ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 22 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 421 - 440 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
421 | รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2561 | กษ. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรสำหรับปีสิ้นสุดวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน และงบกระแสเงินสด
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองงบการเงินดังกล่าวแล้ว
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และแจ้งให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบต่อไป ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดดำเนินการเพื่อนำเสนอรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรสำหรับปีสิ้นสุดวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๖๒ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ และวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
ต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
422 | ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กต. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ ๓๘ และ ๓๙ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
รวม ๑๐ รายการ เมื่อวันที่ ๒๖-๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนการาบรูไนดารุสซาลาม
(บรูไน) ทรงเป็นประธานการประชุม โดยมีผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้นำของคู่เจรจา
๘ ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินเดีย รัสเซีย
และนิวซีแลนด์ ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน ๒๕ ฉบับ
และแสดงวิสัยทัศน์ของไทยโดยเน้นเรื่องการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด ๑๙) การฟื้นฟูและสร้างอนาคตที่ยั่งยืน และการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น การสร้างประชาคมอาเซียน การรับมือกับโรคโควิด-๑๙
การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
ความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและภาคีภายนอก สถานการณ์ระหว่างประเทศและในภูมิภาค และการส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียนให้แก่กัมพูชา
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ
ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่ควรดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
และควรเพิ่มประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ ในตารางติดตามผลการประชุมฯ หัวข้อ ๓
การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ ๒๔ ข้อ ๖ การพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อย่อย ๖.๒
เรื่องการส่งเสริมความร่วมมือ
เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
423 | ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อดำเนินโครงการพาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน ปี 2565 | พณ. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้แก้ไขข้อความในหนังสือกระทรวงพาณิชย์
ด่วนที่สุด ที่ พณ ๐๔๑๔/๒๑๑ ลงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕
และในสิ่งที่ส่งมาด้วยให้เหมาะสม จากเดิม “ในราคาต่ำกว่าท้องตลาด” หรือ
“ในราคาถูกกว่าท้องตลาด” เป็น “ในราคาประหยัด” ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ๒. อนุมัติในหลักการการจัดทำโครงการพาณิชย์...ลดราคา!
ช่วยประชาชน ปี ๒๕๖๕ เพื่อจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพให้แก่ประชาชนในราคาต่ำกว่าท้องตลาด
ระยะเวลาดำเนินการ ๙๐ วัน เช่น กิจกรรมบริหารจัดการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางจำหน่าย
กิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ และกิจกรรมประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-๑๙) และจากภาวะการปรับราคาสินค้าขึ้นอย่างต่อเนื่องจากโรคระบาดจากสัตว์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้กระทรวงพาณิชย์ขอทำความตกลงรายละเอียดค่าใช้จ่ายกับสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่งก่อนดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์รับข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๗/๓๐๕๑ ลงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕) ไปร่วมหารือและวางแผนการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเพื่อการบริโภค
ตั้งแต่ในระดับต้นน้ำ (การผลิต) กลางน้ำ (การแปรรูป) จนกระทั่งปลายน้ำ
(การจำหน่วย) ให้มีระดับราคาที่พอเหมาะ และสามารถสะท้อนต้นทุนการผลิตได้อย่างเหมาะสม
ควรให้มีการกระจายสินค้าให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
และให้กระทรวงพาณิชย์รวบรวมประมวลผล และประเมินความสำเร็จของโครงการลักษณะเดียวกัน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงพาณิชย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
424 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายสราวุธ ชีวะประเสริฐ) | นร14 | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายสราวุธ ชีวะประเสริฐ
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์น้ำ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
425 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา | สว. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน
วุฒิสภา ซึ่งได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
แล้ว สรุปว่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืชได้ดำเนินการยกร่างกฎหมายลำดับรองตามมาตรา ๖๔
แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ และมาตรา ๑๒๑
แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ เสร็จแล้ว โดยได้ดำเนินกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว
และจะนำร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าและคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติพิจารณา
เมื่อผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการแล้ว
จะเร่งรัดจัดทำกฎหมายเพื่อเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบและประกาศเป็นกฎหมายใช้บังคับต่อไป
สำหรับการอนุญาตให้ประชาชนเข้าใช้ประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
กรมป่าไม้ได้มีการเร่งรัดดำเนินการเกี่ยวกับพื้นที่เป็นโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่ตามที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้เสนอไว้
การจัดทำสัญญาประชาคมจะเกี่ยวพันกับการอนุญาตใช้พื้นที่หวงห้ามในการที่จะเข้าไปสนับสนุนระบบสาธารณูปโภค
ถึงแม้ปัจจุบันได้มีข้อผ่อนผันทางกฎหมายมากขึ้น แต่ทั้งนี้
จะต้องดำเนินการตามระเบียบในการอนุญาตใช้พื้นที่ จึงจะสามารถดำเนินการเรื่องจัดทำสัญญาประชาคมได้ตามลำดับขั้นต่อไป
ในกรณีการสนับสนุนจ่ายไฟฟ้าสำหรับพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ดังเช่นหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สามารถจัดทำโครงการเสนอกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามมาตรา ๙๗ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการประกาศกิจการพลังงาน
พ.ศ. ๒๕๕๐ “เพื่อการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน
และเทคโนโลยีที่ใช้ในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย” ทั้งนี้
จะให้มี “คณะอนุกรรมการ” ภายใต้ “คณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า”
เพื่อทำหน้าที่พิจารณาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้าสำหรับพื้นที่เกาะและพื้นที่ห่างไกล
รวมถึงจัดทำแผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาแนวทางดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสำหรับพื้นที่ห่างไกลต่อไป
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
426 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิรูปหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai universal health coverage reform for sustainable development) ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา | สธ. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง การปฏิรูปหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai universal health coverage reform for
sustainable development) ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาดังกล่าว
สรุปได้ ดังนี้ (๑) ยกระดับการบูรณาการและความยั่งยืนด้านการเงินการคลัง
โดยให้มีชุดสิทธิประโยชน์หลักที่ครอบคลุมบริการสาธารณสุขที่จำเป็นและเบิกจ่ายรูปแบบเดียวกัน
และในระยะยาวเสนอให้มีการเก็บภาษีสุขภาพสำหรับคนไทยทุกคน
และรวมกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐทุกระบบเป็นระบบเดียว (๒) ยกระดับระบบประกันสุขภาพให้ครอบคลุมทุกคนที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนและสิทธิรวมถึงคนต่างด้าว
(๓) พัฒนาการจัดบริการสุขภาพแบบเพิ่มมูลค่า โดยสนับสนุนให้มีการนำร่องการจัดบริหารแบบเพิ่มคุณค่าในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
และขยายผลการจัดบริการแบบเพิ่มคุณค่าอย่างเหมาะสมตามข้อเสนอจากการประเมินผลการนำร่อง
เพื่อวางระบบอย่างยั่งยืนต่อไป ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
427 | ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา รวม 4 ฉบับ | อว. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการ ๑.๑ ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๒ ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... ๑.๓ ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๔ ร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม ๔ ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
โดยให้รวมทุนหมุนเวียนเพื่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่
รวมทั้งแก้ไขบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องให้มีความสอดคล้องกัน
ซึ่งการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวเป็นไปเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา
และส่งเสริมการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับมติของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
และความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณ
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติ รวม ๔
ฉบับดังกล่าวเป็นร่างกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ๓. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรพิจารณาความคุ้มค่า
ต้นทุนและผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ ตามาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ควรกำหนดกลไกและมาตรการรวมทั้งส่งเสริมการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษา
หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ
ควรพิจารณากำหนดเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่น ควรแก้ไขบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และรูปแบบการดำเนินงานที่ควรได้รับการจัดสรรงบประมาณให้มีความชัดเจน
และให้ความสำคัญกับการกำหนดผลสัมฤทธิ์และตัวชี้วัดของการดำเนินงานของโครงการที่มีความท้าทาย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
428 | ความตกลงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับฮังการีว่าด้วยการศึกษา | ศธ. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับฮังการีว่าด้วยการศึกษา (Cooperation Agreement between the Association of
Southeast Asian Nations and the Government of Hungary on Education Cooperation) (ร่างความตกลงฯ) ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน
และประเทศไทยจะต้องแจ้งความเห็นชอบต่อร่างความตกลงดังกล่าวต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนผ่านคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน
ณ กรุงจากาตาร์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ภายในวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕ และอนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ
ของฝ่ายอาเซียน โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญ เช่น การสานต่อโครงการทุนการศึกษาอาเซียน-ฮังการี
ฮังการีจะให้โอกาสนักเรียนจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้เข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาฮังการี
อาเซียนจะให้โอกาสนักเรียนและอาจารย์ฮังการีได้เข้าร่วมโครงการการศึกษาและการวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน
เป็นต้น ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
429 | ขออนุมัติโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย | กค. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง
จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และวงเงินงบประมาณรายจ่ายของโครงการฯ
ตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบบทเฉพาะกาลมาตรา
๖๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ พ.ศ.
๒๕๖๒ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเสนอ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการฯ
ระยะทางรวม ๓.๙๘ กิโลเมตร โดยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในรูปแบบ PPP
Net Cost โดยภาครัฐรับผิดชอบการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในขณะที่ ภาคเอกชนรับผิดชอบงานส่วนที่เหลือทั้งหมด ได้แก่
การออกแบบรายละเอียดและการก่อสร้าง และการดำเนินงาน และบำรุงรักษา (Operation and Maintenance: O&M) โดยเอกชนจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ลงทุนทั้งหมด ให้แก่ภาครัฐก่อนเริ่มดำเนินงานในลักษณะของ BTO
พร้อมทั้งให้เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รายได้ค่าผ่านทางโดยมีระยะเวลาสัมปทาน
๓๕ ปี (นับจากวันที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหนังสือแจ้งให้เริ่มปฏิบัติงาน (Notice
to Proceed) ตามรายงานผลการศึกษาฯ
ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้ความเห็นชอบไว้ ๒. อนุมัติค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดในวงเงิน
๕,๗๙๒.๒๔ ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณตามความจำเนและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง ๓. มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม
และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ พ.ศ. ๒๕๖๒ รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นว่า
เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็น
เหมาะสม และประหยัด ตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง และให้กระทรวงคมนาคม (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ ๑) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่เห็นว่า ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐเป็นสำคัญและเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เอกชนสามารถดำเนินโครงการได้จริงและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ก่อให้เกิดผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงขึ้นในจังหวัดภูเก็ตในอนาคต
นอกจากนี้ โครงการฯ ดังกล่าวยังมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ยุทธศาสตร์ที่ ๒
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
สำหรับการพัฒนาโลจิสติกส์ในการเดินทางข้ามจังหวัดและการเดินทางระหว่างประเทศ
ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศได้อย่างเชื่อมโยงกับรูปแบบการเดินทางอื่น ๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒) กระทรวงคมนาคมที่เห็นว่า
ให้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ๓) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เห็นว่า
ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าของโครงการ
ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่เสนอไว้ในรายงานฯ อย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ หรือมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ให้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๑
เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ เรื่อง การทบทวนมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่
๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติกรณีรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย ๔) กระทรวงมหาดไทยที่เห็นว่า ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ๕) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
๕.๑) ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พิจารณาใช้แหล่งเงินรายได้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินประมาณ
๕,๗๙๒.๒๔ ล้านบาท เป็นลำดับแรก
หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริงต่อไป
๕.๒) ให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับจังหวัดภูเก็ตในการพิจารณาแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง
ๆ ให้สามารถรองรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และสนับสนุนให้เกิดการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะและการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้น ๕.๓) เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างรอบคอบ
เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการ ดังนี้ ๕.๓.๑) พิจารณาแนวทางการบริหารความเสี่ยงของโครงการฯ
โดยเฉพาะการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยควรกำหนดอัตราค่าเวนคืนให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม
เพื่อให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยสามารถส่งมอบที่ดินให้กับเอกชนได้ตามกำหนดของสัญญาและเปิดให้บริการตามแผนที่ได้กำหนดไว้
และกำหนดเงื่อนไขในการสนับสนุนให้เกิดการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart
City) ๕.๓.๒) พิจารณากำหนดกลไกให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกระแสเงินสดของการดำเนินโครงการฯ
อาทิ เงินลงทุน รายได้ค่าผ่านทาง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษา
เพื่อให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชน์ตอบแทนจากการดำเนินโครงการระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ๕.๓.๓) ปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA) ตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบเมื่อวันที่
๗ มีนาคม ๒๕๖๑ อย่างเคร่งครัด
และในกรณีที่มีผลกระทบต่อประชาชนให้เร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว ๖) สำนักงบประมาณที่มีข้อสังเกตว่า เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวให้แก่หน่วยงานในพื้นที่และประชาชนเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการอีกครั้งหนึ่งก่อนเริ่มดำเนินการ
การดำเนินการตามมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งรับความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ
และประสานหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ
คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
ตลอดจนคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบในทุกมิติด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
430 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑)
อนุมัติให้กรมควบคุมโรค กรมอนามัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (๒) อนุมัติให้มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ
เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (๓)
อนุมัติให้โรงพยาบาลตำรวจ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหอผู้ป่วยและห้องผ่าตัดรองรับและบรรเทาภัยจากโรคติดเชื้อโควิด-๑๙
และปรับปรุงมาตรฐานด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม
๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ (๔) อนุมัติให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่
และโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่
โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔
เป็นสิ้นสุดเดือนเมษายน ๒๕๖๕ และ (๕) ) มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการเร่งรัดการดำเนินโครงการฯ
ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาดำเนินงานที่เสนอในครั้งนี้
รวมถึงรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมตามมติคณะกรรมการฯ
ไปประกอบการดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพั ฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้หน่วยงานต้นสังกัดกำกับดูแลให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปฏิบัติตามข้อ
๑๙ และ ข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้อีก หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากคลังโดยเร็ว รวมทั้งเร่งรัดการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ให้ทันต่อสถานการณ์
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
ที่ไม่สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้
เร่งปฏิบัติตามข้อ ๑๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
431 | การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศาลปกครอง | ศป. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ของสำนักงานศาลปกครอง จำนวน ๓,๗๑๖,๗๐๙,๐๐๐ บาท ทั้งนี้
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณดังกล่าวเป็นการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยแสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ตามนัยมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่อสำนักงบประมาณจะได้จัดทำงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
และให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
432 | ขออนุมัติการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป “โครงการจัดหาอากาศยานเครื่องบินขนาดกลาง (ทดแทน) เพื่อใช้ในภารกิจการปฏิบัติการฝนหลวง” | กษ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่
๑,๐๐๐
ล้านบาทขึ้นไป “โครงการจัดหาอากาศยานเครื่องบินขนาดกลาง
(ทดแทน) เพื่อใช้ในภารกิจการปฏิบัติการฝนหลวง” รายการเครื่องบินขนาดกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒ ลำ วงเงินทั้งสิ้น ๑,๓๑๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๒๖๒,๘๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลืออีก ๑,๐๕๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๐
ตามนัยมาตรา ๒๖ ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของรายการดังกล่าว
โดยมีรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ ประมาณการราคา
รวมถึงการดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
และคำนึงถึงภาระผูกพันงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณให้เป็นไปตามสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนที่กำหนด
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาความเหมาะสมและจำเป็น
ตามวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกรมฝนหลวงรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
433 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายสมบูรณ์ วัชระชัยสุรพล และนายโกมล บัวเกตุ) | พน. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงพลังงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้ ๑. นายสมบูรณ์
วัชระชัยสุรพล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นายโกมล บัวเกตุ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
434 | การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูล โครงการบริหารจัดการ ท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว | อก. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้ใช้วิธีการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูล
โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้กระทรวงอุตสาหกรรม (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวม ทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เช่น ให้การสนับสนุนการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจเพื่อขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายหลักของรัฐบาลในการดำเนินธุรกิจด้านปิโตรเคมีในโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก
(EEC)
มอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการร่วมลงทุน
โดยเฉพาะโครงการที่มีระยะเวลาของสัญญาใกล้จะสิ้นสุดลง ปฏิบัติตามขั้นตอนมาตรา ๔๙
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ อย่างเคร่งครัด
และกำกับการดำเนินการคัดเลือกเอกชนให้แล้วเสร็จ
สอดคล้องกับระยะเวลาของสัญญาฉบับเดิมที่จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน ๒๕๖๕
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการให้บริการและป้องกันไม่ให้เกิดกรณีที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอาจจะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการ
ควรคำนึงถึงการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนระหว่างรัฐและเอกชนอย่างเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูลด้วย
ควรดำเนินการตามขั้นตอน กระบวนการ กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพย์สินที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่รัฐ
โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการรื้อถอนทรัพย์สินของผู้รับสัมปทาน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงอุตสาหกรรม
(การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) พิจารณากำหนดเงื่อนไขในสัญญาร่วมลงทุนให้เอกชนดูแลและบำรุงรักษาถังเก็บผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเหลวรวมทั้งอุปกรณ์ต่าง
ๆ ให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย
เป็นไปตามมาตรฐานสากลและให้นำข้อตกลงคุณธรรมมาใช้กับโครงการนี้
รวมทั้งให้ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
ในคราวประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๔ ต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
435 | รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 5 รายการ [โครงการ "เช่ารถบรรทุก (ทดแทน) ขนาด 1 ตัน พร้อมอุปกรณ์ฯ เพื่อใช้ในภารกิจงานสอบสวนของสถานีตำรวจ จำนวน 1,311 คัน"] | ตช. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ รายการ เพื่อเป็นค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์
จำนวน ๙,๒๑๕ คัน วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๔๕๔,๖๗๐,๐๐๐ บาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ จำนวน ๒,๖๙๐,๙๓๔,๒๐๐
บาท และส่วนที่เหลืออีก จำนวน ๑๐,๗๖๓,๗๓๕,๘๐๐
บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ ตลอดจนสถานะการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาตามความจำเป็นและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
เนื่องจากการเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ในโครงการเช่ารถยนต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าวเป็นรถยนต์ประเภทพิเศษ
ซึ่งแตกต่างไปจากบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณและอัตราค่าเช่ารถยนต์ไม่เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
จึงต้องขอความตกลงประเภทรถยนต์ และอัตราค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์กับกระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ และวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
436 | การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งจะต้องมีการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณมากกว่าหนึ่งปีงบประมาณสำหรับรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไปของกรุงเทพมหานคร | มท. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้กรุงเทพมหานครนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๙ โครงการ โดยแบ่งเป็น (๑) รายการที่ได้กำหนดสัดส่วนแหล่งเงินค่าก่อสร้างที่จะดำเนินโครงการ โดยให้กรุงเทพมหานครนำเงินรายได้มาสมทบกับเงินอุดหนุนรัฐบาลแล้ว จำนวน ๕ โครงการ และ (๒) รายการที่ยังไม่ได้กำหนดสัดส่วนแหล่งเงินค่าก่อสร้างที่จะดำเนินโครงการระหว่างเงินอุดหนุนรัฐบาลกับเงินรายได้กรุงเทพมหานคร จำนวน ๔ โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๘,๑๕๘.๗๐๐๐ ล้านบาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามนัยมาตรา ๒๖ ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรุงเทพมหานครจัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของโครงการดังกล่าว โดยมีรายละเอียดแบบรูปรายการ ประมาณการค่าใช้จ่ายในการค่าก่อสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีสถานที่/พื้นที่พร้อมที่จะดำเนินการ รวมทั้งพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน และคำนึงถึงภาระผูกพันงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณให้เป็นไปตามสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนที่กำหนด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาความเหมาะสม จำเป็น ตามวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
437 | ร่างมาตรการสนับสนุนให้สตรีเป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ | พม. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นซอบในหลักการของมาตรการสนับสนุนสตรีให้เป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ
ประกอบด้วยมาตรการย่อย ๓ มาตรการ ได้แก่ จัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓
ปี ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
และขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นำมาตรการดังกล่าวไปพิจารณาในรายละเอียดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
โดยให้นำความเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วยเพื่อให้ได้ข้อยุติในประเด็นต่าง
ๆ ที่ชัดเจน เหมาะสม ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ดังนี้ ๑)
กระทรวงการคลังเห็นว่า ในการพิจารณาจะต้องคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๒)
กระทรวงแรงงานเห็นว่า หากจะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ครอบคลุมสิทธิการลาคลอด
ให้สามีของแรงงานสตรีสามารถลาเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ นายจ้าง
เจ้าของสถานประกอบกิจการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคธุรกิจ
เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวด้วย ๓)
กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่า เพื่อให้การแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เหมาะสมและครอบคลุมข้าราชการทุกประเภท
จึงเห็นควรพิจารณาในรายละเอียดด้วยความรอบคอบ ๔)
กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่า ควรมีการทบทวนข้อมูลอย่างรอบด้าน
โดยคำนึงถึงหลักความเหลื่อมล้ำในกลุ่มแม่ที่ใช้สิทธิอื่น
หรือกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีบุตร เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติหรือความเป็นธรรมในการจ้างงานด้วย ๕)
สำนักงบประมาณเห็นว่า สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕
เห็นควรให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ในโอกาสแรก สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ
ๆ ไป
เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ๖)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีความเห็นประกอบการพิจารณาในแต่ละมาตรการ
ดังนี้ ๖.๑) การจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓
ปี โดยขยายบริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กให้รับเด็กอายุ ๐ ถึง
๓ ปี และขยายเวลาเบิดและปิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนทำงาน นั้น
เป็นมาตรการเพื่อแบ่งเบาภาระของสตรีในการเลี้ยงดูบุตรโดยกำหนดอายุของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง
๓ ปี
แต่การกำหนดอายุขั้นต่ำของเด็กดังกล่าวหากเป็นกรณีผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นหญิงที่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน
จะต้องคำนึงถึงมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
ที่กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน ๙๘
วัน และมาตรการที่กำหนดให้ขยายวันลาคลอดของข้าราชการจากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการสามารถลาคลอดบุตรได้
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน และเสนอให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘ วัน
สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ
ซึ่งเป็นการกำหนดเพื่อให้สิทธิแก่สตรีในการใช้วันลาคลอดเพื่อเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเอง ๖.๒) การส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
โดยให้ข้าราชการชายสามารถลาไปช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร นั้น
ควรกำหนดให้ลูกจ้างขายสามารถลาเพื่อช่วยเหลือภรรยาดูแลบุตรได้
เพื่อให้การกำหนดมาตรการดังกล่าวครอบคลุมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งจะทำให้เกิดความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ
แต่ในรายละเอียดอาจจะต้องกำหนดเพื่อไม่ให้นายจ้างได้รับผลกระทบจนเกินสมควร ๖.๓) การขยายวันลาคลอดของข้าราชการ
โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการจากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการสามารถลาคลอดบุตรได้
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน และเสนอให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘ วัน
สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ นั้น
ในส่วนของการแก้ไขวันลาคลอดของข้าราชการ เป็น ๙๘ วัน เป็นการกำหนดที่สอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
(ILO)
ฉบับที่ ๑๘๓
ว่าด้วยสิทธิการคุ้มครองความเป็นมารดาซึ่งได้กำหนดให้ภาครัฐต้องดูแลผู้หญิงตั้งครรภ์
ระหว่าง และหลังคลอด และต้องให้วันหยุดมารดาหลังคลอด ๑๔ สับดาห์
ซึ่งสตรีในภาคเอกชนได้รับสิทธิดังกล่าวแล้วตามมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
สำหรับการกำหนดให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ลาได้อีก ๙๐ วัน
และให้ได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ นั้น จะต้องพิจารณาว่า การแก้ไขดังกล่าวกระทบกับการการลาบระเภทอื่นหรือไม่
ได้แก่ การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ส่วนการกำหนดให้ได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐
ของเงินเดือนปกติ จะต้องพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินเดือน ได้แก่
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบด้วย ๗)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า
มาตรการส่งเสริมการลาของสามี และขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง
มีผลบังคับใช้กับกลุ่มข้าราชการเท่านั้น เพื่อให้ร่างมาตรการดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
จึงควรเร่งศึกษาแนวทางเพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายสู่แรงงานกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างเอกชน
ซึ่งมีสัดส่วนถึง ๒ ใน ๕ ของผู้มีงานทำทั้งหมด ๘)
สำนักงาน ก.พ. เห็นว่า เห็นควรมอบหมายสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาปรับปรุงระเบียบฯ ดังกล่าว
และโดยที่ข้อเสนอการปรับปรุงวันลาของข้าราชการชายเพื่อช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร
และการขยายวันลาคลอดบุตรของข้าราชการหญิง
มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา
และเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น อาทิ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ
บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายอื่นให้สอดคล้องกันต่อไปด้วย ๙)
กระทรวงมหาดไทยมีข้อเสนอแนะว่า ๙.๑) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ได้จัดบริการให้กับเด็กเล็กครอบคลุมช่วงอายุ ๒ - ๓ ปี ซึ่งในการขยายบริการเด็กเล็ก
โดยให้รับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๒ ปีลงไปนั้น
ควรกำหนดแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พิจารณาดำเนินการตามความพร้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รวมถึงความต้องการของชุมชนในพื้นที่โดยรัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณ
อัตรากำลังครู/ผู้ดูแลเด็กในแต่ละช่วงอายุ รวมถึงการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญในการดูแลเด็กอย่างถูกต้องตามหลักวิซาการ ๙.๒) สำหรับการขยายเวลาเปิด -
ปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หากจะขยายเวลาเปิด - ปิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนทำงาน
ต้องคำนึงถึงความพร้อม สภาพบริบท ที่ตั้ง
การประกอบอาชีพของผู้ปกครองและความต้องการของผู้ปกครองในท้องถิ่นนั้น ๆ
รวมถึงงบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ในการดำเนินการดังกล่าว ๑๐)
สำนักงาน ก.พ.ร. มีข้อเสนอแนะว่า
๑๐.๑) กรณีมาตรการจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า
๓ ปี ควรกำหนดให้อายุเด็กที่จะเข้ารับบริการ จาก ๐ - ๓ ปี เป็น ตั้งแต่ ๓
เดือนขึ้นไป - ๓ ปี เนื่องจากจะสอดคล้องกับมาตรการขยายวันลาคลอดของแม่
และช่วยให้เด็กได้รับการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจากแม่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อพัฒนาการของเด็ก
ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี
สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติและสามารถให้บริการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรพิจารณาประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญของบุคลากร และศักยภาพของศูนย์
พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่ง รวมทั้งต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอ
ตลอดจนคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการของผู้ปกครองหรือผู้รับบริการในแต่ละพื้นที่สำหรับการขยายเวลาให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่งด้วย ๑๐.๒) กรณีการส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
ซึ่งกำหนดให้ลาได้ ๑๕ วัน โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อกันนั้น
ควรพิจารณารับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุม เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับนำไปกำหนดรายละเอียดและกรอบระยะเวลาการลาของสามีดังกล่าวให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของทุกภาคส่วนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ๑๐.๓) กรณีการกำหนดให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรสามารถลาเพิ่มได้อีกไม่เกิน
๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ
ควรพิจารณาผลกระทบทั้งในประเด็นการปฏิบัติงานและการบริหารงานขององค์กรและภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่จะเพิ่มขึ้น
รวมทั้งคำนึงถึงความคุ้มค่าของประโยชน์โดยรวมที่สังคมและประเทศจะได้รับด้วย ๑๑)
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า ๑๑.๑) มาตรการข้อ ๒
ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด ที่เสนอว่า “...ให้ลาได้ ๑๕
วันทำการ เป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันจนครบวันลา” นั้น เห็นควรเพิ่มเติมคำว่า “ไม่เกิน”
ไว้หน้า ๑๕ วันทำการด้วย
เพื่อให้มีความคล่องตัวในการลาและสอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
ที่กำหนดไว้ให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างลาได้ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ ๑๑.๒) มาตรการข้อ ๓
ขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง ที่เสนอว่า “...โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการจากเดิม
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน” นั้น เห็นควรเพิ่มเติมคำว่า “ไม่เกิน” ไว้หน้า ๙๘ วัน ด้วยเหตุผลผลเดียวกับข้อ
๑๑.๑) แต่สำหรับการได้รับเงินเดือนระหว่างลา กฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ได้กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกิน ๙๐ วัน
ในส่วนของประเด็นที่เสนอว่า “...โดยให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘
วัน สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ”
นั้น ประเด็นดังกล่าวน่าจะมีจุดมุ่งหมายในการลาเพื่อการเลี้ยงดูบุตร
ซึ่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕
ได้กำหนดให้เป็นประเภทของการลากิจสวนตัว ตามข้อ ๒๒ ที่กำหนดไว้ว่า “ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรตามข้อ
๑๙ แล้ว หากประสงค์จะลากิจสวนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน
๑๕๐ วันทำการ”
แต่การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรดังกล่าวกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
กำหนดไว้ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
438 | การเสนอความเห็นการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน | กค. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาการขอจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
ตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอ
และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังที่เห็นว่า ให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับเงื่อนไขของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนไปดำเนินการต่อไป
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า การกำหนดระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล
งบประมาณ การพัสดุ รวมถึงค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘
หรือกฎหมายอื่นใดที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกองทุนฯ
มีความคุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ และข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ ๑) กรณีจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและส่งเสริมการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ
จะต้องเป็นไปตามความจำเป็นในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ
ก่อให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคม และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินของกองทุนดังกล่าวจะต้องไม่มีความซ้ำซ้อนกับภารกิจในลักษณะเดียวกับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๒) สำหรับแหล่งเงินจากภาครัฐที่จะนำมาใช้จ่ายจะต้องเป็นไปเท่าที่จำเป็น
โดยสถาบันอุดมศึกษาพึงจัดสรรงบประมาณเงินรายได้ทั้งภาครัฐและเอกชน
เพื่อการบริหารจัดการกองทุนเป็นลำดับแรก รวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนเป็นสำคัญ
ตลอดจนจะต้องไม่กำหนดวงเงินทุนประเดิมไว้เป็นการเฉพาะในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว
ทั้งนี้ ควรใช้มาตรการหรือกลไกทางภาษี
และกำหนดให้บุคคลผู้บริจาคทรัพย์ส่งเข้ากองทุนได้รับประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี
อันจะนำไปสู่การแบ่งเบาภาระของภาครัฐในภาพรวมยิ่งขึ้น และ ๓)
ควรจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของกองทุน
โดยกำหนดรอบการประเมินอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์
โดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์สูงสุดที่ภาครัฐและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
439 | รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 5 รายการ [โครงการ "เช่ารถยนต์บรรทุกเอนกประสงค์ (ทดแทน) ขนาด 1 ตัน พร้อมอุปกรณ์ฯ เพื่อใช้ในภารกิจบรรทุกผู้ต้องหาและการตรวจสถานที่เกิดเหตุ และการควบคุมฝูงชน กลุ่มผู้ชุมชุนประท้วงของสถานีตำรวจทั่วประเทศ จำนวน 1,482 คัน"] | ตช. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ รายการ เพื่อเป็นค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์
จำนวน ๙,๒๑๕ คัน วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๔๕๔,๖๗๐,๐๐๐ บาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ จำนวน ๒,๖๙๐,๙๓๔,๒๐๐
บาท และส่วนที่เหลืออีก จำนวน ๑๐,๗๖๓,๗๓๕,๘๐๐
บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ ตลอดจนสถานะการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาตามความจำเป็นและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
เนื่องจากการเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ในโครงการเช่ารถยนต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าวเป็นรถยนต์ประเภทพิเศษ
ซึ่งแตกต่างไปจากบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณและอัตราค่าเช่ารถยนต์ไม่เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
จึงต้องขอความตกลงประเภทรถยนต์ และอัตราค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์กับกระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ และวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
440 | ผลการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 7 (7th GMS Summit) ผ่านระบบการประชุมทางไกล | นร.11 สศช | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ๖ ประเทศ (Greater Mekong Subregion : GMS) ครั้งที่ ๗ (7th GMS Summit)
เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล
โดยมีนายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นประธานการประชุม
และประธานธนาคารพัฒนาเอเชียเป็นประธานร่วมการประชุม โดยมีผู้นำประเทศลุ่มน้ำโขงเข้าร่วมการประชุม
และเห็นชอบข้อเสนอแผนการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของแผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
๖ ประเทศ (GMS) และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป สรุปได้ ดังนี้ (๑)
การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ โดยไม่มีการลงนาม ประกอบด้วย
ร่างปฏิญญาร่วมระดับผู้นำ GMS ครั้งที่ ๗
ร่างกรอบยุทธศาสตร์แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน GMS พ.ศ.
๒๕๗๓ และร่างเอกสารแผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อผลกระทบจากโควิด-๑๙ (๒)
ผลรับความสำเร็จของแผนงาน GMS เช่น
พัฒนาโครงการในสาขาคมนาคมขนส่งแล้วเสร็จ จำนวน ๑๑ โครงการ มูลค่ารวม ๒
พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ไทย-สปป. ลาว-มาเลเซีย
และกรอบการลงทุนในภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๖๕ ประกอบด้วย ๒๐๔ โครงการ มูลค่ารวม ๗.๘
หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และ (๓)
ไทยมีแผนการดำเนินงานระยะเร่งด่วนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน
GMS เช่น
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งในทุกระบบทั้งในไทยและประเทศเพื่อนบ้านและมุ่งดำเนินโครงการที่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่เห็นว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ควรมีการวิเคราะห์ ติดตามสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด
และการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง
ควรคำนึงถึงโครงสร้างสีเขียวและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการระบบคมนาคมขนส่งด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |