ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 39 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2569-2572) | กค. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565 | พม. | 03/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ขอความเห็นชอบต่อการเข้าร่วมการเจรจาเพื่อเข้าเป็นภาคีความตกลงหุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Partnership Agreement: DEPA) | ดศ. | 29/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 30 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | คค. | 19/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซื้อ-สร้าง และการแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซ่อม-แต่ง ภายใต้มาตรการสินเชื่อซื้อ-ซ่อม-สร้าง ของธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) | กค. | 12/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซื้อ -
สร้าง และมาตรการสินเชื่อซ่อม - แต่ง และแยกเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) และแยกเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public
Service Account : PSA) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ภายในกรอบวงเงินรวม ๖,๓๗๒.๘๘ ล้านบาท โดยให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป
และควรจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการ
และติดตามการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ด้วย
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (ธนาคารอาคารสงเคราะห์)
รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และธนาคารแห่งประเทศไทยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เห็นควรมีการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ผ่านสื่อทุกประเภท
โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงจัดทำสื่อที่เหมาะสมสำหรับคนพิการทุกประเภท อาทิ
เสียงบรรยายภาพ (Audio Description : AD) สำหรับคนพิการทางการเห็น
คำบรรยายแทนเสียง (Closed Captions : CC) สำหรับคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
และหนังสือที่อ่านเข้าใจง่าย (Easy Read) สำหรับคนพิการทางสติปัญญาหรือออทิสติก
ฯลฯ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างกฎกระทรวงการดำเนินการด้านความปลอดภัยของผู้รับใบอนุญาตกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงการก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | อว. | 12/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการดำเนินการด้านความปลอดภัยของผู้รับใบอนุญาตกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการด้านความปลอดภัยของผู้รับใบอนุญาตกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี
ทั้งในกรณีมีเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีที่เกิดขึ้นในหรือนอกสถานประกอบการ
หรือในระหว่างการขนส่งซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี และร่างกฎกระทรวงการก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์สำหรับก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์
และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี
เพื่อให้ผู้ขอรับใบอนุญาตก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์หรือผู้ขอรับใบอนุญาตสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี
แล้วแต่กรณีต้องปฏิบัติตาม รวม ๒ ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างกฎกระทรวงการวางหลักประกันและการดำเนินการเกี่ยวกับหลักประกัน พ.ศ. .... ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว พ.ศ. .... รวม 3 ฉบับ | อว. | 12/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้ ๑.
ร่างกฎกระทรวงการวางหลักประกันและการดำเนินการเกี่ยวกับหลักประกัน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการวางหลักประกัน การยกเว้นการวางหลักประกัน
และการดำเนินการเกี่ยวกับหลักประกันของผู้รับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี
เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์
หรือสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี ๒. ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตการออกใบอนุญาต
การต่ออายุใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี ๓.
ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต
และการออกใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. .... | มท. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
โดยจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกัน โดยคำนึงถึงปริมาณสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
ระยะเวลาการจัดเก็บ ลักษณะการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
รวมทั้งต้นทุนและความคุ้มค่าในการจัดเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
เพื่อให้การจัดเก็บค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วนอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับข้อสังเกตของนายกรัฐมนตรี
ที่เห็นควรใช้มาตรการอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะ เช่น ค่าธรรมเนียม
สำหรับขยะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ควรกำหนดให้มีอัตราที่ต่ำกว่า
รวมทั้งรณรงค์และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีระบบการคัดแยกขยะตามครัวเรือนและที่อยู่อาศัย
และส่งเสริมให้เอกชนที่เข้ามารับงานเก็บขยะแทนราชการส่วนท้องถิ่น
ใช้เทคโนโลยีเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการประหยัดพลังงานหรือการใช้พลังงานสะอาด
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยกำกับดูแลการออกข้อบัญญัติของราชการส่วนท้องถิ่น
โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนเป็นสำคัญซึ่งต้องไม่ซ้ำซ้อนและเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร
และมีความสอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
หนังสือรับรองการแจ้งและการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙
ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ทั้งนี้
ให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย เช่น กระทรวงสาธารณสุข เห็นควรมีแผนเตรียมการรองรับการขับเคลื่อนและสนับสนุนราชการส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
รวมถึงการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ขอความเห็นชอบต่อแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 16 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง | สธ. | 05/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ร่างกฎกระทรวงการโอนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. .... | อว. | 29/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการโอนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี
เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์
และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. ....
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี
วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์
และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (1. นายสมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ ฯลฯ จำนวน 4 ราย) | มท. | 29/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
จำนวน ๔ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๗) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
ดังนี้ ๑. นายสมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ๒. นายณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์) ๓. นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2565 (ครั้งที่ 2) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 | กค. | 15/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบการนำส่งทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี ๒๕๖๕ (ครั้งที่ ๒)
ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวนเงิน ๑๗๔.๘๒ ล้านบาท และพิจารณาไม่เรียกให้กองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
ปีบัญชี ๒๕๖๕ (ครั้งที่ ๒) จำนวนเงิน ๔๙๙.๑๙ ล้านบาท
และให้รายงานผลการใช้จ่ายเงินตามแผนงาน/โครงการให้คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนทราบทุกไตรมาส
ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ ๓ (เดือนเมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๗) เป็นต้นไป ตามมติคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนในคราวประชุมครั้งที่
๑/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๗ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอ
และให้คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน กระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงการคลัง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พิจารณาและให้มีการจัดทำรายงานสถานะและการใช้จ่ายเงินของกองทุนฯ เสนอต่อรัฐสภาตามมาตรา
๑๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ขอความเห็นชอบต่อการรับรองร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมด้านการเกษตรยั่งยืน (ASEAN Leaders' Declaration on Promoting Sustainable Agriculture) | กษ. | 08/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมด้านการเกษตรยั่งยืน
(ASEAN Leaders’ Declaration on Promoting
Sustainable Agriculture) และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนฯ
โดยร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางสำหรับความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียน
เพื่อสร้างระบบอาหารเกษตรที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม ยืดหยุ่นและยั่งยืน
ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการลงทุน และการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนในภาคการเกษตร
สนับสนุนการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในภาคการเกษตร
เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมมือกันในการพัฒนาและดำเนินโครงการและแผนงานที่สนับสนุนการเกษตรที่ยั่งยืนในภูมิภาค
เสริมสร้างห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้แก่เกษตรกรรายย่อยโดยส่งเสริมความเชื่อมโยงทางการตลาด
โครงสร้างพื้นฐาน และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มรายได้ผ่านการเพิ่มผลผลิตและความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การมอบหมายให้กรมท่าอากาศยานมอบความรับผิดชอบการบริหารท่าอากาศยานตากให้กับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร | คค. | 01/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมอบหมายให้กรมท่าอากาศยานมอบความรับผิดชอบการบริหารท่าอากาศยานตากให้กับกรมฝนหลวงและการบินเกษตรตามนัยข้อ
๑ (๔) แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบข้อ
๑ (๕) แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. ๒๕๕๖ ก่อนกรมท่าอากาศยาน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
และกรมธนารักษ์ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้กระทรวงคมนาคม (กรมท่าอากาศยาน)
และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมฝนหลวงและการบินเกษตร) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงาน ก.พ. รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงบประมาณ เห็นว่าค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและค่าบริหารจัดการท่าอากาศยานตากที่จะเกิดขึ้นให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
และ/หรือจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายประมาณ โดยคำนึงถึงภารกิจ
ความคุ้มค่า ประหยัด ความจำเป็นและเหมาะสม ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน
และประโยชน์ที่ทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป สำนักงาน ก.พ. เห็นว่ากรมท่าอากาศยานควรกำหนดแผนการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานตาก
เพื่อรองรับการดำเนินการตามแนวทางการมอบความรับผิดชอบการบริหารท่าอากาศยานดังกล่าว
โดยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ
และระเบียบที่เกี่ยวข้องตามประเภทของบุคลากรด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | ยธ. | 01/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงยุติธรรม
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๓ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอ
ดังนี้ ๑. พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมคุมประพฤติ ๒. นายโกมล พรมเพ็ง ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคีร์กีซว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางพิเศษ/หนังสือเดินทางราชการ | กต. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคีร์กีซว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางพิเศษ/หนังสือเดินทางราชการ
โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ
ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทนให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามที่ได้รับมอบหมายดังกล่าว
และให้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ
โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการยกเว้นการตรวจลงตราแก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางพิเศษ/หนังสือเดินทางราชการของแต่ละฝ่ายในการเดินทางเข้า
ออก ผ่าน หรือพำนักอยู่ในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่งโดยจะไม่ต้องรับการตรวจลงตราเป็นระยะเวลาไม่เกิน
๙๐ วัน นับจากวันเดินทางเข้า โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องไม่ทำงานใด ๆ
ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินกิจการของตนเองหรือกิจกรรมส่วนตัวอื่น ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ที่เห็นว่าหน่วยงานความมั่นคงควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
และหากพบพฤติการณ์ที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคง อาจเสนอให้ทบทวนความตกลงฯ ดังกล่าว
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ | กค. | 17/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี ๒๕๖๗
ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ โดยมอบหมายกระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินโครงการฯ
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมบังคับคดี
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา) ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการฯ
ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ธนาคารแห่งประเทศไทย และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงบประมาณ เห็นควรให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมุ่งเน้นการกำกับดูแลการดำเนินการในเรื่องต่าง
ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
รวมถึงรักษากรอบวินัยการเงินการคลังอย่างรอบคอบ เคร่งครัด
และจัดให้มีระบบการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานปัญหา อุปสรรคและแนวทางการแก้ไข
การดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นว่าในส่วนของกลุ่มเป้าหมายคนพิการ ปี ๒๕๖๖
สำนักงานสถิติแห่งชาติมีการสำรวจความพิการ พบว่า มีผู้พิการ ๔.๑๙ ล้านคน
แต่มีคนพิการขึ้นทะเบียนและมีบัตรประจำตัวคนพิการเพียง ๒.๒ ล้านคน
เห็นควรให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พิจารณาใช้โอกาสนี้ในการจัดทำบัตรประจำตัวคนพิการให้ครอบคลุมคนพิการทุกกลุ่ม
เพื่อป้องกันการตกหล่นในการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการที่พึงจะได้รับในระยะยาวต่อไป ๒. เห็นชอบในหลักการการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่กลุ่มเป้าหมายได้รับตามโครงการฯ
และมอบหมายให้กระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร)
พิจารณาดำเนินการยกร่างกฎหมายและเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ร่างเอกสารที่จะมีการรับรองในช่วงการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2024 | พน. | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ลิมา
การประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๔
(Lima Statement 2024 APEC Energy Ministerial Meeting) และร่างแนวนโยบายเอเปคเพื่อพัฒนาและปรับใช้กรอบนโยบายด้านไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
(APEC Policy Guidance to Develop and Implement
Low-Carbon Hydrogen Policy Frameworks in the Asia-Pacific) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)
เป็นผู้ให้การรับรองร่างเอกสารฯ ทั้ง ๒ ฉบับ ดังกล่าว
ในระหว่างการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่ ๑๔ โดยร่างแถลงการณ์ลิมา
การประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๔
และร่างแนวนโยบายเอเปคเพื่อพัฒนาและปรับใช้กรอบนโยบายด้านโฮโดรเจนคาร์บอนต่ำในภูมิภาคเอเชีย
- แปซิฟิก เป็นเอกสารที่แสดงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีพลังงานเอเปค
ในการกำหนดทิศทางและวางกรอบนโยบายความร่วมมือด้านพลังงานร่วมกันและเป็นเอกสารที่กำหนดกรอบนโยบายและแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม สำหรับการผลิต
การขนส่ง และการใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงโฮโดรเจนร่วมกันในภูมิภาคเอเปคอีกด้วย
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
ที่เห็นว่าร่างเอกสารทั้ง ๒ ฉบับ ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | รายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 | นร.12 | 13/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๒ เรื่อง ได้แก่ ๑) ผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๒๐
วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นรายงานความคืบหน้าของดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการประกาศช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชนติดต่อราชการ
และกำหนดระบบสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
และ ๒) การขอยกเว้นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ๒.
เห็นชอบผลการพิจารณากลั่นกรองการขอยกเว้นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ๓. อนุมัติหลักการ ๓.๑ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ ไม่ใช้บังคับแก่อัยการทหาร ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ๓.๒
ร่างกฎกระทรวงกำหนดการอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๗ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดการดำเนินการที่ประชาชนจะต้องดำเนินการด้วยตนเอง
โดยไม่อาจดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ จำนวน ๓๘ รายการ ๓.๓ ร่างกฎกระทรวงกำหนดเอกสารสำคัญที่ไม่อาจแสดงเป็นภาพทางอิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้หนังสือเดินทางเป็นเอกสารสำคัญที่ไม่อาจแสดงเป็นภาพทางอิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น รวม
๓ ฉบับ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหมและความเห็นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขข้อความในบัญชีท้ายร่างกฎกระทรวงกำหนดการอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา
๗ พ.ศ. .... ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๔. ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงการคลังเห็นควรดำเนินการสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการออกร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้
รวม ๓ ฉบับ แก่ประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน พร้อมทั้งจัดทำรายงานสรุปผลการออกกฎกระทรวงดังกล่าว
เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการต่อไป นอกจากนี้
ควรชี้แจงเจตนารมณ์และสาระสำคัญในการกำหนดข้อยกเว้นและรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจากการมีข้อยกเว้นและรายละเอียดเพิ่มเติมที่เหมาะสมและชัดเจน กระทรวงมหาดไทย เห็นว่าหน่วยงานที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕ อาจจะมีข้อจำกัดในการดำเนินการ เช่น ความพร้อมของระบบเทคโนโลยี งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร และความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในระดับต่าง ๆ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนหน่วยงานของรัฐในด้านต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดดังกล่าว ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การแต่งตั้งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก (นายวิทิต มันตาภรณ์) | กต. | 09/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายวิทิต มันตาภรณ์
เป็นสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก สืบต่อไปอีกวาระหนึ่ง
โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง ๖ ปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|