ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 5 หน้า แสดงรายการที่ 61 - 80 จากข้อมูลทั้งหมด 94 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
61 | มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 | นร.14 | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน
ปี ๒๕๖๕ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี ๒๕๖๕
และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี ๒๕๖๕ /๒๕๖๖
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการตามมาตรการดังกล่าว
โดยรายงานให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติทราบ
พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณประจำปีที่ได้รับการจัดสรร
หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี และควรปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งควรเร่งติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ
ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินโครงการฯ
ให้มีประสิทธิภาพมากเพิ่มขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
62 | ขออนุมัติดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทย | คค. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
ในกรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) ๒.
เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ยืมเงินตามนัยมาตรา ๓๙ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายใต้กรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้น ๓.
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขอปรับเพิ่มเงินลงทุน
(Cost Overrun) ในอนาคต
ซึ่งอาจกระทบต่อผลการดำเนินงานและผลตอบแทนการลงทุน รวมทั้งอาจเกิดความล่าช้าในการให้บริการและไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ๔.
ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้และจำเป็นต้องติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๕.
ให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับแนวโน้มการประกอบกิจการของรัฐวิสาหกิจต่าง
ๆ ในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
63 | ขอปรับเพิ่มเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าและโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3 | พน. | 12/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า
(Transmission System Improvement
Project in Eastern Region to Enhance System Security : TIPE) (โครงการ TIPE) และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่
ระยะที่ ๓ (Independent Power Producer 3 : IPP3) (โครงการ IPP3) และอนุมัติวงเงินงบประมาณลงทุนในปี
พ.ศ. ๒๕๖๔ และปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สำหรับโครงการ TIPE และโครงการ IPP3
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๗/๑๘๙๓๙ ลงวันที่๑๕ กันยายน ๒๕๖๔)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่
สกพ ๕๕๐๑/๐๐๓๖ ลงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๔) เช่น
ควรศึกษาและพิจารณาแนวทางการดำเนินการไม่ให้มีผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าของประชาชนทั่วประเทศ
ควรกำหนดมาตรการบริหารจัดการเงินและการลงทุนให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และต้องดำเนินการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเร็วเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานได้ตามแผนงานที่วางไว้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานกำกับการดำเนินโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า
และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ระยะที่ ๓
ให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งบริหารความเสี่ยงของโครงการที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อมิให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการเพิ่มเติม
ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนของทั้งสองโครงการเพิ่มขึ้นในอนาคต |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
64 | การกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล | รง. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ตามมาตรา
๑๓ (๒) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล
สำหรับลูกจ้างเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินวันละ ๑,๕๐๐ บาท
และสำหรับบุคคลในครอบครัวเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินวันละ ๑,๑๐๐ บาท ซึ่งสิทธิสำหรับบุคคลในครอบครัวจะต้องเป็นสิทธิที่อยู่เดิม
ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๐
สิงหาคม ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าในการดำเนินการดังกล่าวแต่ละรัฐวิสาหกิจจะต้องคำนึงถึงสถานะทางการเงิน
ผลการดำเนินงานของกิจการ ขีดความสามารถในการหารายได้
และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุมรายจ่ายที่จะเกิดขึ้น
เพื่อมิให้กระทบต่อการใช้จ่ายเงินทุนสำหรับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
65 | ร่างยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ พ.ศ. 2565 - 2570 | นร.10 | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๗๐ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบและกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินการรักษาจริยธรรมและส่งเสริมพัฒนาจริยธรรมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ
และให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้มีการจัดทำแผนงาน
มาตรการ เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรักษาจริยธรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรม
ประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรม ซึ่งร่างยุทธศาสตร์ฯ
ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมแล้ว
ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
66 | ร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
67 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง รูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้า กรณีศึกษาประเทศจีนและอินเดีย ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา | สว. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
รูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้า กรณีศึกษาประเทศจีนและอินเดีย
ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า
ปัจจุบันได้มีคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และคณะกรรมการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
โดยมีศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ
โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันอยู่แล้ว ดังนั้น การจัดตั้ง
“สำนักงานบูรณาการการแก้ปัญหาความยากจน”
เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายแก้ปัญหาความยากจนขึ้นใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูประบบราชการและยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ต้องการลดขนาดและกำลังคนในภาครัฐ
ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าและมิให้เกิดความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว
สำหรับการจัดให้มี “กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม” (Social Investment
Fund-SIF) ที่ครอบคลุมไปถึงภารกิจในการแก้ปัญหาความยากจนและผู้ได้รับผลกระทบอื่น
ๆ นั้น จะต้องพิจารณาไม่ซ้ำซ้อนกับกองทุนหมุนเวียนที่จัดตั้งไว้แล้ว
โดยต้องดำเนินการตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘
และมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ส่วนการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ
สร้างคนให้เก่งในเรื่องอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับยุค IT
ให้มากขึ้น นั้น
ควรผลักดันการใช้ข้อมูลระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai
People Map and Analytics Platform : TPMAP) และให้ระบบดังกล่าวเป็นศูนย์กลางข้อมูลเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาคน
นำนวัตกรรมการพัฒนาและการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อให้คนในชนบทมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร
และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนผ่านสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัดที่เป็นกลไกการดำเนินงานในระดับพื้นที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
68 | ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวม ปี 2564 | นร.11 สศช | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวม
ปี ๒๕๖๔ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสสี่และภาพรวม ปี
๒๕๖๔ เช่น ภาพรวมการจ้างงาน ลดลงร้อยละ ๑.๐ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
อัตราการมีงานทำ อยู่ที่ร้อยละ ๙๘.๑ หนี้สินครัวเรือนในไตรมาส ๓ ปี ๒๕๖๔ มีมูลค่า
๑๔.๓๕ ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔.๒ แต่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๓
ของ GDP การเจ็บป่วยในไตรมาสสี่และภาพรวม
ปี ๒๕๖๔ ลดลง แต่ยังคงเฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด-๑๙ ในเด็ก ผู้สูงอายุ
กลุ่มเปราะบาง (๒) สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ จำนวน ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑) โรคเสมือน
(Metaverse) กับโอกาสใหม่ของประเทศไทย ๒) คนไร้บ้าน : ต่อแนวทางการยกระดับความเป็นอยู่ให้พึ่งพาตนเองได้ในสังคม
และ ๓) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยจากมุมมองของบัญชีกระแสเงินโอนประชาชาติ
และ (๓) บทความเรื่อง “เสียง SMEs ภาคการท่องเที่ยว :
การปรับตัวและความเห็นต่อการช่วยเหลือของรัฐ” พบผลการสำรวจที่สำคัญ เช่น
รายได้ผู้ประกอบการลดลงในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน
และเทคโนโลยีมีความจำเป็นต่อความอยู่รอดในการประกอบธุรกิจ
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
69 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | สธ. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ระยะการระบาดระลอกมกราคม ๒๕๖๕ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
(ระยะเวลาการดำเนินโครงการเดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕) และอนุมัติการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา
และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
จำนวนเงินทั้งสิ้น ๘,๔๕๘,๓๘๕,๑๔๑ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
และปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๔)
และการดำเนินการโครงการในเดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕
รวมทั้งอนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่
๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ จากเดิมถึงเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นถึงเดือนกันยายน ๒๕๖๕ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ จากเดิมถึงเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นถึงเดือนกันยายน ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
70 | ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการจัดหาเวชภัณฑ์ยาและขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | สธ. | 15/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการจัดซื้อเวชภัณฑ์ยา
จาก Molnupiravir เป็นยา Favipiravir
และยา Remdesivir และปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณของโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่
: กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ระยะการระบาดระลอกเมษายน ๒๕๖๔ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ :
กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ระยะการระบาดระลอกเมษายน ๒๕๖๔ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแล้วเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
จากเดิมระยะเวลาดำเนินการเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม ๒๕๖๔
เป็นระยะเวลาดำเนินการเดือนตุลาคม ๒๕๖๔ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
71 | โครงการอาชีวะ ฝีมือชน พัฒนากำลังคนชายแดนใต้ | ศธ. | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการอาชีวะ
ฝีมือชน พัฒนากำลังคนชายแดนใต้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๘ สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าว
เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรแล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อมาดำเนินการเป็นลำดับแรก
ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-พ.ศ. ๒๕๖๘
เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการ
(สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ควรมีการควบคุม กำกับ ติดตาม
และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
และควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อแนวทางการดำเนินโครงการอาชีวะฯ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
72 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาการชำระคืนหนี้เงินกู้ค่าออกแบบ ค่าก่อสร้าง และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ออกไปจนถึงปี 2572 | คค. | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้รัฐบาลรับภาระชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของเงินกู้ค่าออกแบบค่าก่อสร้าง
และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ต่อไป ตั้งแต่ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๗๒ ทั้งนี้
หากประมาณการรายได้แตกต่างไปจากที่คาดการณ์ไว้มาก ทั้งกรณีสูงและต่ำกว่าประมาณการ กระทรวงคมนาคมจะพิจารณานำเสนอการรับภาระหนี้ของรัฐบาลให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามความเหมาะสม
และให้สำนักงบประมาณ พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นรายปี
จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๗๒ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๐/๑๒๑๒ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน
๒๕๖๔) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุดที่ นร ๑๑๐๖/๗๒๑๑
ลงวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๔) และประธานกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เช่น
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ควรประเมินผลประกอบการและฐานะทางการเงินเป็นระยะ
ๆ ควรพิจารณาปรับแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ โดยการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า
ควรเร่งจัดทำกลยุทธ์เพื่อเพิ่มรายได้ของโครงการฯ สายฉลองรัชธรรมเชิงรุก ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
73 | การขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค (งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566) | นร.01 | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
จำนวนทั้งสิ้น ๓๙๕,๑๔๗,๐๙๘ บาท ตามนัยพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๑๖ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงบประมาณ
โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และกำกับ ติดตามการใช้จ่ายเงินอุดหนุนฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด
การพิจารณาเป้าหมาย ประสิทธิภาพ ผลสัมฤทธิ์ และผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค
ไปดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
ขอให้สภาองค์กรของผู้บริโภครับข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรพิจารณาให้ความสำคัญกับแผนงานโครงการที่ส่งผลต่อการคุ้มครอง พิทักษ์สิทธิ์
ผู้บริโภค และการให้ความรู้แก่ประชาชนโดยตรงเป็นลำดับแรก และพิจารณานำเงินรายได้ของสภาองค์กรผู้บริโภคมาดำเนินการ
รวมทั้งพิจารณาความซ้ำซ้อนของกิจกรรมที่เสนอขอ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
74 | ขออนุมัติหลักการก่อสร้างที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง | ปช. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการก่อสร้างที่ทำการ
สำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง และก่อหนี้ผูกผันข้ามปีงบประมาณตามนัยมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๑ จำนวน ๕๒๔,๑๔๗,๐๐๐ บาท โดยผูกพันระหว่างปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗ รวมเวลา ๓ ปี ดังนี้ ๑) ปีที่ ๑ (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕)
ใช้เงินคงเหลือสะสมสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน ๑๐๔,๘๒๙,๔๐๐ บาท และ ๒) ปีที่ ๒-๓ (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๗) จำนวน ๔๑๙,๓๑๗,๖๐๐ บาท ให้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงบประมาณ ที่เห็นว่าการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณจะต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ต่าง
ๆ ที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ กฎหมาย ระเบียบ
ประกาศและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ทั้งนี้
การเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างรายการดังกล่าวอยู่ภายใต้กรอบสัดส่วนการก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย
ที่กำหนดว่าต้องไม่เกินร้อยละแปดของบประมาณรายจ่ายประจำปี และต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้องบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
ไปดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
75 | ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 11 | กต. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา
ครั้งที่ ๑๑ ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งกัมพูชา
(นายปรัก สุคน) เป็นประธานร่วมกัน โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ
ได้แก่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมโดยเร็วจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙
การรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนและการส่งเสริมมิตรภาพอันใกล้ชิดระหว่างประชาชนไทยและกัมพูชา
ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในประเด็นอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน และมอบหมายให้ส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมฯ
ต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เช่น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด และให้ความสำคัญในการหารือด้านเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
ปรับปรุงถ้อยคำในบันทึกการประชุมฯ
ฉบับภาษาไทยและประเด็นการดำเนินการตามตารางติดตามผลการประชุมฯ
เพื่อให้เนื้อหาในเอกสารดังกล่าวมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
76 | ขออนุมัติดำเนินการตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2564 - 2565 | พณ. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันปี
๒๕๖๔-๒๕๖๕ ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ ๗,๖๖๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระงบประมาณให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามผลการดำเนินงานจริงตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
สำหรับค่าใช้จ่ายบริหารจัดการโครงการประกันรายได้ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕
เห็นควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ หรือโอนงบประมาณรายจ่าย หรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่าย
พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้
การดำเนินโครงการดังกล่าวมีผลทำให้รัฐต้องชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐ
ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ เช่น
ควรตรวจสอบเกษตรกรผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการให้ได้รับเงินชดเชยตรงตามข้อเท็จจริงในพื้นที่
ควรกำหนดราคาประกันรายได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
ควรกำหนดแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนในการปลูกปาล์มน้ำมัน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
77 | การปรับเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) | ศธ. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาและโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษา
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
สำหรับการขอรับจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
เห็นควรให้กระทรวงศึกษาธิการตรวจสอบสถานะจำนวนนักเรียนโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา
และอัตราการจ่ายเงินอุดหนุน ค่าจัดการเรียนการสอน
ในส่วนที่เป็นเงินสมทบเงินเดือนครูในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
ให้คำนวณเป็นอัตราต่อหัวนักเรียนต่อปี โดยใช้จำนวนครูหนึ่งคนต่อนักเรียน ๑๐
คนสำหรับระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา และจำนวนครูหนึ่งคนต่อนักเรียน ๑๕ คน
สำหรับระดับมัธยมศึกษา เป็นฐานในการคำนวณ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกับเงินสมทบเงินเดือนครูในโรงเรียนเอกชน
ประเภทอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรมีการติดตามประเมินผลการดำเนินการและการเบิกจ่ายการสมทบเงินเดือนครูและผู้ช่วยครู
เพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณของโรงเรียนเอกชนเป็นไปตามแนวทางการอุดหนุนค่าใช้จ่ายตามที่เสนอ
และควรเร่งบูรณาการฐานข้อมูลการอุดหนุนเงินนักเรียนพิการในภาพรวมทั้งประเทศ
เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการการศึกษาแก่นักเรียนพิการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
78 | ร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติดและพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 รวม 3 ฉบับ | ยธ. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติดและพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบด้วย ๑.๑ ร่างกฎกระทรวงการตรวจสอบทรัพย์สินและการแจ้งสิทธิ
การยื่นคำร้องขอผ่อนผัน การยึดหรืออายัด การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้
และการขอรับทรัพย์สินคืนและการคืนทรัพย์สิน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและการแจ้งสิทธิ
การยื่นคำร้องขอผ่อนผัน การยึดหรืออายัด
การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้
และการขอรับทรัพย์สินคืนและการคืนทรัพย์สิน
เพื่อประโยชน์ในการใช้อ้างอิงและบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอยู่ในฉบับเดียวกันอย่างเป็นระบบ ๑.๒
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการบำบัดรักษาของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการกับบุคคลผู้มีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากระทำความผิดฐานเสพ
หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดเพื่อเสพ และกำหนดตำแหน่งหรือระดับของเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส.
หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่จะมีหน้าที่และอำนาจดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ๑.๓
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการการขออนุมัติ การอนุมัติ และการรายงาน การแจ้งข้อหาในความผิดฐานสมคบ
และสนับสนุนช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๖๔ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุมัติ
การอนุมัติ และการรายงาน ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ รวม
๓ ฉบับดังกล่าว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม
และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น กรณีร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๒ การตรวจสอบหรือทดสอบ
หรือเก็บปัสสาวะ ในร่างข้อ ๘ (๑) ควรเพิ่มความว่า กรณีมีความเร่งด่วน
ให้ดำเนินการเท่าที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ควรแก้ไขข้อความในร่างข้อ
๓ ของร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๓
เพื่อมิให้ขัดกับแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ
สำหรับร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๑ กรณีร่างข้อ ๓๕
เกี่ยวกับการอายัดสิทธิเรียกร้องซึ่งบุคคลภายนอกต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย
ควรกำหนดให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โดยร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๑ เห็นว่า การตรวจสอบทรัพย์สินตามกฎกระทรวงนี้
ขอให้หน่วยงานที่รับคำขอความร่วมมือจากเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดซึ่งกำหนดไว้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานนั้น
ๆ และร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๓ เห็นว่า
หากศาลใช้ดุลยพินิจอนุญาตให้ออกหมายจับในมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๗ แล้ว
ไม่ควรจะต้องขออนุมัติทางเลขาธิการ ป.ป.ส. อีก
เนื่องจากการออกหมายจับดังกล่าวเป็นการใช้ดุลยพินิจของผู้พิพากษาแล้ว
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
79 | ขออนุมัติปรับกรอบวงเงินลงทุนและจัดหาแหล่งเงินเพิ่มเติม กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้แหล่งเงินกู้ ECP กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มงวด 27 ถึง 29 กรณีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และกรณีค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรจากการนำเข้า (Import VAT & Import Duty) พร้อมทั้งขออนุมัติจัดหาแหล่งเงินรองรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต และช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน | คค. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย
(รฟท.) ปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) (โครงการฯ
สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน ๒,๙๑๗,๗๕๒,๑๓๗.๙๕ บาท และอนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินในประเทศเพื่อให้ รฟท. กู้ต่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการฯ
ช่วงบางซื่อ-รังสิต ภายใต้กรอบวงเงิน ๗,๐๗๘,๘๙๓,๙๑๑.๐๙ บาท
เพื่อชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรจากการนำเข้าต่าง ๆ ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
จำนวน ๒,๐๑๑,๔๖๓,๙๒๒.๗๐
บาท จ่ายค่างานโยธา งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟฟ้า และค่าที่ปรึกษา
เนื่องจากความผันผวนของอัตราการแลกเปลี่ยน จำนวน ๔,๔๐๖,๗๔๑,๓๒๑.๑๙ บาท และชำระค่าอากรจากการนำเข้า จำนวน ๖๖๐,๖๘๘,๖๖๗.๒๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๕,๐๖๗,๔๒๙,๙๘๘.๓๙ บาท รวมทั้งอนุมัติให้ รฟท.
กู้เงินในประเทศและให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นที่ต้องชำระผู้รับจ้างในส่วนที่เป็นเงินเยนจากความผันผวนของอัตราการแลกเปลี่ยนเนื่องจากเงินบาทแข็งค่ามากกว่าที่ประมาณการไว้
และค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าของระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหารถตู้ไฟฟ้า
ของโครงการฯ ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน ๙๐๖,๒๘๘,๒๑๕.๒๕ บาท โดยให้ รฟท. รับภาระเงินต้น ดอกเบี้ย
และค่าใช้จ่ายอื่นในการกู้เงิน และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน
วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ
ของการกู้เงินตามความเหมาะสมและจำเป็น ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร
๐๗๒๐/๑๖๒๐ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๔)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ นร ๑๑๐๖/๕๙๒๙ ลงวันที่ ๘
ตุลาคม ๒๕๖๔) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง ที่ควรเร่งตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงานเพิ่ม
(Variation Order) และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการจ้างที่ปรึกษาในโครงการฯ
ให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว ให้ความสำคัญกับการติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
และพิจารณาแนวทางการลงทุนในส่วนต่อขยายให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงคมนาคมหารือกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณากำหนดแนวทางการบริหารโครงการลงทุนขนาดใหญ่อย่างเป็นระบบ
ครอบคลุมประเด็นการบริหารจัดการปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนดังกล่าว
อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
80 | ขอความเห็นชอบเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก 2022 (WAMSB World Championship 2022) | วธ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก
๒๐๒๒ (WAMSB World Championship 2022) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๑-๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ กรุงเทพมหานคร โดยวงเงินงบประมาณสำหรับการจัดการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก
๒๐๒๒ (WAMSB World Championship 2022)
เป็นเงินทั้งสิ้น ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้กระทรวงวัฒนธรรม (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เช่น
ให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล การใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) ภายใต้มาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ มาถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
และควรมีการเตรียมความพร้อมด้านการบริหารจัดการการแข่งขันในรูปแบบอื่น ๆ
ภายใต้วิถีปกติใหม่ อาทิ รูปแบบออนไลน์ เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลทำให้ไม่สามารถดำเนินการจัดกิจกรรมในรูปแบบปกติได้ในช่วงเวลาดังกล่าว
รวมทั้งให้การจัดประกวดดังกล่าวดำเนินการตามมาตรการและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรการป้องกันโรคโควิด-19
ที่ภาครัฐกำหนด รวมถึง ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรควิด-19 ในประเทศไทย
โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการจัดประกวดอย่างใกล้ชิด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |