ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 18 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 341 - 360 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
341 | การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่เพื่อนำไปกำหนดเป็นอัตรากำลังแทนให้แก่ส่วนราชการที่ส่งข้าราชการไปปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล | นร.54 | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๖
(เรื่อง
ขออนุมัติเปิดที่ทำการสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสแห่งใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต
และขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสคนใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต)
เฉพาะในส่วนการกำหนดเขตกงสุลจากเดิมที่มีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดภูเก็ต เป็น
มีเขตกงสุลครอบคลุม ๔ จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ พังงา และระนอง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
342 | ขออนุมัติดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จังหวัดระยอง | กษ. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. อนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) ดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จังหวัดระยอง ภายในกรอบวงเงิน
๓,๕๖๑,๖๒๐,๐๐๐ บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ ๔ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕-พ.ศ. ๒๕๖๘)
สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่ดินและการแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้ใช้จ่ายจากรายการค่าซื้อที่ดิน ค่าทดแทน ค่ารื้อย้ายในการจัดหาที่ดิน
จำนวน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และรายการค่าใช้จ่ายตามแผนการป้องกัน แก้ไข
และพัฒนาสิ่งแวดล้อม จำนวน ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท ที่ได้จัดสรรงบประมาณรองรับไว้แล้ว
ส่วนที่เหลือขอให้กรมชลประทานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามความสามารถในการใช้จ่ายและการก่อหนี้ผูกพันภายในปีงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอย่างเคร่งครัด
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความพร้อม ความจำเป็นและเหมาะสม
ตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เช่น (๑)
กรมชลประทานควรวางแผนการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบน้ำที่มีอยู่เดิมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(EEC) กับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จังหวัดระยอง (๒)
กรมชลประทานควรดำเนินการตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ เช่น เร่งรัดออกแบบระบบส่งน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่ชลประทานเต็มศักยภาพ
ศึกษาความเป็นไปได้การเชื่อมโยงกับโครงข่ายน้ำกับพื้นที่ EEC เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) เร่งรัดการดำเนินการ ดังนี้ ๒.๑
ให้ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการอ่างก็บน้ำคลองโพล้
จังหวัดระยอง ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
343 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง รูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้า กรณีศึกษาประเทศจีนและอินเดีย ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา | สว. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
รูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้า กรณีศึกษาประเทศจีนและอินเดีย
ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า
ปัจจุบันได้มีคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และคณะกรรมการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
โดยมีศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ
โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันอยู่แล้ว ดังนั้น การจัดตั้ง
“สำนักงานบูรณาการการแก้ปัญหาความยากจน”
เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายแก้ปัญหาความยากจนขึ้นใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูประบบราชการและยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ต้องการลดขนาดและกำลังคนในภาครัฐ
ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าและมิให้เกิดความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว
สำหรับการจัดให้มี “กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม” (Social Investment
Fund-SIF) ที่ครอบคลุมไปถึงภารกิจในการแก้ปัญหาความยากจนและผู้ได้รับผลกระทบอื่น
ๆ นั้น จะต้องพิจารณาไม่ซ้ำซ้อนกับกองทุนหมุนเวียนที่จัดตั้งไว้แล้ว
โดยต้องดำเนินการตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘
และมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ส่วนการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ
สร้างคนให้เก่งในเรื่องอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับยุค IT
ให้มากขึ้น นั้น
ควรผลักดันการใช้ข้อมูลระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai
People Map and Analytics Platform : TPMAP) และให้ระบบดังกล่าวเป็นศูนย์กลางข้อมูลเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาคน
นำนวัตกรรมการพัฒนาและการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อให้คนในชนบทมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร
และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนผ่านสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัดที่เป็นกลไกการดำเนินงานในระดับพื้นที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
344 | มาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป | นร.11 สศช | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการของข้อเสนอมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป
โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงแรงงาน
กำกับและติดตามให้หน่วยงานในสังกัดที่มีอำนาจและหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปตามข้อ
๓.๑ ตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายให้กระทรวงการคลัง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
และธนาคารแห่งประเทศไทย
ร่วมกันพิจารณาติดตามและปรับปรุงมาตรการการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่เหมาะสมตามสถานการณ์ของราคาพลังงานในตลาดโลก
โดยคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจ
ความพร้อมและความสามารถทางการเงินของภาครัฐภายใต้พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวบรวมข้อเสนอแนวทางหรือมาตรการผลกระทบของประชาชนและผู้ประกอบการจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปที่มีลักษณะมุ่งเป้าของกระทรวงต่าง
ๆ เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงาน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่ควรให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของโครงการ
วิธีการดำเนินการเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์
เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการ
รวมถึงปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นตอน
เร่งสร้างความรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
345 | การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 27 | พม. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ครั้งที่ ๒๗ [Joint Statement of the Twenty-Seventh ASEAN Socio-Cultural
Community (ASCC) Council] และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ครั้งที่ ๒๗ ร่วมรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๕
ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video conference) โดยร่างแถลงร่วมฯ
มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการสนับสนุนการเป็นประธานอาเซียนของราชอาณาจักรกัมพูชา
ภายใต้แนวคิดหลัก “อาเซียน เอ ซี ที การจัดการกับความท้าทายร่วมกัน (ASEAN
A.C.T. : Addressing Challenges Together)”
โดยเน้นการดำเนินการตามประเด็นสำคัญต่าง ๆ อาทิ เสริมสร้างค่านิยม ความตระหนักรู้
และอัตลักษณ์อาเซียน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเสริมสร้างพลังสตรี
การส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
เสริมสร้างขีดความสามารถและประสิทธิผลเชิงสถาบันต่าง ๆ
ของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
346 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง | กษ. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง จากเดิม
๑๗ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘-พ.ศ. ๒๕๖๔) เป็น ๑๙ ปี ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘-พ.ศ.
๒๕๖๖) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม ๓,๖๗๐,๕๐๐,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงวเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น การขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการโดยไม่เพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันต้องเสนอขออนุมัติต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และรายงานให้สำนักงบประมาณทราบภายในกำหนดเวลาตามระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๗ (๒)
ควรเร่งรัดการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
คำนึงถึงประโยชน์ ความคุ้มค่าที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
347 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. .... [แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558] | มท. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี
พ.ศ. ๒๕๕๔ และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมรวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะห่างตามแนวขนานริมเขตทาง
ในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการโรงงานริมทางหลวงแผ่นดิน และริมทางรถไฟ
ตลอดจนปรับปรุงบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. ๒๕๕๔
ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
เช่น ควรให้โรงงานมีระยะห่างริมทางหลวงแผ่นดินไม่น้อยกว่า ๕ เมตร คำนึงถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในกรณีใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมที่ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูง
องค์กรปกครองท้องถิ่น ควรควบคุมดูแลสุขลักษณะ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
348 | ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2565 | กค. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕
สรุปได้ ดังนี้ (๑) มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ในเรื่องเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (๒)
รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ภาพรวมการเบิกจ่าย ประจำปีงบประมาณ
๒๕๖๕ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน ๑,๓๐๖,๑๒๓ ล้านบาท ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน กระทรวงที่มีการเบิกจ่ายสูงสุด
เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการคลัง
สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (๓)
รัฐวิสาหกิจมีกรอบลงทุนปี ๒๕๖๕ จำนวน ๓๑๘,๑๐๓ ล้านบาท
มีผลการเบิกจ่ายสะสม ๑๔,๒๖๓ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๙๕
ของแผนเบิกจ่ายสะสม (๔) โครงการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ มีจำนวน ๑๐๒ โครงการ
มูลค่ารวม ๒.๕๑ ล้านล้านบาท และมีมูลค่าการลงทุนในปี ๒๕๖๕ จำนวน ๑๙๒,๗๗๖ ล้านบาท และ (๕)
การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. ๒๕๖๓
จำนวน ๑,๑๒๖ โครงการ วงเงิน ๙๘๖,๙๖๔
ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น ๙๔๓,๕๕๔ ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ ๙๖ ของวงเงินอนุมัติ
และการเบิกจ่ายเงินกู้โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๔๓ โครงการ วงเงิน ๓๔๒,๓๑๗
ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น วงเงิน ๒๒๙,๖๕๓
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๖๗ ของวงเงินอนุมัติ
ตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
349 | รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และรายงานผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | นร.12 | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
350 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พ.ศ. .... (แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) | คค. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก
จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย อำเภอภาชี
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอแก่งคอย
อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน
อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
(ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
เพื่อสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟ ทาง และสิ่งจำเป็นอื่นตามโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
(ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
โดยให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ตรวจสอบและแก้ไขแผนที่ท้ายของร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
ก่อนการก่อสร้างขอให้ รฟท.
ให้ความสำคัญและตระหนักถึงแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการระบายน้ำไม่ทันและอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมหรือเกิดอุทกภัย
และควรเร่งดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงที่บริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเร็ว
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓. เห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย
โดยให้หน่วยงานของรัฐผู้เสนอร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติตรวจสอบความถูกต้องของท้องที่การปกครอง
แนวเขตการปกครองที่จำเป็นต้องระบุในเนื้อหาของร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติและแผนที่ท้ายอันเป็นข้อเท็จจริง
และรายละเอียดเชิงพื้นที่ให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งต้องมีผลตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองจากกรมการปกครองเสนอคณะรัฐมนตรีมาพร้อมกับร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัตินั้นด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
351 | การกำหนดและทบทวนกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชนให้มีขนาดที่เหมาะสม | นร.12 | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
352 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. .... | นร.05 | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อให้ระบบการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา
สามารถเชื่อมโยงผ่านระบบดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ
ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลและระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
รวมทั้งให้สามารถตอบสนองความต้องการของหน่วยงานของรัฐและประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น
กรณีร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ข้อ ๘ และข้อ ๑๑ ซึ่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไขใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ว่า
ก่อนที่จะกำหนดควรมีการรับฟังความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย
ควรมีการกำหนดรูปแบบและวิธีการ
เพื่อความชัดเจนและเป็นมาตรฐานในการดำเนินการของหน่วยงานเจ้าของเรื่อง
ให้ความสำคัญกับความหลากหลายของช่องทางการรับรู้และวิธีการเผยแพร่ที่ประชาชนเข้าถึงได้สะดวก
มีรูปแบบที่เข้าใจได้โดยง่าย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
353 | รายงานการประเมินผลตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ช่วงระยะปี 2561 - 2564 และรายงานประเมินผลตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ | นร.14 | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
354 | ขออนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์โควิด 19 | มท. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ สำหรับเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์โควิด 19 ของกรมการปกครอง จำนวน ๒๗๐,๕๙๐ คน ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ในอัตรา ๕๐๐ ต่อคนต่อเดือน จำนวน ๖ เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๔ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ รวมงบประมาณทั้งสิ้น ๘๑๑,๗๗๐,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้มีการสรุปผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณตามนัยข้อ ๑๑ แห่งระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลางฯ ต่อไปด้วย โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้กระทรวงมหาดไทยใช้จ่ายเงินอย่างโปร่งใส คุ้มค่า ประหยัด รวมทั้งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
355 | มาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ | พน. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบแนวทางการประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐ
เพื่อให้หน่วยงานราชการนำไปปฏิบัติ และได้ผลประหยัดพลังงานตามเป้าหมายที่กำหนด ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะกำหนดระเบียบหรือหลักเกณฑ์อย่างชัดเจนเพื่อเป็นมาตรฐานในการให้หน่วยงานสามารถนำไปใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการใช้งบประมาณ
ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศอย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งดำเนินการตามแนวทางประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐ
ในข้อ ๑ และให้รายงานผลการดำเนินการดังกล่าวในเว็บไซต์ของกระทรวงพลังงาน www.e-report.energy.go.th เป็นประจำทุกเดือน แล้วให้กระทรวงพลังงาน
(สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน)
รวบรวมข้อมูลทั้งหมดในภาพรวมเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาสต่อไป ๓. ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
356 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2565 เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ | สกพอ. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๕ เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาอนุมัติร่างระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเข้าใช้ประโยชน์ พ.ศ. ....
และเห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน ๔,๐๐๐ ล้านบาท
เพื่อเป็นค่าพัฒนาโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒.
เห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
บริเวณตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จำนวนประมาณ ๑๔,๖๑๙ ไร่
เพื่อการพัฒนาโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะได้ตามนัยมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ ๓.
รับทราบว่า
ปัจจุบันมีเกษตรกรกลุ่มหนึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในบริเวณตำบลห้วยใหญ่
อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ยังไม่ยินยอมให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจง
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกรกลุ่มดังกล่าว
เพื่อให้สามารถเข้าใช้ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในความครอบครองของเกษตรกรกลุ่มดังกล่าว
เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะได้ต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
357 | โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง | กษ. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
โดยให้เกษตรกรฯ
ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิมโดยพักชำระเงินต้นครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ ๕๐)
และดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน และให้เกษตรกรฯ ทำสัญญาผ่อนชำระหนี้เงินต้นครึ่งหนึ่ง
(ร้อยละ ๕๐) ตามระยะเวลาที่ตกลงกัน แต่ไม่เกิน ๑๕ ปี สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ
๕๐ ในส่วนที่เกษตรกรฯ ไม่ต้องรับภาระ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๕๐,๖๒๑ ราย รัฐจะรับภาระในการจัดสรรเมื่อเกษตรกรฯ
ได้ชำระหนี้คืนงวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร)
ร่วมกับกระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดรายละเอียดและแนวทางดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักการข้างต้น
รวมถึงกำหนดกรอบวงเงินสำหรับดำเนินการตามความจำเป็นและเหมาะสม
และดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
ในส่วนของการขอยกเว้นดอกเบี้ยค้างชำระของธนาคารรัฐ ๔ แห่ง
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร)
เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์
และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการดำเนินการให้ได้ข้อยุติที่เหมาะสมแล้วเสนคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ๓. รับทราบการยกเลิกหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร
สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ยั่งยืน
(ลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒
ตุลาคม ๒๕๖๑ [เรื่อง
โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ยั่งยืน
(ลูกหนี้ ธ.ก.ส.)] ๔. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร) ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย
คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เกษตรกร จำนวน ๕๐,๖๒๑ ราย ดังกล่าวข้างต้น
ได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินของคนในกรอบการแก้ไขปัญหาความยกจนแบบพุ่งเป้าแต่ละครัวเรือนของ
คจพ. ด้วย ๕. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง
เช่น ประเมินผลการดำเนินการของกองทุนฯ ทบทวนและปรับปรุงรูปแบบการดำเนินโครงการ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างยั่งยืน
ควรให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลและการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ประกาศหลักเกณฑ์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ตลอดจนเงื่อนไขและวิธีดำเนินโครงการฯ อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
358 | ผลการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย - ยุโรป ครั้งที่ 8 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | ศธ. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
359 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการการบริหารจัดการ Organizational Quarantine (OQ) สำหรับแรงงานต่างด้าว และผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน | ตช. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
360 | รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562 | กษ. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๒ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน และงบกระแสเงินสด
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองงบการเงินแล้ว
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบต่อไป
|