ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 20 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 381 - 400 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
381 | การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร | นร.12 | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีเห็นชอบการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร
ดังนี้ (๑) ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทของหน่วยงานของรัฐในการกำกับของฝ่ายบริหาร)
โดยเพิ่มประเภทขององค์การมหาชน จากเดิม ๒ ประเภท เป็น ๓ ประเภท
เพื่อรองรับหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
และมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๕/๘
แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ครอบคลุมถึงหน่วยงานดังกล่าว
(๒) จำแนกให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ
และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร
ประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคล และ (๓)
จำแนกให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารประเภทองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ
ตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงหน่วยงานที่เป็นอยู่เดิมเป็นลำดับแรกก่อน
เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนของภารกิจ
รวมทั้งคำนึงถึงหลักการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายของภาครัฐที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
คำนึงถึงแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐
โดยอาจวางระบบ หลักเกณฑ์ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติในการกำกับดูแล
และบริหารจัดการองค์กรให้ชัดเจน
และควรเร่งรัดการดำเนินการในส่วนของหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายหลังการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารแล้วเสร็จ
เพื่อปรับรูปแบบการบริหารราชการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
382 | ร่างบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | พน. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑.๑
เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Memorandum
of Understanding between The Government of the Kingdom of Thailand and The Government of the Lao
People’s Democratic Republic Regarding Cooperation on the Development of
Electrical Energy in the Lao People’s Democratic Republic) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขยายความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าจากปริมาณกำลังการผลิต
เดิม ๙,๐๐๐ เมกะวัตต์ เป็น ๑๐,๕๐๐ เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้น ๑,๕๐๐ เมกะวัตต์ ๑.๒ อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
ดังกล่าว และขอให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม โดยวิธีการลงนามแบบเสมือนจริง (Virtual
Signing Ceremony) ๒.
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ต่อไป ๓.
ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานอัยการสูงสุด
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าจาก
สปป.ลาว
ให้เป็นไปอย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับแผนการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศในแต่ละช่วงเวลา
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
383 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 | นร.11 สศช | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
384 | กรอบท่าทีไทยเอกสารผลลัพธ์การประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 5 ช่วงที่ 2 และการประชุมสมัยพิเศษ เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ | ทส. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบกรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุม UNEA 5.2 และการประชุมสมัยพิเศษ UNEP@50 ๑.๒
เห็นชอบในหลักการร่างข้อมติและข้อตัดสินใจ ๑๗ เรื่อง
เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับนานาประเทศและโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ๑.๓
เห็นชอบในหลักการให้ประเทศไทยร่วมอุปถัมภ์ (Co-sponsor)
ข้อมติที่ประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวอย่างโดดเด่นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
ดังนี้ (๑) Draft resolution on the Sound Management of Chemicals and
Waste (๒) Draft resolution for a Science-Policy Panel to
support action on chemicals, waste and pollution (๓) Draft
resolution on Green recovery และ (๔) Draft resolution on
Circular Economy ๑.๔ เห็นชอบในหลักการร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรี
(Ministerial Declaration) และร่างปฏิญญาทางการเมือง
(Political Declaration) ๑.๕ อนุมัติให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรี
(Draft Ministerial Declaration) และร่างปฏิญญาทางการเมือง (Draft Political Declaration) ๒.
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างข้อมติและข้อตัดสินใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
385 | การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี | นร.10 | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งสิ้น ๖๕ อัตรา
ตามมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๔
เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๔ ตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
386 | การขอความเห็นชอบต่อร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน พ.ศ. 2564-2568 (Draft ASEAN Work Plan on Youth 2021-2025) | พม. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน
พ.ศ. ๒๕๖๔–๒๕๖๘ (Draft ASEAN Work Plan on Youth
2021-2025) และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่รับผิดชอบงานด้านเยาวชนของประเทศไทยมีหนังสือแจ้งการรับรองร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ
ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียน [ASEAN Secretariat (ASEC)] ในโอกาสแรกภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว
โดยร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ มีความสอดคล้องกับมาตรการเชิงกลยุทธ์และผลลัพธ์ของแผนงานประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
๒๐๒๕ และมีวิสัยทัศน์ คือ
มุ่งสู่เยาวชนอาเซียนที่พร้อมรับอนาคตโดยเสริมทักษะสำหรับศตวรรษที่ ๒๑
และทักษะดิจิทัล และการสร้างสถาบันกลไกของการมีส่วนร่วมของเยาวชน
รวมถึงการกำหนดนโนบายระดับภูมิภาค ซึ่งร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ ประกอบด้วย
ผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย ๕ ประเด็นหลัก ๕ ผลลัพธ์ระยะสั้น ๑๓ ผลผลิต และ ๑๔ โครงการ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๘
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนทุกกลุ่มได้มีโอกาสเข้าถึง
มีส่วนร่วม และได้รับประโยชน์จากกิจกรรม/โครงการอย่างทั่วถึง
ซึ่งจะช่วยลดช่องว่างของเยาวชนอาเซียน และก่อให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเท่าเทียมและยั่งยืน
ให้ความสำคัญในการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการภายใต้ร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ
เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนสามารถบรรลุตามผลลัพธ์และผลผลิตที่กำหนดไว้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
387 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ประเภทต่าง ๆ
รวม ๒๗ ประเภท และรถจักรยานยนต์ประเภทต่าง ๆ รวม ๔ ประเภท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รวมพิจารณาร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้กับร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
รวม ๒ ฉบับ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรมีมาตรการรองรับให้รัดกุมและไม่เป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร
ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ควรเพิ่มหลักการควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศให้ครอบคลุมชนิดอื่นด้วย
เนื่องจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของการปล่อยมลพิษทางอากาศของประเทศไทย
ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
และมาตรการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดเก็บรายได้เพื่อมาชดเชยกับรายได้ที่คาดว่าจะสูญหายไป
และให้ดำเนินการตามนัยของมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.
๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
388 | ร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... | ทส. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
โดยกำหนดพื้นที่ในการบังคับใช้กฎหมาย กำหนดให้มีแผนจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทุก
๕ ปี เพื่อใช้บริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในภาพรวมของประเทศ
กำหนดให้มีคณะกรรมการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ กำหนดให้มีการสร้างสมรรถนะและแรงจูงใจในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
กำหนดวิธีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ กำหนดกลไกในการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพรวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น
กำหนดกลไกการกำกับดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Living Modified Organisms : LMOs) กำหนดโทษทางแพ่ง
โทษทางปกครอง โทษทางอาญา และกำหนดบทเฉพาะกาล ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด
และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เช่น ควรพิจารณาความครอบคลุมของกฎหมาย
ในประเด็นการปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศจากการใช้ประโยชน์ในรูปแบบของการเอารัดเอาเปรียบทางการค้าจากต่างชาติ
กำหนดเพิ่มเติมในอนุบัญญัติให้บุคคลที่ไม่ได้ขออนุญาตก่อนการเข้าถึงทรัพยากรทางชีวภาพตั้งแต่แรกสามารถยื่นคำขออนุญาตก่อนการเข้าถึงและทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ในภายหลังได้
ควรมีความนิยามเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการด้านเทคนิค อาทิ
รายงานการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพ (มาตรา ๔๔) บัญชีปลดปล่อยต่อสิ่งแวดล้อม
(มาตรา ๔๖) แนวทางการระมัดระวังล่วงหน้า (มาตรา ๕๑) และสิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรม
(มาตรา ๕๓) เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป
และให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด
๑๖ การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรมีระบบความเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ครอบคลุมถึงสิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรมที่ได้มาจากการพัฒนาขึ้นทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร
และให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลเกิดผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
389 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นางพรรณี พุ่มพันธ์ ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | คค. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงคมนาคม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๓ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้ ๑. นางพรรณี พุ่มพันธ์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นายอภิสิทธิ์ พรหมเสน ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
390 | ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 11 | กต. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา
ครั้งที่ ๑๑ ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งกัมพูชา
(นายปรัก สุคน) เป็นประธานร่วมกัน โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ
ได้แก่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมโดยเร็วจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙
การรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนและการส่งเสริมมิตรภาพอันใกล้ชิดระหว่างประชาชนไทยและกัมพูชา
ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในประเด็นอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน และมอบหมายให้ส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมฯ
ต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เช่น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด และให้ความสำคัญในการหารือด้านเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
ปรับปรุงถ้อยคำในบันทึกการประชุมฯ
ฉบับภาษาไทยและประเด็นการดำเนินการตามตารางติดตามผลการประชุมฯ
เพื่อให้เนื้อหาในเอกสารดังกล่าวมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
391 | สรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากการเตรียมการประกาศเขตอุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม | สนง. กสม. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
กรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากการเตรียมการประกาศเขตอุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๒๔๗ วรรคสอง
และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
392 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2555) | มท. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมปากพนัก
จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๕๕
เพื่อปรับปรุงข้อห้ามการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับโรงงานในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
รวมทั้งเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับที่ว่างตามแนวขนานริมเขตของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๑๓ ช่วงนครศรีธรรมราช-ปากพนัง และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๓ (ตอนเลี่ยงเมือง)
ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
ตลอดจนปรับปรุงบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้เหมาะกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าควรใช้เนื้อความเดิมตามข้อ
๑๓ วรรคสี่
แห่งกฎกระทรวงดังกล่าวเนื่องจากมีความเหมาะสมกับทางหลวงแผ่นดินสายดังกล่าว ควรคำนึงถึงกฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องการใช้ที่ดินด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย ประเภทหรือชนิดของโรงงานในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยส่วนใหญ่เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม คำนึงถึงจำนวนสถานประกอบกิจการต่อพื้นที่
ให้โรงงานลำดับที่ ๕๐ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
ถ่านหินหรือลิกไนต์อย่างหนึ่งอย่างใด เฉพาะ (๔)
การผสมผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมเข้าด้วยกันหรือการผสมผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมกับวัสดุอื่นแต่ไม่รวมถึงการผสมผลิตภัณฑ์จากก๊าซธรรมชาติกับวัสดุอื่นไว้ท้ายประกาศกระทรวงดังกล่าว
กรมโยธาธิการและผังเมืองควรให้เจ้าพนักงานควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินตามข้อกำหนด
และให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๑ ที่ระบุถึง “บัญชีท้ายกฎกระทรวง”
เป็น “บัญชีท้ายประกาศ” ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
393 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 | นร.11 สศช | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
394 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 4/2565 | นร.11 สศช | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ในคราวประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑) เห็นชอบให้สถาบันวิทยาลัยชุมชน
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเสริมศักยภาพสมาชิกสหกรณ์ผู้ทำนาเกลือทะเล
(เกษตรกรนาเกลือ) โดยขยายเวลาดำเนินโครงการเป็นสิ้นสุดเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ (๒) เห็นชอบให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการแปลงใหญ่กระบือชลบุรีครบวงจร
โดยขยายเวลาดำเนินโครงการเป็นสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ (๓) เห็นชอบให้จังหวัดกระบี่
จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดลำพูน และจังหวัดตาก เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ/ยกเลิกโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ (๔) มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ
เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดของโครงการโดยเร็ว พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการฯ
ให้แล้วเสร็จ และปฏิบัติตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ รวมทั้งรับความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้.ไปดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้กระทรวงต้นสังกัดกำกับดูแลหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
395 | มติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 และครั้งที่ 1/2565 | พน. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ
ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๔
มกราคม ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงพลังงาน
ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติเสนอ
และให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปให้ถูกต้อง
เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ดำเนินการในเรื่องต่าง
ๆ เพื่อสนับสนุนแนวทางดังกล่าวด้วย เช่น
การกำหนดกลไกการกำกับดูแลและตรวจสอบติดตามการดำเนินงานตามมาตรการต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของกิจการยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง
การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาดเพื่อนำมาใช้กับยานยนต์ไฟฟ้า
การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อให้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน
และการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาเพื่อให้มีบุคลากรที่เหมาะสมและเพียงพอรองรับอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนตามนโยบาย
30@30 เป็นต้น ๒.
ให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เช่น ให้กรมสรรพาสมิต กระทรวงการคลัง
ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่าย งบกลาง
รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒
พิจารณาเสนอแนะแนวทางการจัดหาแหล่งงบประมาณที่เหมาะสม
รวมทั้งจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศในแต่ละปี
รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการปรับตัวทางธุรกิจ การพัฒนาทักษะ
และการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีของผู้ประกอบการและแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย ๓.
ในส่วนของกรอบวงเงินในการดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ขอใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในวงเงิน ๓,๐๐๐ ล้านบาท ให้กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ สำหรับการจัดหาแหล่งงบประมาณในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๘ ในวงเงิน ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ให้กระทรวงการคลังร่วมกับสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งเงินและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
396 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล และน้ำมันอื่น ๆ
ที่คล้ายกัน ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕
เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผ่านราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ลดลงโดยตรง
และสะท้อนไปยังราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จะลดลงตามไปด้วย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลที่สะท้อนต้นทุนตามข้อเท็จจริง
และจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
397 | (ร่าง) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 – 2567 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1) | พน. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๓ ที่ได้เห็นชอบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่
๑/๒๕๖๓ (ครั้งที่ ๑๕๐) เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๓
ในส่วนของแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/๗๘๓
ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) ที่กระทรวงพลังงานควรคำนึงถึงกรอบและวินัยการใช้จ่ายเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการใช้จ่ายเพื่อชดเชยให้กับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
และควรเร่งดำเนินการศึกษาและกำหนดมาตรการในระยะยาวในการปรับโครงสร้างราคาพลังงานของประเทศให้เป็นไปตามกลไกตลาดและสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบในทุกมิติ และให้สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พิจารณาจัดทำแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นกรอบนโยบาย
เนื่องจากมาตรา ๑๔(๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๖๒
ได้กำหนดให้คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีหน้าที่ในการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกองทุน
และกำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับนโยบายการบริหารกองทุนตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนดแล้ว
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
398 | ขอเปลี่ยนแปลงสถานที่ดำเนินการก่อสร้างอาคารบ้านพักตุลาการและข้าราชการศาลปกครองอุบลราชธานีและขอขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ | ศป. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติการเปลี่ยนแปลงสถานที่ดำเนินการก่อสร้างรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
ตามระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๗ (๓)
สำหรับการขอขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
การขอทำความตกลงความเหมาะสมของราคาก่อนทำสัญญาก่อหนี้ผูกพัน
และการจัดทำแผนการปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นที่จะต้องจ่ายในแต่ละปีงบประมาณนั้น
เห็นควรให้สำนักงานศาลปกครองปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณและให้สำนักงานศาลปกครองรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
ที่ควรอนุมัติให้ศาลปกครองเปลี่ยนแปลงสถานที่ก่อสร้าง รายการค่าก่อสร้าง
และรายการค่าควบคุมงานก่อสร้างอาคารบ้านพักตุลาการและข้าราชการศาลปกครองอุบลราชธานี
จากเดิมตำบลแจระแม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี เป็นตำบลหนองขอน
อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี และขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการค่าก่อสร้างและรายการค่าควบคุมงานก่อสร้างอาคารบ้านพักตุลาการและข้าราชการศาลปกครองอุบลราชธานี
จากเดิมปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑-พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีงบประมาณ พ+.ศ. ๒๕๖๑-พ.ศ. ๒๕๖๗
และการดำเนินโครงการดังกล่าวจะต้องเป็นการใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุให้คุ้มค่ากับศักยภาพของที่ดิน
และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ในการดำเนินแผนงาน/โครงการของสำนักงานศาลปกครองในครั้งต่อไป
ขอความร่วมมือให้สำนักงานศาลปกครองถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑
มีนาคม ๒๕๖๐ (เรื่อง
การพิจารณาและตรวจสอบความพร้อมในการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการของส่วนราชการ
และการตรวจสอบข้อมูลและการตรวจสอบข้อมูลผู้ละทิ้งงานราชการ)
และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ (เรื่อง
การตรวจสอบและจัดเตรียมความพร้อมในการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ)
อย่างเคร่งครัดด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
399 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (1. นายกฤตเตโช สิริภัสสร ฯลฯ จำนวน 4 ราย) | สธ. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๔ ราย
ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ
ดังนี้ ๑. นายกฤตเตโช
สิริภัสสร ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่
๙ มิถุนายน ๒๕๖๔ ๒. นายประจักษ์ จริยพงศ์ไพบูลย์ ดำรงตำแหน่งทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านทันตกรรม)
โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ ๓. นายวิเชียร เทียนจารุวัฒนา ดำรงตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ (ด้านกำลังคนสาธารณสุข)
กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๔ ๔. นางสาวสิริวรรณ จันทนจุลกะ ดำรงตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ
(ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม) กรมอนามัย
ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
400 | สรุปผลการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ 1/2565 | นร.10 | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๕ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
โดยมีข้อสั่งการสำคัญ ๑๐ ประเด็น เช่น
ให้ทุกส่วนราชการจัดทำคำของบประมาณให้สอดคล้องกับเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ
แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และดำเนินภารกิจ
โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ ศูนย์ข้อมูล และระบบคลาวด์
เพื่อให้การปฏิบัติงานตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
โดยให้พิจารณาใช้ระบบคลาวด์กลางภาครัฐเพื่อประหยัดงบประมาณ
และเกิดความปลอดภัยของข้อมูล และให้ทุกส่วนราชการให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง (PM2.5) ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงแรงงาน และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
แรงงานประมง และแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย
ให้กระทรวงสาธารณสุขเตรียมความพร้อมรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
รวมถึงสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงวัฒนธรรม พัฒนา บูรณะ
ฟื้นฟูมรดกและสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม และทรัพยากรทางธรรมชาติเพื่อให้เกิดแหล่งการท่องเที่ยวใหม่โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเป็นหลักด้วย
ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ
|