเป้าหมายนโยบายการเงิน (๒)
การประเมินภาวะเศรษฐกิจการเงินและแนวโน้ม โดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ ๑ ปี ๒๕๖๕
ขยายตัวร้อยละ ๒.๒ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และในไตรมาสที่ ๒ ปี ๒๕๖๕
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี ๒๕๖๕ และปี ๒๕๖๖
มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจะขยายตัวที่ร้อยละ ๓.๓ และ ๔.๒ ตามลำดับ
และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงครึ่งปีแรกของปี ๒๕๖๕ เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ ๕.๖
ซึ่งสูงกว่ากรอบเป้าหมายและคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยลดลงและกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปี
๒๕๖๖ ที่ร้อยละ ๒.๕ และเสถียรภาพทางระบบการเงินในช่วงครึ่งแรกของปี ๒๕๖๕
โดยรวมมีเสถียรภาพแต่ยังมีความเปราะบางในบางจุด โดยเฉพาะภาคครัวเรือนและบางภาคธุรกิจที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่
(๓) การดำเนินนโยบายการเงิน ในช่วงไตรมาสที่ ๑ ของปี ๒๕๖๕
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ ๐.๕ ต่อปี
เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง
และเห็นควรผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้มีการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และ (๔)
การสื่อสารนโยบายการเงิน ในช่วงครึ่งแรกของปี ๒๕๖๕ กนง.
ได้เน้นการสื่อสารเกี่ยวกับเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลาง
และประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินนโยบายการเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ
เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อนโยบายการเงิน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
113 | การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) | กก. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
114 | ร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และการสมัครเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ภายใต้กรรมสารเจนีวา ค.ศ. 1999 | พณ. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
115 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Projects of the Mekong-Lancang Cooperation Special Fund 2022) | อว. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
116 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง
นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงอุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง
นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง
และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นมีสิทธิขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
(Smart Visa) เพื่อให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมของ
Smart Visa
และอุตสาหกรรมเป้าหมายตามพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๐ พร้อมทั้งเพิ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีศักยภาพสูงในอนาคต (เดิมจาก ๑๓
อุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็น ๑๘ อุตสาหกรรมเป้าหมาย) ทั้งนี้
เพื่อให้สอดล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
117 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ ฯลฯ จำนวน 7 ราย) | กษ. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๖ ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ
สับเปลี่ยนหมุนเวียน และทดแทนตำแหน่งที่จะว่าง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม
๒๕๖๕ เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑. นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมปศุสัตว์ ๒. นายปราโมทย์ ยาใจ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ๓. นายประกอบ เผ่าพงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมม่อนไหม ๔. นายอภัย สุทธิสังข์ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๕. นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๖. นายสุรเดช สมิเปรม ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
118 | (ร่าง) นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565-2570) | สกมช. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
119 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
(กพศ.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และเห็นชอบการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปางเป็นระเบียงฯ ภาคเหนือ หรือ Northern Economic Corridor : NEC-Creative LANNA (๒) ให้พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี
และจังหวัดหนองคาย เป็นระเบียงฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ Northeastern
Economic Corridor : NeEC-Bioeconomy (๓) ให้พื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี เป็นระเบียงฯ
ภาคกลาง-ตะวันตก หรือ Central-Western Economic Corridor : CWEC และ (๔) ให้พื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นระเบียงฯ ภาคใต้ หรือ Southern Economic Corridor
: SEC ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เช่น การกำหนดพื้นที่ระเบียงฯ ๔ ภาค
และพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการพัฒนาอื่น
ๆ
ควรคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาควบคู่กับความสามารถในการรองรับและจำกัดของพื้นที่
ควรมีการพิจารณาเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์กับพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และควรมีมาตรการทางภาษีสำหรับผู้ที่ไม่อยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
120 | กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2566-2569 | ยธ. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๙
ซึ่งถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทสังคมและแนวทางการจัดทำข้อเสนอวิจัยตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกอบด้วย (๑) กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญา
เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมอย่างสงบสุข (๒)
กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง ปกครอง
เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมอย่างสงบสุข (๓)
กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากฎหมายให้กฎหมายมีความทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและภาวะวิกฤติ
(๔) กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการยุติธรรม
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรม ทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
และภาวะวิกฤติ และ (๕) กรอบการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
ให้มีระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
และภาวะวิกฤติ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติเสนอ
และให้คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานศาลปกครอง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |