ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 14 จากข้อมูลทั้งหมด 14 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 3 ที่กรุงโดฮา | กต. | 01/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการรับรองร่างปฏิญญาโดฮา (Doha Declaration) ว่าด้วยการทูตผ่านกีฬา
: (Sports Diplomacy) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือเอเชีย
(Asia Cooperation Dialogue Summit : ACD Summit) ครั้งที่ ๓ ที่กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างปฏิญญาฯ
ในที่ประชุมระดับผู้นำ ACD ครั้งที่ ๓ โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในระดับผู้นำของประเทศสมาชิกACD
ในการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการทูตผ่านกีฬา เพื่อส่งเสริม ACD ให้เป็นเวทีหารือและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความท้าทายและการแข่งขันเชิงภูมิรัฐศาสตร์อย่างสร้างสรรค์ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ที่ก้าวข้ามการเมืองและยอมรับความแตกต่าง
การเน้นย้ำบทบาท และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการเงินและการค้า
รวมถึงความเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานของระบบคมนาคมและดิจิทัล
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายเอกชัย เกษมสุขธวัช) | ปปท. | 03/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายเอกชัย เกษมสุขธวัช ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่เกษียณอายุราชการ
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
3 | (ร่าง) แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 - 2570 | ศธ. | 15/06/2564 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
(ร่าง) แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐ ซึ่งเป็นแผนที่กำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ
ดำเนินการร่วมกันเชิงบูรณาการ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (๒๕๖๑-๒๕๘๐)
และแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
เพื่อให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้านเต็มตามศักยภาพเป็นพื้นฐานของความเป็นพลเมืองคุณภาพ
ภายใต้ปรัชญา “เด็กปฐมวัยทุกคนต้องได้รับการดูแล พัฒนา และเรียนรู้อย่างรอบด้าน
ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย อย่างมีคุณภาพ
และเท่าเทียม ตามศักยภาพ ตามวัย และต่อเนื่อง
บนพื้นฐานของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุดสอดคล้องกับหลักการพัฒนาศักยภาพและความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล
โดยคำนึงถึงความสุข ความเป็นอยู่ที่ดี การคุ้มครองสิทธิ
และความต้องการพื้นฐานของเด็กปฐมวัย
รวมทั้งการปฏิบัติต่อเด็กทุกคนโดยยึดหลักศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การมีส่วนร่วม
การเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องกับเด็ก
และการกระทำทั้งปวงเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ”
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เช่น ขอแก้ไขจาก
“ภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน)” เป็น “ภาวะน้ำหนักเกิน(อ้วน)” ขอแก้ไข “ดีเด่น (Good Practices)” เป็น “ดีเด่น (Best
Practices)” “วิธีปฏิบัติดีเด่น (Good Practices)” เป็น “ดีเด่น (Best Practices)” เป็น
“วิธีปฏิบัติดีเด่น (Best Practices)” สร้างความรู้ความเข้าใจกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
รวมทั้งการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานในภาพรวมทั้งระบบ
และควรจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นและเพียงพอกับภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้การพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ นร ๑๑๐๘/๑๐๒๒ ลงวันที่
๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔) และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
รวมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อก | 20/06/2560 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อยตามข้อ ๘ (๓) และ (๔) ของระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเป็นสถาบันชาวไร่อ้อยจะต้องมีสมาชิกเป็นชาวไร่อ้อยไม่น้อยกว่า ๖๐๐ คน และมีปริมาณอ้อยของสมาชิกที่ส่งให้แก่โรงงานใดโรงงานหนึ่งรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๕ ของปริมาณอ้อยที่โรงงานนั้นหีบทั้งหมดในแต่ละฤดูการผลิต ที่ใช้บังคับตั้งแต่ฤดูการผลิต ๒๕๕๙/๒๕๖๐ เป็นต้นไป ให้กับสหกรณ์ที่มีฐานะเป็นสถาบันชาวไร่อ้อยอยู่เดิมออกไปอีก ๒ ฤดูการผลิต โดยให้เริ่มบังคับใช้ในฤดูการผลิตปี ๒๕๖๑/๒๕๖๒ เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรเร่งดำเนินการสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ให้มีคุณสมบัติสถาบันชาวไร่อ้อยครบถ้วนภายในระยะเวลา ๒ ฤดูการผลิต และในระยะต่อไป ควรต้องพิจารณาเจตนารมย์ของระเบียบฯ ที่มุ่งหวังให้มีเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันในการพิจารณาสถานภาพการเป็นสถาบันชาวไร่อ้อย รวมทั้งการให้สหกรณ์หรือชุมนุมสหกรณ์ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามหลักเกณฑ์สามารถปรับตัวภายหลังการครบกำหนดการให้การยกเว้นไม่ตรวจสอบคุณสมบัติ ตลอดจนเร่งพิจารณาผลดีและผลเสียของการให้การยกเว้นการตรวจสอบคุณสมบัติการเป็นสถาบันชาวไร่อ้อยของสหกรณ์ที่มีฐานะเป็นชาวไร่อ้อยอยู่เดิมต่อไปอีกหรือไม่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||
5 | รัฐบาลสาธารณรัฐโปแลนด์เสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ประจำประเทศไทย (กระทรวงการต่างประเทศ) [นายวัลแดมาร์ ดูบายอฟสกี (Mr. Waldemar Dubaniowski)] | กต | 20/12/2559 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายวัลแดมาร์ ดูบายอฟสกี (Mr. Waldemar Dubaniowski) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทนนายเซนอน คุคชัค (Mr. Zenon Kuchciak) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ขอเงินงบกลางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร ปี 2557 (ช่วงประสบภัยเดือนกรกฎาคม 2556 ถึงเดือนสิงหาคม 2557) | กษ | 28/10/2557 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติในหลักการให้ใช้เงินงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร ปี ๒๕๕๗ จำนวน ๒๖ จังหวัด รวม ๑๐ ภัย ได้แก่ อุทกภัย ภัยแล้ง วาตภัย อัคคีภัย ภัยอากาศแปรปรวน ศัตรูพืชระบาด ภัยหนาว ภัยฝนทิ้งช่วง ภัยพายุและคลื่นลมแรง และปริมาณออกซิเจนในน้ำต่ำ เกษตรกรจำนวน ๑๒,๘๖๐ ราย ประกอบด้วย ด้านพืช เกษตรกรจำนวน ๑๒,๗๙๔ ราย และด้านประมง เกษตรกรจำนวน ๖๖ ราย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยให้เบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีแล้ว ภายในกรอบวงเงิน ๑๕๔,๘๒๓,๗๔๑ บาท โดยให้กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมประมง ตรวจสอบเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ ถูกต้องตามข้อเท็จจริงก่อน แล้วจึงขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง และให้ถือว่าคำขออนุมัติจัดสรรงบประมาณของกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมประมงเป็นคำขออนุมัติจัดสรรงบประมาณของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทั้งนี้ ให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมประมงดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐที่เห็นควรเร่งพัฒนาระบบประกันภัยทางการเกษตรให้มีความคุ้มครองครอบคลุมภัยพิบัติด้านการเกษตรและเกษตรกรทุกกลุ่ม และการจ่ายเงินให้เกษตรกร การจัดทำฐานข้อมูลเกษตรกร จะต้องมีการจัดทำทะเบียนอย่างถูกต้อง ไม่รั่วไหล รวมทั้งมีการควบคุมให้โปร่งใสและตรวจสอบได้ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย ๒. ในการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ให้กระทรวงมหาดไทยสำรวจพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติให้ถูกต้อง รอบคอบ และประกาศให้ครอบคลุมพื้นที่ที่เกิดความเสียหายจริงเท่านั้น ๓. กรณีเกิดภัยพิบัติในครั้งต่อไป ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดสำรวจความเสียหายและดำเนินการให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ประสบภัยพิบัติให้แล้วเสร็จภายใน ๓ เดือน ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี ๑๖ กันยายน ๒๕๕๗ (เรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการแก้ไขปัญหาอุทกภัย) โดยให้ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๖ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องก่อนเป็นลำดับแรก และหากไม่ได้รับอนุมัติงบประมาณกรณีดังกล่าว จึงขอรับการจัดสรรเงินงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยพิบัติเพิ่มเติมต่อไป ๔. ให้กระทรวงการคลังเร่งรัดการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๖ ตามนัยมติคณะรักษาความสงบแห่งชาติเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ (เรื่อง ขอเงินงบกลางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๗) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
7 | แต่งตั้งข้าราชการการเมือง | ศธ | 04/10/2554 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งศาสตราจารย์ธเนศร์ เจริญเมือง ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุรพงษ์ อึ้งอำพรวิไล) โดยให้การแต่งตั้งมีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๔ ตุลาคม ๒๕๕๔) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การดำเนินคดีแบบกลุ่ม) | กค | 09/11/2553 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสาน งานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา แล้วเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป โดยร่างพระราชบัญญัติฯ มีสาระ สำคัญคือ ๑. คดีแบบกลุ่ม ได้แก่ คดีละเมิด คดีผิดสัญญา และคดีเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายต่าง ๆ และเป็น คดีที่มีสมาชิกกลุ่มจำนวนมาก ๒. กำหนดให้โจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลพร้อมกับคำฟ้องขอให้มีการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ๓. กำหนดให้คำฟ้องของโจทก์และกลุ่มบุคคลต้องมีสภาพแห่งข้อหาและข้อบังคับที่มีลักษณะเดียวกัน ๔. คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มอาจอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา ๕. กำหนดให้สมาชิกกลุ่มมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาคดี ขอตรวจเอกสารและคัดสำเนาเอกสาร จัดหา ทนายความคนใหม่ และร้องขอเข้าแทนที่โจทก์ ๖. กำหนดให้คำพิพากษาของศาลผูกพันคู่ความและสมาชิกกลุ่ม และโจทก์มีอำนาจดำเนินการบังคับ คดีแทนสมาชิกกลุ่ม ๗. คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลในการดำเนินคดีแบบกลุ่มให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาภายในหนึ่ง เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง
|
||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ. .... | ศธ | 06/11/2550 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอร่างกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราช
การครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ. .... มี สาระสำคัญคือ กำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือ สูงกว่าขั้นสูงของอันดับ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดย ให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงาน ก.พ. ที่มีความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำหนดให้ข้า ราชการครู ฯ ผู้ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับเงินเดือนของตำแหน่งและวิทยฐานะที่ได้รับแต่งตั้งแล้ว ให้ได้รับ เงินเดือนสูงขึ้นในอันดับถัดไปได้ไม่เกิน 2 ขั้น อาจไม่สอดคล้องกับหลักการกำหนดอัตราเงินเดือนของข้าราชการ ครู ฯ ในแต่ละอันดับซึ่งเป็นไปตามค่างานของตำแหน่งในอันดับและเกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งและวิทยฐานะที่สูงขึ้น ส่วนตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการครู ฯ จะได้รับการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและวิทยฐานะสูงขึ้น รวมทั้งตารางเทียบขั้นเงินเดือนอันดับครูผู้ช่วยเมื่อได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งครูแนบท้ายร่างกฎ ก.ค.ศ. ฯ ได้ปรับอัตราเงินเดือนเป็นร้อยละเท่ากันทุกตำแหน่งในอัตราร้อย ละ 4 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550 ซึ่งจะมีผลต่อเมื่อบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการครู ฯ ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้แล้ว ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การแก้ไขปัญหาแม้น้ำเจ้าพระยาเน่าเสีย | มท | 03/12/2534 | |||||||||||||||||||||||||||
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานว่าร่วมกับหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อเท็จจริงและจัดทำสรุปผลการแก้ไขปัญหาแม่น้ำเจ้าพระยาเน่าเสียพร้อมทั้งพิจารณา มาตรการระยะสั้น เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและมาตรการระยะยาวเพื่อเป็นกรอบในการแก้ไขปัญหา ดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ฝ่ายเศรษฐกิจพิจารณาแล้ว 1. เห็นควรให้ความเห็นชอบมาตรการระยะสั้นและระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาแม่น้ำเจ้าพระยาเน่าเสีย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอสำหรับการเงินที่จะใช้จ่าย ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป 2. มาตรการระยะยาว เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท และเร่งออกกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องอากาศ น้ำและสารมีพิษ 3. เห็นควรให้มีองค์กรกำกับดูแลติดตามผลการปฏิบัติงานโดยเฉพาะขึ้น โดยให้เอกชนเข้าร่วมด้วยเช่นเดียวกับ บางประเทศจัดตั้ง องค์กรขึ้นดูแลในแต่ละลุ่มน้ำ คณะรัฐมนตรีมีมติ 1. เห็นชอบมาตรการระยะสั้นและระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาแม่น้ำเจ้าพระยาเน่าเสีย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยให้เพิ่มมาตรการ ด้านการลงทุนจัดทำระบบน้ำเสียในมาตรการระยะสั้น ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ -และสังคมแห่งชาติเสนอ สำหรับการเงินที่จะใช้จ่ายให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ 2. ในมาตรการระยะยาว ให้ สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติดำเนินการตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทและเร่งออกกฎหมายเกี่ยวกับ เรื่องอากาศน้ำและก๊าซมีพิษ ฯลฯ เพื่อพิจารณามาตรฐานสิ่งแวดล้อมเฉพาะเรื่องขึ้น โดยให้มีทั้ง รักษาสภาพในการจูงใจและมีมาตรการลงโทษในระดับที่เหมาะสมควบคู่กันไปด้วย 3 .ให้มีองค์กรกลางรับผิดชอบในการรักษาคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและกำกับดูแล ติดตามผลการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะขึ้น โดยให้มีฝ่ายเอกชนเข้าร่วมด้วย เช่นเดียวกับที่บางประเทศจัดตั้งองค์กรกลางขึ้นดูแลในแต่ละลุ่มน้ำ |
||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นให้ได้ผลในทางปฏิบัติ (แผนปฏิบัติการ ของกระทรวงมหาดไทย ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2531-2534) | มท | 10/11/2530 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฎิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการกระจายอำนาจ
ไปสู่ท้องถิ่นให้ได้ผลในทางปฎิบัติและการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยกระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้กรุงเทพมหานครส่วนราชการในสังกัดศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัด ชายแดนภาคใต้ การเคหะแห่งชาติและทุกจังหวัดถือปฎิบัติตามแผนมหาดไทยแม่บท ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2531 - 2534) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงมหาดไทยพิจารณา ร่วมกันเกี่ยวกับการชะลอการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงความประพฤติผู้กระทำผิดโดยพนักงานอัยการ โดยให้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายมีชัย ฤชุพันธ์) เป็นผู้ประสานงาน |
||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การขยายโครงการฝึกอบรมการจัดการสหกรณ์การเกษตรระยะที่ 2 | สลน | 23/11/2525 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการโครงการฝึกอบรมการจัดสหกรณ์การเกษตร ระยะที่ 2
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ตามที่ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยให้ กระทรวงการ ต่างประเทศดำเนินการติดต่อกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรปต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
13 | แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานประชากรศึกษา | ศธ | 30/10/2522 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบด้วย และอนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการ เรียกว่าคณะกรรมการ
บริหารงานประชากรศึกษา ประกอบด้วย 30 ท่าน มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยมีปลัดกระทรวง ศึกษาธิการเป็นประธาน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||
14 | แก้ไขกฎกระทรวง (พ.ศ. 2501) ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 | 05/10/2520 | ||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง (พ.ศ. 2501) ออกตามความในพระราช
บัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ตามที่กระทรวง การคลังเสนอ |