ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 21 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 401 - 420 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
401 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 2570 | อว. | 08/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู
จัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและวัฒนธรรม การสร้างคุณค่า (Value Chain) จากทรัพยากรชีวภาพและวัฒนธรรม
และการสร้างความสามารถในการพึ่งตนเอง ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ทั้งนี้
ในส่วนของการขับเคลื่อนกิจการเกี่ยวกับเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน
และเศรษฐกิจสีเขียว ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นกับการส่งเสริมกิจการสมุนไพรไทยทั้งระบบ
ตั้งแต่การเพาะปลูก การแปรรูป การวิจัยและพัฒนา (R & D)
และการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการแพทย์ สุขภาพ
และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศและธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น
ควรพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของกิจการ โดยอาจเน้นการขับเคลื่อนกิจการเกี่ยวกับ BCG โดยตรงก่อน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓.
มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการร่วมเป็นหน่วยงานในการดำเนินการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ
BCG พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐ เพิ่มเติมด้วย ๔.
มอบหมายให้สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรีติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ
BCG พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐ อย่างต่อเนื่อง
และรายงานผลให้นายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ ด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
402 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 1 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 08/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบการเพิ่มเติม “วนอุทยาน” “สวนพฤกษศาสตร์” “สวนรุกขชาติ”
ในหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙
ธันวาคม ๒๕๕๘ (เรื่อง หลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ) ๒.
เห็นชอบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน ๑ :
๔๐๐๐ (One Map)
และรับรองเส้นแนวเขตที่ดินของรัฐ กลุ่มจังหวัดที่ ๑ จำนวน ๑๑ จังหวัด และให้หน่วยงานที่มีที่ดินของรัฐอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) โดยใช้แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐดังกล่าวที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วแทนแผนที่แนบท้ายกฎหมาย
และใช้เป็นแนวเขตที่ดินของรัฐตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบวัน
โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้ตามเหตุผล ความจำเป็น
แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ รวมทั้งให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้อง
หรือให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้รวดเร็ว เหมาะสมตามแต่กรณี
โดยดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ การคุ้มครองและรับรองการดำเนินการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
403 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายวีรศักดิ์ ทิพย์มณเฑียร) | นร.06 | 08/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายวีรศักดิ์ ทิพย์มณเฑียร ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนักอำนวยการ
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบงานการข่าว (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ)
กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่
๒๙ กันยายน ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
404 | ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ปปง. | 08/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
พ.ศ. ๒๕๕๙
เกี่ยวกับการประกาศและเพิกถอนรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทำอันเป็นการก่อการร้ายหรือเป็นผู้ที่มีการกระทำอันเป็นการแพร่ขยายอาวุธมีอานุภาพทำลายล้างสูง
การระงับการดำเนินการกับทรัพย์สินของผู้ที่ถูกประกาศรายชื่อดังกล่าว
การเข้าถึงทรัพย์สินที่ถูกระงับการดำเนินการกับทรัพย์สิน และอำนาจหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายมากยิ่งขึ้น
ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ควรมีกลไกในการตรวจสอบเทียบเคียงได้กับมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่กำหนดให้มีขั้นตอนการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าว
รวมทั้งควรกำหนดเรื่องคณะกรรมการพิจารณากำหนดรายชื่อให้มีความสอดคล้องกับมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย
และการมีบทบัญญัติรองรับการดำเนินการตามภาระผูกพันสำหรับการซื้อขายดังกล่าวที่เกิดขึ้นก่อนวันที่บัญชีถูกระงับอย่างชัดเจนหรือหากสามารถเร่งรัดกระบวนการขอรับชำระหนี้จากผู้ที่ถูกระงับการดำเนินการกับทรัพย์สินอันเนื่องมาจากมีการกำหนดอันเป็นบุคคลที่ถูกกำหนดตามมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
พ.ศ. ๒๕๕๙
ย่อมเป็นการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับความเชื่อมั่นต่อระบบตลาดทุนโดยรวมได้ ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญ
ของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
405 | รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของส่วนราชการ (จำนวน 13 ราย) | นร 05 | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
(ปคร.) ของส่วนราชการ จำนวน ๑๓ ราย ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ๒. นายพาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ๓. นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๔. นายกีรติ รัชโน รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ๕. นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ๖. นายปรีดี ภูสีน้ำ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ๗. นายมงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๘. นางอุดมพร เอกเอี่ยม รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๙. นายยุทธา สาโยชนกร รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๑๐. นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ๑๑. นายปวัตร์ นวะมะรัตน รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๑๒. พลตำรวจโท
ธนาศักดิ์ ฤทธิเดชไพบูลย์ ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่นายตำรวจประสานงานรัฐสภา)
๑๓. นางรวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
406 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. .... | ดศ. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์ในการดำเนินการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกันของหน่วยงานของรัฐ
เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยและได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำหนดให้มีแพลตฟอร์มกลางเป็นช่องทางรับแจ้งข้อมูลที่สงสัยว่าอาจเป็นข่าวปลอมเพียงระบบเดียว
ให้มีการกำหนดกระบวนการ รูปแบบ ขั้นตอนการดำเนินการตามกฎหมายกับข่าวปลอมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ชัดเจน
ควรแก้ไข ร่างข้อ ๗ เป็น “มท.
จัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อสังคมออนไลน์ประจำจังหวัดขึ้น
โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ประสานงานประจำจังหวัด
...” ให้มีการกำหนดรายละเอียดของนิยามตามร่างระเบียบฯ
ของขั้นตอนการปฏิบัติให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาทิ คำว่า “เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม”
เพื่อลดปัญหาการตีความ และเป็นการสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติตามร่างระเบียบฯ
ดังกล่าวต่อไป และคำว่า “ข่าวปลอม” ตามข้อม ๓ ควรเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า
ข้อมูลเท็จหรือข้อมูลปลอมหมายความว่าอย่างไร และอาจพิจารณาเพิ่มเติมว่า “ข้อมูลที่บิดเบือน”
เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๔ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่เห็นว่าการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบและดำเนินคดีผู้เผยแพร่ข้อมูลที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมควรดำเนินการด้วยความรอบคอบและระมัดระวังมิให้เป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
ร่างข้อ ๖
ควรเพิ่มข้อความให้สามารถใช้กลไกของหน่วยงานด้านสื่อประชาสัมพันธ์เดิมที่กระทรวงมีอยู่มาดำเนินการได้
ระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายต้องคำนึงถึงความเหมาะสมแก่กรณี เร่งสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ใช้สื่อทุกคน
ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคำนิยาม ขอบเขต
และกระบวนการดำเนินงานให้เกิดความชัดเจน
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
407 | ร่างกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 9 ถึงมาตรา 9/6 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 จำนวน 3 ฉบับ | อก. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
จำนวน ๓ ฉบับ ดังนี้ ๑. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับและการออกใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง
การขอต่ออายุและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง การขอรับและการออกใบแทนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลา
และวิธีการเพื่อดำเนินการในการขอรับและการออกใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง การต่ออายุ
และการออกใบแทนใบอนุญาตของผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง โดยดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงอุตสาหกรรม ๒ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการออกหนังสือเตือน การสั่งพักใช้ และการเพิกถอนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลา
และวิธีการดำเนินการ เพื่อประกอบการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกหนังสือเตือนผู้ตรวจสอบเอกชน
และการออกคำสั่งพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง ๓. ร่างกฎกระทรวงกำหนดวิธีการตรวจสอบ
กำหนดเวลาในการตรวจสอบ และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดกรอบวิธีการและระยะเวลาในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรหรือดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องแทนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเพื่อประกอบการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยมีข้อสังเกตต่อร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการออกหนังสือเตือน การสั่งพักใช้
และการเพิกถอนในอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง พ.ศ. .... ข้อ ๔.
เกี่ยวกับการส่งหนังสือเตือน และข้อ ๕
“ระยะเวลาที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติที่ระบุไว้ในหนังสือเตือนอาจมีการขยายอีกได้” ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
408 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา | กษ. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
จำนวน ๓๕๐ แปลง เนื้อที่ ๗๗๐-๑-๕๙ ไร่ในอัตราไร่ละ ๔๕,๐๐๐
บาท เป็นเงิน ๓๔.๖๗ ล้านบาท ให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
ที่ผ่านการตรวจสอบและเห็นชอบโดยคณะอนุกรรมการทั้ง ๒ คณะ (คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
และคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
เฉพาะกลุ่มโนนสัง กลุ่มราษีไศล และกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน) โดยในส่วนของงบประมาณ กรมชลประทานจะปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ มาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าทดแทน
จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายละเอียดผลการตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา
อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ รวม ๒๑ ราย
โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธาน
เพื่อกำกับการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วน ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเสนอ และให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
กรมชลประทานควรเร่งรัดดำเนินการจ่ายค่าทดแทน
กำหนดแผนงานและกรอบระยะเวลาสำหรับการสำรวจพื้นที่และบุคคลที่ได้รับผลกระทบให้มีความชัดเจน
เพื่อให้ทราบงบประมาณที่ต้องนำมาใช้ในการจ่ายค่าทดแทนที่แน่นอน
และให้กรมชลประทานปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๖๕
แล้วขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเร่งรัดสำรวจพื้นที่และจำนวนราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนาทั้งหมด
เพื่อให้สามารถจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรได้ถูกต้องครบถ้วนโดยเร็วต่อไป ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐในกรณีต่าง
ๆ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง
ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา)
ให้แล้วเสร็จและนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
409 | การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) | อว. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการการมอบอำนาจให้สภานโยบายฯ
ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา
และมีคำสั่งให้สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาแทนคณะรัฐมนตรี
โดยให้ถือว่าการอนุมัติและความเห็นชอบดังกล่าวเป็นมติของคณะรัฐมนตรี
และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ตามนัยมาตรา ๖๙
แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
ในกรณีที่เป็นการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาในเรื่องที่เป็นเชิงนโยบาย
มีความสำคัญสูง มีผลกระทบกับระบบการอุดมศึกษาในภาพรวม
หรือก่อให้เกิดภาระงบประมาณในระยะยาว ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาตินำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบเป็นกรณี
ๆ ไป ก่อนดำเนินการต่อไป ๒. ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ กำหนดมาตรการส่งเสริมเชิงนโยบายในส่วนของการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงกับภารกิจหน่วยงานของภาครัฐ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงศึกษาธิการรับเรื่องนี้ไปพิจารณาและหารือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงการจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการให้เหมาะสมและเป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
410 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการจ้างเหมาพนักงานปฏิบัติงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ทส. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการจ้างเหมาพนักงานปฏิบัติงานของกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๑ โครงการ วงเงินงบประมาณ
๒๕๑,๙๓๗,๐๐๐ บาท โดยมีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
เป็นหน่วยงานดำเนินการ และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นเงิน ๒๕๑,๙๓๗,๐๐๐ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการจ้างเหมาพนักงานปฏิบัติงานของกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๑ โครงการ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงาน
ก.พ. ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล โครงการดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และควรจัดเตรียมแผนการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ด้านงบประมาณที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไป
เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านการจัดการทรัพยากรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์มีความต่อเนื่องและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
411 | ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา ครั้งที่ 10 | พณ. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา
ครั้งที่ ๑๐ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
(นายสินิตย์ เลิศไกร) เข้าร่วมประชุม ซึ่งเนการาบรูไนดารุสซาลาม ในฐานะประธานอาเซียน
ปี ๒๕๖๔ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม สรุปได้ ดังนี้ (๑) การแลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไขผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับการเปิดตลาดการค้าและการลงทุน ทั้งนี้
ไทยได้เน้นย้ำความสำคัญของระบบการค้าที่เปิดกว้างและสนับสนุนบทบาทขององค์การการค้าโลก
เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับวัคซีนและยาที่จำเป็น (๒)
รับทราบข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของสภาธุรกิจแคนาดา-อาเซียน ที่ให้ความสำคัญกับการเปิดเสรีทางการค้า
โดยเฉพาะการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
การเปิดพรมแดนให้นักธุรกิจสามารถเดินทางระหว่างกัน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
การส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าดิจิทัล
และการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (๓) เห็นชอบการเปิดเจรจาการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
โดยกำหนดเป้าหมายให้สรุปผลการเจรจาภายใน ๒ ปี
และเห็นชอบเอกสารขอบเขตสาระที่จะเจรจาในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
(๔) กระทรวงพาณิชย์คาดว่าอาเซียนและแคนาดาจะสามารถสรุปแผนงานเจรจาและเริ่มการเจรจารอบแรกในช่วงไตรมาสแรกของปี ๒๕๖๕ ทั้งนี้
ได้จัดทำขอบเขตสาระเบื้องต้นที่จะเจรจาในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา โดยมีประเด็นที่สำคัญ เช่น
ภาพรวมการเจรจา มาตรการป้องกันและเยียวยาทางการค้า และนโยบายแข่งขันทางการค้า และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเตรียมการเจรจาในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยให้คำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และเตรียมมาตรการบรรเทาผลกระทบในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนยึดท่าทีตามกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดาของประเทศไทย
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงวัฒนธรรม
ที่ควรคำนึงถึงหลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง
ซึ่งแต่ละประเทศต่างดำเนินการตามพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้าร่วมเป็นภาคี
โดยคำนึงถึงขีดความสามารถของแต่ละประเทศ
และไม่ควรใช้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมืดกีดกันทางการค้าต่อไปในอนาคต
ควรคำนึงถึงข้อดีและผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนผลประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
412 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 | นร.11 สศช | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา
และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๕ ดังนี้
(๑) อนุมัติให้กรมชลประทาน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ
และเพิ่มพื้นที่ชลประทาน โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ (๒) อนุมัติให้กรมการข้าว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเพิ่มศักยภาพและปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์
ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ (๓)
อนุมัติให้กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดเดือนมีนาคม
๒๕๖๕ (๔) ) มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการเร่งรัดการดำเนินโครงการฯ
ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาดำเนินงานที่เสนอในครั้งนี้ รวมถึงเร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ
eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
และรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมตามมติคณะกรรมการฯ
ไปประกอบการดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป และ (๕) มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการโดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ
และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ให้เร่งดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้และจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้อย่างเคร่งครัด
ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ให้หน่วยงานต้นสังกัดกำกับดูแลให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปฏิบัติตามข้อ
๑๙ และ ข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้อีก หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากคลังโดยเร็ว
รวมทั้งเร่งรัดการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ให้ทันต่อสถานการณ์
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
ที่ไม่สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้
เร่งปฏิบัติตามข้อ ๑๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
413 | ผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2565 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล) | ดศ. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. ๒๕๖๕
(ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล) สรุปได้ ดังนี้ (๑)
เรื่องที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ในปี ๒๕๖๕
มากที่สุด คือ แก้ปัญหาค่าครองชีพ (ร้อยละ ๘๔.๕) (๒)
ความวิตกกังวลต่อการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในประเทศ
มีประชาชนส่วนมากมีความวิตกกังวลต่อการเปิดประเทศฯ (ร้อยละ ๗๗) (๓)
ความคิดเห็นต่อนโยบายให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยการปรับตัวและป้องกันตนเองอย่างเข้มข้น
ประชาชนส่วนมากเห็นด้วย (ร้อยละ ๖๓) (๔)
ความพึงพอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลที่ผ่านมาประชาชนมีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุด
ร้อยละ ๒๙.๙ (๕) การรู้จัก/ทราบช่องทางในการแจ้งเรื่องร้องเรียนปัญหาต่าง ๆ
บนโลกออนไลน์ ประชาชนส่วนมากไม่รู้จัก/ไม่ทราบ (ร้อย ๗๕.๐) และ (๖)
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เช่น การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์เฝ้าระวังและป้องกันตนเองจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
และการเร่งแก้ไขฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยด่วน
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
414 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อว. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้น
รวมทั้งกำหนดปริญญาเพิ่มระดับชั้นปริญญาโทในสาขาวิชาเทคโนโลยี
และกำหนดเพิ่มเติมชื่อปริญญาในสาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์
รวมทั้งกำหนดอักษรย่อและสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
415 | แจ้งคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ. 626/2559 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 1006/2564 ระหว่าง นางสุรีย์ลักษณ์ คงเจริญโชค ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรและความรับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย | อส. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขดำที่ อ. ๖๒๖/๒๕๕๙
คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๑๐๐๖/๒๕๖๔ ระหว่าง นางสุรีย์ลักษณ์ คงเจริญโชค ผู้ฟ้องคดี
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน ผู้ถูกฟ้องคดี (คณะรัฐมนตรี
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๖) (เรื่อง
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
และความรับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย) ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นในส่วนของค่าเสียหายทางจิตใจและอัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระแก่คู่ฟ้องคดี
โดยยกฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๖ (คณะรัฐมนตรี)
ตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
416 | การจัดทำและลงนามเอกสารเพิ่มเติมฉบับที่ 1 (Addendum No. ) ของสัญญาการให้ (Grant Contract) ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป ของกิจกรรมการเสริมสร้างขีดความสามารถของสำนักเลขาธิการอาเซียนภายใต้โครงการ ARISE Plus | กต. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อเอกสารเพิ่มเติมฉบับที่
๑ (Addendum No. 1) ของสัญญาการให้
(Grant Contract) ของโครงการ ARISE Plus และอนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในเอกสารดังกล่าว และให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งสำนักเลขาธิการอาเซียนผ่านคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน
ณ กรุงจาการ์ตา ว่า รัฐบาลไทยเห็นชอบต่อเอกสารแล้ว
และให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนลงนามในเอกสารเพิ่มเติมฉบับที่ ๑ (Addendum
No. 1) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารเพิ่มเติมฉบับที่ ๑ (Addendum No.
1) ของสัญญาการให้ (Grant Contract) ของโครงการ ARISE Plus ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
417 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 | นร.11 สศช | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุมครั้งที่
๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๕ ซึ่งได้พิจารณาอนุมัติโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ระยะที่ ๔ ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กรอบวงเงิน ๘,๐๗๐.๗๒๔๒ ล้านบาท
และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ ๒
กรอบวงเงิน ๑,๓๕๑.๙๘๑๒ ล้านบาท อนุมัติโครงการคนละครึ่ง
ระยะที่ ๔ ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กรอบวงเงิน ๓๔,๘๐๐ ล้านบาท และมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ดำเนินการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความเข้าใจและรับทราบถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
พิจารณาปรับปรุงจำนวนกลุ่มเป้าหมายและวงเงินของโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
ระยะที่ ๒ พิจารณากำหนดมาตรการเพิ่มเติมในการกำกับและติดตามการดำเนินโครงการ เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากการดำเนินโครงการโดยมิชอบได้
รวมทั้งอนุมัติโครงการเราเที่ยวด้วยกันของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรอบวงเงิน ๙,๐๐๐ ล้านบาท โดยมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ระยะที่ ๔ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
ระยะที่ ๒ และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ ๔ และให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการเราเที่ยวด้วยกัน
ดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายสัปดาห์ เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้
พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ ๑๕ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
อย่างเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ดำเนินการประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยเฉพาะในส่วนของผลลัพธ์และผลสัมฤทธิ์ เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีความเข้าใจและรับทราบถึงข้อมูลของโครงการอย่างชัดเจนและทั่วถึง
ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการกำกับติดตามการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้
ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าหน่วยงานรับผิดชอบโครงการควรเตรียมความพร้อมให้ทันต่อสถานการณ์
ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามหลักเกณฑ์อัตราค่าใช้จ่าย
และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด เร่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรับรู้
ความเข้าใจ ในมาตรการที่ถูกต้องให้กับประชาชน
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลโครงการ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
418 | ร่างกฎหมายการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินเยียวยา เงินช่วยเหลือ เงินสนับสนุน เงินอุดหนุน และประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากโครงการภาครัฐอันเนื่องมาจากการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | กค. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา ๓๓
ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
และโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ๒. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่
.. พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ได้รับเป็นเงินเยียวยา
เงินช่วยเหลือ เงินสนับสนุน เงินอุดหนุน
หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากโครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการกำลังใจ
โครงการทัวร์เที่ยวไทย โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ระยะที่ ๓ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ ๑ ระยะที่ ๒ และระยะที่ ๓ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้
โครงการเราชนะ โครงการ ม๓๓ เรารักกัน โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา ๓๓
ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ของกระทรวงศึกษาธิการ และโครงการส่งเสริมรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs ของกรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน
เป็นเงินได้พึ่งประเมินที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ รวม ๒ ฉบับ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่ควรสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ..ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
419 | การขออนุญาตทำไม้บริเวณป่าที่เปิดใช้ที่ดินเพื่อทำประโยชน์ กรณีการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองสังข์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2513 เพื่อขอกันพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติบริเวณที่กรมป่าไม้อนุมัติให้องค์การสวนยางเข้าทำประโยชน์เพื่อใช้ในกิจการสวนยาง จังหวัดนครศรีธรรมราช) | กษ. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เพิ่มข้อความดังต่อไปนี้เป็นข้อ
๓ ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๒ (เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๓
เพื่อขอกันพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติบริเวณที่กรมป่าไม้อนุมัติให้องค์การสวนยางเข้าทำประโยชน์
จังหวัดนครศรีธรรมราช สำหรับดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำคลองสังข์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช) “๓.
เห็นชอบให้การยางแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำไม้ยางพาราที่การยางแห่งประเทศไทยได้ปลูกขึ้นเองออกจากพื้นที่ดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำคลองสังข์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
แล้วส่งมอบพื้นที่ให้กับกรมชลประทานโดยเร็วเพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ต่อไป” ทั้งนี้
ให้การยางแห่งประเทศไทยดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(หนังสือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด่วนที่สุด ที่ ทส ๐๒๒๐.๒/๑๑๑
ลงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๕) ไปดำเนินการด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
420 | การปรับปรุงชื่อสำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในต่างประเทศ | อว. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการปรับปรุงชื่อหน่วยงาน จากเดิม สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เป็น สำนักงานที่ปรึกษาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงาน ก.พ.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
โดยให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอเรื่องการปรับภารกิจของสำนักงานที่ปรึกษาฯ
รวมถึงในประเด็นเกี่ยวกับคุณลักษณะและสมรรถนะของบุคลากรประจำสำนักงานดังกล่าว ให้คณะอนุกรรมการและคณะทำงานโครงสร้างบุคลากรของไทยที่ประจำการในต่างประเทศพิจารณาด้วย
และควรพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนและกำหนดแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจน
ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น ๆ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|