ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 15 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 281 - 300 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
281 | การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านทำนบ จังหวัดสุรินทร์ | กษ. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในการให้ความช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านทำนบ
จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๖๔ แปลง เนื้อที่ ๕๑๒-๑-๕๖ ไร่
เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยา
และบรรเทาความเดือดร้อนอย่างเป็นธรรมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการชลประทานของรัฐ
สำหรับอัตราค่าชดเชยที่จะต้องจ่ายนั้น
เห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาตามหลักการที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นชอบไว้ในการประชุมคณะทำงานตรวจสอบพิสูจน์สิทธิย้อนหลังและแสวงหาราคาค่าทดแทน
โดยกรณีการจ่ายเงินทดแทนค่าขนย้าย (ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์)
เป็นการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาความเสียหายตามหลักมนุษยธรรม
ไม่ใช่การจ่ายเงินทดแทนค่าที่ดิน
จึงไม่สามารถจ่ายเงินชดเชยโดยใช้ราคาซื้อขายที่ดินมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคา
โดยเห็นควรใช้แนวทางการพิจารณากำหนดจำนวนเงินตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๒
เพื่อมิให้มีค่าใช้จ่ายที่เกินกว่าที่รัฐได้เคยจ่ายชดเชยสำหรับที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์
อันจะนำไปสู่กรณีกลุ่มราษฎรจะมาเรียกร้องให้มีการจ่ายเงินชดเชยในลักษณะเดียวกันตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ ดังกล่าว
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม .ถูกต้อง เป็นธรรม
และสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ครอบคลุมในทุกมิติอย่างรอบคอบตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
รวมทั้งรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรเร่งกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐ
เร่งดำเนินการจ่ายค่าทดแทนให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการโดยเร็วและเป็นธรรม การขออนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน
เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าชดเชยให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิและจำนวนค่าชดเชย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
282 | การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 15 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่ 10 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 10 ในรูปแบบ face-to-face | ทส. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
283 | การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร | กษ. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) จ่ายเงินชดเชยเป็นกรณีพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการเขื่อนน้ำอูน
จังหวัดสกลนคร เฉพาะในส่วนราษฎรที่ตกค้างยังไม่เคยได้รับเงิน จำนวน ๒๙๕ ราย รายละ
๑๕ ไร่ ในอัตราไร่ละ ๑๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่เคยจ่ายให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการนี้ไปแล้วจำนวน
๒,๒๘๕ ราย
สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ในส่วนของการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน
นั้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินตามข้อ
๑ ให้รอบคอบ ถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม
๒๕๖๔ (เรื่อง
แนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล)
โดยไม่ควรกำหนดให้คณะกรรมการที่จัดตั้งตามคำสั่งของฝ่ายบริหารนั้นทำงานปกติประจำ ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เช่น ควรเร่งกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐ
การอนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามระเบียบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตามระเบียบกฎหมายให้ถูกต้องต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
284 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายอโณทัย ไทยวรรณศรี) | ศธ. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง)
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๒๖
สิงหาคม ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
285 | การอนุมัติชำระเงินค่าบำรุงประจำปีแก่ศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภูมิภาคแผนงาน IMT - GT (CIMT) ประจำปี 2566 - 2570 | นร.11 สศช | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติชำระเงินค่าบำรุงประจำปีแก่ศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภูมิภาคแผนงาน
IMT-GT (Centre for Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle : CIMT)
(ศูนย์ CIMT) ประจำปี ๒๕๖๖-๒๕๗๐ จำนวนเงินปีละ
๑๖๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา รวม ๕ ปี เป็นจำนวนเงิน ๘๒๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (ประมาณ ๒๘.๔๙๘ ล้านบาท) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงบประมาณ เกี่ยวกับค่าบำรุงประจำปี
๒๕๖๗-๒๕๗๐ ให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
286 | การเลื่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี (วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2565) | นร.05 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเลื่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี
เนื่องจากในระหว่างวันที่ ๓๑ พฤษภาคม-๒ มิถุนายน ๒๕๖๕ จะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงมีบัญชาให้เลื่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรีจากวันอังคารที่
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เป็นวันจันทร์ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
287 | การปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและการทบทวนกฎหมายตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 | นร.12 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและการทบทวนกฎหมายตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการทบทวนกระบวนงานเพื่อปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในปี
๒๕๖๕ ได้แก่ กลุ่มกระบวนงานที่มีผลกระทบสูง ๓๑ กระบวนงาน เช่น
การขอออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน/ขยายโรงงาน การขึ้นทะเบียนเกษตรกร
และกลุ่มกระบวนงานทั่วไปที่เป็นภารกิจหลักของหน่วยงานที่นอกเหนือจากกลุ่มกระบวนงานที่มีผลกระทบสูง
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ และให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐรับแนวทางฯ
ไปพิจารณาทบทวนระยะเวลาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามกระบวนการในความรับผิดชอบให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน
และให้แจ้งผลการพิจารณาไปยังคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการโดยด่วน เพื่อให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการพิจารณาดำเนินการในภาพรวม
ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปภายใน ๑ เดือน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
288 | รายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 | นร.12 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ยุบเลิกสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ขอให้มอบหมายคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
ดำเนินการเพื่อยุบเลิกหน่วยงานและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
พ.ศ. .... และการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวของคณะรัฐมนตรีให้นำรายงานการประเมินความคุ้มค่า
บทเรียน ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัด
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนไปประกอบการพิจารณาด้วย ๒.
ให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น
ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความละเอียด รอบคอบ ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมาย
และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเกษตรกรและผู้ยากจนที่เข้าร่วมโครงการ
รวมทั้งบุคลากรและทรัพยากรของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ควรเข้ามาเสริมการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในการแก้ปัญหาที่ดินทั้งประเทศโดยไม่ควรเป็นหน่วยงานที่สำนักงานในทุกจังหวัด
และไม่ควรซื้อที่ดินเอกชนมาดำเนินการเอง ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
289 | โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8 - 9 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | พน. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ ๘-๙
ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา ๖๐๐ เมกะวัตต์ พร้อมระบบส่งไฟฟ้า
ในวงเงินรวมทั้งสิ้น ๔๗,๔๗๐ ล้านบาท ๑.๒ อนุมัติงบประมาณประจำปี ๒๕๖๕ ตามแผนประมาณการเบิกจ่ายสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่
๘-๙ จำนวนเงินทั้งสิ้น ๓,๗๙๕ ล้านบาท ๒.
ให้กระทรวงพลังงานและ กฟผ. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น (๑)
การดำเนินโครงการฯ
ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับร่างแผนพลังงานแห่งชาติซึ่งสนับสนุนให้ไทยสามารถลดการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
(๒) กฟผ. ควรจัดทำรายงานการติดตามและประเมินผลการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เพื่อชี้แจงให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ (๓) กฟผ.
ควรดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่าตามมาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ และ (๔) กระทรวงพลังงานควรกำกับดูแลให้ กฟผ.
ดำเนินโครงการฯ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้มีการขอปรับเพิ่มเงินลงทุนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการในภายหลัง
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
290 | การดำเนินโครงการ “ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์”บนที่ดินราชพัสดุ จังหวัดสมุทรปราการ โดยบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด | กค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมธนารักษ์ และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ดำเนินโครงการ
“ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์” บนที่ดินราชพัสดุ จังหวัดสมุทรปราการ
โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล
(คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน) กรอบงบลงทุนของโครงการฯ ประมาณ ๑,๓๔๕.๙๓๔ ล้านบาท และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ
บนเงื่อนไขที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดเท่านั้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามมติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคราวประชุมเมื่อวันที่
๑ กันยายน ๒๕๖๔ (ตามหนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/ว ๕๕๙๘ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔) รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรเพิ่มกิจกรรมการจ้างงานผู้สูงอายุให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อการสร้างรายได้และพึ่งตนเอง
ควรกำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการเป็นระยะ ๆ
เพื่อให้สามารถนำไปปรับแผนการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมและทันต่อบริบทของสังคมผู้สูงอายุ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
291 | ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) | คค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ได้รับการผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้นที่ ๑ เอ เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
(ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ๒. ให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ ๖/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๒
ตุลาคม ๒๕๖๓ อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น กระทรวงคมนาคม
(การรถไฟแห่งประเทศไทย) ต้องปฏิบัติตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
และมติคณะกรรมการชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้
การดำเนินการระยะต่อไปของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
หากมีความจำเป็นต้องขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำหรือการดำเนินการอื่นใดตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้สำเร็จลุล่วงและเกิดประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมทางรางของประเทศต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
292 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายทาวัน ทวีถาวรสวัสดิ์) | อก. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายทาวัน ทวีถาวรสวัสดิ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
293 | ขออนุมัติกรอบวงเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 เพิ่มเติม | พณ. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบการเพิ่มกรอบวงเงินงบประมาณโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต ๒๕๖๔/๖๕ จากเดิม
๕๔,๙๗๒.๗๒
ล้านบาท เป็น ๕๕,๕๖๗.๓๖ ล้านบาท จำแนกเป็น ๑.๑ วงเงินที่จ่ายให้เกษตรกร จากเดิม จำนวน
๕๓,๘๗๑.๘๔ ล้านบาท เพิ่มขึ้น
๕๘๓.๑๐ ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๔,๔๕๔.๙๔ ล้านบาท ๑.๒ ค่าชดเชยต้นทุนเงิน จากเดิม จำนวน ๑,๐๗๗.๔๔ ล้านบาท เพิ่มขึ้น ๑๑.๕๔ ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น
๑,๐๘๘.๙๘ ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจะใช้จ่ายจากงบประมาณคงเหลือจากโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปี ๒๕๖๔/๖๕ (โครงการประกันรายได้ฯ) ๒.
รับทราบการขยายระยะเวลาตามที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติเห็นชอบแล้ว
ดังนี้ ๒.๑ ขยายระยะเวลาการจ่ายเงิน จากเดิม
สิ้นสุดวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๕ เป็น สิ้นสุดวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๒.๒ ขยายระยะเวลาโครงการ จากเดิม
สิ้นสุดวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เป็น สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ เช่น
ควรมีการวางระบบที่สามารถตรวจสอบและประมาณการจำนวนครัวเรือนเกษตรกรทั้งพื้นที่ขึ้นทะเบียนที่ถูกต้อง
รัดกุมให้เป็นไปตามข้อเท็จจริง มีกระบวนการตรวจสอบและรับสิทธิ
การสำรวจพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมย่างรัดกุมตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการรับสิทธิ และคุ้มค่ากับงบประมาณในการดำเนินโครงการ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
294 | (ร่าง) แผนการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมระดับชาติ (พ.ศ. 2564 - 2580) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ภายใต้แผนฯ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 -2565) และระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | สธ. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบ (ร่าง) แผนการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมระดับชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๘๐) ตามที่คณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมเสนอ และรับทราบแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ภายใต้แผนการเฝ้าระวัง การป้องกันระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๕) และระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖–๒๕๗๐) ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดย (ร่าง) แผนฯ และแผนปฏิบัติการ ภายใต้แผนฯ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานในการสื่อสารสร้างความเข้าใจระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน NGOs และภาคประชาชนในการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้ประกอบอาชีพและผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ด้วยการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมถึงการให้บริการอาชีวเวชกรรมและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ๒.
มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนการเฝ้าระวังฯ และแผนปฏิบัติการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่คณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมเสนอ ทั้งนี้
ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และในปีต่อ ๆ ไป
ให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๓.
ให้คณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน
และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เช่น พิจารณาเพิ่มเติมแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกัน เฝ้าระวัง
และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือน ด้านนโยบาย/มาตรการทางการเงินการคลัง
โครงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคเชิงรุกในสถานประกอบการ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
295 | ข้อเสนอสมัชชาสตรีระดับชาติ ปี 2563 | พม. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบข้อเสนอสมัชชาสตรีระดับชาติ ปี ๒๕๖๓ เรื่อง
การพัฒนากฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ
เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการปรับปรุงกฎหมาย
และมอบหมายให้กระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาดำเนินการพัฒนากฎหมายและนโยบาย
ซึ่งมีประเด็นข้อเรียกร้องจากสมัชชาสตรี ๔ ประเด็น ได้แก่ ๑) สุขภาพของผู้หญิง ๒)
การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ๓) งานของผู้หญิง และ ๔) ความรุนแรงต่อผู้หญิง
โดยที่ประชุมมีข้อเสนอที่สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นนโยบายยุทธศาสตร์
หรือมาตรการภายใต้ประเด็นข้อเรียกร้องดังกล่าว ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ๒.
ให้กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าการขับเคลื่อนการพัฒนากฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบยังไม่บรรลุผลเท่าที่ควร
ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
296 | (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2580) | นร.11 สศช | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
รับทราบข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรตาม (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว
(พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐) มีประเด็นสำคัญที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการไปพร้อมกันด้วย
ดังนี้ ๑.๑.
ปรับปรุงโครงสร้างระบบภาษีให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรที่แรงงานในระบบจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
โดยเฉพาะภาษีเงินได้ ๑.๒.
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจะทำให้กองทุนสวัสดิการสังคมต่าง ๆ
ที่มีอยู่และที่อาจจะตั้งขึ้นในอนาคตมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในขณะที่มีเงินกองทุนเท่าเดิมหรือน้อยลงซึ่งจะส่งผลต่อภาระด้านการเงินการคลังของรัฐในระยะยาว
จึงต้องปรับปรุงระบบสวัสดิการให้เหมาะสม ๑.๓.
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อการรักษาความมั่นคงของชาติในภาพรวมเนื่องจากจำนวนกำลังพลจะน้อยลง
หน่วยงานด้านความมั่นคงและกองทัพจึงต้องพัฒนาให้ทันการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย ๒
เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ประกอบด้วยยุทธศาสตร์สำคัญ ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพ
และพัฒนาระบบที่เอื้อต่อการมีและเลี้ยงดูบุตร (๒) การพัฒนายกระดับผลิตภาพประชากร
(๓) การยกระดับความมั่นคงทางการเงิน (๔) การสร้างเสริมสุขภาวะ
เพื่อลดการตายก่อนวัยอันควรและมีระบบดูแลระยะยาวและช่วงท้ายของชีวิต (๕)
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพกับทุกกลุ่มวัย และ (๖)
การบริหารจัดการด้านการย้ายถิ่นฐาน ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
ความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และกระทรวงมหาดไทย เช่น
ควรกำหนดตัวชี้วัดของการพัฒนาในแต่ละยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่ ๗
การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ในประเด็นการปรับลดกำลังคนภาครัฐ
สร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาพัฒนางานให้มากขึ้น
ควรมุ่งเน้นประเด็นความเหมาะสมและสมดุลของโครงสร้างประชากรทุกกลุ่มวัยให้ชัดเจน เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
297 | ผลการประชุมผู้นำความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical andEconomic Cooperation-BIMSTEC) หรือบิมสเทค ครั้งที่ 5 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | กต. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
298 | รัฐบาลญี่ปุ่นเสนอขอแต่งตั้งกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ จังหวัดเชียงใหม่ (นายฮิกูจิ เคอิจิ) | กต. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายฮิกูจิ เคอิจิ (Mr. HIGUCHI Keiichi) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ
จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา แพร่
แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และอุตรดิตถ์
สืบแทน นายฮิโรชิ มัตสึโมโตะ (Mr. Hiroshi Matsumoto) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
299 | ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากร ลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก (ฉบับที่ ..) | กค. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากร
ลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก
(ฉบับที่ ..) มีสาระสำคัญในการลดอัตราอากรนำเข้าสำหรับสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้
WTO ในโควตา ตามประเภทย่อย ๑๐๐๕.๙๐.๙๙ รหัสย่อย ๗๑
จากเดิมอัตราในโควตาร้อยละ ๒๐ เป็นอัตราอากรในโควตาร้อยละ ๐
ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยให้แก้ไขถ้อยคำในร่างประกาศให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรติดตามสถานการณ์การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างใกล้ชิด
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเงื่อนไขการสิ้นสุดการผ่อนปรนในกรณีที่มีการนำเข้ารวมกันทุกช่องทางครบ
๑.๒๐ ล้านตัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าว
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
300 | สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 11 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 28 กุมภาพันธ์ 2565) | นร.04 | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๑๑ (ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๔-๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕)
ซึ่งสรุปรายงานดังกล่าวเป็นการรายงานผลการดำเนินงานตาม (๑) นโยบายหลัก ๙ ด้าน เช่น
การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ
การทะนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก
การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม
เป็นต้น และ (๒) นโยบายเร่งด่วน ๙ เรื่อง เช่น
การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน
การปรับปรุงระบบสวัสดิการคุณภาพชีวิตของประชาชน
การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม การยกระดับศักยภาพของแรงงาน
การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต
การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เป็นต้น ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|