ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 51 จากข้อมูลทั้งหมด 51 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2556 (เรื่อง ขออนุมัติเปิดที่ทำการสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสแห่งใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต และขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสคนใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต) และการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศส ณ จังหวัดภูเก็ต คนใหม่ (นายอาแล็ง โฟโด) | กต. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๖
(เรื่อง
ขออนุมัติเปิดที่ทำการสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสแห่งใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต
และขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสคนใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต)
เฉพาะในส่วนการกำหนดเขตกงสุลจากเดิมที่มีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดภูเก็ต เป็น
มีเขตกงสุลครอบคลุม ๔ จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ พังงา และระนอง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2565 เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ | สกพอ. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๕ เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาอนุมัติร่างระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเข้าใช้ประโยชน์ พ.ศ. ....
และเห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน ๔,๐๐๐ ล้านบาท
เพื่อเป็นค่าพัฒนาโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒.
เห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
บริเวณตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จำนวนประมาณ ๑๔,๖๑๙ ไร่
เพื่อการพัฒนาโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะได้ตามนัยมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ ๓.
รับทราบว่า
ปัจจุบันมีเกษตรกรกลุ่มหนึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในบริเวณตำบลห้วยใหญ่
อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ยังไม่ยินยอมให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจง
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกรกลุ่มดังกล่าว
เพื่อให้สามารถเข้าใช้ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในความครอบครองของเกษตรกรกลุ่มดังกล่าว
เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะได้ต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
43 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาการชำระคืนหนี้เงินกู้ค่าออกแบบ ค่าก่อสร้าง และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ออกไปจนถึงปี 2572 | คค. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้รัฐบาลรับภาระชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของเงินกู้ค่าออกแบบค่าก่อสร้าง
และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ต่อไป ตั้งแต่ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๗๒ ทั้งนี้
หากประมาณการรายได้แตกต่างไปจากที่คาดการณ์ไว้มาก ทั้งกรณีสูงและต่ำกว่าประมาณการ กระทรวงคมนาคมจะพิจารณานำเสนอการรับภาระหนี้ของรัฐบาลให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามความเหมาะสม
และให้สำนักงบประมาณ พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นรายปี
จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๗๒ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๐/๑๒๑๒ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน
๒๕๖๔) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุดที่ นร ๑๑๐๖/๗๒๑๑
ลงวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๔) และประธานกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เช่น
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ควรประเมินผลประกอบการและฐานะทางการเงินเป็นระยะ
ๆ ควรพิจารณาปรับแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ โดยการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า
ควรเร่งจัดทำกลยุทธ์เพื่อเพิ่มรายได้ของโครงการฯ สายฉลองรัชธรรมเชิงรุก ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
44 | ขออนุมัติในหลักการจัดสรรงบประมาณให้แก่โครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก | สธ. | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการการจัดสรรงบประมาณให้กับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อดำเนินโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต
สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
โดยค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๒๓/๑๖๐ ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการคลังกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA)
เพื่อประกอบการพิจารณา
ควรศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาคเอกชนและจัดทำแผนรองรับความเสี่ยง
ควรพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์ที่ทันสมัย เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 11 | กต. | 22/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา
ครั้งที่ ๑๑ ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งกัมพูชา
(นายปรัก สุคน) เป็นประธานร่วมกัน โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ
ได้แก่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมโดยเร็วจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙
การรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนและการส่งเสริมมิตรภาพอันใกล้ชิดระหว่างประชาชนไทยและกัมพูชา
ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในประเด็นอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน และมอบหมายให้ส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมฯ
ต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เช่น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด และให้ความสำคัญในการหารือด้านเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
ปรับปรุงถ้อยคำในบันทึกการประชุมฯ
ฉบับภาษาไทยและประเด็นการดำเนินการตามตารางติดตามผลการประชุมฯ
เพื่อให้เนื้อหาในเอกสารดังกล่าวมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
46 | ขออนุมัติปรับกรอบวงเงินลงทุนและจัดหาแหล่งเงินเพิ่มเติม กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้แหล่งเงินกู้ ECP กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มงวด 27 ถึง 29 กรณีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และกรณีค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรจากการนำเข้า (Import VAT & Import Duty) พร้อมทั้งขออนุมัติจัดหาแหล่งเงินรองรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต และช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน | คค. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย
(รฟท.) ปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) (โครงการฯ
สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน ๒,๙๑๗,๗๕๒,๑๓๗.๙๕ บาท และอนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินในประเทศเพื่อให้ รฟท. กู้ต่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการฯ
ช่วงบางซื่อ-รังสิต ภายใต้กรอบวงเงิน ๗,๐๗๘,๘๙๓,๙๑๑.๐๙ บาท
เพื่อชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรจากการนำเข้าต่าง ๆ ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
จำนวน ๒,๐๑๑,๔๖๓,๙๒๒.๗๐
บาท จ่ายค่างานโยธา งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟฟ้า และค่าที่ปรึกษา
เนื่องจากความผันผวนของอัตราการแลกเปลี่ยน จำนวน ๔,๔๐๖,๗๔๑,๓๒๑.๑๙ บาท และชำระค่าอากรจากการนำเข้า จำนวน ๖๖๐,๖๘๘,๖๖๗.๒๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๕,๐๖๗,๔๒๙,๙๘๘.๓๙ บาท รวมทั้งอนุมัติให้ รฟท.
กู้เงินในประเทศและให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นที่ต้องชำระผู้รับจ้างในส่วนที่เป็นเงินเยนจากความผันผวนของอัตราการแลกเปลี่ยนเนื่องจากเงินบาทแข็งค่ามากกว่าที่ประมาณการไว้
และค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าของระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหารถตู้ไฟฟ้า
ของโครงการฯ ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน ๙๐๖,๒๘๘,๒๑๕.๒๕ บาท โดยให้ รฟท. รับภาระเงินต้น ดอกเบี้ย
และค่าใช้จ่ายอื่นในการกู้เงิน และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน
วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ
ของการกู้เงินตามความเหมาะสมและจำเป็น ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร
๐๗๒๐/๑๖๒๐ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๔)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ นร ๑๑๐๖/๕๙๒๙ ลงวันที่ ๘
ตุลาคม ๒๕๖๔) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง ที่ควรเร่งตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงานเพิ่ม
(Variation Order) และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการจ้างที่ปรึกษาในโครงการฯ
ให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว ให้ความสำคัญกับการติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
และพิจารณาแนวทางการลงทุนในส่วนต่อขยายให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงคมนาคมหารือกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณากำหนดแนวทางการบริหารโครงการลงทุนขนาดใหญ่อย่างเป็นระบบ
ครอบคลุมประเด็นการบริหารจัดการปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนดังกล่าว
อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
47 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. .... | ดศ. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์ในการดำเนินการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกันของหน่วยงานของรัฐ
เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยและได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำหนดให้มีแพลตฟอร์มกลางเป็นช่องทางรับแจ้งข้อมูลที่สงสัยว่าอาจเป็นข่าวปลอมเพียงระบบเดียว
ให้มีการกำหนดกระบวนการ รูปแบบ ขั้นตอนการดำเนินการตามกฎหมายกับข่าวปลอมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ชัดเจน
ควรแก้ไข ร่างข้อ ๗ เป็น “มท.
จัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อสังคมออนไลน์ประจำจังหวัดขึ้น
โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ประสานงานประจำจังหวัด
...” ให้มีการกำหนดรายละเอียดของนิยามตามร่างระเบียบฯ
ของขั้นตอนการปฏิบัติให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาทิ คำว่า “เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม”
เพื่อลดปัญหาการตีความ และเป็นการสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติตามร่างระเบียบฯ
ดังกล่าวต่อไป และคำว่า “ข่าวปลอม” ตามข้อม ๓ ควรเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า
ข้อมูลเท็จหรือข้อมูลปลอมหมายความว่าอย่างไร และอาจพิจารณาเพิ่มเติมว่า “ข้อมูลที่บิดเบือน”
เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๔ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่เห็นว่าการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบและดำเนินคดีผู้เผยแพร่ข้อมูลที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมควรดำเนินการด้วยความรอบคอบและระมัดระวังมิให้เป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
ร่างข้อ ๖
ควรเพิ่มข้อความให้สามารถใช้กลไกของหน่วยงานด้านสื่อประชาสัมพันธ์เดิมที่กระทรวงมีอยู่มาดำเนินการได้
ระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายต้องคำนึงถึงความเหมาะสมแก่กรณี เร่งสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ใช้สื่อทุกคน
ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคำนิยาม ขอบเขต
และกระบวนการดำเนินงานให้เกิดความชัดเจน
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
48 | แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (1. นายสมชัย ฤชุพันธ์ุ ฯลฯ รวม 5 คน) | กค. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา รวม ๕ คน ตามาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๔ มกราคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นายสมชัย ฤชุพันธุ ประธานกรรมการ ๒. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน ๓. รองศาสตราจารย์ชโยดม สรรพศรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ๔. นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินผล ๕. นายนิกร เภรีกุล กรรมการและเลขานุการ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา | สว. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณารายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว
และรายงานว่าได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่ง คสช. ๑๙/๒๕๖๐
เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐
เพื่อกำหนดให้อำนาจในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมาย
ว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัด
รวมถึงการจัดกรอบอัตรากำลังที่เหมาะสม
และมีการบูรณาการฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการการศึกษา
โดยรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
และมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางและความเหมาะสมพร้อมให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในเรื่องของการจัดการโครงสร้างองค์กรทางการศึกษาโดยมุ่งเน้นการจัดโครงสร้างที่มีบทบาท
ภารกิจ หน้าที่และอำนาจที่มีความเหมาะสมขับเคลื่อนการบริหารและการจัดการศึกษาทุกระดับ
และรัฐบาลควรมีมาตรการส่งเสริมความร่วมมือในการบูรณาการฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และควรกำหนดนโยบายในการสร้างความร่วมมือในการบริหารจัดการศึกษาที่สอดรับกับทักษะอาชีพที่เป็นไปตามความต้องการของตลาดงาน
รวมทั้งควรพิจารณาให้มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย
เพื่อความเป็นธรรมและเป็นมาตรฐานแห่งวิชาชีพ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | ร่างกฎหมายการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินเยียวยา เงินช่วยเหลือ เงินสนับสนุน เงินอุดหนุน และประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากโครงการภาครัฐอันเนื่องมาจากการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | กค. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา ๓๓
ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
และโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ๒. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่
.. พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ได้รับเป็นเงินเยียวยา
เงินช่วยเหลือ เงินสนับสนุน เงินอุดหนุน
หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากโครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการกำลังใจ
โครงการทัวร์เที่ยวไทย โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ระยะที่ ๓ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ ๑ ระยะที่ ๒ และระยะที่ ๓ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้
โครงการเราชนะ โครงการ ม๓๓ เรารักกัน โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา ๓๓
ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ของกระทรวงศึกษาธิการ และโครงการส่งเสริมรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs ของกรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน
เป็นเงินได้พึ่งประเมินที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ รวม ๒ ฉบับ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่ควรสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ..ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
51 | ผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 28 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 26 | นร.14 | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
ครั้งที่ ๒๘ และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา
ครั้งที่ ๒๖ ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับภาพรวมการประชุมฯ และความสำเร็จของการประชุมฯ
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
|