ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 7 จากข้อมูลทั้งหมด 7 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | แผนที่พื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มของประเทศไทย | ทส. | 01/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบแผนที่พื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มของประเทศไทย
และบัญชีแผนที่พื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มของประเทศไทย ๑,๙๘๔ ตำบล
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ๒.
มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนที่พื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มของประเทศไทยไปใช้ประกอบการเตรียมความพร้อม
ป้องกัน เฝ้าระวัง และเตือนภัยในพื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเร็วต่อไป โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนที่และบัญชีแผนที่พื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มของประเทศไทยไปประกอบการพิจารณาเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่ม
ตลอดจนเร่งสร้างความตระหนักรู้แก่ประชนในพื้นที่เสี่ยง เพื่อลดความสูญเสียและความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สิน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ขอความเห็นชอบการเพิ่ม "กิจกรรมส่งเสริมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Cross-Border e-Commerce) ภายใต้โครงการ SMEs Pro-active" | พณ. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563 | ทส. | 15/06/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ๒๕๖๓ และรายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๑ ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ สรุปได้ (๑) รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.
๒๕๖๓ ได้เสนอสถานการณ์และการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในระดับโลก ระดับภูมิภาค
และภายในประเทศ สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมรายสาขา จำนวน ๑๑ สาขา
ประเด็นสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ พ.ศ. ๒๕๖๓
และได้คาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและนำเสนอข้อมูลเชิงนโยบาย (๒) รายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ซึ่งพบว่าหน่วยงานต่าง ๆ สามารถดำเนินได้ครบถ้วน จำนวน ๑๑๑ ข้อเสนอแนะ (ร้อยละ ๙๓
ของข้อเสนอแนะทั้งหมด) จากทั้งหมด๑๑๙ ข้อเสนอแนะ ๑๑ สาขา
และยังดำเนินการได้ไม่ครบถ้วน ๘ ข้อเสนอแนะ สำหรับข้อเสนอแนะที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้
เพราะต้องมีกระบวนการการมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน
บางข้อเสนอแนะเป็นการศึกษาวิจัยและนวัตกรรม ทำให้การดำเนินการต้องใช้งบประมาณสูง
และใช้ระยะเวลานาน
นอกจากนี้ได้รายงานปัญหาและอุปสรรคในภาพรวมจากการติดตามการดำเนินงานดังกล่าว และแนวทางแก้ไขปัญหาด้วย
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นว่าการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วม
การสร้างความรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ตลอดจนจัดให้มีระบบติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน
รวมทั้งแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม
และควรมีการสนับสนุนการบูรณาการข้อมูลและกำหนดกรอบความร่วมมือในการใช้ประโยชน์ข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
ทั้งนี้ ขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจและปรับปรุงข้อมูลภาพและการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ลุ่มน้ำต่าง
ๆ ให้เป็นปัจจุบัน
เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. .... | นร | 10/07/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จะช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนจากภาครัฐ และจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการจากภาคเอกชนเข้ามาประกอบกิจการหรือดำเนินการเพื่อสังคมมากขึ้น ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้ตัดร่างมาตรา ๒๙ (๑) เงินประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ ออก ตามความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน และให้รับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม เช่น การจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามมาตรา ๑๘ และกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามมาตรา ๒๙ ของร่างพระราชบัญญัติฯ จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานหรือกองทุนหมุนเวียนอื่นที่จัดตั้งไว้แล้ว และมาตรา ๑๙ (๒) ของร่างพระราชบัญญัติฯ ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม มีอำนาจการกู้ยืมเงินตามความเห็นชอบของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม นั้น ขอให้พิจารณาตามนัยมาตรา ๗ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ กรณีการก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังแก่รัฐ ความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นต้น นอกจากนี้ การกำหนดลักษณะของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่กำหนดให้ต้องนำผลกำไรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ กลับไปลงทุนในกิจการของตนเอง หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่น ๆ อาจทำให้ขาดความยืดหยุ่นและไม่สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการสนับสนุนให้วิสาหกิจเพื่อสังคมสามารถขอรับเงินสนับสนุนจากผู้ลงทุนภาคเอกชน นอกเหนือจากการสนับสนุนของภาครัฐและเงินบริจาค ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติฯ ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ ๓. ให้ยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙ (เรื่อง ขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชน) และให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเร่งรัดดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ตามความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม) | ยธ | 06/11/2550 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้ ให้ส่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม) ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้แยกร่างพระราชบัญญัติของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นการดำเนินการตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 ออกมาเป็นอีกฉบับหนึ่ง พร้อมทั้งรับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาด้วย แล้วส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติ แห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป สำหรับร่างพระราชบัญญัติที่แยกออกมา นั้น ให้ ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาและให้นำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป ได้เมื่อกระทรวงการต่างประเทศได้เสนออนุสัญญา ฯ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ให้ ความเห็นชอบอนุสัญญา ฯ แล้ว ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2526 เรื่อง การเสนอร่างพระราช บัญญัติเพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามสนธิสัญญาต่อรัฐสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ค่าใช้บริการธุรกิจตอบรับ | ** | 23/11/2525 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ การสื่อสารแห่งประเทศไทย .ดำเนินการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
แก่ส่วนราชการที่ใช้บริการตอบรับ ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย โดยให้เรียกเก็บค่าไปรษณียากร อย่างเดียว ตามที่ได้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2525 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การจัดสรรเงินจากบัญชีเงินฝากเพื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์ ของกระทรวงกลาโหม | กค | 30/10/2522 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอขอให้จัดสรรเงินจากบัญชีเงินฝาก
เพื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหม สำหรับค่าจัดซื้อเครื่องมือทดสอบ และเครื่องมือพิเศษ สำหรับปืน 57 แอล 70 และปืน 40 แอล 70 ของกองทัพเรือ |