ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 13 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 241 - 260 จากข้อมูลทั้งหมด 457 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
241 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฏกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. 2553) | มท. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
(สีเขียว) สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อกิจการอื่นในพื้นที่บางบริเวณ
ให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มขึ้น จาก ไม่เกินร้อยละ ๕ เป็น ไม่เกินร้อยละ ๑๐
ของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
242 | โครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565 | พณ. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ ๑.๑
อนุมัติการดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี ๒๕๖๕
ทั้งนี้ ในการดำเนินการโครงการฯ
จะพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสำหรับการส่งออกเฉพาะน้ำมันปาล์มดิบ
เมื่อระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่า ๓๐๐,๐๐๐ ตัน
และราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลก ๑.๒
อนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี ๒๕๖๕
รวมทั้งสิ้น ๓๐๙ ล้านบาท ๑.๓
เห็นชอบหลักเกณฑ์การขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ
ตามโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี ๒๕๖๕ ๒.
ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ
เช่น ควรมีการติดตาม กำกับดูแลคุณภาพของสินค้าน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
ควรมอบหมายให้กรมการค้าภายในและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานการตรวจสอบปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มคงเหลือภายในประเทศ
เพื่อประกอบการพิจารณาในการผลักดันการส่งออกให้มีความสัมพันธ์ในแต่ละห้วงเวลา
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการเพื่อควบคุมราคาน้ำมันปาล์มสำหรับการบริโภคให้มีความเหมาะสมและส่งผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
243 | องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียขอความเห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (ฉบับแก้ไข) | พน. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้ ๑.๑ ร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๓
สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
(ฉบับแก้ไข) นี้ เพื่อให้ออกเป็นร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๓
สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01
ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ๑.๒ ให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
โดยหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ
ลงนามในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๓ฯ
กับกลุ่มผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติและรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ
ลงนามในฐานะพยาน ๒.
ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุดที่เห็นว่า
ในการสำรวจและการจัดหาก๊าซธรรมชาติ
ควรมีการคำนึงถึงผลกระทบด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย และก่อนการลงนามสัญญา
องค์กรร่วมฯ ต้องตรวจสอบถึงความเหมาะสมและความถูกต้องของเงื่อนไขทางเทคนิคตามข้อตกลงทางธุรกิจ
รวมทั้งความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการจัดทำสัญญาด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
244 | องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียขอความเห็นชอบการผนวกสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17 & C-19 และพื้นที่ว่าง (แปลง B-17-02) เข้ากับสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17-01 โดยการออกสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) ของสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17-01 | พน. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้ ๑.๑ การผนวกสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17 & C-19 และพื้นที่ว่าง
(แปลง B-17-02) เข้ากับสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17-01
โดยการออกสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓)
ของสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17-01 ๑.๒ การเปลี่ยนแปลงอัตราการหักค่าใช้จ่าย
จากเดิมสูงสุดไม่เกินร้อยละ ๕๐ หรือ ๖๐ เป็นสูงสุดไม่เกินร้อยละ ๗๕
สำหรับค่าใช้จ่ายของน้ำมันดิบ (Cost Oil) และก๊าซธรรมชาติ (Cost Gas) ในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๓) ของสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17-01 ๑.๓ ร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓)
ของสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17-01 ระหว่างองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (องค์กรร่วมฯ) กับบริษัทผู้ได้รับสัญญา
ได้แก่ บริษัท PETRONAS Carigali (JDA) Sdn. Bhd. (PC JDA) และบริษัท
ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ปตท.สผ. อินเตอร์) ๑.๔ ให้องค์กรร่วมฯ
โดยหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ เป็นผู้ลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๓) ของสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17-01
กับบริษัทผู้ได้รับสัญญา
และให้รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ ลงนามในฐานะพยาน ๒.
ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมเกี่ยวกับการสำรวจและการจัดหาก๊าซธรรมชาติ
ควรมีการคำนึงถึงผลกระทบด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
245 | การขออนุมัติแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 | มท. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
246 | การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีกรณีการจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและผู้ถือหนังสือเดินทางราชการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์ | กต. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ
และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย อาทิ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ
ลงนามในร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ โดยร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
เป็นความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและผู้ถือหนังสือเดินทางราชการระหว่างกันเพื่อกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรและเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้า
แวะผ่าน และพำนักอยู่ในดินแดนของคู่ภาคี ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
247 | โครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี | อก. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียโครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงสาธารณสุข ที่เห็นว่าในอนาคตเหมืองแร่ใต้ดินควรมีการสำรวจทดสอบชั้นหินและชั้นแร่ต่าง
ๆ ทั้งในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม
การค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติทางวิศวกรรมและพฤติกรรมของวัสดุ
ควรต้องกำหนดการบริหารจัดการ
รวมทั้งมาตรการป้องกันการปนเปื้อนหรือแพร่กระจายของสารเคมีหรือวัตถุอื่นใดโดยเฉพาะเกลือและน้ำเค็ม
และคำนึงถึงทุกภาคส่วนอย่างรอบด้านทั้งด้านเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สังคม
และเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๗
(เรื่อง รายงานข้อมูลข้อเท็จจริงกรณีโครงการทำเหมืองแร่โพแทชในประเทศไทย)
เฉพาะในส่วนของข้อ ๒ ๓.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับโครงการเหมืองแร่โพแทชให้ถูกต้อง
เหมาะสม คุ้มค่า มีความโปร่งใส เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
และกำกับดูแลผู้ประกอบการให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามรายงานผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการให้ครบถ้วน
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง
และกำหนดมาตรการช่วยเหลือเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
248 | หนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฮังการีเพื่อการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ ในการได้มาซึ่งที่ดิน อาคาร และห้องชุด สำหรับใช้เป็นที่พำนักและที่ทำการของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลในดินแดนของแต่ละฝ่าย | กต. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนที่เกี่ยวข้องในการซื้อขายที่ดิน
อาคาร และห้องชุด
เพื่อใช้เป็นที่พำนักและที่ทำการของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลในดินแดนของแต่ละฝ่าย
ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฮังการีบนหลักประติบัติต่างตอบแทน และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
โดยร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ระบุเกี่ยวกับ (๑)
ให้รัฐบาลแต่ละฝ่ายมีสิทธิที่จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อาคาร
และห้องชุดในดินแดนของอีกฝ่าย และ (๒) แต่ละฝ่ายจะได้รับการยกเว้นภาษี ค่าบำรุง
และค่าธรรมเนียมการโอนทั้งปวง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมึความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณที่เห็นว่า
หากการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคตก็ต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ด้วย และหากมีค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เห็นควรให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
249 | ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การกำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีประจำศาลยุติธรรม) | ศย. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(การกำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีประจำศาลยุติธรรม)
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ คุณสมบัติ และวิธีการคัดเลือกเจ้าพนักงานคดี
และแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้สมัครทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน
ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการกำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีประจำศาลยุติธรรมเป็นการกำหนดกรอบอัตรากำลังของตำแหน่งดังกล่าว
เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสอดคล้องของภาระงานและภาระงบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคตของศาลอย่างแท้จริง
และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗
และจัดทำแผนกรอบอัตรากำลังของตำแหน่งดังกล่าวเท่าที่จำเป็น
โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามภารกิจงาน รายได้
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใดที่ศาลยุติธรรมมีอยู่ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
250 | รายงานสรุปภาพรวมการบริหารกำลังคนของส่วนราชการในฝ่ายพลเรือนและแนวโน้มค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ | นร.10 | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
251 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2565 เรื่อง (ร่าง) แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2566 - 2570 | สกพอ. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่
๗ มกราคม ๒๕๖๕ ที่ได้เห็นชอบ (ร่าง)
แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(EEC) ยกระดับระบบการขนส่งให้เชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อทั้งทางถนน
ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งและโลจิสติกส์
และสนับสนุนการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะของประชาชนในพื้นที่ EEC รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าและประปา
เพื่อรองรับการยกระดับขีดความสามารถของพื้นที่ EEC ให้สามารถรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เมืองใหม่ และกิจกรรมการท่องเที่ยว
ประกอบด้วยโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค จำนวน ๗๗ โครงการ
กรอบวงเงินรวม ๓๓๗,๗๙๗.๐๗ ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนโดยภาครัฐประมาณร้อยละ ๕๓
และการลงทุนโดยภาคเอกชน/การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ประมาณร้อยละ ๔๗ โดยหน่วยงานรับผิดชอบโครงการนั้น ๆ
จะดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งงบประมาณจากแหล่งเงินตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ในฐานะหน่วยงานเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒.
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงบประมาณ เช่น (๑) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานภายใต้
แผนปฏิบัติการฯ เห็นควรให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และ (๒) การพัฒนาโครงการต่าง ๆ ตามแผนปฏิบัติการฯ
เห็นควรดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ออกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
252 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ พ.ศ. .... | นร.01 | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการทั้งในกรณีจำเป็น
ฉุกเฉิน และในกรณีปกติ
เพื่อให้การดำเนินการของส่วนราชการเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเกิดความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ
เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของส่วนราชการและการให้บริการประชาชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรกำหนดรูปแบบหนังสือสั่งการตามข้อ ๗
ของระเบียบดังกล่าว เพื่อให้ส่วนราชการดำเนินการได้อย่างถูกต้อง อาทิ
เป็นหนังสือภายใน คำสั่ง ระเบียบ ประกาศ ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของคณะรัฐมนตรีและสำนักงาน
ก.พ.ร. ที่ควรคำนึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานเป็นสำคัญ
ควรให้มีการติดตามและประเมินผลภายหลังร่างระเบียบนี้มีผลใช้บังคับเป็นระยะ
โดยครั้งแรกควรดำเนินการเมื่อครบ ๑ ปี นับแต่ระเบียบดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
และครั้งต่อไปควรดำเนินการทุก ๆ ๕ ปี ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
253 | มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย | กก. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-19) อาทิ (๑)
ควรจัดเก็บข้อมูลนักแสดงชาวต่างชาติที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย
และจัดส่งให้กรมสรรพากรเป็นระยะ และ (๒)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจด้านอื่น ๆ
ให้มากขึ้นควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะการลดข้อจำกัดและกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่เป็นอุปสรรคต่อการถ่ายทำภาพยนตร์
การพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนดำเนินการผลักดันมาตรการสร้างแรงจูงใจในด้านอื่น
ๆ
ที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการยกเว้นภาษีนักแสดงชาวต่างชาติในครั้งนี้ให้เหมาะสมและครอบคลุม
รวมทั้งให้พิจารณาแนวทางการดำเนินการส่งเสริมและยกระดับจังหวัดเมืองรองต่าง ๆ
ให้สามารถใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้นด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
254 | สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 | กษ. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕ โดยมีมติที่สำคัญ
เช่น (๑) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน ติดตามสถานการณ์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างใกล้ชิดและสำรวจและรายงานสต็อกน้ำมันปาล์มดิบและปริมาณการส่งออกให้ทันต่อสถานการณ์
(๒) เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
ชุดใหม่แทนชุดเดิมที่กำลังจะหมดวาระ (๓) เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการสมดุลน้ำมันปาล์มภายใต้คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ มีอธิบดีกรมการค้าภายใน
เป็นประธาน และมีองค์ประกอบจากหน่วยงานรัฐ ภาคเกษตรกร และภาคเอกชน
โดยมีหน้าที่และอำนาจในการวิเคราะห์ด้านการผลิต การตลาด และการกำหนดมาตรการ
และแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสมดุลน้ำมันปาล์มให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำมันปาล์ม
และ (๔) ให้กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รับผิดชอบเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของเกษตรกร เช่น
แนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องปุ๋ยราคาแพงและการตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันและต้นกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมันปลอม
ตามที่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
255 | ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2569 | อว. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการแผนอัตรากำลังของโรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๙
จำนวน ๔๖๗ อัตรา สำหรับงบประมาณรองรับแผนอัตรากำลังดังกล่าว
ให้มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ขอรับการจัดสรรงบประมาณโดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงิน
โดยใช้จ่ายจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์เป็นลำดับแรก
ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. และข้อเสนอแนะของสำนกงาน ก.พ.ร. เช่น
ควรพิจารณารูปแบบการจ้างงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ควรวางแผนการบูรณาการความร่วมมือด้านการพัฒนาทางการแพทย์ควรวางแผนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนการพัฒนาการทางวิชาการ
บุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข ร่วมกับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลของเอกชนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนประเทศเพื่อนบ้าน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
256 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2565 ครั้งที่ 13/2565 และครั้งที่ 14/2565 | นร.11 สศช | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
257 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565 และครั้งที่ 11/2565 | นร.11 สศช | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
258 | ผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น | กต. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในฐานะแขกของรัฐบาล
ระหว่างวันที่ ๑-๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕ โดยนายกรัฐมนตรีได้หารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นทั้งในประเด็นทวิภาคีความร่วมมือในกรอบภูมิภาคและอนุภูมิภาค
ประเด็นสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ
รวมทั้งนายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้เป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงและหนังสือแลกเปลี่ยน
๓ ฉบับ ได้แก่ (๑) ความตกลงว่าด้วยการมอบโอนยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศระหว่างรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
(๒)
หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น
และ (๓) หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความช่วยเหลือแบบให้เปล่าของรัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้โครงการ
The Programme for COVID-19 Crisis
Response Emergency Support ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น
และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามตารางติดตามผลการเยือนไทยฯ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เช่น
การแลกเปลี่ยนข่าวกรองและองค์ความรู้ทางเทคนิค
เพื่อเสริมความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศ
ความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานหลัก
การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงและการรักษาความปลอดภัยเทคโนโลยีที่อ่อนไหวต่อความมั่นคงแห่งชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
259 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑ และเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๒
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ ๒.
ให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายสันติ พร้อมพัฒน์) รวมทั้งความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น (๑) ขอให้พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหา
กรณีการตรวจสอบพบแนวเขตที่ดินในความรับผิดชอบมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง
ภายหลังจากมติคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ
แล้ว รวมทั้งให้กรมป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมนำไปปฏิรูปที่ดิน
เพื่อกันคืนพื้นที่ให้กรมป่าไม้ และ (๒) ให้หน่วยงานในสังกัด ประกอบด้วย
กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และสำนักงานยุติธรรมจังหวัด
เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตรการส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) และแก้ไขปัญหา
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
260 | (ร่าง) ข้อเสนอปรับลดบัญชีจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) ต่อที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 19 (CITES CoP19) | กษ. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||