ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 23 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 441 - 457 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
441 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. .... | อก. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร
รวม ๓ รายการ ได้แก่ ๑) ค่าจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร ๒)
ค่าเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนซึ่งเจ้าพนักงานได้ประทับหรือทำไว้ที่เครื่องจักร
และ ๓) ค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง ให้แก่เจ้าของเครื่องจักร
ออกไปอีก ๑ ปี โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๒๑
มกราคม ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ควรเร่งสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนการรายงาน ติดตาม และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินมาตรการดังกล่าว
เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณายกเว้นค่าธรรมเนียมรายการค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง
หรือค่าธรรมเนียมอื่นซึ่งมีลักษณะเป็นค่าบริการในพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร
พ.ศ. ๒๕๑๔
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการ
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ ในโอกาสต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
442 | รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 5 รายการ [โครงการ "เช่ารถตู้โดยสาร พร้อมอุปกรณ์ฯ (ทดแทน) ไว้ใช้ในภารกิจปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ประจำสถานีตำรวจและงานควบคุมฝูงชน กลุ่มผู้ชุมชุมประท้วง จำนวน 1,447 คัน"] | ตช. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ รายการ เพื่อเป็นค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์
จำนวน ๙,๒๑๕ คัน วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๔๕๔,๖๗๐,๐๐๐ บาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ จำนวน ๒,๖๙๐,๙๓๔,๒๐๐
บาท และส่วนที่เหลืออีก จำนวน ๑๐,๗๖๓,๗๓๕,๘๐๐
บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ ตลอดจนสถานะการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาตามความจำเป็นและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
เนื่องจากการเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ในโครงการเช่ารถยนต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าวเป็นรถยนต์ประเภทพิเศษ
ซึ่งแตกต่างไปจากบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณและอัตราค่าเช่ารถยนต์ไม่เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
จึงต้องขอความตกลงประเภทรถยนต์ และอัตราค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์กับกระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ และวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
443 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2536 เรื่อง ขออนุมัติทำสัญญาว่าจ้างในลักษณะจ้างเหมาออกแบบและก่อสร้าง โดยผู้รับจ้างรายเดียวกัน และขอผ่อนผันการดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจากต่างประเทศ โดยขอยกเลิกโครงการก่อสร้างอาคารเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูฯ พร้อมเครื่องปฏิกรณ์ ระบบผลิตไอโซโทปพร้อมอุปกรณ์ ระบบขจัดกากกัมมันตรังสีพร้อมอุปกรณ์ ของโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2536 | อว. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบหลักการในการเจรจาไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาเลขที่
๕๖/๒๕๔๐
(สัญญาการจ้างออกแบบและก่อสร้างอาคารเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูฯ พร้อมเครื่องปฏิกรณ์
ระบบผลิตไอโซโทปพร้อมอุปกรณ์ ระบบขจัดกากกัมมันตรังสีพร้อมอุปกรณ์ ของโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์)
และให้ดำเนินการต่อไปอย่างโปร่งใส ชอบด้วยกฎหมายและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
444 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ในพื้นที่ศูนย์ราชการบริเวณ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี แปลงที่ 21 และแปลงที่ 64 | อส. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน
ในการดำเนินการโครงการก่อสร้างสำนักงานอัยการจังหวัดปัตตานี
พร้อมบ้านพักและสิ่งก่อสร้างประกอบ พื้นที่ ศูนย์ราชการจังหวัดปัตตานี ตำบลรูสะมิแล
อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี แปลงที่ ๒๑ และแปลงที่ ๖๔ ในพื้นที่ป่าชายเลน ตำบลรูสะมิแล
อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เนื้อที่ ๓.๙๑ ไร่ (๓-๓-๖๔ ไร่) ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ
และให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงบประมาณ ที่เห็นว่าการดำเนินโครงการจะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่ากับศักยภาพของที่ดินและดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โอนเงินจัดสรร
เปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร หรือเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม
แล้วแต่กรณี ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
445 | รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 5 รายการ [โครงการ "เช่ารถบรรทุก (ทดแทน) ขนาด 1 ตัน พร้อมอุปกรณ์ ปฏิบัติการสายตรวจ งานปราบปรามอาชญากรรมยาเสพติด และรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนของสถานีตำรวจ จำนวน 2,894 คัน"] | ตช. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ รายการ เพื่อเป็นค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ จำนวน ๙,๒๑๕ คัน วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๔๕๔,๖๗๐,๐๐๐ บาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๒,๖๙๐,๙๓๔,๒๐๐ บาท และส่วนที่เหลืออีก จำนวน ๑๐,๗๖๓,๗๓๕,๘๐๐ บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามนัยมาตรา ๒๖ ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน ศักยภาพในการดำเนินการ ตลอดจนสถานะการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาตามความจำเป็นและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง เนื่องจากการเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ในโครงการเช่ารถยนต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าวเป็นรถยนต์ประเภทพิเศษ ซึ่งแตกต่างไปจากบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณและอัตราค่าเช่ารถยนต์ไม่เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด จึงต้องขอความตกลงประเภทรถยนต์ และอัตราค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์กับกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ และวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
446 | ขออนุมัติรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป กระทรวงยุติธรรม | ยธ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยพิจารณาอนุมัติในหลักการให้กระทรวงยุติธรรมนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่
๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น
๗,๙๙๕,๙๘๓,๕๖๐
บาท (เจ็ดพันเก้าร้อยเก้าสิบห้าล้านเก้าแสนแปดหมื่นสามพันห้าร้อยหกสิบบาทถ้วน) เพื่อเสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑,๕๗๕,๑๓๙,๔๒๐ บาท (หนึ่งพันห้าร้อยเจ็ดสิบห้าล้านหนึ่งแสนสามหมื่นเก้าพันสี่ร้อยยี่สิบบาทถ้วน)
ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๖,๔๒๐,๘๔๔,๑๔๐ บาท
(หกพันสี่ร้อยยี่สิบล้านแปดแสนสี่หมื่นสี่พันหนึ่งร้อยสี่สิบบาทถ้วน) ตามนัยมาตรา
๒๖ ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ดังนี้ ๑. โครงการก่อสร้างเรือนจำกลางลำปาง
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑,๖๑๔,๕๙๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันหกร้อยสิบสี่ล้านห้าแสนเก้าหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน)
เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๓๒๒,๙๑๘,๒๐๐ บาท
(สามร้อยยี่สิบสองล้านเก้าแสนหนึ่งหมื่นแปดพันสองร้อยบาทถ้วน)
ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๑,๒๙๑,๖๗๒,๘๐๐ บาท
(หนึ่งพันสองร้อยเก้าสิบเอ็ดล้านหกแสนเจ็ดหมื่นสองพันแปดร้อยบาทถ้วน) ๒. โครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดชัยนาท
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑,๕๗๒,๔๘๖,๔๐๐ บาท
(หนึ่งพันห้าร้อยเจ็ดสิบสองล้านสี่แสนแปดหมื่นหกพันสี่ร้อยบาทถ้วน)
เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๓๑๔,๔๙๗,๒๐๐ บาท
(สามร้อยสิบสี่ล้านสี่แสนเก้าหมื่นเจ็ดพันสองร้อยบาทถ้วน)
ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๑,๒๕๗,๙๘๙,๒๐๐ บาท
(หนึ่งพันสองร้อยห้าสิบเจ็ดล้านเก้าแสนแปดหมื่นเก้าพันสองร้อยบาทถ้วน) ๓. โครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดอุตรดิตถ์
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑,๖๒๗,๒๘๒,๐๐๐ บาท
(หนึ่งพันหกร้อยยี่สิบเจ็ดล้านสองแสนแปดหมื่นสองพันบาทถ้วน) เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๓๒๕,๔๕๖,๔๐๐ บาท
(สามร้อยยี่สิบห้าล้านสี่แสนห้าหมื่นหกพันสี่ร้อยบาทถ้วน)
ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน๑,๓๐๑,๘๒๕,๖๐๐ บาท
(หนึ่งพันสามร้อยเอ็ดล้านแปดแสนสองหมื่นห้าพันหกร้อยบาทถ้วน) ๔. โครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดยโสธร
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑,๕๒๗,๑๙๒,๕๐๐ บาท
(หนึ่งพันห้าร้อยยี่สิบเจ็ดล้านหนึ่งแสนเก้าหมื่นสองพันห้าร้อยบาทถ้วน)
เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๓๐๕,๔๓๘,๕๐๐ บาท
(สามร้อยห้าล้านสี่แสนสามหมื่นแปดพันห้าร้อยบาทถ้วน) ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๑,๒๒๑,๗๕๔,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันสองร้อยยี่สิบเอ็ดล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นสี่พันบาทถ้วน) ๕. โครงการการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้เพื่อเป็นมาตรการทางเลือกแทนการลงโทษจำคุก
จำนวน ๖๐,๐๐๐ เครื่อง วงเงินทั้งสิ้น ๑,๖๕๔,๔๓๑,๖๖๐ บาท
(หนึ่งพันหกร้อยห้าสิบสี่ล้านสี่แสนสามหมื่นหนึ่งพันหกร้อยหกสิบบาทถ้วน)
เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๓๐๖,๘๒๙,๑๒๐ บาท
(สามร้อยหกล้านแปดแสนสองหมื่นเก้าพันหนึ่งร้อยยี่สิบบาทถ้วน) ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๑,๓๔๗,๖๐๒,๕๔๐ บาท (หนึ่งพันสามร้อยสี่สิบเจ็ดล้านหกแสนสองพันห้าร้อยสี่สิบบาทถ้วน) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
ทั้งนี้
ขอให้กระทรวงยุติธรรมจัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของโครงการก่อสร้างเรือนจำ
จำนวน ๔ โครงการ ดังกล่าว โดยมีรายละเอียดแบบรูปรายการ ประมาณการค่าก่อสร้าง
สถานที่/พื้นที่พร้อมที่จะดำเนินการ รวมทั้งพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมตามความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ สถานะการเงินการคลังของประเทศ
และคำนึงถึงภาระผูกพันงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณให้เป็นไปตามสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนที่กำหนด
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ สำหรับโครงการการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้เพื่อเป็นมาตรการทางเลือกแทนการลงโทษจำคุก
ขอให้กระทรวงยุติธรรมจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ในการเช่าอุปกรณ์ดังกล่าวตามจำนวนและคุณลักษณะเฉพาะที่เหมาะสม
และจำเป็นกับภารกิจและปริมาณการใช้งานของหน่วยงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ
ตลอดจนคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัดการพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการก่อสร้างเรือนจำ
และโครงการการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้เพื่อเป็นมาตรการทางเลือกแทนการลงโทษจำคุก
ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาความเหมาะสมและจำเป็น ตามวงเงินงบประมาณประจำปีต่อไป โดยให้ปรับแก้ไขชื่อโครงการก่อสร้างให้ถูกต้อง จากเดิม “โครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดลำปาง
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ” เป็น “โครงการก่อสร้างเรือนจำกลางลำปาง
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ” ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เห็นว่า
ให้กระทรวงยุติธรรมควบคุม ดูแล
และกำกับการดำเนินงานโครงการก่อสร้างเรือนจำตามมาตรการที่กำหนดเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และโครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัด จำนวน ๔ โครงการ ไม่เข้าข่ายเป็นโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ
ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ
หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๒ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
447 | สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 7 และครั้งที่ 8 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-30 พฤศจิกายน 2564) | นร.04 | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๗ (ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม-๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๔) และครั้งที่ ๘ (ระหว่างวันที่
๑ มกราคม-๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔)
ซึ่งสรุปรายงานดังกล่าวเป็นการรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายหลัก เช่น
การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ
การทะนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย
การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค เป็นต้น
และนโยบายเร่งด่วน เช่น การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน
การปรับปรุงระบบสวัสดิการคุณภาพชีวิตของประชาชน
มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม
การยกระดับศักยภาพของแรงงาน การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต
การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ ๒๑
การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
448 | รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 5 รายการ [โครงการ "เช่ารถยนต์ พร้อมอุปกรณ์ (ทดแทน) เพื่อใช้ในภารกิจงานสอบสวน ปราบปรามยาเสพติดของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนในสถานีตำรวจทั่วประเทศ จำนวน 2,081 คัน"] | ตช. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ รายการ เพื่อเป็นค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์
จำนวน ๙,๒๑๕ คัน วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๔๕๔,๖๗๐,๐๐๐ บาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ จำนวน ๒,๖๙๐,๙๓๔,๒๐๐
บาท และส่วนที่เหลืออีก จำนวน ๑๐,๗๖๓,๗๓๕,๘๐๐
บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ ตลอดจนสถานะการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาตามความจำเป็นและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
เนื่องจากการเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ในโครงการเช่ารถยนต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าวเป็นรถยนต์ประเภทพิเศษ
ซึ่งแตกต่างไปจากบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณและอัตราค่าเช่ารถยนต์ไม่เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
จึงต้องขอความตกลงประเภทรถยนต์ และอัตราค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์กับกระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ และวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
449 | รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2563 | ยธ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกอบด้วย สถานการณ์ยาเสพติด
ในปี ๒๕๖๓ รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ผลการจับกุมคดียาเสพติดทั่วประเทศ
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ การกระทำความผิดของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป ๒. เห็นชอบให้นำความเห็นเพิ่มเติมของกระทรวงการคลังที่เห็นว่า
รายงานดังกล่าวจะมีเนื้อหาครบถ้วน สมบูรณ์ยิ่งขึ้น หากในรายงานมีข้อมูลครอบคลุมถึงผลการดำเนินการกับเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส. ที่กระทำความผิดด้วย นอกจากนี้ การใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เป็นการใช้อำนาจพิเศษที่มีบทยกเว้น
การใช้อำนาจทั่วไปตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งอำนาจพิเศษเหล่านี้เป็นเสมือนดาบสองคม
หากนำไปใช้ในทางที่ผิด ย่อมเกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์
การป้องกันและแก้ไขปัญหาคือ
ผู้บังคับบัญชาต้องกำกับติดตามผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด
และการมอบหมายงานด้านยาเสพติดควรคำนึงถึงความซื่อสัตย์สุจริตของผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญ
และการขอแต่งตั้งบุคคลใดเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ควรดูพฤติกรรมและความประพฤติซึ่งเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของการขอแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส. ด้วย และข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี
ที่มีข้อสังเกตว่า ในช่วงที่สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ สายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน”
กำลังแพร่ระบาดในขณะนี้ การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
นอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ (Work From Home) นั้น
ยังคงเป็นมาตรการหนึ่งของการทำงานของภาครัฐระบบดิจิทัสซึ่งสนับสนุนหลักการเพิ่มระยะห่างทางสังคม
(Social Distancing) ที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้น การกำหนดรูปแบบแนวทางการปฏิบัติงานควรมีความยืดหยุ่น มีความคล่องตัว
และเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย ซึ่งขณะนี้สำนักงาน ป. ป.ส. ได้มีมาตรการการกำกับ
ติดตามการรายงานอย่างเข้มงวด โดยเพิ่มช่องทางการรายงานการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส. ในลักษณะของการรายงานผ่านเว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ส. การมีแอปพลิเคชันไลน์บนโทรศัพท์มือถือ
เพื่อแจ้งเตือนการต่ออายุบัตรประจำตัวเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. และมีการรายงานการปฏิบัติหน้าที่ได้ทันทีขณะอยู่ในที่เกิดเหตุ
ซึ่งส่งผลให้สามารถกำกับ ติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เป็นการอำนวยความสะดวกอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานในช่วงสถานการณ์เช่นนี้
อันจะนำไปสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Transformation) ที่มีการทำงานแบบอัจฉริยะและขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
มีความทันสมัย เกิดคุณค่าสาธารณะ และตอบสนองกับการพัฒนาของเทคโนโลยียุคใหม่ได้ต่อไป
ตลอดจนพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ครอบคลุมการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
450 | แผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | กสศ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ภายในกรอบวงเงิน ๗,๕๙๐.๓๔๔๘ ล้านบาท
ตามนัยมาตรา ๖ (๓) ของพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยให้ กสศ จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
พร้อมรายละเอียดของกลุ่มเป้าหมายและค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน ตามความจำเป็นอย่างเหมาะสม
และไม่ซ้ำซ้อนในการสนับสนุนเงินและค่าใช้จ่ายให้แก่เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส
ตลอดจนพิจารณานำเงินนอกงบประมาณหรือเงินอื่นใดของ กสศ. มาสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกแหล่งทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ
เพื่อให้สอดคล้องตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนของกฎหมายวิธีการงบประมาณ ซึ่งสำนักงบประมาณจะได้พิจารณารายละเอียดของแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของ
กสศ. ให้สอดคล้องกับแนวทางและหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ภายในกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ อีกครั้งหนึ่ง
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษารับความเห็นของกระทรวงการคลัง
ที่เห็นควรให้ผู้จัดการ กสศ. ในฐานะผู้บริหารทุนหมุนเวียน
ตามนัยพระราชการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘
ทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงานอย่างใกล้ชิด
พร้อมทั้งรายงานผลให้คณะกรรมการบริหาร กสศ. ทราบอย่างต่อเนื่อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
451 | การขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า | สขค | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบกรอบวงเงินคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า วงเงินรวม ๔๗๗,๔๓๙,๘๐๐ บาท ทั้งนี้
การขอตั้งงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวเป็นการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยแสดงวัตถุประสงค์แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
และรายงานเกี่ยวกับเงินงบประมาณ ตามนัยพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้สำนักงบประมาณพิจารณาตามแนวทางการจัดทำงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้ารับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรเร่งรัดการดำเนินงานที่สำคัญสอดคล้องกับทิศทางของร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๔ หมุดหมายที่ ๗ ไทยมี SMEs ที่เข้มแข็ง
มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้ เช่น ดำเนินการติดตามสถานการณ์การแข่งขันของตลาด
ออกกฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ๒๕๖๐ กำกับดูแลไม่ให้เกิดการผูกขาดตลาดและลดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๒.
ให้สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
452 | ขอผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีในการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์ หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย และโครงการร้อยใจรักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ | กห. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้กระทรวงกลาโหมได้รับการผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๒ (เรื่อง ขอผ่อนผันใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
เพื่อก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคง) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์
๒๕๓๘ [เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง
การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคตะวันตก ภาคกลาง และลุ่มน้ำป่าสัก
และการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนอื่น ๆ
(ลุ่มน้ำชายแดน)] เพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
ในการดำเนินโครงการพัฒนาดอยดุง จังหวัดเชียงราย และโครงการร้อยใจรักษ์
จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ ให้กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(หนังสือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด่วนที่สุด ที่ ทส ๐๒๒๐.๒/๑
ลงวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๕) สำนักงบประมาณ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน
โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ควบคู่กันไป
หากมีความจำเป็นที่จะดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่
กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้โครงการจะต้องปฏิบัติตามข้อเสนอแนะมาตรการการใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำ
เช่น การบำรุงรักษาป่าธรรมชาติ
การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่รกร้างว่างเปล่าป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าอย่างเข้มงวด
และบริเวณที่ราษฎรดั้งเดิมให้จัดที่ทำกินให้เป็นการถาวร เพื่อมิให้มีการโยกย้ายและทำลายป่าขยายขอบเขตออกไปอีก
เป็นต้น ตลอดจนควรมีแผนการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามมาตรการและข้อเสนอแนะต่าง
ๆ พร้อมทั้งแผนการบำรุงรักษาและแผนการสร้างจิตสำนึกของชุมชนในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
และให้กองทัพบก กระทรวงกลาโหม ควรประสานการดำเนินงานร่วมกับกรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชนในพื้นที่โครงการต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. สำหรับการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ (เรื่อง การดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นจะต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า)
เกี่ยวกับการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ นั้น
ให้กระทรวงกลาโหม (กองทัพบก)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปหารือร่วมกับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ชัดเจน
แล้วดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
453 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ ระยะเวลา
และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ
พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อกำหนดอัตราการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ
ตั้งวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับข้อเสนอแนะและความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
ที่ควรคำนึงถึงความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์
เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ
รวมทั้งวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
รวมถึงภาระการเงินการคลังที่อาจเกิดขึ้นแก่รัฐในอนาคต ตามนัยของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
454 | ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | สธ. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง
อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดจะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร
และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ
หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ
หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ
องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ
หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวม ๒ ฉบับดังกล่าว ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ควรแก้ไขบทอาศัยอำนาจและรายการแนบท้ายร่างประกาศ รวม ๒ ฉบับดังกล่าว ให้ถูกต้องตามแนวทางการร่างกฎหมาย
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เช่น พิจารณาทบทวนอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดโดยพิจารณาต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงควบคู่กันและควรมีการชี้แจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน
พิจารณาความเหมาะสมและสอดคล้องกับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
มีช่องทางการติดตามรับฟังความคิดเห็น เพื่อพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
อัตราค่าใช้จ่ายตามร่างประกาศควรกำหนดในอัตราที่ไม่สูง เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
455 | รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย – แคนาดา | คค. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบบันทึกข้อตกลงระหว่างไทย - แคนาดา เห็นชอบร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งแคนาดาและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย
ขอให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งแคนาดาและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยการขนส่งทางอากาศและให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full
Powers) ให้แก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวด้วย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
456 | การดำเนินโครงการจัดสร้างสวนป่า “เบญจกิติ” ระยะที่ 2-3 | กค. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการจัดสร้างสวนป่า
“เบญจกิติ” ระยะที่ ๒-๓ สรุปได้ ดังนี้ (๑) คณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างสวนป่า
“เบญจกิติ” ในคราวประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๔
ได้มีมติเห็นชอบการปรับแผนงานการก่อสร้างสวนป่า “เบญจกิติ” ระยะที่ ๒-๓ โดยขยายระยะเวลาการดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จสมบูรณ์จากเดิมภายในเดือนกุมภาพันธ์
๒๕๖๕ เป็นภายในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๕
เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
โดยจะมีพิธีเปิดโครงการจัดสร้างสวนป่า “เบญจกิติ” ระยะที่ ๒-๓ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (๒) ผลการก่อสร้างสวนป่า“เบญจกิติ” ระยะที่ ๒-๓ มีผลการดำเนินงานในภาพรวมร้อยละ ๖๓.๗๑
ของปริมาณงานตามแผนงานล่าช้ากว่าแผนร้อยละ ๓.๕๐ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
457 | รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โครงการ“อาคารที่ทำการพร้อมอาคารที่จอดรถยนต์และอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจฯ จำนวน 6 อาคาร” | ตช. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป โครงการอาคารที่ทำการพร้อมอาคารที่จอดรถยนต์และอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ
แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๖ อาคาร วงเงินทั้งสิ้น ๔,๐๘๙,๔๘๐,๐๐๐ บาท ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๘๑๗,๘๙๖,๐๐๐ บาท
ส่วนที่เหลืออีก ๓,๒๗๑,๕๘๔,๐๐๐ บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๖๙ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
และให้จัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของโครงการดังกล่าว
โดยมีรายละเอียดแบบรูปรายการ ประมาณการค่าก่อสร้าง สถานที่/พื้นที่พร้อมที่จะดำเนินการ
รวมถึงการดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัดการพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดจากการดำเนินโครงการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
รวมทั้งพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ ตลอดจนสถานะการเงินการคลังของประเทศ
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
ที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ กฎหมาย ระเบียบ
ประกาศ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และให้หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการนั้น
เสนอรายงานในขั้นก่อนขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปอย่างเคร่งครัด
|