ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 5 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 94 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพที่มีความซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่น | พม. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการการคืนเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุที่ได้นำเงินมาคืนทางราชการแล้ว
จำนวน ๒๘,๓๔๕ ราย เป็นเงินทั้งสิ้น ๒๔๕,๒๔๓,๑๘๙.๗๐ บาท และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และกระทรวงการคลัง
หาแนวทางการจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้สูงอายุรับเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่น
และได้นำเงินมาคืนให้ทางราชการทั้งในส่วนจำนวนเงินที่มีการนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
จำนวนที่นำส่งเป็นเงินอุดหนุนหรือเงินสะสมของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยเป็นไปตามคำวินิจฉัยของคระกรรมการกฤษฎีกา
(คระพิเศษ) รวมทั้งแจ้งให้มีการถอนฟ้องหรือระงับการบังคับคดีในกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการดำเนินคดีเรียกคืนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
เนื่องจากไม่มีข้อมูลหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกคืนได้ ทั้งนี้
ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา ๑ เดือน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการจ่ายเงินคืนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ได้นำเงินมาคืนทางราชการแล้วให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป ๒. ให้กระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงบประมาณ เช่น
กรณีที่เรียกเงินคืนดังกล่าวอยู่ที่เงินฝากคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อรอนำส่งคืน และเรียกเงินคืนแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำเข้าเงินสะสม
สามารถดำเนินการคืนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้สูงอายุได้ตามวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กรณีเรียกเงินคืนแล้วนำส่งกรมบัญชีกลาง
ให้กรมบัญชีกลางดำเนินการคืนเงินดังกล่าวให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อนำไปจ่ายคืนให้แก่ผู้สูงอายุ และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกฤษฎีกา
(คณะพิเศษ)
โดยเฉพาะการกำหนดเกณฑ์รายได้ของผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพโดยอาศัยฐานข้อมูลของหน่วยงานต่าง
ๆ มาประกอบ เพื่อให้การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุสอดคล้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เร่งพิจารณากำหนดนโยบายการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้ชัดเจนโดยเร็ว
และให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขระเบียบต่าง
ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง [ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง
การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖
(เรื่องเสร็จที่ ๖๑๑/๒๕๖๔)] ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | ขออนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 ของกรมประมง | กษ. | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้กรมประมงยืมเพื่อไปดำเนินการตามโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล
ปี ๒๕๖๕ ระยะที่ ๑ ของกรมประมง มีกำหนดชำระคืนภายใน ๓ ปี ระยะเวลาโครงการ พ.ศ.
๒๕๖๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยอนุมัติวงเงิน จำนวน ๕๑๐ ล้านบาท เป็นเงินยืม
(เงินหมุนเวียนจำนวน ๕๐๐ ล้านบาท และเงินจ่ายขาด จำนวน ๑๐ ล้านบาท
สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี
๒๕๖๕ ระยะที่ ๑ ของกรมประมงเพื่อเสริมสภาพคล่องในด้านปัจจัยการผลิต
(ค่าอาหารและค่าลูกพันธุ์กุ้ง)
ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลและสร้างความมั่นคงทางอาชีพ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๐
ต่อปี ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ เช่น
กรมประมงต้องกำกับดูแลการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
ควรมีการกำหนดมาตรฐานการเลี้ยงกุ้ง การผลิตกุ้งทะเล การแปรรูป
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการปัญหาโรคกุ้ง การปรับปรุงระบบการเพาะเลี้ยงให้ปลอดโรค
ให้ความสำคัญกับมาตรการติดตามและกำกับดูแลให้มีการผลิตกุ้งทะเลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานตลอดสายการผลิต
เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมกุ้งไทยกลับมาเป็นผู้นำการส่งออกอันดับต้นของโลกได้
ทั้งนี้
ให้มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินโครงการครอบคลุมทั้งระบบตั้งแต่กลุ่มเพาะและอนุบาลลูกกุ้ง
กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง และกลุ่มผู้แปรรูป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
43 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ และนายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์) | รง. | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงแรงงาน
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
จำนวน ๒ ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม
๒๕๖๕ เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้ ๑. นายนันทชัย
ปัญญาสุรฤทธิ์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
44 | นโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง | อก. | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการต่อนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยระยะแรกสมควรปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
พร้อมทั้งกำหนดสิทธิประโยชน์ให้เหมาะสม โดยแบ่งกิจการที่ต้องการส่งเสริมเป็น ๓
ประเภท ได้แก่ (๑) กลุ่มกิจการสำรวจแร่ (๒) กลุ่มกิจการทำเหมืองแร่
และ/หรือแต่งแร่ และ (๓) กลุ่มกิจการถลุงแร่หรือประกอบโลหกรรม
และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และกระทรวงอุตสาหกรรมประสานความร่วมมือหรือปรึกษาหารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและกรมทรัพยากรธรณี
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติพิจารณานำนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และนโยบายต่อเนื่องไปกำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่
ฉบับที่ ๒ ต่อไป เพื่อให้การบริหารจัดการมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดชนิดของแร่และประเภทอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่จะส่งเสริมในแต่ละช่วงเวลาให้มีความเหมาะสมชัดเจนสอดคล้องกับความต้องการใช้งานและทิศทางในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ
๒๐ ปี โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | ขออนุมัติดำเนินโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าทั่วไป | อก. | 18/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
46 | มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย | กก. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-19) อาทิ (๑)
ควรจัดเก็บข้อมูลนักแสดงชาวต่างชาติที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย
และจัดส่งให้กรมสรรพากรเป็นระยะ และ (๒)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจด้านอื่น ๆ
ให้มากขึ้นควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะการลดข้อจำกัดและกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่เป็นอุปสรรคต่อการถ่ายทำภาพยนตร์
การพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนดำเนินการผลักดันมาตรการสร้างแรงจูงใจในด้านอื่น
ๆ
ที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการยกเว้นภาษีนักแสดงชาวต่างชาติในครั้งนี้ให้เหมาะสมและครอบคลุม
รวมทั้งให้พิจารณาแนวทางการดำเนินการส่งเสริมและยกระดับจังหวัดเมืองรองต่าง ๆ
ให้สามารถใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้นด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
47 | พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรประจำปี 2564-2565 | นร.51 | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรประจำปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕
มีสาระสำคัญเพื่อป้องกัน ควบคุม แก้ไข
และฟื้นฟูสถานการณ์ที่เป็นภัยหรืออาจเป็นภัยอันเกิดจากบุคคลที่ก่อให้เกิดความไม่สงบสุข
ทำลาย หรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ
เสริมสร้างความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นกับประเทศ ให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข
มีความมั่นคง ปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน
เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ปัจจุบันอย่างจริงจังให้หมดสิ้นไป
เป็นต้น ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเสนอ
และให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรรับข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงาน
ป.ป.ส. รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณากำหนดโครงการสำคัญในประเด็นที่สำคัญเร่งด่วน ควรกำหนดจุดมุ่งเน้นของแผนและบูรณาการการแก้ปัญหาในห้วงปี
๒๕๖๕ ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดภายใต้แผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรประจำปี
๒๕๖๔-๒๕๖๕ ให้มีความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับแผนอื่น ๆ ที่กฎหมาย
ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีกำหนดด้วย (เช่น
แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ) โดยอาจพิจารณาปรับในส่วนของค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดที่เป็นโครงการสำคัญ
(Flagship Project) และเร่งด่วนเป็นลำดับแรก
ทั้งนี้
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
และวัดผลการดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมในทิศทางเดียวกันต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
48 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 2 โครงการ (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่) | กษ. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่
จำนวน ๒ โครงการ ประกอบด้วย โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดปราจีนบุรี จากเดิม ๑๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓-พ.ศ. ๒๕๖๕) เป็น ๑๕ ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓-พ.ศ. ๒๕๖๗) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
๙,๐๗๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา
จังหวัดเชียงใหม่ จากเดิม ๑๑ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-พ.ศ. ๒๕๖๕) เป็น ๑๖ ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-พ.ศ. ๒๕๗๐) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
๑๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐
บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
เร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
ควรรายงานให้สำนักงบประมาณทราบภายในกำหนดระยะเวลา ตามนัยข้อ ๗ (๒)
ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรพิจารณาผลกระทบสุขภาพที่เกิดขึ้นกับชุมชนที่เป็นผลมาจากการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ
ควรรายงานความคืบหน้าในการก่อสร้างเสนอคณะลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากลั่นกรองและเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเพื่อทราบทุก
๖ เดือน ต่อไป ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างการรับรู้
และการมีส่วนร่วมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มเติมจากที่ดำเนินการอยู่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. มอหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ประสานงานกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
(องค์การมหาชน)
ศึกษาและพัฒนาเทคนิควิธีการสำรวจพื้นที่สำหรับการดำเนินโครงการชลประทานต่าง ๆ
ให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้มีการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการให้ครบถ้วนรอบด้านในทุกมิติ
เพื่อมิให้เกิดปัญหาการดำเนินงานล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | การขออนุมัติดำเนินงานก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ของกรมทางหลวง | คค. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมทางหลวงดำเนินงานก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข
๗ ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ในวงเงินรวมทั้งสิ้น ๔,๕๐๘ ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ตามแผนบริหารหนี้สาธารณะ
และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสำหรับค่าจัดกรรมสิทธิ์ วงเงิน ๑๐๘ ล้านบาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
ทั้งนี้ ในส่วนของงบประมาณค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการดำเนินโครงการในกรอบวงเงิน รวม ๔,๕๐๘ ล้านบาท ให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง)
ดำเนินการตามความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๒๐/๓๕๖๔ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕) และให้กระทรวงคมนาคม
(กรมทางหลวง) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรใช้เงินกู้ต่างประเทศในการดำเนินโครงการ
ให้กรมทางหลวงเร่งรัดการดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
และให้กรมทางหลวงเร่งแก้ไขรายงาน EIA เพื่อเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา/จัดทำ
ร่างพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินฯ
ของที่ดินเอกชน/ดำเนินการขอใช้ที่ดินของรัฐ/สรรหาเอกชนไปพลางระหว่างรอผลการพิจารณารายงาน
EIA ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2565 - 2567 | อก. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก
(PM 2.5) ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗
โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สนับสนุนสินเชื่อให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย
กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร สถาบันชาวไร่อ้อย กลุ่มบุคคล และวิสาหกิจชุมชน
วงเงินปีละ ๒,๐๐๐ ล้านบาท รวม ๖,๐๐๐
ล้านบาท และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับการบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน ๗๘๙.๗๕
ล้านบาท ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการชดเชยดอกเบี้ยภายในกรอบวงเงินงบประมาณ ๗๘๙.๗๕
ล้านบาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามผลการดำเนินการจริง
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
และให้ความสำคัญในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นลำดับแรก ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการฯ อย่างใกล้ชิด
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ควรมีการนำข้อมูลแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกมาประกอบการพิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกอ้อยและพัฒนาแหล่งงน้ำ
ให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแหล่งน้ำและเครื่องจักรกลทางการเกษตรในการยกระดับประสิทธิภาพในการผลิตอ้อย
และควรมีการรายงานผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการลดต้นทุนการผลิตของชาวไร่อ้อยและการลดลงของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)
ที่สามารถลดได้จากการดำเนินโครงการ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
51 | รายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 | นร.12 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ยุบเลิกสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ขอให้มอบหมายคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
ดำเนินการเพื่อยุบเลิกหน่วยงานและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
พ.ศ. .... และการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวของคณะรัฐมนตรีให้นำรายงานการประเมินความคุ้มค่า
บทเรียน ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัด
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนไปประกอบการพิจารณาด้วย ๒.
ให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น
ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความละเอียด รอบคอบ ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมาย
และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเกษตรกรและผู้ยากจนที่เข้าร่วมโครงการ
รวมทั้งบุคลากรและทรัพยากรของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ควรเข้ามาเสริมการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในการแก้ปัญหาที่ดินทั้งประเทศโดยไม่ควรเป็นหน่วยงานที่สำนักงานในทุกจังหวัด
และไม่ควรซื้อที่ดินเอกชนมาดำเนินการเอง ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
52 | โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8 - 9 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | พน. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ ๘-๙
ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา ๖๐๐ เมกะวัตต์ พร้อมระบบส่งไฟฟ้า
ในวงเงินรวมทั้งสิ้น ๔๗,๔๗๐ ล้านบาท ๑.๒ อนุมัติงบประมาณประจำปี ๒๕๖๕ ตามแผนประมาณการเบิกจ่ายสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่
๘-๙ จำนวนเงินทั้งสิ้น ๓,๗๙๕ ล้านบาท ๒.
ให้กระทรวงพลังงานและ กฟผ. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น (๑)
การดำเนินโครงการฯ
ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับร่างแผนพลังงานแห่งชาติซึ่งสนับสนุนให้ไทยสามารถลดการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
(๒) กฟผ. ควรจัดทำรายงานการติดตามและประเมินผลการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เพื่อชี้แจงให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ (๓) กฟผ.
ควรดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่าตามมาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ และ (๔) กระทรวงพลังงานควรกำกับดูแลให้ กฟผ.
ดำเนินโครงการฯ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้มีการขอปรับเพิ่มเงินลงทุนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการในภายหลัง
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
53 | ข้อเสนอหลักการกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม | ป.ย.ป. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบข้อเสนอหลักการกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม
เป็นการกำหนดให้มีหลักการกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์มซึ่งมีหลักการที่สำคัญ ได้แก่
ให้ผู้ประกอบธุรกิจแฟลตฟอร์มอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างเหมาะสมผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองสิทธิในการใช้บริการแพลตฟอร์ม
ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลมีความร่วมมือและมีแนวทางการกำกับดูแลที่สอดคล้องกัน
มีการกำหนดหน้าที่พื้นฐานของผู้ประกอบธุรกิจทุกกลุ่มที่ต้องปฏิบัติกำหนดให้มีวิธีการหรือระบบที่สามารถรับแจ้งการกระทำความผิดหรือการใช้ข้อมูลที่ผิดกฎหมาย
มีการกำกับดูแลสัญญาระหว่างผู้ให้บริการสัญญาแพลตฟอร์มและผู้ใช้บริการ
รวมทั้งมีการรักษาความเป็นธรรมในการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม
เพื่อให้มีการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม มีการคุ้มครองผู้บริโภค
และกำหนดบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปองดองเสนอ และให้สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปองดองกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหน่วยงานเจ้าของเรื่องร่างกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม
และดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมายดังกล่าว
ตามมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.
๒๕๖๒ ทั้งนี้ ให้รับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ที่เห็นว่าในการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องปฏิบัติ
ควรพิจารณากำหนดการปฏิบัติที่สอดคล้องและไม่ซ้ำซ้อนกับหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจที่มีการกำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแลตามกฎหมายอื่นด้วย
ควรพิจารณาถึงความเชื่อมโยงกับกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
กำหนดมาตรการและกลไกการบังคับใช้ที่เหมาะสม
และเมื่อมีการจัดทำร่างกฎหมายหรือมีการออกกฎหมายอนุบัญญัติเพื่อขยายความในกฎหมายดังกล่าวแล้ว
ควรมีการหารือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ
และเกิดความเข้าใจร่วมกัน ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วเสนอคณะกรรมการพัฒนากฎหมายเพื่อจัดทำร่างกฎหมายต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
54 | ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) | คค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ได้รับการผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้นที่ ๑ เอ เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
(ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ๒. ให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ ๖/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๒
ตุลาคม ๒๕๖๓ อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น กระทรวงคมนาคม
(การรถไฟแห่งประเทศไทย) ต้องปฏิบัติตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
และมติคณะกรรมการชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้
การดำเนินการระยะต่อไปของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
หากมีความจำเป็นต้องขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำหรือการดำเนินการอื่นใดตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้สำเร็จลุล่วงและเกิดประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมทางรางของประเทศต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
55 | แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) | พม. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐)
มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท
เพิ่มคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้เพิ่มพูนศักยภาพของตนเองอย่างเต็มกำลังความสามารถ
ให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติ รองรับสังคมสูงวัยเชิงรุก ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นข้อเสนอแนะ
และข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณสำนักงาน ก.พ.
และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น ควรกำหนดบทบาทของหน่วยงานรับผิดชอบหลัก/หน่วยงานรับผิดชอบร่วมในรูปของผังกระบวนงานหรือ
Work Flow ให้ชัดเจน
ควรมีแนวทางในการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการที่ชัดเจน
อาจเพิ่มตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการเสริมสร้างพลังให้กับผู้สูงวัย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงสาธารณสุข
และกระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ที่เห็นว่าในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ
ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐) นั้น เห็นควรมอบหมายเพิ่มเติมให้กระทรวงกลาโหม
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อส่งเสริมการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยอาจร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย
เพื่อผลิตสิ่งอำนวยความสะดวก/อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ
และให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม
รวมทั้งอาจพิจารณาผลิตสิ่งอำนวยความสะดวก/อุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อการส่งออกอีกด้วย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
56 | (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2580) | นร.11 สศช | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
รับทราบข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรตาม (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว
(พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐) มีประเด็นสำคัญที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการไปพร้อมกันด้วย
ดังนี้ ๑.๑.
ปรับปรุงโครงสร้างระบบภาษีให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรที่แรงงานในระบบจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
โดยเฉพาะภาษีเงินได้ ๑.๒.
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจะทำให้กองทุนสวัสดิการสังคมต่าง ๆ
ที่มีอยู่และที่อาจจะตั้งขึ้นในอนาคตมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในขณะที่มีเงินกองทุนเท่าเดิมหรือน้อยลงซึ่งจะส่งผลต่อภาระด้านการเงินการคลังของรัฐในระยะยาว
จึงต้องปรับปรุงระบบสวัสดิการให้เหมาะสม ๑.๓.
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อการรักษาความมั่นคงของชาติในภาพรวมเนื่องจากจำนวนกำลังพลจะน้อยลง
หน่วยงานด้านความมั่นคงและกองทัพจึงต้องพัฒนาให้ทันการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย ๒
เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ประกอบด้วยยุทธศาสตร์สำคัญ ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพ
และพัฒนาระบบที่เอื้อต่อการมีและเลี้ยงดูบุตร (๒) การพัฒนายกระดับผลิตภาพประชากร
(๓) การยกระดับความมั่นคงทางการเงิน (๔) การสร้างเสริมสุขภาวะ
เพื่อลดการตายก่อนวัยอันควรและมีระบบดูแลระยะยาวและช่วงท้ายของชีวิต (๕)
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพกับทุกกลุ่มวัย และ (๖)
การบริหารจัดการด้านการย้ายถิ่นฐาน ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
ความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และกระทรวงมหาดไทย เช่น
ควรกำหนดตัวชี้วัดของการพัฒนาในแต่ละยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่ ๗
การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ในประเด็นการปรับลดกำลังคนภาครัฐ
สร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาพัฒนางานให้มากขึ้น
ควรมุ่งเน้นประเด็นความเหมาะสมและสมดุลของโครงสร้างประชากรทุกกลุ่มวัยให้ชัดเจน เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
57 | การเสนอความเห็นเรื่อง การกำหนดให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อนหรือนำไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคมตามร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
58 | ข้อเสนองบประมาณการดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป ตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 และวันที่ 19 เมษายน 2565 | มท. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย
(การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่
๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕ และวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๕ ในมาตรการให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร
(ค่า Ft) ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทกิจการขนาดเล็ก
(ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน ๓๐๐ หน่วยต่อเดือน
เป็นระยะเวลา ๔ เดือน (เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๖๕) โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ในกรอบวงเงินจำนวนทั้งสิ้น ๑,๗๒๔,๙๕๐,๐๐๐ บาท ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด
ที่ นร ๐๗๒๗/๗๑๐๗ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม
๒๕๖๕) ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
ที่เห็นควรให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
พิจารณาปรับปรุงหรือควบคุมการดำเนินงานให้มีต้นทุนที่เหมาะสมและยืดหยุ่นได้ตามความสภาวะการเปลี่ยนแปลง
เพื่อไม่ให้กระทบกับสภาพคล่องในการดำเนินงานในระยะสั้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
59 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2/2565 | นร.04 | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
(กตน.) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๕ ผ่านระบบการประชุมทางไกล
และให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุมฯ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยผลการประชุมฯ ประกอบด้วย (๑) การฉ้อโกงหลอกลวงการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์
(๒) มาตรการส่งเสริมการจ้างงาน และ (๓) รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ และงบประมาณที่เกินกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
60 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย | นร. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
ของกระทรวงมหาดไทย ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี
คณะที่ ๔ ตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการอนุญาตให้คนต่างด้าวมีศักยภาพสูงเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการพำนักระยะยาว
(Long-term resident visa : LTR Visa) ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศไทย
โดยมีอายุการตรวจลงตรา ๑๐ ปี และเสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราครั้งเดียวในอัตรา ๕๐,๐๐๐ บาท และให้ดำเนินการต่อไปได้
|