ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร.01 | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม บทนิยาม องค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
(กคร.) และคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจังหวัด
(กคร. จังหวัด) และกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเผยแพร่บัญชีการรับจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการเรี่ยไรและรายงานการเงินของการเรี่ยไรผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐนั้น
เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(ฉบับปรับปรุง) และสถานการณ์ปัจจุบัน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เช่น การกำหนดคำนิยามคำว่า
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ”
ควรกำหนดให้ครอบคลุมถึงบุคคลและคณะบุคคลบรรดาซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในทางปกครองที่จัดตั้งขึ้นในระบบราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐด้วย ควรแก้ไขบทเฉพาะกาลตามร่างข้อ ๙
ให้สอดคล้องกับผู้มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจังหวัดด้วย
ควรมีการกำหนดคุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไว้ในระเบียบดังกล่าว
และหากมีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบดังกล่าวต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเรี่ยไร
และกำหนดให้ กคร. มีอำนาจในการควบคุมเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐทั้งหมดอาจทำให้มีกรณีเกิดความล่าช้าและกระทบต่อประโยชน์ทางราชการ
ซึ่งหากมีการแต่งตั้ง กคร. ของกระทรวง/หน่วยงานขึ้นตรง
(ที่รัฐมนตรีกำกับดูแลเป็นประธาน) เป็นเอกเทศ แยกจาก กคร. เดิม ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานลงได้ ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | ร่าง แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | ปช. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
43 | การเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลระดับนานาชาติ รายการ Thailand by UTMB | กก. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
44 | ผลการดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศของกระทรวงกลาโหม | กห. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศของกระทรวงกลาโหม
ประกอบด้วย การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Defence
Minister’ Meeting Retreat : ADMM Retreat) และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา
ครั้งที่ ๙ (9th ASEAN Defence Ministers’ Meeting Plus : 9th
ADMM-Plus) รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๒ ถึงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ เมืองเสียมราฐ
ซึ่งราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
ตลอดจนการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee : GBC) ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ ๑๕ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ ผลการประชุม ADMM Retreat และการประชุม 9th
ADMM-Plus รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เป็นการร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองด้านความมั่นคงของภูมิภาคเพื่อส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจแสวงหาความร่วมมือที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน
และรับทราบพัฒนาการการดำเนินงานภายใต้กรอบ ADMM และ ADMM-Plus
รวมทั้งผลักดันประเด็นที่กระทรวงกลาโหมเป็นผู้ริเริ่ม
ตลอดจนเสริมสร้างการปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา
จึงนับว่าการประชุมดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผลการประชุม GBC
ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ ๑๕
เป็นการพัฒนาความสัมพันธ์และเสริมสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงตามแนวชายแดนร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมและครอบคลุมทุกมิติ
ในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพและความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ชายแดนไทยและกัมพูชา
สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทกระทรวงกลาโหมในการเสริมสร้างความร่วมมือและพัฒนาสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศ
ให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงในอาเซียนและภูมิภาคต่อไป ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานในเขตโครงการชลประทานจันทบุรี เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน รวม 3 ฉบับ | กษ. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานในเขตโครงการชลประทานจันทบุรี
เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทานดังกล่าว รวม ๓ ฉบับ ได้แก่
ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานคลองพระพุทธ เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน
พ.ศ. .... ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำคลองประแกด เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน
พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำคลองศาลทราย เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ทางน้ำชลประทานในท้องที่ตามร่างกฎกระทรวง เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทานจากผู้ใช้น้ำที่นำน้ำไปใช้เพื่อกิจการโรงงาน
การประปา หรือกิจการอื่นนอกจากภาคเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลปริมาณน้ำ
และให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
46 | รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2564 | นร.12 | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการพัฒนาระบบราชการ
ประจำปี ๒๕๖๔ เป็นการายงานผลการดำเนินงานที่สำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ
ประจำปี ๒๕๖๔ ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ ข้อมูลภาพรวมเกี่ยวกับคณะกรรมการที่สำนักงาน
ก.พ.ร. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ ยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ.
๒๕๖๔-๒๕๖๕) และสรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ ส่วนที่ ๒
ข้อมูลผลการดำเนินงานที่สำคัญในแต่ละยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการของภาครัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ รวมทั้งได้จัดทำสรุปผลการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี ๒๕๖๔ รายกระทรวง
เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหน่วยงานต่อไป ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร.
เสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
รับข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทัศนคติของบุคลากรภาครัฐทุกระดับ
การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ หน่วยงานควรเลือกเข้าชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง
ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลและสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ในระยะยาวและควรเร่งการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ในวงกว้างถึงความก้าวหน้าที่สำคัญของการดำเนินการที่ผ่านมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการพัฒนาเร่งระบบ e-Service และการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
47 | รายงานการดำเนินการตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 | อว. | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติมว่า
การดำเนินการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติในสถานะของส่วนราชการภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมสามารถขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและภารกิจตามหน้าที่และอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด
รวมทั้งผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวมก็มิได้น้อยกว่าหน่วยงานบริการและจัดการกองทุนอื่น
ๆ ที่มีสถานะเป็นองค์การมหาชนแต่ประการใด นอกจากนี้
บุคลากรของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้แสดงความประสงค์ขอคงสถานะของหน่วยงานให้เป็นส่วนราชการ
ดังนั้น จึงเห็นควรให้คงสถานะของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นส่วนราชการไว้ดังเดิมและที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
48 | (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2566-2580) | นร16 | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐) โดย (ร่าง) นโยบายและแผนฯ
มีนโยบายหลัก ๔ ด้าน ได้แก่ (๑) การสงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
และการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ (๒)
การใช้ที่ดินและทรัพยากรที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด (๓)
การกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และ
(๔) การบูรณาการและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินอย่างมีเอกภาพ
และมีตัวชี้วัดรวมทั้งหมด ๑๙ ตัวชี้วัด มี ๑๑ แนวทางการพัฒนาหลัก และ ๑๗
แผนงานที่สำคัญ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม และข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย เช่น ควรมีการประเมินความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งของภาครัฐ
เอกชน รวมถึงประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายของ คทช.
เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแผนการดำเนินงานต่อไป ให้ความสำคัญกับการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายต่าง
ๆ และควรให้ภาคประชาชนในพื้นที่ที่มีส่วนร่วม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. .... | นร.03 | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดความรับผิดชอบของผู้ประกอบธุรกิจในความชำรุดบกพร่องของสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รถยนต์ส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาและความเห็นของสำนักงานศาลยุติธรรม
ที่เห็นว่า
หากคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคได้ทบทวนแล้ว
ควรส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง และการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจอาจปฏิเสธที่จะซ่อมแซมสินค้าโดยเปลี่ยนสินค้าใหม่
ซึ่งเป็นประเภทและชนิดเดียวกันให้แก่ผู้บริโภคได้นั้น อาจไม่สอดรับกับข้อ ๔.๖
ที่กำหนดให้เป็นสิทธิของผู้บริโภคในการเลือกว่าจะเรียกร้องให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่
รวมทั้งอาจขัดกับหลักการและเหตุผลของร่างพระราชบัญญัตินี้ที่มุ่งประสงค์จะคุ้มครองสิทธิของประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบและรับทราบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐ (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ ๒ จำนวน ๑๑ จังหวัด และให้หน่วยงานที่มีดินอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่ตามแนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ
ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จ ภายใน ๓๖๐ วัน โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้ตามเหตุผลความจำเป็นแต่ไม่เกิน
๑๘๐ วัน หากมีผู้ใดได้รับผลกระทบดังกล่าว
ให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง
รวดเร็ว เหมาะสม ตามควรแก่กรณี โดยเป็นไปตามกฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีราษฎรถือครองทำกิน พื้นที่ที่มีศักยภาพทำการเกษตรไม่คุ้มค่า
พื้นที่หล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ และพื้นที่ที่ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกันนั้น
ขอให้กันไว้ใช้ในกิจกรรมของกรมป่าไม้ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม
๒๕๓๗ ในการเสนอออกกฎหมายของหน่วยงาน
ควรพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายที่จะให้การรับรองและความคุ้มครองหน่วยงานของรัฐ
เจ้าหน้าที่รัฐ
และผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ
และควรมีการกำกับและติดตามผลการดำเนินการเพื่อให้สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จเป็นไปตามแผนที่วางไว้และเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมพัฒนาที่ดิน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดพิจารณาแนวทางการดำเนินการ
กรณีพื้นที่กันออกจากป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ที่ทับซ้อนกับป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ [เรื่อง
การจำแนกประเภทที่ดินจังหวัดขอนแก่น (เฉพาะแห่ง)] ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน
ถูกต้อง ตรงกัน รวมทั้งให้เร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวให้แล้วเสร็จและเป็นรูปธรรมโดยเร็วด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
51 | ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ ..... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา รวม 4 ฉบับ | อว. | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
รวม ๔ ฉบับ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
ให้สอดคล้องกับผลการประชุมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๖๕ แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติ รวม ๔
ฉบับ ดังกล่าวเป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด ๑๖
การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมปรับปรุงแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ให้สอดคล้องกับผลการพิจารณาทบทวนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าว
แล้วส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
52 | รายงานความคืบหน้าการดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG และการขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG | อว. | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
53 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แทนผู้ที่ลาออก (นายชูเกียรติ มาลินีรัตน์) | ดศ. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายชูเกียรติ
มาลินีรัตน์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการรักษาผลประโยชน์ของชาติ)
ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ขอลาออก
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
โดยผู้ที่ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นดำรงตำแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งตนแทน
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
54 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมในประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา | สว. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
การขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมในประเทศไทย
ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา
ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า
แนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมของคณะกรรมาธิการดังกล่าว มีความเหมาะสม
สอดคล้อง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาบูรณาการเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน
และเห็นด้วยกับแนวทางและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว
โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ ๑) การกำหนดกรอบยุทธศาสตร์และกลไกการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมในระดับชาติควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเฉพาะให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๒)
การส่งเสริมและการสร้างผู้นำในการขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมแบบคลัสเตอร์ควรเพิ่ม
“นิคมเกษตรอุตสาหกรรมภูมิภาค”
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นพื้นที่ในการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมแบบคลัสเตอร์
สำหรับการคัดเลือกเกษตรต้นแบบในแต่ละจังหวัด
ควรให้สภาเกษตรกรแห่งชาติและสภาหอการค้าจังหวัด เข้ามามีส่วนร่วมในการคัดเลือก และ
๓) การขับเคลื่อนหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม
โดยการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเชื่อมโยงเกษตรอุตสาหกรรมในทุกภาคส่วน
โดยแนวทางในการส่งเสริมในส่วนของการวิจัยด้านการเกษตรควรขยายให้ครอบคลุมปัจจัยการผลิตอื่น
ๆ เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช เครื่องจักรกลการเกษตรขนาดเล็ก ระบบเตือนภัยต่าง ๆ
เพื่อช่วยลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต เป็นต้น ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
55 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ว่าที่ร้อยเอก มนตรี มั่นคง) | ดศ. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง ว่าที่ร้อยเอก มนตรี มั่นคง เป็นข้าราชการการเมือง
ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
56 | ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมของการหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส | กต. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
57 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนท่าแซะ-เนินสันติ จังหวัดชุมพร พ.ศ. .... | มท. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนท่าแซะ-เนินสันติ
จังหวัดชุมพร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลทรัพย์อนันต์ ตำบลคุริง และตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยกำหนดให้เป็นชุมชนศูนย์กลางที่มีบทบาทในด้านการค้า
การบริการ
และพาณิชยกรรมและศูนย์กลางบริการด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม
และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือขนส่งการสาธารณูปโภค
บริการสาธารณสามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมโดยมีนโยบายการอนุรักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติของผังเมืองรวมให้เป็นกลไกชี้นำแนวทางได้อย่างยั่งยืน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมให้เป็นกลไกชี้นำแนวทางได้อย่างยั่งยืน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
58 | ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๕๕
และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาสั่งการหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องตามนัยสรุปประเด็นสำคัญสำหรับการติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
เพื่อนำไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยมีรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เข้าร่วมประชุมฯ
โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑) การสร้างประชาคมอาเซียน เช่น
การสนับสนุนข้อริเริ่มของกัมพูชาตามหัวข้อหลัก “ASEAN
A.C.T. : Addressing Challenges Together” และการเตรียมความพร้อมความร่วมมือกับประเทศที่เป็นที่ตั้งสำนักงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่
และการรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม จำนวน ๑๑ ฉบับ (๒)
ประเด็นด้านความมั่นคงในภูมิภาคและระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในเมียนมาและช่องแคบไต้หวัน
และ (๓) ความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาและภาคีภายนอก เช่น
ไทยได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามตราสารภาคยานุวัติ TAC
โดยเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (รวม ๖ ฉบับ)
โดยในส่วนของยูเครนยังมิได้มีการลงนามตราสารฯ เนื่องจากเมียนมายังดำเนินกระบวนการภายในไม่แล้วเสร็จ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เช่น ควรดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ควรมีการยกระดับการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็นการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ
ขยะมูลฝอย และขยะพลาสติก
และประเด็นความมั่นคงในบางกรอบการประชุมอาเซียนที่ไม่ได้มอบหมายให้มีการติดตาม
อาทิ การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ออสเตรเลีย ซึ่งสำนักงานฯ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
59 | ขอปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียน | ศธ. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
60 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... | นร.01 | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(ฉบับปรับปรุง)
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบและสภาพการณ์ปัจจุบัน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ
และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เช่น ในการกำหนดบทนิยามคำว่า
“บุคคลในครอบครัว” ตามข้อ ๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว
ควรบัญญัติบทคำนิยามคำว่า “บุคคลในครอบครัว” ให้สอดคล้องกับบทนิยามคำว่า
“คู่ชีวิต”
ตามร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วและปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา
ข้อคิดเห็นในข้อที่ ๙ ควรพิจารณาเพิ่มข้อความว่า
“ของขวัญนั้นต้องไม่จูงใจให้เกิดการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ควรปรับปรุงร่างข้อ ๑๒ วรรคสาม
โดยใช้คำว่า “บุคคลในครอบครัว” เนื่องจากมีการกำหนดไว้ในบทนิยาม เป็นต้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้
รวมถึงการให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับเพื่อให้รับทราบและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
และให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างกลไกเพื่อบังคับใช้ร่างระเบียบดังกล่าวให้ครอบคลุมทุกหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
ปรับหลักเกณฑ์หรือสาระให้สอดคล้องกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๔
และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้น
และควรนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลบันทึกรายงานเกี่ยวกับการรับของขวัญด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |