ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง นโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ. 2566 - 2570) และประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง นโยบายการตรวจเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวม 2 ฉบับ | ตผ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
เรื่อง นโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง
นโยบายการตรวจเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ รวม ๒ ฉบับ โดยประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง นโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน
(พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
เป็นนโยบายที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพการตรวจเงินแผ่นดินภายใต้สถานการณ์ประเด็นอุบัติใหม่
(Emerging Issues) เสริมความเข้มแข็งให้กับงานตรวจสอบ (Non-Audit
Product) มีความสอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะด้านการขจัดอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
และการเบิกจ่ายเงินเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว คุ้มค่า โปร่งใส ปราศจากการทุจริต
รวมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดย ๑)
ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐมีการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ทั้งรายได้และรายจ่าย ก่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงของเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ และ ๒)
ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส
และประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง
นโยบายการตรวจเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
เป็นการกำหนดนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินที่สอดคล้องกับนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินระยะยาว
(พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) เพื่อใช้เป็นกรอบการจัดทำแผนการตรวจสอบและแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
โดยให้ความสำคัญกับการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ
การแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19)
และส่งเสริมให้หน่วยรับตรวจปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.
๒๕๖๑ ตลอดจนพัฒนาสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้เป็นองค์กรภาครัฐที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากอุบัติใหม่
(Emerging Issues) เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติและโรคระบาด
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสมัยใหม่
อันจะส่งผลให้การตรวจเงินแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน
และนำไปสู่การเป็นองค์กรตรวจเงินแผ่นดินชั้นนำในระดับสากล
ตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | รายงานผลการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | พณ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาของรองนายกรัฐมนตรี
(นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
และคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ ระหว่างวันที่ ๓๑ ตุลาคม-๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑. รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์เข้าร่วมรับเสด็จทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา
สิริวัฒนาพรรณวดี องค์ประธานในพิธีเปิดงาน American Film Market (Thai
Night) เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรม Hotel Casa
del Mar นครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา โดยจัดขึ้นภายใต้ธีม THAILAND
TRANSFORMED ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพลิกโฉมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในทุกมิติ ๒. กิจกรรมเจรจาธุรกิจในงาน American Film
Market 2022 ระหว่างวันที่ ๑-๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
มีผู้ประกอบการไทยร่วมงาน จำนวน ๘ ราย ผู้ประกอบการต่างชาติ จำนวน ๙๙ ราย จาก ๒๕
ประเทศ มีการเจรจาธุรกิจ รวม ๒๖๙ ครั้ง มูลค่าการค้า รวม ๘๔๙.๖๘ ล้านบาท นอกจากนี้
มีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างบริษัทของไทยกับบริษัทต่างชาติเพื่อร่วมผลิตผลงานภาพยนตร์เรื่องอินทรีแดง
(๒๐๒๔) ๓. การหารือกับผู้บริหารบริษัทต่าง ๆ
เช่น บริษัท Space
Exploration Technologies Corp. หรือ SpaceX เป็นบริษัทที่ออกแบบและผลิตยานอวกาศ
รวมถึงธุรกิจการเดินทางสู่อวกาศ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการ Starlink
ซึ่งเป็นโครงข่ายดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมกว่า
๔๔ ประเทศทั่วโลก และบริษัท Overhill Farms Inc. เป็นธุรกิจในเครือบริษัท
CP Foods North America (CPF) ที่ผลิตอาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานในรูปแบบต่าง
ๆ ให้กับห้างค้าปลีกที่มีสาขาทั่วสหรัฐอเมริกา โดยบริษัท CPF
มีนโยบายผลักดันและส่งเสริมอาหารไทยต้นตำรับ (Authentic Thai Food) ไปทั่วโลก
โดยปัจจุบันได้นำผัดไทยพร้อมรับประทานไปจำหน่ายในห้างค้าส่งขนาดใหญ่ที่มีสาขาครอบคลุมทั่วสหรัฐอเมริกา ๔. แนวทางการดำเนินการต่อไป ได้แก่ (๑)
ผลักดันการส่งออกธุรกิจบริการเอนเตอร์เทนเมนต์และแอนิเมชันของไทย (๒)
ส่งเสริมสินค้าอุตสาหกรรมอาหารไทยในฐานะครัวของโลก และ (๓)
จัดกิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าอาหารไทยผ่านกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมาย
(Influencer)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ.2564-2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570 และ (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566-2570 | อว. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ (แผนด้านการอุดมศึกษาฯ) และ (ร่าง)
แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
เป็นแผนภายใต้กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ (แผนด้าน ววน.) จัดทำขึ้นเพื่อใช้ทดแทนนโยบายและยุทธศาสตร์เดิม
โดยกำหนดให้มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดในช่วงเวลาเดียวกัน ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
๑.๑ แผนด้านการอุดมศึกษาฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
ประกอบด้วย ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) พัฒนาศักยภาพคน (Capacity Building) (๒) ส่งเสริมระบบนิเวศวิจัยอุดมศึกษา (Research Ecosystem
Building) (๓) จัดระบบอุดมศึกษาใหม่ (Higher Education
Transformation) และมีการขับเคลื่อนสำคัญกำหนดเป็น ๗ นโยบายหลัก (Flagship
Policies) และ ๓ กลไกหลัก (Flagship Mechanisms) ตามความสำคัญเร่งด่วน เช่น กำลังคนระดับสูงที่มีทักษะรองรับอุตสาหกรรมและบริการใหม่แห่งอนาคตเพิ่มขึ้น
การรองรับสังคมสูงวัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยสมบูรณ์
การยกระดับฐานข้อมูลระบบอุดมศึกษาให้มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง แม่นยำ มีเสถียรภาพ
เป็นต้น
๑.๒ (ร่าง) แผนด้าน ววน. พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ ได้แก่
(๑) การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (๒)
การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทาย
และปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรม (๓) การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุคเพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต
และ (๔) การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน
โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ๒. ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงวัฒนธรรม รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข
เช่น แผนด้านการอุดมศึกษาฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
ควรมีความสอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ และควรมีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐในการพัฒนานวัตกรรมที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๓. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการดำเนินงาน
และติดตามความก้าวหน้าให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมตามห้วงระยะเวลาที่กำหนดด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 2/2565 | นร.11 สศช | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
(กบส.) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๕
พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติและรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เพื่อนำเสนอคณะกรรมการระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศตามขั้นตอนต่อไป
และเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
รวมทั้งเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ (เรื่อง
ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑)
เพื่อมอบหมายให้กรมศุลกากรเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ
National Single Window และกำหนดขอบเขตหน้าที่ของบริษัท
โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ให้เหมาะสม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) กระทรวงคมนาคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เช่น
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแผนการรปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อมาดำเนินการในโอกาสแรก
และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมกับ reprocess เพื่อลดกระบวนงานให้เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้นและกำหนดกรอบเวลาการพัฒนาระบบ
NSW ให้แล้วเสร็จไว้อย่างชัดเจน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 19/2565 | นร.11 สศช | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ดังนี้ รับทราบการขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่าของกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อช.) จากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน ๒๕๖๕
เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม ๒๕๖๖ ภายใต้กรอบวงเงินเดิม ๗๔๑.๕๘๘ ล้านบาท โดยมอบหมายให้
อช. ดำเนินโครงการในส่วนที่เหลือโดยใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่นตามความจำเป็นและความเหมาะสมต่อไป
และเร่งเสนอรายงานผลการดำเนินโครงการ พร้อมทั้งส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายตามข้อ ๑๙
และข้อ ๒๐
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยเร็ว และรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ราย ๓ เดือน
ครั้งที่ ๑๐ (๑ สิงหาคม-๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๕)
พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
พ.ศ ๒๕๖๓ ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรเร่งปฏิบัติตามระเบียบสำนักนากยรัฐมนตรีฯ ข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐
สำหรับโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว หรือไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรก
เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ศธ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้สถานศึกษาที่มีนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ในสถานศึกษาต้องไม่ให้นักเรียนหรือนักศึกษานั้นออกจากสถานศึกษาดังกล่าว
เว้นแต่เป็นการย้ายสถานศึกษาตามเจตนารมณ์ของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ตั้งครรภ์
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี ปี พ.ศ. 2566 - 2567 ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี | กก. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
และปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๗
ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
โดยบันทึกความเข้าใจฯ
มีสาระสำคัญเป็นการสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพร่วมกัน
ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | การจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Startup) | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital
Startup) ได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นหน่วยงานจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล
และเป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประกอบการดิจิทัลและบริการดิจิทัลที่ขอขึ้นทะเบียนบัญชีดิจิทัล
และมอบหมายให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พิจารณาผลักดันบัญชีบริการดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
และเป็นหนึ่งในหมวดพัสดุที่รัฐต้องส่งเสริมหรือสนับสนุน
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดิจิทัลร่วมพัฒนาระบบราชการไทย ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เช่น
ควรคำนึงถึงการลดต้นทุนของการจัดทำบริการดิจิทัลผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น
(Digital Startup) และช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ควรมีผู้แทนของกรมต่าง
ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีส่วนร่วม คำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า
ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ ควรพิจารณากำหนดให้มีคณะทำงานหรือคณะกรรมการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลที่ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
อาทิ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย
เพื่อให้เกิดการบูรณาการและประโยชน์จากองค์ความรู้ ฐานข้อมูล
และความเชี่ยวชาญของบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 | อว. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงบประมาณ เช่น เห็นควรมุ่งเน้นให้มีการปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลกมีมาตรฐานและรับรองคุณภาพผลงานวิจัย
พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถครอบคลุมในทุกมิติ
เน้นการขับเคลื่อนให้ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มุ่งผลสัมฤทธิ์ ลดช่องว่างของการเข้าถึงโอกาส
ด้านการพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยี นวัตกรรม
สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ
และความไม่เสมอภาคทางสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ควรคำนึงถึงความต้องการจำเป็นต่อระบบบริการสาธารณสุขไทยในปัจจุบันและอนาคต
การยกระดับระบบบริการของสังคมสูงวัย การลดอัตราการตายโรคสำคัญ
การเสริมความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ
ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการ โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙
สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐
เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) นโยบายการดำเนินงานด้าวเทียมสื่อสารแห่งชาติ
และรับทราบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศของประเทศ ตามที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอ ๒. เห็นชอบในหลักการ (ร่าง)
นโยบายการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ มีสาระสำคัญเพื่อเป็นกรอบนโยบายในการจัดสร้างหรือการบริหารจัดการดาวเทียม
และการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมของรัฐ เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานรัฐ และมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติที่เหมาะสมที่สุดและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
โดยให้รับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางประกอบการพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายและพันธกรณีต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น
(๑) ให้เร่งรัดดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติเกิดผลสำเร็จ
เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป (๒) เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว
หากไม่เพียงพอเห็นควรให้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ แล้วแต่กรณี
โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2565 | ทส. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๕
ประกอบด้วย (๑) รายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
สายชลบุรี-พัทยา ของกรมทางหลวง (๒) ความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหามลพิษกรณี โรงงานของบริษัท วิน โพรเสส จำกัด ตำบลบางบุตร
อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง (๓) ผลการดำเนินงานเพื่อปกป้องการเกิดอุบัติภัยสารเคมี
บทเรียนจากเหตุเพลิงไหม้ กรณีโรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติก บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล
จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ (๔) รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (๕)
การจัดทำแผนดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อม (Environmental Performance Index :
EPI) ของไทย และ (๖) (ร่าง)
แนวทางการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ระยะที่ ๒
(พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | การจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) [ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....] | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการยกฐานะของสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ
(Government Big Data Institute : GBDI)
หน่วยงานภายในภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ให้เป็นสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (National Big
Data Institute : NBDI) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน
เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อน วิเคราะห์
และบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศโดยตรง ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้แก้ไขชื่อหน่วยงาน ตัดคำว่า
“คลัง” และ “แห่งชาติ” ออก เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
ตลอดจนมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ที่กำหนดว่า
“ไม่ควรใช้คำว่า “แห่งชาติ”
ในการกำหนดชื่อหน่วยงานของรัฐเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเอกรัฐ
และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งทำหน้าที่ในฐานะ “แห่งชาติ” อยู่แล้ว” และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ เช่น การกู้ยืมเงินของ NDBI ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
รอบคอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk)
โดยจะต้องยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะและกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ตลอดจนระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรให้ผู้บริหารหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับมิติด้านเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นกรรมการด้วย
ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาปรับเปลี่ยนองค์กรรูปแบบใหม่
เมื่อได้ดำเนินการจัดตั้ง NDBI ครบ ๒ ปี เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ยธ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประกอบด้วย (๑)
การดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
(๒) การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการติดตามและตรวจสอบกรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
(๓) การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการเยียวยากรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
(๔) การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการป้องกันการกระทำทรมานและบังคับให้หายสาบสูญ และ
(๕) การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการคัดกรองกรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... | กษ. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง
อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง
ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี
อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน
ในการก่อสร้างคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบตามโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง
รัชชโลทร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชลบุรี ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | รายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ | ดศ. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ทั้งนี้
ในส่วนของข้อเสนอที่ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรายงานการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
(Digital Infrastructure)
ในส่วนของการพัฒนาระบบ Digital ID
ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๒. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในแผนที่ปฏิบัติการของกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗)
จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากสำนักงบประมาณ
และดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบการขับเคลื่อนที่กำหนด
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
โครงการที่ขอการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะต้องอยู่ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 2 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา | ทส. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
๑.๑ เห็นชอบกรอบท่าทีเจรจาของประเทศไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัยที่ ๑๕ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ ๒ (The Fifteenth meeting of the
Conference of the Parties to Convention on Biological Diversity : COP15 Part 2)
ที่มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๗-๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ นครมอนทรีออล
ประเทศแคนาดา โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดท่าทีของประเทศไทยสำหรับการประชุมฯ
โดยอยู่บนพื้นฐานหลักการในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่
การให้ความเห็นชอบในหลักการต่อร่างกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ.
๒๐๒๐ (Post-2020 Global Biodiversity Framework : Post-2020 GBF) ซึ่งเป็นผลลัพธ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการประชุมฯ
การสนับสนุนแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพฉบับใหม่
และการให้ความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มพื้นที่ที่มีการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพตามข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และวิชาการที่ชัดเจน
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงกรอบท่าทีเจรจาฯ
ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา
โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่อีกครั้ง
๑.๒
รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัยที่ ๑๕ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ ๒ รวม ๗ คน ประกอบด้วย
เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็ฯเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาตามมาตรา
๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท พ.ศ. .... | มท. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหันคา
ตำบลวังไก่เถื่อน และตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนหันคา ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ดำรงรักษาเมืองและรักษาพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม
ส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม เป็นศูนย์กลางการผลิต
การซื้อขายและบริการทางการเกษตรระดับชุมชน
โดยการจัดการด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค
การบริการสาธารณะ และรวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในเขตผังเมืองรวมชุมชนหันคา
จังหวัดชัยนาท
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๘
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภท หรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
คำนึงถึงการควบคุมและกำกับดูแลเพื่อป้องกันการกระจายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมและคงเจตนารมณ์ของการกำหนดที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมไว้
คำนึงถึงจำนวนและที่ตั้งของสถานประกอบกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และเป็นไปตามกฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อรักษาพื้นที่เกษตรกรรมและสภาพแวดล้อมที่ดีของชุมชนให้คงอยู่ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | รายงานผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุน โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว | อก. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว
เพื่อให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ กับเอกชน
ผู้ผ่านการพิจารณาข้อเสนอร่วมลงทุนต่อไป ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ให้กระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานอัยการสูงสุด และประธานกรรมการนโยบายร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เช่น
จะต้องกำกับการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
สอดคล้องกับระยะเวลาของสัญญาฉบับเดิมที่จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน ๒๕๖๕
ควรคำนึงถึงการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนระหว่างรัฐและเอกชนอย่างเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูลด้วย
ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำกับติดตามให้คู่สัญญาตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามที่เสนอไว้ในรายงาน
EIA อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม
(การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ดำเนินการดังต่อไปนี้ด้วย ๑.๑ พิจารณาปรับแก้ร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเรือสาธารณะ
เพื่อขนถ่ายสินค้าเหลวให้ถูกต้อง สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น ร่างสัญญาร่วมทุนฯ
ข้อ ๓.๑.๒)ก. เกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๕ (เรื่อง
การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูลโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว)
ซึ่งเป็นการอนุมัติให้ใช้วิธีการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยใช้วิธีประมูล ตามมาตรา
๓๔ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ เท่านั้น เป็นต้น ๑.๒
พิจารณากำหนดแนวทางดำเนินการในกรณีที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยไม่ได้รับอนุญาตให้ขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหรือการถมทะเลเพื่อขยายพื้นที่สำหรับก่อสร้างถังเก็บบรรจุสินค้าเหลว
(Tank
Farm) เพิ่มเติม
เพื่อป้องกันมิให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือเป็นเหตุให้เอกชนคู่สัญญาใช้เป็นข้ออ้างในการบอกเลิกสัญญาหรือเรียกร้องค่าเสียหายในภายหลัง ๑.๓ พิจารณากำหนดมาตรการรองรับในกรณีที่เอกชนคู่สัญญาใช้สิทธิตามสัญญาในการขยายระยะเวลาการก่อสร้างถังบรรจุสินค้าเหลวหรือการถมทะเล
ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าและสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้จากการให้บริการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ๒.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรม (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลพิจารณาทบทวนมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุน้ำมันหรือสารเคมีรั่วไหลลงทะเล
โดยให้พิจารณานำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วย
เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ ชดเชย
เยียวยาแก่ผู้ประสบภัยหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น
ให้เหมาะสม ชัดเจน และเป็นรูปธรรม เพื่อให้การดำเนินการช่วยเหลือฯ
เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และถึงมือผู้ประสบภัยฯ อย่างแท้จริง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ฯลฯ จำนวน 5 ราย) | พน. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงพลังงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
จำนวน
๕ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้ ๑. นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นายสมภพ พัฒนอริยางกูล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นายเรืองเดช ปั่นด้วง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๔. นายวรากร พรหโมบล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๕. นายอนิรุทธิ์ ธนกรมนตรี ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | วธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดย (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ
มีสาระสำคัญเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม/การทำความดีที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
เพื่อให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐ พัฒนาระบบ และการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรม
และเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนและองค์กรเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงาน
ก.พ. และข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข เช่น ควรเพิ่มเติมในเรื่องของนวัตกรรม
ในแนวทางการพัฒนาที่ ๓ ด้วย
เพื่อให้ครอบคลุมการส่งเสริมให้การวิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
โดยปรับเป็น “ส่งเสริมงานวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรม และพัฒนา...” ให้กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดในการดำเนินการจัดทำแผนจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมในพื้นที่ ตามนโยบาย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรร
หรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ให้ทุกหน่วยงานจัดกิจกรรมจิตอาสาส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |