ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 16 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 301 - 320 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
301 | แนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ | นร.11 สศช | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติแนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เรื่อง แนวทาง
หลักการ และการดำเนินการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นแผนระดับที่ ๒
โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาทบทวนยุทธศาสตร์ชาติ
ตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ เห็นว่าสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ชาติ
จึงจะยังคง “เป้าหมาย” ตามยุทธศาสตร์ชาติไว้เช่นเดิม แต่จะมีการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
จำนวน ๒๓ ฉบับ ในส่วนของ “ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนา”
เนื่องจากตัวชีวัดเดิมไม่สามารถสะท้อนต่อเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เช่น มีการหารือกับหน่วยงานเจ้าภาพแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้การปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และสามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหลักธรรมาภิบาล
ควรกำหนดแนวทางรองรับกรณีตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่มีการปรับเปลี่ยน
เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อแผนระดับ ๓ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ
และจัดทำแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
302 | การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ สมัยพิเศษ | กต. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
303 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
(กบส.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติ กบส. ครั้งที่
๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๕ และรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อนำเสนอ กบส. ตามขั้นตอนต่อไป
สรุปได้ ดังนี้ (๑) ความก้าวหน้าระบบโลจิสติกส์ของไทย เช่น การพัฒนาระบบ National Single Window ซึ่งสามารถเชื่อมโยงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์กับสมาชิกอาเซียนได้ทุกประเทศ
(๒) ความก้าวหน้าการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟสายจีนและ
สปป.ลาว เช่น การบริหารจัดการการใช้ทางรถไฟและสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
การก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ (๓)
แนวทางการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟในการขนส่งสินค้า ซึ่ง กบส.
เห็นชอบในหลักการข้อเสนอการเปิดให้เอกชนดำเนินการขนส่งซึ่งไม่ใช่สินค้าของตนเองทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ
เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรถไฟมากขึ้น (๔) การชะลอการบังคับให้เรือชายฝั่งที่รับตู้สินค้าขาเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบังดำเนินการบรรทุกตู้สินค้าลงเรือที่ท่าเทียบเรือชายฝั่ง
(ท่าเทียบเรือ A) กบส. มีมติมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม และการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ทบทวนการขออนุญาตตามประกาศการท่าเรือแห่งประเทศไทย ให้มีความชัดเจนและเหมาะสม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศเสนอ
และให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ที่ประชุมร่วมไตรภาคี
ไทย-ลาว-จีน เร่งรัดเจรจาให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม
๒๕๔๒ เรื่อง ผลกระทบจากการก่อสร้างถนนเลียบแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย บริเวณอำเภอเบตง
จังหวัดยะลา และวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ เรื่อง
การระงับการก่อสร้างถนนบริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จังหวัดสุรินทร์
อย่างเคร่งครัด
เร่งรัดการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งและโลจิสติกส์
รองรับประมาณการนำเข้า ส่งออกสินค้าและการเดินทางจากการเปิดให้บริการรถไฟสายจีน
และ สปป. ลาว ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
304 | การเสนอความเห็นเรื่อง การกำหนดให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อนหรือนำไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคมตามร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
305 | รัฐบาลไอร์แลนด์เสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย (นายแพทริก เบิร์น) | กต. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายแพทริก เบิร์น (Mr. Patrick Bourne) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งไอร์แลนด์ประจำประเทศไทยคนใหม่
สืบแทน โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายโจเซฟ แอนโทนี คอตเตอร์ (Mr.
Joseph Anthony Cotter) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
306 | รัฐบาลสหสาธารณรัฐแทนซาเนียเสนอขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สหสาธารณรัฐแทนซาเนียประจำประเทศไทย (นายฟลอเรียน รเวฮุมบีซา ลอเรียน) | กต. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายฟลอเรียน
รเวฮุมบีซา ลอเรียน (Mr. Florean Rwehumbiza
Laurean) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์สหสาธารณรัฐแทนซาเนียประจำประเทศไทย
สืบแทน นายวัฒนา เขียววิมล ซึ่งถึงแก่กรรม ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
307 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้โลหะเคลือบฟลูออโรพอลิเมอร์สำหรับอาหารต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... | อก. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้โลหะเคลือบฟลูออโรพอลิเมอร์สำหรับอาหารต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้โลหะเคลือบฟลูออโรพอลิเมอร์สำหรับอาหารต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความปลอดภัยจากสารเคมีปนเปื้อนที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
308 | ขอความเห็นชอบแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 - 2565 | กษ. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๖๓-๒๕๖๕ ตามความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการประมงทะเลต่อเนื่องจากแผนฉบับเดิม ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน
กระทรวงอุตสาหกรรมสำนักงบประมาณ และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เช่น
ควรเพิ่มประเด็นการปรับปรุงห่วงโซ่มูลค่าสู่การประมงพื้นบ้าน
และพิจารณาการแก้ไขปรับปรุงพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
ควรมีแผนป้องกันกรณีมีการปนเปื้อนมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม
ควรเพิ่มกิจกรรมการตรวจหาสารเสพติดในแรงงานประมงผ่านศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงในแผนการบริหารจัดการฯ
ระยะต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งจัดทำแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของไทยในระยะต่อไปเพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ทันในปี
๒๕๖๖ โดยให้นำข้อสังเกตของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ไปพิจารณาประกอบการจัดทำแผนดังกล่าวด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
309 | รายงานผลการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะปี 2564 | ดศ. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการขับเคลื่อนนโยบายศูนย์ราชการสะดวก
โดยมีผลการดำเนินการ ได้แก่ (๑) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการประเมินผล
และการรับรองมาตรฐาน GECC (๒)
การส่งเสริมผลักดันให้หน่วยงานของรัฐมีการพัฒนาการให้บริการประชาชนตามมาตรฐาน GECC (๓) การตรวจประเมินมาตรฐาน GECC (๔)
การจัดพิธีมอบโล่และตรารับรองมาตรฐาน GECC ประจำปี (๕)
การตรวจประเมินการรักษามาตรฐาน GECC (๖) ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อน
GECC และ (๗) ผลที่คาดว่าจะได้รับ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
310 | ร่างกฏกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ศธ. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้คุรุสภาเป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครองแทนได้ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
311 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายประเสริฐ ศิรินภาพร และนายสุริยน พัชรครุกานนท์) | นร16 | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติรับโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒ ราย เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามกรอบอัตรากำลังที่ว่าง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ ดังนี้ ๑. นายประเสริฐ ศิรินภาพร ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ๒. นายสุริยน
พัชรครุกานนท์ ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
312 | แผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย - ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2022 - 2024) | กต. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส
(ค.ศ. ๒๐๒๒-๒๐๒๔) ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาของแผนการฯ
จากเดิมช่วงเวลา ค.ศ. ๒๐๒๑-๒๐๒๓
เป็นช่วงปี ค.ศ. ๒๐๒๒-๒๐๒๔ โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการยุโรปและการต่างประเทศ (นายฌอง-อีฟว์ เลอ ดริยอง)
ได้ลงนามร่วมกันในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ
เกี่ยวกับความร่วมมือในอินโด-แปซิฟิก (Ministerial Forum for Cooperation in the Indo-Pacific) เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาของแผนการฯ
เป็นการแก้ไขที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศ
รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่อแผนกิจกรรมที่ระบุไว้ในแผนการฯ
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และการหารือทวิภาคีในประเด็นต่าง
ๆ โดยไทยได้ขอบคุณฝรั่งเศสที่ได้บริจาควัคซีนป้องกันโรคโควิด-๑๙ ยี่ห้อไฟเชอร์ (Pfizer) แก้ไทยด้วย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
313 | ผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การปรับปรุงแบบฟอร์มการจดทะเบียนในหนังสือบริคณห์สนธิ ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง
การปรับปรุงแบบฟอร์มการจดทะเบียนในหนังสือบริคณห์สนธิ
ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร
สรุปผลการพิจารณาได้ว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้จัดทำแบบฟอร์มวัตถุประสงค์สำเร็จรูปในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการที่ขอจดทะเบียนโดยสามารถเลือกใช้แบบฟอร์มที่มีรายละเอียดวัตถุประสงค์ตรงกับกิจการของนิติบุคคล
ผลักดันให้มีการใช้ระบบการจดทะเบียนนิติบุคคลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) เพื่อเป็นการลดใช้กระดาษในการทำนิติกรรมต่าง
ๆ ให้น้อยลง (Paperless) และแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายตั้งแต่ปี
พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
314 | มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 | นร.14 | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน
ปี ๒๕๖๕ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี ๒๕๖๕
และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี ๒๕๖๕ /๒๕๖๖
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการตามมาตรการดังกล่าว
โดยรายงานให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติทราบ
พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณประจำปีที่ได้รับการจัดสรร
หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี และควรปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งควรเร่งติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ
ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินโครงการฯ
ให้มีประสิทธิภาพมากเพิ่มขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
315 | (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ โดยร่างแผนพัฒนาฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพลิกโฉมไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า
เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” และมีเป้าหมาย เช่น
การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่
และการเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน โดยได้กำหนดหมุดหมาย จำนวน ๑๓
หมุดหมาย เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับเคลื่อนที่ชัดเจน เช่น
หมุดหมายที่ ๑ ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
หมุดหมายที่ ๗ ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง
และสามารถแข่งขันได้ เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงสาธารณสุข เช่น คำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น
ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม และฐานะทางการคลัง
มีการสร้างความรู้ความเข้าใจในวงกว้าง เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมหมุดหมาย
พิจารณากำหนดค่าเป้าหมาย/ตัวชี้วัดของเป้าหมายหลักและเป้าหมายในระดับหมุดหมายเป็นรายปี
ไปพิจารณาดำเนินการ แล้วให้นำ (ร่าง) แผนแผนพัฒนาฯ เสนอต่อรัฐสภาเพื่อทราบ
ก่อนกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
316 | รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 14 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา
๒๗๐ ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ ๑๔ (เดือนตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๔) สรุปได้ ดังนี้ (๑) ความคืบหน้าตามแผนการปฏิรูปประเทศระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม
๒๕๖๔ เช่น รายงานความคืบหน้าของกิจกรรม Big Rock ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งมีความคืบหน้าทั้ง ๑๓ ด้าน
โดยมีสถานะการดำเนินการกิจกรรม Big Rock รวมทั้งสิ้น ๖๒
กิจกรรม ประกอบด้วย ๑) กิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผน รวม ๕๕ กิจกรรม และ ๒)
กิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผน รวม ๗ กิจกรรม (๒)
ความคืบหน้ากฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ณ สิ้นเดือนธันวาคม
๒๕๖๔ รวมทั้งสิ้น ๔๕ กิจกรรม ประกอบด้วย กฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ๒ ฉบับ
และกฎหมายที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ๔๓ ฉบับ (๓) ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ
เช่น การจัดทำคู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติราชการรายปี แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี
และแผนปฏิบัติราชการด้านต่าง ๆ
การจัดทำคู่มือโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ และ (๔)
การดำเนินการระยะต่อไป สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะบูรณาการร่วมกับคณะกรรมการการปฏิรูปประเทศ
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก และหน่วยงานร่วมดำเนินการกิจกรรม Big Rock เพื่อเร่งรัดขับการเคลื่อนการดำเนินการ การกำกับ
ติดตามการดำเนินโครงการภายใต้กิจกรรม Big Rock โดยหน่วยรับผิดชอบโครงการต้องนำเข้าข้อมูลแผนงาน/โครงการในระบบ
eMENSCR ให้ครบถ้วน ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
317 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)] | กค. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19)] มีสาระสำคัญเป็นการการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(สปน.) ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร
และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการสำหรับการบริจาคสินค้าให้แก่ สปน.
เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่
๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก ตลอดจนติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการ ๒๗ ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
318 | ขอความเห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย - ภูฏาน ครั้งที่ 4 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า
(Joint Trade Committee : JTC) ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ ๔
และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่างวันที่
๒๖-๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ ณ จังหวัดภูเก็ต
เพื่อให้ผู้แทนไทยซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนเป็นประธานฝ่ายไทยใช้หารือกับฝ่ายภูฏาน
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาและเสนอประเด็นที่ฝ่ายไทยประสงค์จะผลักดันต่อเนื่องจากการประชุม
JTC ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ ๓ เช่น ความร่วมมือการค้าและการลงทุน
การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างกัน การพัฒนาระบบ e-Commerce และการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมและรายย่อย (MSMEs)
ทั้งนี้
หากในการประชุมดังกล่าวมีผลให้มีการตกลงเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าในประเด็นอื่น
ๆ
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยกับภูฏาน
ขอให้ผู้แทนไทยสามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
๒. ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในประเด็นเกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๘ หรือไม่ และหากในการประชุมดังกล่าวมีผลให้มีการตกลงเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าในประเด็นอื่น
ๆ นอกเหนือจากกิจกรรมที่เสนอ
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยกับภูฏาน
เห็นควรให้ผู้แทนไทยสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
รวมทั้งควรติดตามประเมินความก้าวหน้าความร่วมมือ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
319 | สารบาหลี (Bali Message) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการทูตดิจิทัล | กต. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบสารบาหลี (Bali
Message) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการทูตดิจิทัล
“ถอดหน้ากากการทูตดิจิทัลในยุค New Normal” (Bali Message on International
Cooperation in Digital Diplomacy “Unmasking Digital Diplomacy in the New
Normal”) เพื่อที่จะได้นำผลการพิจารณาแจ้งฝ่ายอินโดนีเซียทราบในโอกาสแรก
โดยสารบาหลีฯ เป็นเอกสารสารผลลัพธ์การประชุม International Conference on
Digital Diplomacy ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ณ
เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในรูปแบบกึ่งออนไลน์ เพื่อให้เกิดการตระหนักร่วมกันเกี่ยวกับความสำคัญของการทูตดิจิทัลที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงและมีส่วนช่วยในการปกป้องผลประโยชน์ร่วมกัน
ทั้งในกระบวนการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ
และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยจะใช้ ๕
ประเด็นหลักในการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเติบโตที่สร้างสรรค์ ครอบคลุม
และยั่งยืน ไปพร้อมกับการเชื่อมโยงความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลระหว่างประเทศต่าง ๆ
ได้แก่ (๑) การพัฒนากรอบนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนการทูตดิจิทัล (๒)
การจัดการวิกฤตผ่านการทูตดิจิทัล (การแลกเปลี่ยนข้อมูล) (๓)
การจัดการข้อมูลเพื่อสนับสนุนการทูตดิจิทัล
(การยกระดับการใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ) (๔)
นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ (๕)
การเสริมสร้างขีดความสามารถและการมีส่วนร่วมทางดิจิทัลให้แก่สตรี เด็ก คนชรา
ผู้พิการ และผู้ที่อยู่ชายขอบของทุกประเทศ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่ขอแก้ไขถ้อยคำในสารบาหลี
(Bali Message) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการทูตดิจิทัล
“ถอดหน้ากากการทูตดิจิทัลในยุค New Normal” บาหลี, ๑๖
พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๒๑ ฉบับภาษาไทย ในหน้าที่ ๒ และ ๔ จากคำว่า “ผู้พิการ” เป็น
“คนพิการ” ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
320 | ขออนุมัติดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทย | คค. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
ในกรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) ๒.
เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ยืมเงินตามนัยมาตรา ๓๙ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายใต้กรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้น ๓.
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขอปรับเพิ่มเงินลงทุน
(Cost Overrun) ในอนาคต
ซึ่งอาจกระทบต่อผลการดำเนินงานและผลตอบแทนการลงทุน รวมทั้งอาจเกิดความล่าช้าในการให้บริการและไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ๔.
ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้และจำเป็นต้องติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๕.
ให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับแนวโน้มการประกอบกิจการของรัฐวิสาหกิจต่าง
ๆ ในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |