ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 12 จากข้อมูลทั้งหมด 12 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2568 | กค. | 01/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. อนุมัติและรับทราบตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ตามมติที่ประชุม
ครั้งที่ ๓/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๗ ตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะเสนอ
ดังนี้ ๑.๑
อนุมัติแผนฯ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ที่ประกอบด้วย แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงินรวม ๑,๒๐๔,๓๐๔.๔๔ ล้านบาท
แผนการบริหารหนี้เดิม วงเงินรวม ๑,๗๘๓,๘๘๙.๖๔
ล้านบาท และแผนการชำระหนี้ วงเงินรวม ๔๘๙,๑๑๐.๗๐ ล้านบาท ๑.๒
อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจ จำนวน ๔ แห่ง ได้แก่ ขสมก. รฟท. กคช. และ ธพส. ที่มีสัดส่วน
DSCR ต่ำกว่า ๑ เท่า
สามารถกู้เงินและบริหารหนี้ภายใต้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘ โดยให้รัฐวิสาหกิจทั้ง
๔ แห่งดังกล่าวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการด้วย
รวมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานที่บรรจุกรอบวงเงินกู้ภายใต้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘
เร่งรัดการดำเนินการตามแผนฯ ดังกล่าวด้วย ๑.๓
รับทราบแผนความต้องการเงินกู้ระยะปานกลาง ๕ ปี (ปีงบประมาณ ๒๕๖๘ - ๒๕๗๒) และมอบหมายให้กระทรวงเจ้าสังกัดประสานงานกับรัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการในกลุ่มโครงการที่ยังขาดความพร้อมในการดำเนินการ
เพื่อเร่งรัดการดำเนินการและการลงทุนเพื่อเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐในระยะต่อไป ๒. อนุมัติการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการก่อหนี้ใหม่
การกู้มาและการนำให้กู้ต่อ การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้
และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะฯ
มาตรา ๗
แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ รวมทั้งขออนุมัติการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนา
และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้กรอบวงเงินของแผนฯ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘
และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน
วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน การค้ำประกันและการบริหารความเสี่ยงในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
ทั้งนี้ หากรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการกู้เงินได้เอง
ก็ให้สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ ให้คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และธนาคารแห่งประเทศไทยไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการดำเนินโครงการภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘ จะต้องเป็นไปด้วยความรอบคอบ
แผนการใช้จ่ายและการลงทุนต้องเป็นไปตามกฎหมาย
และระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าและความสามารถในการชำระหนี้ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ | ตช. | 03/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
นำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐
ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๒ รายการ เพื่อเป็นค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ จำนวน ๑ รายการ
และจัดหารถจักรยานยนต์ พร้อมอุปกรณ์ ๑ รายการ จำนวน ๑๕,๓๓๒
คัน วงเงินรวมทั้งสิ้น ๒,๘๕๖,๔๔๒,๘๐๐ บาท เพื่อเสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
จำนวน ๔๔๖,๘๘๘,๐๐๐ บาท
และส่วนที่เหลืออีก จำนวน ๒,๔๐๙,๕๕๔,๘๐๐ บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘-พ.ศ. ๒๕๗๑ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดทำแผนการจัดหาครุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทด้านความมั่นคง
แผนการปฏิบัติงาน แผนการซ่อมบำรุง และยืนยันความพร้อมของรายการดังกล่าว
โดยกำหนดวัตถุประสงค์และสาระสำคัญของรายการ รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ
ประมาณการราคาหรือผลการสอบราคา สถานที่/พื้นที่พร้อมที่จะดำเนินการให้ชัดเจนเพื่อประกอบการพิจารณา
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้พิจารณาถึงความเหมะสม จำเป็น
เพื่อให้การใช้งบประมาณเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2560 (ครั้งที่ 23) | พณ | 20/06/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ ๑.๑ รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี ๒๕๖๐ (ครั้งที่ ๒๓) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๐-๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รวมทั้งผลการหารือทวิภาคี และการดำเนินการต่อเนื่องจากการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคปี ๒๕๖๐ โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ (นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง) เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯ ๑.๒ มอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามตารางสรุปประเด็นสำคัญและหน่วยงานรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับการค้าและการลงทุนประจำปี ๒๕๖๐ ซึ่งมีประเด็นที่ควรพิจารณากำหนดท่าทีและเป้าหมายการดำเนินงานของไทยร่วมกับเอเปคอย่างใกล้ชิด เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์เอเปคหลังปี ๒๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๒๐) การอำนวยความสะดวกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นต้น ๒. ให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า หากต่อไปจะมีการเจรจาลดภาษีสินค้าสิ่งแวดล้อมในกรอบองค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เห็นควรให้ไทยเข้าร่วมการเจรจาดังกล่าวก็ต่อเมื่อเป็นการเจรจาที่ให้ประเทศสมาชิกทั้งหมดของ WTO เข้าร่วมเท่านั้น โดยไม่สนับสนุนการเจรจาในแบบความตกลงหลายฝ่าย (Plurilateral Agreements) และเห็นควรส่งเสริมการบูรณาการระหว่างหน่วยงานของไทย เพื่อติดตามและกำหนดท่าทีของไทยในประเด็นการค้าการลงทุนที่เอเปคให้ความสำคัญ อาทิ การค้าบริการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เศรษฐกิจดิจิทัล และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าโลกของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ควรจัดหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานและติดตามผลที่มีความชัดเจน ครบถ้วนเหมาะสมร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้าใจให้หน่วยงานสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง และสนับสนุนให้มีการดำเนินการของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำลังพลสำรอง (จำนวน 5 คน 1. พลเอก ธนดล เผ่าจินดา ฯลฯ) | กห | 14/06/2559 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำลังพลสำรอง จำนวน ๕ คน ตามพระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๙) เป็นต้นไป ดังนี้
๑. พลเอก ธนดล เผ่าจินดา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๒. นายพรชาต บุนนาค กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๓. พลเอก อภิชัย ทรงศิลป์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๔. นายประพันธ์ ปุษยไพบูลย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๕. พลเอก วิเชียร มัญญะหงษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | โครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ | อก | 16/06/2558 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบในหลักการโครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยางล้อและชิ้นส่วนยานยนต์ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์และยางล้อของภูมิภาคอาเซียน เป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ลงทุนตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดการพัฒนาและเจริญเติบโตยิ่งขึ้น และส่งผลให้มีการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศมากขึ้น ลดการพึ่งพาการส่งออกยางพาราแปรรูปขั้นต้น เป็นการสร้างเสถียรภาพของอุตสาหกรรมยางพาราไทยทั้งระบบให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินโครงการเฉพาะในส่วนศูนย์ทดสอบและสนามทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน UNECE ก่อน ในวงเงิน ๖๐๒,๘๒๓,๗๐๐ บาท ระยะเวลาดำเนินการ ๒ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๕๙) เพื่อเป็นค่าชดเชยการปลูกป่า ค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบโครงการ ค่าพัฒนาปรับปรุงที่ดิน ค่าก่อสร้างอาคารสำนักงาน ห้องปฏิบัติการ และระบบสาธารณูปโภค ค่าก่อสร้างสนามทดสอบ และค่าเครื่องมือทดสอบ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐที่เห็นควรเร่งดำเนินการขออนุญาตจากกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าไม้ และทำข้อตกลงในรายละเอียดที่ชัดเจนก่อนเริ่มดำเนินโครงการฯ รวมทั้งสร้างเครือข่ายด้านความร่วมมือกับศูนย์บริการทดสอบและรับรองมาตรฐานและสถาบันการศึกษาวิจัยทางด้านยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์และยางล้อต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและยกระดับความสามารถในการให้บริการของสถาบันและศูนย์บริการทดสอบและรับรองมาตรฐานในประเทศ และนำไปสู่การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการถ่ายเทคโนโลยีด้านยานยนต์และชิ้นส่วนและยางล้อ ทั้งในด้านการวิจัยออกแบบ และพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยานยนต์และชิ้นส่วนและยางล้อในอาเซียน ตลอดจนให้ความสำคัญในเรื่องมาตรฐานที่หน่วยงานอุตสาหกรรมยานยนต์และนานาชาติยอมรับทั้งในเรื่องของสนามทดสอบ อาคารสถานที่ เครื่องจักร อุปกรณ์ทดสอบ และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของกิจการผลิตภัณฑ์ยางล้อและชิ้นส่วนยานยนต์รับทราบถึงความมีมาตรฐานของศูนย์ดังกล่าว ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย ๓. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เห็นควรพิจารณาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงการใช้ยางพาราในประเทศ โดยให้นำยางพาราในประเทศไปใช้ในปริมาณที่สูงกว่าที่กำหนดเป้าหมายไว้ และควรให้ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานยางล้อที่ผลิตโดยผู้ประกอบการในประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการสร้างมูลค่าเพิ่มของยางพาราในประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น และหน่วยงานราชการต่าง ๆ จะสามารถซื้อยางล้อที่ผลิตในประเทศที่ผ่านการรับรองมาตรฐานของศูนย์ได้ ไปประกอบการดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตท่าเรือเชียงแสนและค่าธรรมเนียมอันเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. .... | คค | 13/08/2556 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตท่าเรือเชียงแสนและค่าธรรมเนียมอันเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้บริเวณท่าเทียบเรือ ในแม่น้ำโขง เขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นเขตท่าเรือเชียงแสน และให้สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการดำเนินการอนุญาต ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านพิพิธภัณฑ์ศึกษาและการออกแบบนิทรรศการฯ และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในด้านการคุ้มครอง การอนุรักษ์ การติดตามคืนและการส่งคืน ซึ่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรม โบราณคดี ศิลปะ และประวัติศาสตร์ ที่ถูกปล้น โจรกรรมส่งออก หรือถ่ายโอนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย | วธ | 07/08/2555 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบการยกระดับความตกลงจากระดับกรมเป็นระดับกระทรวงในการลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านพิพิธภัณฑ์ศึกษาและการออกแบบนิทรรศการระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงวัฒนธรรมแห่งสาธารณรัฐเปรู และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในด้านการคุ้มครอง การอนุรักษ์ การติดตามคืนและการส่งคืนซึ่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรมโบราณคดี ศิลปะ และประวัติศาสตร์ ที่ถูกปล้นโจรกรรมส่งออก หรือถ่ายโอนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงวัฒนธรรมแห่งสาธารณรัฐเปรู ๑.๒ อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในความตกลงฯ ทั้งสองฉบับ ๒. ยกเว้นกรณีหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศที่เห็นว่า ร่างความตกลงฯ ทั้งสองฉบับเป็นความตกลงที่จัดทำขึ้นระหว่างหน่วยงานระดับกระทรวงของทั้งสองประเทศ ดังนั้น จึงไม่ใช่หนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และไม่ต้องใช้หนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ในการลงนามความตกลงฯ ทั้งสองฉบับ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย | สธ | 16/11/2553 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบ
อุทกภัย จำนวน ๔๐๓,๙๔๗,๖๓๐ บาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอเพิ่มเติม โดยให้ใช้เงินงบ ประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ ที่กันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี โดยไม่มีข้อผูกพันจำนวน ประมาณ ๖๓.๓ ล้านบาท และเงินจากโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ สาขาสาธารณสุข (โครง สร้างพื้นฐาน) ที่คงเหลืออยู่ประมาณ ๕๘๒ ล้านบาท ไปช่วยเหลือและฟื้นฟูเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยตกลงใน รายละเอียดกับสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการ (จำนวน 2 ฉบับ) | นร | 06/11/2550 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งคืนร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (นายมนัส โกศล กับ
คณะ เป็นผู้เสนอ) และร่างพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาคริสต์ พ.ศ. .... (พลเอก ปรีชา โรจนเสน กับ คณะ เป็นผู้เสนอ) ที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติภายในกำหนด เวลา พร้อมแจ้งข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปดำเนินการด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | สรุปสถานะข้อพิพาทแรงงานที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง | มท | 23/11/2525 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานสรุปสถานะข้อพิพาทแรงงานที่สำคัญ
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2525 ส่วนใหญ่เรียกร้องขอเพิ่มค่าจ้าง โบนัส ฯลฯ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ญัตติด่วนเรื่อง การพยุงราคาข้าวเปลือกของรัฐบาล , เรื่อง การประกาศขึ้นค่าไฟฟ้าและน้ำประปา, เรื่อง ความเดือดร้อนของประชาชนจากการขึ้นค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า และเรื่อง ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ | สภ | 06/11/2522 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ญัตติด่วน เรื่อง การพยุงราคาข้าวเปลือกของรัฐบาลและ
การประกาศขึ้นค่าไฟฟ้าและน้ำประปา ( นายฤทธิ์ อินทนันท์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ) เรื่อง ความเดือดร้อนของประชาชนจากการขึ้นค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า (ร้อยตำรวจโท เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ เป็นผู้เสนอ) และเรื่อง ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ (พันตำรวจเอก กฤช สังขทรัพย์ เป็นผู้เสนอ) ตามที่สำนักเลขาธิการรัฐสภาเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | แต่งตั้งและเลื่อนชั้นข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย | 22/10/2517 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายสุกิจ จุลละนันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ดำรงตำแหน่งผู้ว่า
ราชการจังหวัดสมุทรสาคร และนายสวัสดิ์ ประไพพานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ดำรงตำแหน่งผู้ว่า ราชการจังหวัดน่าน และเลื่อนชั้น นายโชดก วีรธรรมพูลสวัสดิ์ ตำแหน่งหัวหน้ากองตรวจและรายงาน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยขึ้นเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นพิเศษ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอ |