ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 14 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 261 - 280 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
261 | แจ้งคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ. 1106-1123/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 1387-1404/2564 ระหว่าง นายเจ๊กกี้ อดุลยวิจิตร ที่ 1 กับพวกรวม 21 คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย | อส. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
ในคดีหมายเลขดำที่ อ. ๑๑๐๖-๑๑๒๓/๒๕๕๘ คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๑๓๘๗-๑๔๐๔/๒๕๖๔ ระหว่าง
นายเจ๊กกี้ อดุลยวิจิตร ที่ ๑ กับพวกรวม ๒๑ คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย
จำกัด (มหาชน) ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
และความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย
ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำ พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น
เป็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑๔ เป็นเงินจำนวน
๒๑๙,๗๖๐.๕๖ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี
ของเงินต้นจำนวนดังกล่าว นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔
และดอกเบี้ยร้อยละ ๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยให้ชำระให้เสร็จสิ้นภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ยกฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๖
คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ทำให้คดีนี้ถึงที่สุดแล้ว ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
262 | พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรประจำปี 2564-2565 | นร.51 | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรประจำปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕
มีสาระสำคัญเพื่อป้องกัน ควบคุม แก้ไข
และฟื้นฟูสถานการณ์ที่เป็นภัยหรืออาจเป็นภัยอันเกิดจากบุคคลที่ก่อให้เกิดความไม่สงบสุข
ทำลาย หรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ
เสริมสร้างความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นกับประเทศ ให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข
มีความมั่นคง ปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน
เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ปัจจุบันอย่างจริงจังให้หมดสิ้นไป
เป็นต้น ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเสนอ
และให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรรับข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงาน
ป.ป.ส. รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณากำหนดโครงการสำคัญในประเด็นที่สำคัญเร่งด่วน ควรกำหนดจุดมุ่งเน้นของแผนและบูรณาการการแก้ปัญหาในห้วงปี
๒๕๖๕ ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดภายใต้แผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรประจำปี
๒๕๖๔-๒๕๖๕ ให้มีความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับแผนอื่น ๆ ที่กฎหมาย
ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีกำหนดด้วย (เช่น
แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ) โดยอาจพิจารณาปรับในส่วนของค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดที่เป็นโครงการสำคัญ
(Flagship Project) และเร่งด่วนเป็นลำดับแรก
ทั้งนี้
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
และวัดผลการดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมในทิศทางเดียวกันต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||
263 | แจ้งผลคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ.1514-1539/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อ.28-53/2565 ระหว่างนางนันท์พิชชา นพเก้า กับพวก 28 คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจาการใช้อำนาจตามกฎหมาย | อส. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
ในคดีหมายเลขดำที่ อ.๑๕๑๔-๑๕๓๙/๒๕๕๘ คดีหมายเลขแดงที่ อ.๒๘-๕๓/๒๕๖๕ ระหว่างนางนันท์พิชชา
นพเก้า กับพวก ๒๘ คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน ผู้ถูกฟ้องคดี
(คณะรัฐมนตรีผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๖) เรื่อง
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
และความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย
ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้นให้ยกฟ้องคดี ทำให้คดีนี้ถึงที่สุดแล้ว
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
264 | การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัย | มท. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.อนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัย
จำนวน ๔๐ จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๖๒๕ แห่ง ๘๘๙ โครงการ งบประมาณ ๒,๒๔๑,๔๔๙,๑๐๐ บาท ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อจักได้เร่งฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างถนน
สิ่งสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรมีความพร้อมของแบบแปลนและประมาณราคา
สามารถดำเนินการก่อสร้างและเบิกจ่ายงบฯ ได้แล้วเสร็จโดยเร็ว ให้ปฏิบัติตามระเบียบ
ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีและหลักธรรมาภิบาลโดยเคร่งครัดต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยกำกับดูแลการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จ
เป็นไปตามวัตถุประสงค์ แผนงาน และระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
เพื่อให้การใช้งบประมาณมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||
265 | รายงานตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 | สม. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
ปี ๒๕๖๔ และรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับภาพรวมสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค
และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ (๑)
ด้านสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์เฉพาะ (๒) ด้านสิทธิพลเมืองและด้านสิทธิทางการเมือง
(๓) ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (๔) ด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคล ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอ
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ปรากฏในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ฯ
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างเคร่งครัด
และนำข้อเสนอแนะในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติมากขึ้น
ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย
แล้วแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป ๒. ให้ส่งความเห็นของกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม
และสำนักงานอัยการสูงสุดไปเพื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
266 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 2 โครงการ (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่) | กษ. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่
จำนวน ๒ โครงการ ประกอบด้วย โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดปราจีนบุรี จากเดิม ๑๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓-พ.ศ. ๒๕๖๕) เป็น ๑๕ ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓-พ.ศ. ๒๕๖๗) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
๙,๐๗๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา
จังหวัดเชียงใหม่ จากเดิม ๑๑ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-พ.ศ. ๒๕๖๕) เป็น ๑๖ ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-พ.ศ. ๒๕๗๐) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
๑๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐
บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
เร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
ควรรายงานให้สำนักงบประมาณทราบภายในกำหนดระยะเวลา ตามนัยข้อ ๗ (๒)
ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรพิจารณาผลกระทบสุขภาพที่เกิดขึ้นกับชุมชนที่เป็นผลมาจากการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ
ควรรายงานความคืบหน้าในการก่อสร้างเสนอคณะลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากลั่นกรองและเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเพื่อทราบทุก
๖ เดือน ต่อไป ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างการรับรู้
และการมีส่วนร่วมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มเติมจากที่ดำเนินการอยู่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. มอหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ประสานงานกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
(องค์การมหาชน)
ศึกษาและพัฒนาเทคนิควิธีการสำรวจพื้นที่สำหรับการดำเนินโครงการชลประทานต่าง ๆ
ให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้มีการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการให้ครบถ้วนรอบด้านในทุกมิติ
เพื่อมิให้เกิดปัญหาการดำเนินงานล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ |
|||||||||||||||||||||||||||
267 | การขออนุมัติดำเนินงานก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ของกรมทางหลวง | คค. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมทางหลวงดำเนินงานก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข
๗ ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ในวงเงินรวมทั้งสิ้น ๔,๕๐๘ ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ตามแผนบริหารหนี้สาธารณะ
และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสำหรับค่าจัดกรรมสิทธิ์ วงเงิน ๑๐๘ ล้านบาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
ทั้งนี้ ในส่วนของงบประมาณค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการดำเนินโครงการในกรอบวงเงิน รวม ๔,๕๐๘ ล้านบาท ให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง)
ดำเนินการตามความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๒๐/๓๕๖๔ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕) และให้กระทรวงคมนาคม
(กรมทางหลวง) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรใช้เงินกู้ต่างประเทศในการดำเนินโครงการ
ให้กรมทางหลวงเร่งรัดการดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
และให้กรมทางหลวงเร่งแก้ไขรายงาน EIA เพื่อเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา/จัดทำ
ร่างพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินฯ
ของที่ดินเอกชน/ดำเนินการขอใช้ที่ดินของรัฐ/สรรหาเอกชนไปพลางระหว่างรอผลการพิจารณารายงาน
EIA ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
268 | ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม สามารถมายื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ..................... พ.ศ. 2565 | กษ. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ....
และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา
ลาว เมียนมา และเวียดนาม
สามารถมายื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
และทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
.............. พ.ศ. ๒๕๖๕ รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ดังนี้ ๒.๑ กรมประมง จัดทำทะเบียนประวัติและออกหรือต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ ๒.๒ กระทรวงสาธารณสุข
ตรวจสุขภาพซึ่งครอบคลุมถึงการตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
และทำประกันสุขภาพของคนต่างด้าว ๒.๓
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดทำสัญญาจ้างซึ่งครอบคลุมการสัมภาษณ์คนต่างด้าว
โดยให้สัญญาจ้างเป็นสัญญาที่ระบุระยะเวลาการจ้างและสิ้นสุดการจ้างไว้ด้วยพร้อมตรวจสอบความถูกต้อง
และลงลายมือชื่อกำกับ ๒.๔
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรแก่คนต่างด้าว
และจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล (Biometrics) ๒.๕ กรมการปกครอง
จัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ทร. ๓๘/๑)
และบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) ๓.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรพิจารณานำกลุ่มคนดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการทำงานตามขั้นตอนตามปกติ
ตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
โดยเร็ว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้ |
|||||||||||||||||||||||||||
269 | ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการค่าก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากแม่น้ำเทพา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ของกรมเจ้าท่า | คค. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการค่าก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากแม่น้ำเทพา
ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา วงเงิน ๙๐ ล้านบาท
และผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕-พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามนัยมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า)
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
การดำเนินการใด ๆ ในพื้นที่ป่า ให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในพื้นที่สำหรับการจัดทำแผนป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากน้ำเทพาแล้วเสร็จ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
และปีต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสร้างความเข้าใจกับประชาชนและผู้อยู่อาศัยโดยรอบพื้นที่โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะบริเวณปากน้ำเทพา
ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการฯ ให้ถูกต้อง ทั่วถึง
และต่อเนื่องด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
270 | ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และคณะในศูนย์สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 | อว. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบวงเงินของแผนอัตรากำลังของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและคณะในศูนย์สุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ จำนวน ๓๕๒,๔๙๘,๘๐๐ บาท
และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) พิจารณาทบทวนการกำหนดจำนวนอัตรากำลังภายใต้แผนฯ
ให้เหมาะสม สอดคล้องกับภารกิจเท่าที่จำเป็นและประหยัด
โดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินที่จะนำมาใช้
โดยเฉพาะรายได้หรือเงินนอกงบประมาณอื่นใดที่มหาวิทยาลัยมีอยู่หรือที่สามารถนำมาใช้จ่ายเป็นลำดับแรก
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับความเห็นของสำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกำกับเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ข้อสังเกตของสำนักงาน
ก.พ. รวมทั้งรับความเห็นและข้อเสนอแนะของสำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น คณะในศูนย์สุขศาสตร์ควรพิจารณาทบทวนกรอบอัตรากำลังที่ขอรับการสนับสนุนให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
พิจารณารูปแบบการจ้างงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ ควรบูรณาการการทำงาน
และเชื่อมโยงฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพและข้อมูลผู้ป่วยในพื้นที่
ทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
271 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 | กษ. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน
กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน และงบกระแสเงินสด ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองงบการเงินแล้ว
เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||
272 | ขออนุมัติการทำสัญญาซื้อขายเครื่องบริโภคสำหรับใช้เลี้ยงผู้ต้องขัง ผู้ต้องกักขัง ผู้ต้องกักกัน และการก่อหนี้ผูกพันของกรมราชทัณฑ์ | ยธ. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้กรมราชทัณฑ์สามารถดำเนินการทำสัญญาซื้อขายเครื่องบริโภคสำหรับใช้เลี้ยงผู้ต้องขัง
ผู้ต้องกักขัง และผู้ต้องกักกัน ก่อนปีงบประมาณใหม่ของทุก ๆ ปี
และก่อนได้รับการอนุมัติเงินจัดสรรได้
ตามความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||
273 | การขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญา (Final Declaration) สำหรับการประชุมระดับสูงว่าด้วยทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ “น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน”ค.ศ. 2018-2028 ครั้งที่ 2 (The Second High- Level International Conference on the International Decade for Action “Water for Sustainable Development”, 2018-2028 หรือ Second Dushanbe Water Action Decade Conference) | นร.14 | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญา (Final Declaration) สำหรับการประชุมระดับสูงว่าด้วยทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ
“น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน”ค.ศ. ๒๐๑๘-๒๐๒๘ ครั้งที่ ๒ (The Second High-Level International Conference on the International Decade for
Action “Water for Sustainable Development”,
2018-2028 หรือ Second Dushanbe Water Action Decade
Conference) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๖-๙ มิถุนายน ๒๕๖๕
ณ กรุงดูซานเบ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ผ่านระบบออนไลน์ โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมระดับผู้นำในการพัฒนาการบริหารจัดการและการดำเนินการด้านทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและครอบคลุมทุกภาคส่วน
โดยร่างปฏิญญาฯ ประกอบด้วยประเด็นสำคัญ ได้แก่
สร้างหลักประกันว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงน้ำที่ปลอดภัยและราคาเหมาะสม สุขาภิบาลและสุขอนามัยที่เพียงพอและเท่าเทียม
ตระหนักถึงความสำคัญของน้ำเพื่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง
ส่งเสริมการดำเนินการจัดการทรัพยากรน้ำบูรณาการ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างน้ำ
สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมความร่วมมือและหุ้นส่วนระหว่างผู้มีส่วนได้เสียต่าง
ๆ ในทุกระดับ รวมถึงหน่วยงานท้องถิ่น องค์กรภาคประชาสังคม นักลงทุน และผู้บริจาค ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมระดับสูงว่าด้วยทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ
“น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน”ค.ศ. ๒๐๑๘-๒๐๒๘ ครั้งที่ ๒
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับปเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมือวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||
274 | โครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ (อาชีวะอยู่ประจำเรียนฟรี มีอาชีพ) | ศธ. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการโครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน
เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ (อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ)
และให้กระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
ดำเนินโครงการนำร่องในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนว ๘๘
แห่ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ (ระยะที่ ๑) ก่อน แล้วให้กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการฯ
(ระยะที่ ๑) อย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินโครงการฯ เสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
และประกอบการพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมในการขยายผลการดำเนินโครงการฯ ในระยะต่อไป
อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการฯ ในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้กระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ให้กระทรวงศึกษาธิการ
(สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) รับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณารวบรวมข้อมูลและติดตามเยาวชนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษาในลักษณะของภาคีเครือข่าย
ควรจัดทำหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมดิจิทัลในอนาคต
ควรพิจารณาความซ้ำซ้อนของสถานศึกษาอาชีวในโครงการฯ กับโครงการอาชีวพระดาบส
ทั้งด้านการก่อสร้างหอพัก และการจ้างและจ่ายค่าตอบแทนดูแลหอพัก
เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการและแบ่งปันการใช้ทรัพยากรเพื่อการดูแลผู้เรียนร่วมกัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
275 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเลื่อมล้ำ: กรณีศึกษาการแก้ปัญหาระดับจุลภาคในประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเลื่อมล้ำ วุฒิสภา | สว. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
แนวทางการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเลื่อมล้ำ :
กรณีศึกษาการแก้ปัญหาระดับจุลภาคในประเทศไทย
ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเลื่อมล้ำ วุฒิสภา
ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า
เห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการฯ และได้ดำเนินการ ดังนี้ (๑)
กลไกที่สนับสนุนส่งเสริมการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับจุลภาค
โดยให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการวางแผนการแก้ไขปัญหาและกำหนดเป้าหมายความสำเร็จ (๒)
การสร้างพันธมิตร การพัฒนาที่ยั่งยืนมีจุดแข็งในการทำงานในภาพรวม
โดยการสร้างระบบการทำงานระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคมมีการทำงานร่วมกับอาสาพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และมูลนิธิต่าง
ๆ เช่น มูลนิธิกระจกเงา และมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก เป็นต้น รวมทั้ง
มีการดำเนินงานกับภาคีเครือข่ายภาคเอกชนในการช่วยเหลือประชาชนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
COVID-19 (๓)
การแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับจุลภาค
โดยกำหนดแนวทางพัฒนาการเข้าถึงบริการภาครัฐทั้งในระบบออนไลน์และในสำนักงานที่สามารถเข้าถึงในทุกพื้นที่ได้
(๔) การแก้ไขปัญหาความยากจน โดยกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง
โดยมุ่งเน้นการดำเนินการแบบบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และประชาชนที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||
276 | โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2565 - 2567 | อก. | 30/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก
(PM 2.5) ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗
โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สนับสนุนสินเชื่อให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย
กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร สถาบันชาวไร่อ้อย กลุ่มบุคคล และวิสาหกิจชุมชน
วงเงินปีละ ๒,๐๐๐ ล้านบาท รวม ๖,๐๐๐
ล้านบาท และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับการบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน ๗๘๙.๗๕
ล้านบาท ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการชดเชยดอกเบี้ยภายในกรอบวงเงินงบประมาณ ๗๘๙.๗๕
ล้านบาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามผลการดำเนินการจริง
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
และให้ความสำคัญในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นลำดับแรก ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการฯ อย่างใกล้ชิด
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ควรมีการนำข้อมูลแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกมาประกอบการพิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกอ้อยและพัฒนาแหล่งงน้ำ
ให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแหล่งน้ำและเครื่องจักรกลทางการเกษตรในการยกระดับประสิทธิภาพในการผลิตอ้อย
และควรมีการรายงานผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการลดต้นทุนการผลิตของชาวไร่อ้อยและการลดลงของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)
ที่สามารถลดได้จากการดำเนินโครงการ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
277 | ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รายการอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 5 อาคาร | ตช. | 30/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รายการอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ
แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๕ อาคาร เดิม รายการอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ แขวงตลาดบางเขน
เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็น รายการอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ
ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
(พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ว่างในที่ดินราชพัสดุของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในโครงการเมืองทองธานี)
ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการ/แผนงานใด ๆ
ในระยะต่อไปของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติถือปฏิบัติตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๒ (เรื่อง การเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ)
ที่ให้ส่วนราชการเจ้าของแผนงาน/โครงการตรวจสอบความพร้อมในการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการนั้น
ๆ อย่างละเอียดรอบคอบ ให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติก่อน เช่น
ความพร้อมทางกายภาพของที่ตั้งโครงการ สภาพภูมิศาสตร์ กรรมสิทธิ์ครอบครอง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินโครงการให้เป็นไปตามนัยข้อกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕
และที่แก้ไขเพิ่มเติม อย่างเคร่งครัดด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
278 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าขนย้าย (ค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) เป็นกรณีพิเศษให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี | กษ. | 30/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้มีการจ่ายค่าขนย้าย
(ค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ)
เป็นกรณีพิเศษให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายกุมภวาปี
จังหวัดอุดรธานี ที่ยังไม่ได้รับเงินค่าขนย้าย จำนวน ๒๒๒ แปลง เนื้อที่ ๔,๔๘๓-๒-๙๗ ไร่
ตามหลักการของมติคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินเพื่อการชลประทานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ โครงการฝายกุมภวาปี
ที่กำหนดให้จ่ายเงินค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรที่ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่ได้รับผลกระทบในเขตพื้นที่อ่างเก็บน้ำในอัตราราคาสูงสุดไร่ละ
๕๐,๐๐๐ บาท และราคาต่ำสุดไร่ละ ๑๐,๐๐๐
บาท สำหรับการช่วยเหลือในส่วนเพิ่มเพื่อให้เหมาะสมตามสถานะและสภาพของที่ดินนั้น
ให้ใช้แนวทางการพิจารณากำหนดจำนวนเงินตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณหรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรเป็นรายปีงบประมาณ
ตามความเหมาะสมเท่าที่จำเป็นแล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๒ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ในส่วนของการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน
นั้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าขนย้ายตามข้อ
๑ ให้รอบคอบ ถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม
๒๕๖๔ (เรื่อง
แนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล)
ที่เห็นชอบให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติตามแนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยไม่ควรกำหนดให้คณะกรรมการที่จัดตั้งตามคำสั่งของฝ่ายบริหารนั้นทำงานปกติประจำ
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดวิธีการจ่ายเงินค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรตามหลักเกณฑ์และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าขนย้ายที่ถูกต้อง
ครบถ้วน ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๓.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น ควรเร่งกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐ
ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้รอบคอบและครบถ้วน
เพื่อให้การจ่ายเงินค่าขนย้ายทำได้ในครั้งเดียว และไม่เกิดปัญหาเช่นในโครงการอื่น
ๆ ที่ผ่านมา ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
279 | การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยเชิง จังหวัดสุรินทร์ | กษ. | 30/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||
280 | การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (รองศาสตราจารย์วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ และนางนันท์ฐิตา ศิริคุปต์) | อก. | 30/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนวน ๒ คน แทนกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้ ๑. รองศาสตราจารย์วรสัณฑ์
บูรณากาญจน์
|