ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 61 - 80 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
61 | การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 | วธ. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการรับรองวัดคาทอลิกเป็นวัดคาทอลิกตามกฎหมาย
จำนวน ๓๔ วัด ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบด้วย (๑)
ได้รับความเห็นชอบให้ยื่นคำขอรับรองวัดคาทอลิกจากสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
(๒) มีข้อมูลที่ตั้งวัด (๓) มีข้อมูลที่ดินที่ตั้งวัดและการอนุญาตให้ใช้ที่ดิน (๔)
มีรายชื่อบาทหลวงซึ่งจะไปประกอบศาสนกิจ ประจำ ณ วัดคาทอลิก (๕) มีข้อมูลอื่นที่จำเป็นเกี่ยวกับการรับรองวัดคาทอลิก
เช่น คุณค่าและประโยชน์ของวัดคาทอลิก การอุปถัมภ์และทำนุบำรุงจากภาคส่วนต่าง ๆ
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เห็นว่ากรณีพื้นที่ที่ดำเนินการอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๕ และพื้นที่ที่ดำเนินการในเขตป่า ตามาตรา ๔(๑) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้
พุทธศักราช ๒๔๘๔
ขอให้ดำเนินการตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. ๒๕๕๘ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
62 | ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือทางดิจิทัล เพื่อกำหนดอนาคตร่วมกัน (Ministerial Declaration on Digital Cooperation for Shaping Our Common Future) | ดศ. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางดิจิทัลเพื่อกำหนดอนาคตร่วมกัน(Ministerial Declaration on Digital Cooperation for
Shaping Our Common Future) ซึ่งจะมีการรับรองในการประชุม Asia-Pacific
Digital Ministerial Conference 2022 ในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ
กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาฯ
โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงความตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลและคุณค่าของการพัฒนาอย่างครอบคลุมและยั่งยืน
ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการสร้างชุมชนดิจิทัลและการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ
รวมทั้งความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรนำผลการหารือจากการประชุม
Asia-Pacific Digital Ministerial Conference 2022 โดยเฉพาะในส่วนของสถานะ
ความท้าทาย
และเส้นทางสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและเสริมสร้างความร่วมมือดิจิทัลระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดทำแผนระดับที่
๓
ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมีความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาดิจิทัลของประเทศต่าง
ๆ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรีในการเสนอเรื่องนี้)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
63 | การพิจารณาความเหมาะสมของอัตราการเรียกเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงิน | กค. | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบอัตราการเรียกเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่อัตราร้อยละ ๐.๔๖ ต่อปี ในงวดนำส่ง ปี ๒๕๖๖ เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๐ เมษายน ๒๕๕๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
64 | ขอผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านเขาจีน-บ้านโคกพยอม ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล | มท. | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
ท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านเขาจีน-บ้านโคกพยอม ตำบลคลองขุด
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จำนวน ๓ ฉบับ ได้แก่ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓
กรกฎาคม ๒๕๓๔ (เรื่อง
รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม
๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๔๓ เรื่อง
การแก้ปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
โดยให้กระทรวงมหาดไทย (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล)
ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ (เรื่อง
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน ประเทศไทย) ด้วย ทั้งนี้
ให้กระทรวงมหาดไทย (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล)
รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรให้หน่วยงานดำเนินการตามมาตรา ๖๒ “ห้ามมิให้ผู้ใดทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ให้ผิดไปจากสภาพที่เป็นอยู่เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่”
เพื่อให้การพัฒนาโครงการถูกต้องตามบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
หากมีการดำเนินการใด ๆ ในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบทะเล
หรือบนชายหาดของทะเลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
พระพุทธศักราช ๒๕๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และขอให้ปฏิบัติตามมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ควรให้เทศบาลตำบลคลองขุดเร่งดำเนินโครงการฯ
ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
พร้อมทั้งจัดทำและเสนอรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ครบถ้วน อย่างเคร่งครัดต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
65 | มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2566 | นร.14 | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบและเห็นชอบมาตรการรองรับฤดูแล้ง
ปี ๒๕๖๕/๒๕๖๖ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง
ปี ๒๕๖๖ และมอบหมายหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว
โดยรายงานให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติทราบ พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
ตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงบประมาณ
ที่เห็นว่าหากมีค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับการจัดสรร
หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๒ และระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ
และงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ พ..ศ. ๒๕๖๒
หรือใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณในโอกาสแรกก่อน
โดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงิน ความประหยัด ความคุ้มค่า
ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒. มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งติดตามการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การกักเก็บน้ำใต้ดินในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับคู่มือการเติมน้ำใต้ดินระดับตื้นของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลและแล้วเสร็จทันฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
66 | ขออนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ระยะที่ 2 | กษ. | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง
ระยะที่ ๒ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
โดยในส่วนของกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง
ระยะที่ ๒ จำนวน ๑,๐๕๐.๕ ล้านบาท
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) ร่วมกับธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเร่งรัดกระบวนการพิจารณาสินเชื่อของโครงการฯ
ระยะที่ ๑ และโครงการฯ ระยะที่ ๒ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ผู้ประกอบการประมงที่เข้าร่วมโครงการทั้ง
๒ ระยะ
สามารถใช้ประโยชน์จากสินเชื่อตามโครงการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์ ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง เช่น
ควรพิจารณาคุณสมบัติของผู้ประกอบการประมงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
และควรมีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
67 | รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | นร.02 | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ
ตามที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติเสนอ ดังนี้ ๑. รับทราบสรุปรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีสาระสำคัญ ได้แก่ (๑)
สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญ (๒)
สร้างความตระหนักรู้ ทัศนคติเชิงบวกและการมีส่วนร่วมของประชาชนไทยและชาวต่างประเทศต่อการต่างประเทศ
(๓) บริหารจัดการข้อมูลข่าวสารพัฒนาสื่อสร้างสรรค์สร้างการรู้เท่าทันและการมีส่วนร่วม
(๔) พัฒนาคลังข้อมูลข่าวสารอัจฉริยะ (๕)
ยกระดับบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ และ (๖)
ผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติระดับจังหวัดตามแนวทางการพัฒนาทั้ง
๔ แนวทาง ๒. มอบหมายหน่วยงานภาครัฐรับข้อเสนอของประชาชนไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงยุติธรรม สำนักนายกรัฐมนตรี และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ๓. มอบหมายกระทรวงมหาดไทยเน้นย้ำผู้ว่าราชการจังหวัด
๗๖ จังหวัด
ให้ความสำคัญกับงานประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนในพื้นที่และสั่งการให้หน่วยงานในระดับจังหวัดสนับสนุนและประสานการดำเนินงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนางานประชาสัมพันธ์ในภาพรวมของประเทศให้เกิดประสิทธิภาพ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
68 | แนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | นร.07 | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณใช้เป็นแนวทางประกอบการวางแผนการดำเนินงานและกำหนดแผนปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับช่วงวาระการดำเนินงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒ ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
๒.
ให้สำนักงบประมาณได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
69 | การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | ดศ. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์
โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล
ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย
และกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
และอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย
เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านไปรษณีย์
โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลระหว่างสองกระทรวง
โดยกำหนดรูปแบบความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูล
การแลกเปลี่ยนการเยือนของเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนการจัดนิทรรศการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสัมมนา ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๘ หรือไม่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
70 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก - ม่วงเจ็ดต้น จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. .... | มท. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก-ม่วงเจ็ดต้น
จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลบ้านม่วงเจ็ดต้น และตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ
และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งมีนโยบายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชนบ้านโคก-ม่วงเจ็ดต้น
ให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง การค้าตามแนวชายแดน ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
ส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจ
รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยได้มีการกำหนดแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนดข้อบังคับลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอและพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึง กฎ ระเบียบ
ที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินกิจการโรงงานตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ
ของผังเมืองรวมดังกล่าวให้ได้มาตรฐานอย่างเคร่งครัด
เพื่อป้องกันผลกระทบต่อธรรมชาติ ระบบนิเวศ และสุขภาพของชุมชน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
71 | (ร่าง) ปฏิญญาจาการ์ตาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | อว. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) ปฏิญญาจาการ์ตาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
ร่วมรับรองร่างปฏิญญาจาการ์ตาฯ โดย (ร่าง) ปฏิญญาจาการ์ตาฯ มีสาระสำคัญเป็นการเน้นย้ำถึงความก้าวหน้าที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับรองแผนปฏิบัติการฯ
และยอมรับบทบาทของเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการช่วยสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกและสมาชิกสมทบขยายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีอวกาศ รวมถึงการประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ
เพื่อเร่งการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปปฏิบัติให้เกิดผล ในระยะที่ ๒
โดยมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยที่สำคัญเฉพาะด้านอย่างเหมาะสม ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน (ร่าง)
ปฏิญญาจาการ์ตาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ทั้งนี้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้จัดทำแนวทางการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ
และทางเทคนิครวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชน เพื่อช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนพัฒนา และประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
72 | การเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างปี พ.ศ. 2567-2568 และการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบการศึกษาในอาเซียน | ศธ. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๑) เห็นชอบให้ประเทศไทย โดยกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเจ้าภาพและประธานการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน
ครั้งที่ ๑๓ และการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างปี ๒๕๖๗-๒๕๖๘ (๒)
เห็นชอบร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบการศึกษาในอาเซียน
(Declaration on the Digital Transformation of
Education Systems In ASEAN) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างปฏิญญาอาเซียนฯ โดยร่างปฏิญญาอาเซียนฯ
มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาในบริบทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล
(๓) อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในฐานะประธานคณะมนตรีประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน [ASEAN Socio-Cultural
Community Council (ASCC)] หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาอาเซียนฯ
ในการประชุมคณะมนตรี ASCC ในเดือนตุลาคม ๒๕๖๕ และ (๔)
อนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรอง (adoption) ร่างปฏิญญาอาเซียนฯ
ร่วมกับผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๔๐ และ ๔๑
ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาอาเซียนฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของสำนักงบประมาณและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นเจ้าภาพการประชุมฯ
ซึ่งอยู่ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ เห็นควรให้กระทรวงศึกษาธิการ
โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
พร้อมรายละเอียดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม ตามขั้นตอนต่อไป
และในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามปฏิญญาอาเซียนฯ
ควรคำนึงถึงการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ครอบคลุมและทั่วถึงในทุกพื้นที่ของประเทศเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมและได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
73 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. .... | มท. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว
จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลข่วงเปา ตำบลบ้านหลวง ตำบลจอมทอง ตำบลดอยแก้ว และตำบลสบเตี๊ยะ
อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมือง
และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม
ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง ซึ่งกำหนดให้เป็น
“แหล่งโบราณพุทธศาสนา ล้ำค่าประเพณี สิ่งแวดล้อมดี สาธารณูปโภคพร้อม”
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๑๓
ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ
รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภทตลอดจนการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึง กฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เช่น มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์
สถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตทางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
74 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... [แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2556 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560] | มท. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว
จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. ๒๕๕๖ และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว
จังหวัดสมุทรสาคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
เพื่อแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
(สีเขียว) ในที่ดินบริเวณหมายเลข ๔.๒๓ หมายเลข ๔.๔๒ และหมายเลข ๔.๓๓
รวมทั้งเพิ่มข้อห้ามการจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในที่ดินบริเวณดังกล่าวให้สอดคล้องกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าว
ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสมุทรสาครที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
หากมีการแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) อีกในอนาคต
เห็นควรพิจารณาการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ถูกต้องตามหลักวิชาการด้านการผังเมือง
เพื่อเป็นไปตามเจตนารมณ์ของการใช้ที่ดินประเภทนี้ที่ให้ใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมสถาบันราชการ
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
พบแหล่งธรรมชาติท้องถิ่นและย่านชุมชนเก่าชุมชนตลาดน้ำบ้านแพ้ว ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมแห่งชาติ
และแหล่งศิลปกรรมที่มีอยู่เดิมด้วย
ในการพิจารณาการอนุญาตกิจการต้องคำนึงถึงจำนวนและที่ตั้งของสถานประกอบกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และควรกำกับดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงมหาดไทย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
75 | การให้ความเห็นชอบและรับรองเอกสารแนวคิดเรื่องยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน | พณ. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างเอกสารแนวคิดเรื่องยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน (Concept Note on ASEAN Strategy for Carbon Neutrality) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้ความเห็นชอบร่างเอกสารดังกล่าวในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
รวมทั้งให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างเอกสารดังกล่าวต่อไป
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรสร้างความเข้าใจและบูรณาการการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแผนงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพาณิชย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
76 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายดนัย เจียรกูล และนายมนู ศุกลสกุล) | สธ. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
จำนวน ๒ ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑. นายดนัย
เจียรกูล ผู้อำนวยการสำนักงาน [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) ระดับสูง] สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑๐ จังหวัดอุบลราชธานี กรมควบคุมโรค
ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่
๒๘ เมษายน ๒๕๖๕ ๒. นายมนู
ศุกลสกุล สาธารณสุขนิเทศก์
(นายแพทย์เชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์
(นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๕
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
77 | การดำเนินการตามคำมั่นที่ให้กับสหภาพยุโรปในการเข้าเป็นภาคีในความตกลงพหุภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนรายงานข้อมูลรายประเทศ | กค. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
78 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. .... ) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย) | กค. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง
ฉบับที่ .. (พ.ศ. .... ) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้เงินได้ที่นักแสดงสาธารณะที่เป็นนักแสดงภาพยนตร์ต่างประเทศซึ่งดำเนินการสร้างโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและได้รับอนุญาตการสร้างตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ครบกำหนดเวลา ๕ ปี
นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. เห็นชอบการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้นักแสดงสาธารณะที่เป็นนักแสดงภาพยนตร์
ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับอันเนื่องมาจากการแสดงภาพยนตร์ต่างประเทศ
ซึ่งดำเนินการสร้างโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและได้รับอนุญาตการสร้างตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์
ทั้งนี้
สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่กำหนดเวลา
๕ ปี นับแต่วันที่กฎกกระทรวงมีผลใช้บังคับ และให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๑๘๐ วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และมอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้และความเข้าใจมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
เพื่อให้การดำเนินมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย เพื่อให้การดำเนินมาตรการบรรลุเป้าหมาย
รวมทั้งสำรวจข้อมูลจำนวนและเงินลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
และจำนวนและเงินได้ของนักแสดงชาวต่างชาติที่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการนี้เป็นรายปีจนสิ้นสุดมาตรการและนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่กระทรวงการคลังทุกสิ้นปีเพื่อประกอบการจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการต่อไป ๓. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์
ความจำเป็น และประโยชน์ที่จะได้รับให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโนโอกาสแรก รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
79 | การขออนุมัติดำเนินงานก่อสร้างโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา ตำบลเกาะกลาง-ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ของกรมทางหลวงชนบท | คค. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการก่อสร้างโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา
ตำบลเกาะกลาง-ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ภายในกรอบวงเงิน ๑,๘๔๙.๕
ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าก่อสร้าง จำนวน ๑,๘๐๐ ล้านบาท ในอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้เงินงบประมาณ
๗๐:๓๐ และค่าควบคุมงาน ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ จำนวน ๔๙.๕
ล้านบาท ในอัตราร้อยละ ๒.๗๕ ของวงเงินค่าก่อสร้าง
โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีและแหล่งเงินกู้ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมสำหรับวงเงินงบประมาณขอให้กรมทางหลวงชนบทเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณรองรับตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
โดยในส่วนของแหล่งเงินกู้ให้ใช้เงินกู้ต่างประเทศตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงชนบท) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
เพื่อจัดทำแนวทางการบรรเทาผลกระทบให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental
and Social Standard : ESS)
ของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เร่งรัดการดำเนินการตามกฎหมาย
และระเบียบที่เกี่ยวข้อง อาทิ การขออนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรี การห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน
และการขออนุญาตเข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
และการขอความเห็นชอบการขอใช้ที่ดินของส่วนราชการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
เพื่อให้สามารถก่อสร้างโครงการฯ ได้ตามแผนการดำเนินงานต่อไป กรมทางหลวงชนบท
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พิจารณากำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยในการใช้ทางร่วมกันของยานพาหนะต่าง ๆ อาทิ
การติดตั้งป้ายกำหนดความเร็วในบริเวณเขตชุมชนและจุดเสี่ยงในการสัญจร
เพื่อรองรับปริมาณการสัญจรทางถนนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการดำเนินโครงการฯ เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
80 | การขออนุมัติดำเนินงานก่อสร้างโครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา - อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ของกรมทางหลวงชนบท | คค. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการก่อสร้างโครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา
อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา-อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ภายในกรอบวงเงินทั้งสิ้น
๔,๘๒๙.๒๕
ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าก่อสร้าง จำนวน ๔,๗๐๐ ล้านบาท ในอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้
: ต่อเงินงบประมาณเป็น ๗๐ : ๓๐
และค่าควบคุมงาน ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ จำนวน ๑๒๙.๒๕ ล้านบาท ในอัตราร้อยละ ๒.๗๕ ของวงเงินค่าก่อสร้าง
โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี และแหล่งเงินกู้ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
หากกรมทางหลวงชนบทจะเริ่มดำเนินโครงการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
จะต้องเร่งรัดดำเนินการศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้แล้วเสร็จเพื่อรองรับการดำเนินโครงการก่อสร้างดังกล่าว ต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยในส่วนของแหล่งเงินกู้ให้ใช้เงินกู้ต่างประเทศตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงชนบท)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
หน่วยงานของรัฐจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในมาตรา ๒๗ ให้ครบถ้วน
ให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ในการประชุมดังกล่าวอย่างเคร่งครัดด้วย
ให้กรมทางหลวงชนบทและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาพิจารณาตรวจสอบและปรับปรุงจุดเสี่ยงบนถนนเชื่อมต่อ
(พท. ๔๐๐๔ และถนนท้องถิ่น) โดยพาะในบริเวณชุมชน ให้มีความเหมาะสมตามหลักวิศวกรรม
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ถนนและประชาชนในพื้นที่ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากกรณีมีโครงการฯ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงคมนาคมประสานการดำเนินโครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา-อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด
เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาโดยเฉพาะโลมาอิรวดี ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณากำหนดแนวทางที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมในการอนุรักษ์
คุ้มครอง และขยายพันธุ์โลมาอิรวดี
รวมถึงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในบริเวณทะเลสาบสงขลาให้เหมาะสมและยั่งยืนต่อไปด้วย |