ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 5 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 94 จากข้อมูลทั้งหมด 94 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | รายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีกรณีหน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 | สผผ. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานกรณีหน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด
๕หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
เรื่องคุณภาพและการคุ้มครองอาชีพมัคคุเทศก์ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในประเด็นปัญหา
เช่น กรณีการใช้คนไทยเป็นตัวแทนอำพรางหรือนอมินีเข้ามาประกอบธุรกิจนำเที่ยว
เนื่องจากช่องว่างและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอ ๒. ให้กระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) กระทรวงแรงงาน
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรับข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินและความเห็นของกระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ที่เห็นว่า หากร่างพระราชบัญญัติการข้อมูลผู้ที่ได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง พ.ศ.
....
มีผลใช้บังคับจะสามารถช่วยแก้ปัญหาที่คนต่างด้าวใช้คนไทยเป็นตัวแทนอำพรางหรือนอมินีประกอบธุรกิจนำเที่ยว
เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจนำเที่ยวของคนต่างด้าว พ.ศ.
๒๕๔๒ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากจะมีการกำหนดบทลงโทษผู้ที่แจ้งขอข้อมูลอันเป็นเท็จเพิ่มขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตามหน้าที่และอำนาจให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วภายในปี ๒๕๖๕ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
82 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายโกวิท ผกามาส ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | วธ. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๓ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ดังนี้ ๑. นายโกวิท ผกามาศ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ๒. นายกฤษฎา คงคะจันทร์ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นายประสพ เรียงเงิน ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
83 | รัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาประจำประเทศไทย (อูชิซเว) | กต. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรณีรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเสนอขอแต่งตั้ง
อูชิซเว (U Chit Swe) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน อู-มโย-มยินตาน (U Myo Myint Than) ซี่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
84 | การขอขยายระยะเวลาบังคับใช้แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560 – 2564) | กก. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการขอขยายระยะเวลาบังคับใช้แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) ออกไปอีก ๑ ปี โดยให้ยังคงใช้ได้ต่อจนถึงวันที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๖๕ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติเสนอ ๒. ให้คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าในช่วงระยะเวลา ๑ ปีที่มีการขยายระยะเวลาบังคับใช้แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ ๖ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ควรเร่งดำเนินการปรับ (ร่าง)
แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ให้สามารถประกาศใช้ต่อจากแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ ๖ ได้อย่างราบรื่น
ก่อให้เกิดการพัฒนาการกีฬาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
รวมทั้งให้คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณานำแนวทางของสมาคมกีฬามวลชนนานาชาติมาเป็นส่วนหนึ่งในแผนการดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ ๖ ด้วย เพื่อให้การพัฒนากีฬามวลชนในประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ลดความซ้ำซ้อนของงบประมาณในการดำเนินงาน รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้และความร่วมมือจากเครือข่ายของสมาชิกสมาคมกีฬามวลชนนานาชาติมาปรับใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายของแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ ๖ ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
85 | ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี | กต. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่
๒๕-๒๖ มกราคม ๒๕๖๕ มีเนื้อหาสำคัญ คือ การปรับประกาศความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียให้เป็นปกติ
โดยมุ่งเน้นส่งเสริมความร่วมมือทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีเพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย
ตลอดจนเห็นชอบสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการหลังฟื้นฟูความสัมพันธ์ อาทิ
การแต่งตั้งเอกอัครราชทูต และการจัดตั้งกลไกการหารือทวิภาคี ตามที่กระทรวงการต่างประทศเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียของนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
86 | แจ้งคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ. 626/2559 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 1006/2564 ระหว่าง นางสุรีย์ลักษณ์ คงเจริญโชค ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรและความรับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย | อส. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขดำที่ อ. ๖๒๖/๒๕๕๙
คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๑๐๐๖/๒๕๖๔ ระหว่าง นางสุรีย์ลักษณ์ คงเจริญโชค ผู้ฟ้องคดี
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน ผู้ถูกฟ้องคดี (คณะรัฐมนตรี
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๖) (เรื่อง
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
และความรับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย) ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นในส่วนของค่าเสียหายทางจิตใจและอัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระแก่คู่ฟ้องคดี
โดยยกฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๖ (คณะรัฐมนตรี)
ตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
87 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายถาวร สกุลพาณิชย์) | สธ. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายถาวร สกุลพาณิชย์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านควบคุมป้องกันโรค [นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ
(ด้านวิจัย)] สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
88 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส และนางบุปผา พันธุ์เพ็ง) | รง. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงแรงงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้ ๑. นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
89 | ขออนุมัติโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย | กค. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง
จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และวงเงินงบประมาณรายจ่ายของโครงการฯ
ตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบบทเฉพาะกาลมาตรา
๖๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ พ.ศ.
๒๕๖๒ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเสนอ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการฯ
ระยะทางรวม ๓.๙๘ กิโลเมตร โดยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในรูปแบบ PPP
Net Cost โดยภาครัฐรับผิดชอบการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในขณะที่ ภาคเอกชนรับผิดชอบงานส่วนที่เหลือทั้งหมด ได้แก่
การออกแบบรายละเอียดและการก่อสร้าง และการดำเนินงาน และบำรุงรักษา (Operation and Maintenance: O&M) โดยเอกชนจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ลงทุนทั้งหมด ให้แก่ภาครัฐก่อนเริ่มดำเนินงานในลักษณะของ BTO
พร้อมทั้งให้เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รายได้ค่าผ่านทางโดยมีระยะเวลาสัมปทาน
๓๕ ปี (นับจากวันที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหนังสือแจ้งให้เริ่มปฏิบัติงาน (Notice
to Proceed) ตามรายงานผลการศึกษาฯ
ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้ความเห็นชอบไว้ ๒. อนุมัติค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดในวงเงิน
๕,๗๙๒.๒๔ ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณตามความจำเนและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง ๓. มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม
และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ พ.ศ. ๒๕๖๒ รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นว่า
เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็น
เหมาะสม และประหยัด ตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง และให้กระทรวงคมนาคม (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ ๑) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่เห็นว่า ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐเป็นสำคัญและเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เอกชนสามารถดำเนินโครงการได้จริงและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ก่อให้เกิดผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงขึ้นในจังหวัดภูเก็ตในอนาคต
นอกจากนี้ โครงการฯ ดังกล่าวยังมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ยุทธศาสตร์ที่ ๒
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
สำหรับการพัฒนาโลจิสติกส์ในการเดินทางข้ามจังหวัดและการเดินทางระหว่างประเทศ
ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศได้อย่างเชื่อมโยงกับรูปแบบการเดินทางอื่น ๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒) กระทรวงคมนาคมที่เห็นว่า
ให้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ๓) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เห็นว่า
ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าของโครงการ
ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่เสนอไว้ในรายงานฯ อย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ หรือมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ให้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๑
เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ เรื่อง การทบทวนมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่
๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติกรณีรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย ๔) กระทรวงมหาดไทยที่เห็นว่า ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ๕) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
๕.๑) ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พิจารณาใช้แหล่งเงินรายได้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินประมาณ
๕,๗๙๒.๒๔ ล้านบาท เป็นลำดับแรก
หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริงต่อไป
๕.๒) ให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับจังหวัดภูเก็ตในการพิจารณาแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง
ๆ ให้สามารถรองรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และสนับสนุนให้เกิดการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะและการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้น ๕.๓) เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างรอบคอบ
เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการ ดังนี้ ๕.๓.๑) พิจารณาแนวทางการบริหารความเสี่ยงของโครงการฯ
โดยเฉพาะการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยควรกำหนดอัตราค่าเวนคืนให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม
เพื่อให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยสามารถส่งมอบที่ดินให้กับเอกชนได้ตามกำหนดของสัญญาและเปิดให้บริการตามแผนที่ได้กำหนดไว้
และกำหนดเงื่อนไขในการสนับสนุนให้เกิดการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart
City) ๕.๓.๒) พิจารณากำหนดกลไกให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกระแสเงินสดของการดำเนินโครงการฯ
อาทิ เงินลงทุน รายได้ค่าผ่านทาง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษา
เพื่อให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชน์ตอบแทนจากการดำเนินโครงการระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ๕.๓.๓) ปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA) ตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบเมื่อวันที่
๗ มีนาคม ๒๕๖๑ อย่างเคร่งครัด
และในกรณีที่มีผลกระทบต่อประชาชนให้เร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว ๖) สำนักงบประมาณที่มีข้อสังเกตว่า เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวให้แก่หน่วยงานในพื้นที่และประชาชนเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการอีกครั้งหนึ่งก่อนเริ่มดำเนินการ
การดำเนินการตามมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งรับความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ
และประสานหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ
คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
ตลอดจนคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบในทุกมิติด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
90 | ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อดำเนินโครงการพาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน ปี 2565 | พณ. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้แก้ไขข้อความในหนังสือกระทรวงพาณิชย์
ด่วนที่สุด ที่ พณ ๐๔๑๔/๒๑๑ ลงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕
และในสิ่งที่ส่งมาด้วยให้เหมาะสม จากเดิม “ในราคาต่ำกว่าท้องตลาด” หรือ
“ในราคาถูกกว่าท้องตลาด” เป็น “ในราคาประหยัด” ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ๒. อนุมัติในหลักการการจัดทำโครงการพาณิชย์...ลดราคา!
ช่วยประชาชน ปี ๒๕๖๕ เพื่อจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพให้แก่ประชาชนในราคาต่ำกว่าท้องตลาด
ระยะเวลาดำเนินการ ๙๐ วัน เช่น กิจกรรมบริหารจัดการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางจำหน่าย
กิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ และกิจกรรมประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-๑๙) และจากภาวะการปรับราคาสินค้าขึ้นอย่างต่อเนื่องจากโรคระบาดจากสัตว์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้กระทรวงพาณิชย์ขอทำความตกลงรายละเอียดค่าใช้จ่ายกับสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่งก่อนดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์รับข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๗/๓๐๕๑ ลงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕) ไปร่วมหารือและวางแผนการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเพื่อการบริโภค
ตั้งแต่ในระดับต้นน้ำ (การผลิต) กลางน้ำ (การแปรรูป) จนกระทั่งปลายน้ำ
(การจำหน่วย) ให้มีระดับราคาที่พอเหมาะ และสามารถสะท้อนต้นทุนการผลิตได้อย่างเหมาะสม
ควรให้มีการกระจายสินค้าให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
และให้กระทรวงพาณิชย์รวบรวมประมวลผล และประเมินความสำเร็จของโครงการลักษณะเดียวกัน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงพาณิชย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
91 | ร่างมาตรการสนับสนุนให้สตรีเป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ | พม. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นซอบในหลักการของมาตรการสนับสนุนสตรีให้เป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ
ประกอบด้วยมาตรการย่อย ๓ มาตรการ ได้แก่ จัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓
ปี ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
และขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นำมาตรการดังกล่าวไปพิจารณาในรายละเอียดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
โดยให้นำความเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วยเพื่อให้ได้ข้อยุติในประเด็นต่าง
ๆ ที่ชัดเจน เหมาะสม ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ดังนี้ ๑)
กระทรวงการคลังเห็นว่า ในการพิจารณาจะต้องคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๒)
กระทรวงแรงงานเห็นว่า หากจะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ครอบคลุมสิทธิการลาคลอด
ให้สามีของแรงงานสตรีสามารถลาเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ นายจ้าง
เจ้าของสถานประกอบกิจการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคธุรกิจ
เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวด้วย ๓)
กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่า เพื่อให้การแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เหมาะสมและครอบคลุมข้าราชการทุกประเภท
จึงเห็นควรพิจารณาในรายละเอียดด้วยความรอบคอบ ๔)
กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่า ควรมีการทบทวนข้อมูลอย่างรอบด้าน
โดยคำนึงถึงหลักความเหลื่อมล้ำในกลุ่มแม่ที่ใช้สิทธิอื่น
หรือกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีบุตร เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติหรือความเป็นธรรมในการจ้างงานด้วย ๕)
สำนักงบประมาณเห็นว่า สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕
เห็นควรให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ในโอกาสแรก สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ
ๆ ไป
เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ๖)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีความเห็นประกอบการพิจารณาในแต่ละมาตรการ
ดังนี้ ๖.๑) การจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓
ปี โดยขยายบริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กให้รับเด็กอายุ ๐ ถึง
๓ ปี และขยายเวลาเบิดและปิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนทำงาน นั้น
เป็นมาตรการเพื่อแบ่งเบาภาระของสตรีในการเลี้ยงดูบุตรโดยกำหนดอายุของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง
๓ ปี
แต่การกำหนดอายุขั้นต่ำของเด็กดังกล่าวหากเป็นกรณีผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นหญิงที่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน
จะต้องคำนึงถึงมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
ที่กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน ๙๘
วัน และมาตรการที่กำหนดให้ขยายวันลาคลอดของข้าราชการจากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการสามารถลาคลอดบุตรได้
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน และเสนอให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘ วัน
สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ
ซึ่งเป็นการกำหนดเพื่อให้สิทธิแก่สตรีในการใช้วันลาคลอดเพื่อเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเอง ๖.๒) การส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
โดยให้ข้าราชการชายสามารถลาไปช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร นั้น
ควรกำหนดให้ลูกจ้างขายสามารถลาเพื่อช่วยเหลือภรรยาดูแลบุตรได้
เพื่อให้การกำหนดมาตรการดังกล่าวครอบคลุมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งจะทำให้เกิดความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ
แต่ในรายละเอียดอาจจะต้องกำหนดเพื่อไม่ให้นายจ้างได้รับผลกระทบจนเกินสมควร ๖.๓) การขยายวันลาคลอดของข้าราชการ
โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการจากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการสามารถลาคลอดบุตรได้
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน และเสนอให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘ วัน
สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ นั้น
ในส่วนของการแก้ไขวันลาคลอดของข้าราชการ เป็น ๙๘ วัน เป็นการกำหนดที่สอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
(ILO)
ฉบับที่ ๑๘๓
ว่าด้วยสิทธิการคุ้มครองความเป็นมารดาซึ่งได้กำหนดให้ภาครัฐต้องดูแลผู้หญิงตั้งครรภ์
ระหว่าง และหลังคลอด และต้องให้วันหยุดมารดาหลังคลอด ๑๔ สับดาห์
ซึ่งสตรีในภาคเอกชนได้รับสิทธิดังกล่าวแล้วตามมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
สำหรับการกำหนดให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ลาได้อีก ๙๐ วัน
และให้ได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ นั้น จะต้องพิจารณาว่า การแก้ไขดังกล่าวกระทบกับการการลาบระเภทอื่นหรือไม่
ได้แก่ การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ส่วนการกำหนดให้ได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐
ของเงินเดือนปกติ จะต้องพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินเดือน ได้แก่
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบด้วย ๗)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า
มาตรการส่งเสริมการลาของสามี และขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง
มีผลบังคับใช้กับกลุ่มข้าราชการเท่านั้น เพื่อให้ร่างมาตรการดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
จึงควรเร่งศึกษาแนวทางเพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายสู่แรงงานกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างเอกชน
ซึ่งมีสัดส่วนถึง ๒ ใน ๕ ของผู้มีงานทำทั้งหมด ๘)
สำนักงาน ก.พ. เห็นว่า เห็นควรมอบหมายสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาปรับปรุงระเบียบฯ ดังกล่าว
และโดยที่ข้อเสนอการปรับปรุงวันลาของข้าราชการชายเพื่อช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร
และการขยายวันลาคลอดบุตรของข้าราชการหญิง
มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา
และเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น อาทิ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ
บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายอื่นให้สอดคล้องกันต่อไปด้วย ๙)
กระทรวงมหาดไทยมีข้อเสนอแนะว่า ๙.๑) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ได้จัดบริการให้กับเด็กเล็กครอบคลุมช่วงอายุ ๒ - ๓ ปี ซึ่งในการขยายบริการเด็กเล็ก
โดยให้รับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๒ ปีลงไปนั้น
ควรกำหนดแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พิจารณาดำเนินการตามความพร้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รวมถึงความต้องการของชุมชนในพื้นที่โดยรัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณ
อัตรากำลังครู/ผู้ดูแลเด็กในแต่ละช่วงอายุ รวมถึงการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญในการดูแลเด็กอย่างถูกต้องตามหลักวิซาการ ๙.๒) สำหรับการขยายเวลาเปิด -
ปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หากจะขยายเวลาเปิด - ปิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนทำงาน
ต้องคำนึงถึงความพร้อม สภาพบริบท ที่ตั้ง
การประกอบอาชีพของผู้ปกครองและความต้องการของผู้ปกครองในท้องถิ่นนั้น ๆ
รวมถึงงบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ในการดำเนินการดังกล่าว ๑๐)
สำนักงาน ก.พ.ร. มีข้อเสนอแนะว่า
๑๐.๑) กรณีมาตรการจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า
๓ ปี ควรกำหนดให้อายุเด็กที่จะเข้ารับบริการ จาก ๐ - ๓ ปี เป็น ตั้งแต่ ๓
เดือนขึ้นไป - ๓ ปี เนื่องจากจะสอดคล้องกับมาตรการขยายวันลาคลอดของแม่
และช่วยให้เด็กได้รับการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจากแม่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อพัฒนาการของเด็ก
ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี
สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติและสามารถให้บริการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรพิจารณาประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญของบุคลากร และศักยภาพของศูนย์
พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่ง รวมทั้งต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอ
ตลอดจนคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการของผู้ปกครองหรือผู้รับบริการในแต่ละพื้นที่สำหรับการขยายเวลาให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่งด้วย ๑๐.๒) กรณีการส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
ซึ่งกำหนดให้ลาได้ ๑๕ วัน โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อกันนั้น
ควรพิจารณารับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุม เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับนำไปกำหนดรายละเอียดและกรอบระยะเวลาการลาของสามีดังกล่าวให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของทุกภาคส่วนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ๑๐.๓) กรณีการกำหนดให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรสามารถลาเพิ่มได้อีกไม่เกิน
๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ
ควรพิจารณาผลกระทบทั้งในประเด็นการปฏิบัติงานและการบริหารงานขององค์กรและภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่จะเพิ่มขึ้น
รวมทั้งคำนึงถึงความคุ้มค่าของประโยชน์โดยรวมที่สังคมและประเทศจะได้รับด้วย ๑๑)
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า ๑๑.๑) มาตรการข้อ ๒
ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด ที่เสนอว่า “...ให้ลาได้ ๑๕
วันทำการ เป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันจนครบวันลา” นั้น เห็นควรเพิ่มเติมคำว่า “ไม่เกิน”
ไว้หน้า ๑๕ วันทำการด้วย
เพื่อให้มีความคล่องตัวในการลาและสอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
ที่กำหนดไว้ให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างลาได้ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ ๑๑.๒) มาตรการข้อ ๓
ขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง ที่เสนอว่า “...โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการจากเดิม
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน” นั้น เห็นควรเพิ่มเติมคำว่า “ไม่เกิน” ไว้หน้า ๙๘ วัน ด้วยเหตุผลผลเดียวกับข้อ
๑๑.๑) แต่สำหรับการได้รับเงินเดือนระหว่างลา กฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ได้กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกิน ๙๐ วัน
ในส่วนของประเด็นที่เสนอว่า “...โดยให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘
วัน สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ”
นั้น ประเด็นดังกล่าวน่าจะมีจุดมุ่งหมายในการลาเพื่อการเลี้ยงดูบุตร
ซึ่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕
ได้กำหนดให้เป็นประเภทของการลากิจสวนตัว ตามข้อ ๒๒ ที่กำหนดไว้ว่า “ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรตามข้อ
๑๙ แล้ว หากประสงค์จะลากิจสวนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน
๑๕๐ วันทำการ”
แต่การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรดังกล่าวกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
กำหนดไว้ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
92 | ขออนุมัติขยายกรอบระยะเวลาและปรับรายละเอียดโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ | กษ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒
พฤศจิกายน ๒๕๕๙ (เรื่อง ขออนุมัติโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่)
โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปรับรายละเอียดโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
รวมทั้งให้ขยายกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการดังกล่าว ดังนี้ ๑.๑ ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
จากเดิมตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๙-เมษายน ๒๕๗๐ เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๐ มิถุนายน
๒๕๗๕ ๑.๒ ระยะเวลาการจ่ายเงินกู้
จากเดิมตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๙-ธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๔ ๑.๓ ระยะเวลาการชดเชยดอกเบี้ยจากภายใน
๕ ปี นับแต่วันกู้ จากเดิมไม่เกินเดือนธันวาคม ๒๕๖๙ เป็นไม่เกินเดือนธันวาคม ๒๕๗๔ ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศ เช่น
ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อให้ได้รับโอกาสในการเข้าถึงโครงการอย่างเท่าเทียม
มีการทบทวนและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ และปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่รัฐชดเชยให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในโครงการฯ
จากเดิมร้อยละ ๓ คงเหลือร้อยละ ๒.๘๗๕ (ตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในปัจจุบัน) ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตาม ประเมินผล และพิจารณาความจำเป็นและเหมาะสมในการดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ (เรื่อง ขออนุมัติวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปี ๒๕๖๔/๖๕ เพิ่มเติม) โดยหากการดำเนินโครงการฯ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายให้พิจารณายุติการดำเนินโครงการ
เพื่อให้สามารถนำวงเงินเหลือจ่ายมาใช้ในการดำเนินโครงการอื่นที่มีความจำเป็นต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
93 | การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งจะต้องมีการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณมากกว่าหนึ่งปีงบประมาณสำหรับรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไปของกรุงเทพมหานคร | มท. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้กรุงเทพมหานครนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๙ โครงการ โดยแบ่งเป็น (๑) รายการที่ได้กำหนดสัดส่วนแหล่งเงินค่าก่อสร้างที่จะดำเนินโครงการ โดยให้กรุงเทพมหานครนำเงินรายได้มาสมทบกับเงินอุดหนุนรัฐบาลแล้ว จำนวน ๕ โครงการ และ (๒) รายการที่ยังไม่ได้กำหนดสัดส่วนแหล่งเงินค่าก่อสร้างที่จะดำเนินโครงการระหว่างเงินอุดหนุนรัฐบาลกับเงินรายได้กรุงเทพมหานคร จำนวน ๔ โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๘,๑๕๘.๗๐๐๐ ล้านบาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามนัยมาตรา ๒๖ ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรุงเทพมหานครจัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของโครงการดังกล่าว โดยมีรายละเอียดแบบรูปรายการ ประมาณการค่าใช้จ่ายในการค่าก่อสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีสถานที่/พื้นที่พร้อมที่จะดำเนินการ รวมทั้งพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน และคำนึงถึงภาระผูกพันงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณให้เป็นไปตามสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนที่กำหนด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาความเหมาะสม จำเป็น ตามวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
94 | กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ | อว. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑๑๔,๖๓๔.๗๖๘๒ ล้านบาท และกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๒๙,๑๐๐ ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเสนอ และให้สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับข้อเสนอของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรพิจารณาถึงข้อกำหนดทางด้านการคลังของประเทศในระยะต่อไป
และควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการร่วมลงทุนจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น
ควรกำหนดบทเฉพาะกาลประเด็นที่มีความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและกำหนดหลักเกณฑ์
และรูปแบบการดำเนินงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้มีความชัดเจน และควรมีการจัดทำแนวทางการพัฒนา
(Roadmap) การพัฒนาวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมขั้นแนวหน้า (Frontier) เพื่อสร้างความชัดเจนในการส่งเสริมภาคเอกชนในการร่วมลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|