ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 100 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | รายงานผลการตรากฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 | ทส. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการตรากฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๒
ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พ.ศ. ๒๕๖๒ มีผลบังคับใช้ (ครบกำหนดวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔)
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒
ให้เป็นไปตามข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
82 | หลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ | นร.10 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดทำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามมติคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
โดยให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมและสำนักงาน ก.พ.
รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาประเด็นในหลักสูตรการอบรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่ได้จัดทำอยู่แล้ว
และกำหนดแนวทางการนำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาใช้ให้ชัดเจนและเหมาะสมกับหน่วยงานแต่ละประเภทด้วย
จึงจะเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีมาตรฐานจริยธรรมในระดับเดียวกันได้
ไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางดำเนินการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
แล้วให้แจ้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล
และองค์กรอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
83 | ขออนุมัติผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน เพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าบางปะกงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | พน. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงพลังงาน (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ (เรื่อง
การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน ประเทศไทย) วันที่ ๒๓ กรกฎาคม
๒๕๓๔ (เรื่อง รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ)
วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน)
และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
ครั้งที่ ๓/๒๕๔๓ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน)
ที่ห้ามมิให้มีการอนุญาตให้เข้าพื้นที่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนทุกกรณี เพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าบางปะกงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่เห็นว่าการดำเนินการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าว
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙
มกราคม ๒๕๕๖ ให้จัดสรรงบประมาณให้กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม
ไม่น้อยกว่า ๒๐ เท่าของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ว่าด้วยการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม กรณีการดำเนินการโครงการใด
ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน พ.ศ.
๒๕๕๖ และดำเนินการตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
และพื้นที่ที่ได้รับอนุมัติให้ผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรีนั้น
ควรนำไปใช้ประโยชน์เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศและรองรับความต้องการใช้พลังงานในอนาคตได้อย่างมีเสถียรภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
84 | ผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 15 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่ 10 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 10 ในรูปแบบ face-to-face | ทส. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
85 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ (ครั้งที่ 3) | กษ. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายหัวนา
จังหวัดศรีสะเกษ (ครั้งที่ ๓) ที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินและค่าขนย้าย
(ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) ตามผลการตรวจสอบของคณะทำงานแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาระดับอำเภอ
ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบและลงนามรับรองจากคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาระดับจังหวัดศรีสะเกษแล้ว
จำนวน ๔๓๓ แปลง เนื้อที่ ๗๖๕-๓-๓๕.๑๐ ไร่ วงเงินจำนวน ๕๒,๓๔๐,๙๑๘.๗๕ บาท ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเสนอ
และให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นควรให้กรมชลประทานปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณจากโครงการที่หมดความจำเป็นแล้วหรือคาดว่าดำเนินการได้ไม่ทันในปีงบประมาณและขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
กรมชลประทานควรเร่งรัดแก้ไขปัญหาและจ่ายค่าทดแทนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมายให้ถูกต้อง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
86 | โครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน | อว. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามันของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และให้ดำเนินการให้ถูกต้อง
เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๓๕ ตลอดจนกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ รวมถึงควรเชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั่วถึง
เท่าเทียม และมีประสิทธิภาพ ควรมีการทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผ่านสื่อที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง
ให้นำความเห็นของหน่วยงานโดยเฉพาะสำนักงบประมาณไปดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการ
ขั้นตอนของระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง
และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณเป็นหลัก ควรพิจารณาการใช้เงินนอกงบประมาณที่รวมรายได้หรือเงินอื่นใดที่หน่วยงานมีอยู่
หรือสามารถนำมาใช้จ่ายสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ นอกเหนือจากงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
87 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง บทบาทตลาดตราสารหนี้ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา | สว. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
88 | ขออนุมัติผ่อนผันให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อก่อสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้า | พน. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓
กรกฎาคม ๒๕๒๗ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๔ วันที่ ๒๒ สิงหาคม
๒๕๔๓ และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหยง
ท้องที่จังหวัดพังงา และป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองมะพร้าว ท้องที่จังหวัดภูเก็ต
รวมทั้งสิ้นจำนวน ๒ ป่า เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสามารถเข้าใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบโครงข่ายไฟฟ้า
๕๐๐ กิโลโวลต์ จุดเชื่อมพังงา ๒-ภูเก็ต ๓
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๗ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน
(การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการดำเนินการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๙
มกราคม ๒๕๕๖ ให้จัดสรรงบประมาณให้กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทน
เพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมไม่น้อยกว่า ๒๐ เท่าของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ว่าด้วยการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมกรณีการดำเนินการโครงการใด
ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน พ.ศ.
๒๕๕๖ และปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
89 | โครงการเพื่อการพัฒนาปี 2564 ของการประปาส่วนภูมิภาค | มท. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาปี ๒๕๖๔ จำนวน ๑๙ โครงการ
วงเงินลงทุนรวม ๖,๐๗๗,๘๐๘,๐๐๐ บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
โดยให้การประปาส่วนภูมิภาคพิจารณาใช้จ่ายเงินลงทุนจากเงินรายได้เป็นลำดับแรก
และหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินกู้วงเงิน ๑,๐๙๖,๑๔๑,๐๐๐ บาท ให้การประปาส่วนภูมิภาคกู้เงินในประเทศ
โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ ให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินโครงการให้ถูกต้อง โปร่งใส
และตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๑๕/๕๗๕๐ ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
ควรกำกับดูแลและบริหารโครงการให้สอดคล้องกับแผนงานที่กำหนดไว้
โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนการดำเนินงานตั้งแต่ขั้นตอนก่อนเริ่มดำเนินโครงการและระหว่างดำเนินโครงการ
ควรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดการน้ำเสียรวมของชุมชนที่เหมาะสมกับสภาพของชุมชน
เพื่อนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้ประโยชน์ในกิจกรรมที่เหมาะสม
การรักษาแหล่งน้ำสาธารณะ หรือส่งเสริมการเก็บน้ำในรูปแบบต่าง
ๆ และการดำเนินการในครั้งต่อไป หากมีกรณีการใช้ที่ดินเอกชนการประปาส่วนภูมิภาคต้องดำเนินการจัดซื้อที่ดินดังกล่าวให้แล้วเสร็จก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
90 | ขอความเห็นชอบการรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | ศธ. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน
(ASEAN Education Ministers Meeting-ASED) ครั้งที่ ๑๒ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๓ ฉบับ ได้แก่ (๑) ร่างเอกสารแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน
ครั้งที่ ๑๒ (Joint Statement of the Twelveth ASEAN Education Ministers
Meeting) (๒)
ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียนกับประเทศบวกสาม ครั้งที่ ๖
(Joint Statement of the Sixth ASEAN Plus Three Education Ministers
Meeting) และ (๓) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านการศึกษา
ครั้งที่ ๖ (Joint Statement of the Sixth East Asia Summit Education
Ministers Meeting) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนให้ความเห็นชอบ
และรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมทั้ง ๓ ฉบับ โดยร่างแถลงการณ์ร่วมทั้ง ๓ ฉบับ
เป็นความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการจัดการวิกฤตด้านการเรียนรู้ด้วยแนวทางที่ครอบคลุม
เพื่อพัฒนาการศึกษาของภูมิภาคให้มีความเข้มแข็งและยืดหยุ่น
โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและนวัตกรรมระหว่างประเทศสมาชิก ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
และให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่เห็นควรพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้านการศึกษาที่ควรผลักดันเพื่อเร่งฟื้นฟูระบบการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนและนักศึกษาในภูมิภาคหลังวิกฤตการณ์โควิด
๑๙
รวมถึงออกแบบการศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกและการคาดการณ์ทิศทางการจัดการศึกษาในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมทั้ง
๓ ฉบับ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒. ให้กระทรวงศึกษาธิการได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
91 | การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับหน่วยงานเครือข่าย | นร.01 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับหน่วยงานเครือข่าย
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วย (๑)
พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ (๒)
ด้านกลไกและวิธีการจัดการเรื่องร้องทุกข์ (๓) ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงานเรื่องร้องทุกข์
ดังนี้ (๑)
ขอความร่วมมือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์
เพื่อให้ประชาชนทราบถึงระยะเวลาในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
ซึ่งจะช่วยให้ลดเวลารอคอยและลดการติดตามเรื่องกับผู้ปฏิบัติงาน
และผลักดันให้เกิดการขยายผลและเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการจัดการเรื่องร้องทุกข์ไปยังระดับภูมิภาคและท้องถิ่น
เพื่อให้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการดูแลแก้ไขอย่างครอบคลุมและเป็นธรรม ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ.ร.
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณหรือรางวัลให้แก่หน่วยงานที่สามารถจัดการเรื่องร้องทุกข์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรมีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของหน่วยงานในภาพรวมให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงในหลายช่องทางด้วย
ควรมีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนให้ทุกส่วนราชการปฏิบัติ
โดยมีกลไกในการแจ้งความคืบหน้าให้แก่ผู้ร้อง และควรขยายผลการรับเรื่องผ่านไลน์สร้างสุข
(@psc1111) และ
Traffy Fondue (@traffyfondue) ไปยังส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลทั่วประเทศ
เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องร้องทุกข์
อีกทั้งยกระดับมาตรฐานการรับเรื่องและบริหารจัดการปัญหาและข้อร้องเรียนของภาครัฐ
ไปพิจารณาดำเนินการให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนแจ้งให้ส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
92 | ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ. .... | สธ. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีเห็นว่า
เพื่อให้การขับเคลื่อนวาระแห่งชาติด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
จึงได้ลงมติให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท
๑ ประเภท ๒ หรือประเภท ๕ หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒
ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ. .... ของกระทรวงสาธารณาสุข
ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามมติคณะรัฐมนตรีเมือ่วันที่
๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
93 | ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณเพื่อเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการ | สธ. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุข
โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ตามนัยมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อเป็นค่าเช่ารถระจำตำแหน่งระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าขนาดปริมาตรกระบอกสูบไม่เกิน
๒,๐๐๐-๒,๔๐๐ ซีซี จำนวน ๑ คัน อัตราค่าเช่า ๕๓,๖๔๐ บาทต่อคันต่อเดือน ระยะเวลา ๖๐ เดือน (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕
ถึงเดือนตุลาคม ๒๕๗๐) ภายในวงเงิน ๓,๒๑๘,๔๐๐ บาท สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๕๙๐,๐๔๐ บาท ให้กระทรวงสาธารณสุข
โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
ส่วนที่เหลือ จำนวน ๒๖๒๘,๓๖๐ บาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๑ ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้สอดคล้องกับวงเงินในสัญญาตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
94 | ท่าทีไทยสำหรับการประชุมกรอบความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและสิงคโปร์ (Singapore - Thailand Enhanced Economic Relationship: STEER) ครั้งที่ 6 | พณ. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
95 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมสุดยอดผู้นำการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 6 | กต. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
96 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนเกาะสุกร จังหวัดตรัง พ.ศ. .... | มท. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนเกาะสุกร จังหวัดตรัง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลเกาะสุกร อำเภอบางปะเหลียน จังหวัดตรัง
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค การบริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม
ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับการส่งเสริมให้เกาะสุกรเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญของจังหวัดตรัง
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๑๑
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎ
หรือระเบียบและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และควรคำนึงถึงกฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ และมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขในการพิจารณาอนุญาตกิจการต้องคำนึงถึงจำนวนและที่ตั้งของสถานประกอบกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับ
และติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังมืองรวมชุมชนเกาะสุกรให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
97 | ร่างกฎกระทรวงการขอและการออกอาชญาบัตรและประทานบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อก. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขอและการออกอาชญาบัตรและประทานบัตร (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอและการออกอาชญาบัตรและประทานบัตรตามกฎกระทรวงการขอและการออกอาชญาบัตรและประทานบัตร
พ.ศ. ๒๕๖๔
ให้สอดคล้องกับขั้นตอนการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เห็นว่าหากมีการดำเนินการใด
ๆ ในเขตพื้นที่ป่าขอให้ปฏิบัติให้เป็นไปตาม ระเบียบ กฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดก่อนเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
98 | การประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน | นร.12 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการให้องค์การทั้ง ๓ ประเภท ต้องได้รับการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี
และให้ปรับระยะเวลาในการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนในระยะที่ ๒
ได้แก่ องค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติเฉพาะ จำนวน ๒๔ แห่ง
รวมทั้งองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๑๕
แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
โดยให้เริ่มประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนในระยะที่ ๒ เมื่อดำเนินการระยะที่
๑ ครบ ๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๙) ๒. เห็นชอบให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนกำหนดแนวทางการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและสำนักงาน ก.พ.ร.
รับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับภารกิจ
บทบาท หน้าที่
และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการที่กำกับดูแลหน่วยงานนั้น
ควรสนับสนุนการพิจารณาความคุ้มค่าขององค์การมหาชนจากบทบาทและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานในระบบนิเวศที่องค์การมหาชนรับผิดชอบ
ควรให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามกรอบการประเมินความคุ้มค่าขององค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน
พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงาน ก.พ.ร. ควรระบุในข้อตกลงขอบเขตงาน (Term of Reference : TOR) ให้ที่ปรึกษามีกระบวนการบริหารจัดการความรู้เพื่อให้องค์การมหาชนมีองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้ประเมินตนเองในปีถัดไป
สำหรับการจัดตั้งองค์การมหาชนแห่งใหม่ขึ้นอีกในอนาคต
ควรพิจารณาเรื่องการเตรียมความพร้อมในการประเมินความคุ้มค่า
โดยให้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำคำขอจัดตั้งองค์การมหาชน
ควรมีการกำหนดแนวทางและขั้นตอนการดำเนินการ
เพื่อให้กรอบระยะเวลาดำเนินงานชัดเจนและใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะในส่วนของการใช้งบประมาณจัดจ้างที่ปรึกษาอย่างน้อยทุกห้าปี
อาจส่งผลต่อภาระงบประมาณของภาครัฐในอนาคต ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย
แล้วแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ๓. ในส่วนขององค์การมหาชนสมทบงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดการจ้างที่ปรึกษาในการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
นั้น ให้สำนักงาน ก.พ.ร. หารือกับองค์การมหาชนที่เกี่ยวข้อง ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงพลังงาน เช่น
ให้หน่วยงานสามารถเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปพลางก่อนจนกว่าจะมีเงินทุนสะสมหรือรายได้เพียงพอกับอัตราที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนกำหนด
พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การสมทบงบประมาณ
โดยแบ่งตามสัดส่วนเงินทุนสะสมหรือรายได้แต่ละองค์การมหาชน
พิจารณากำหนดมาตรการอื่นหรือสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมให้กับองค์การมหาชน
เพื่อใช้ในการจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
ควรเสนอของบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรงมากกว่ามาใช้งบสมทบจากองค์การมหาชนหากต้องการดำเนินการให้เป็นภาคบังคับ
และเสนอแนะให้มีการวิเคราะห์เพื่อกำหนดอัตราสมทบที่แตกต่างกันขึ้นกับชุดปัจจัยจำนวนหนึ่งที่สะท้อนการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน
และควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานและแหล่งที่มาของงบประมาณสำหรับองค์การมหาชนที่ไม่มีเงินทุนและรายได้ไว้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
99 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแคเหนือ แขวงหลักสอง เขตบางแค และแขวงหนองค้างพลู แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... | มท. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแคเหนือ
แขวงหลักสอง เขตบางแค และแขวงหนองค้างพลู แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแคเหนือ แขวงหลักสอง
เขตบางแค แขวงหนองค้างพลู แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
เพื่อสร้างและขยายทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างถนนทวีวัฒนากับถนนบางบอน ๓
เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งบริเวณถนนทวีวัฒนากับถนนบางบอน
๓ และพื้นที่โดยรอบ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
และรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติ
ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
หากโครงการดังกล่าวเข้าข่ายในการจัดทำ EIA ให้กรุงเทพมหานครดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป
และให้กรุงเทพมหานครดำเนินโครงการฯ โดยให้ความสำคัญกับสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
100 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน เพื่อดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี | กร | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๔
(เรื่อง รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ) วันที่
๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง
มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๔๓ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน)
เพื่อเข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติคุ้งกระเบน และป่าอ่าวแขมหนู
ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
รอบที่ ๒ เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและปลูกไม้ยืนต้นรอบอ่าวคุ้งกระเบนในท้องที่ดังกล่าว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้
ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ให้สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหารือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณาข้อยกเว้นค่าใช้จ่ายดังกล่าวต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|