ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 5 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 94 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน | มท. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในวงเงิน ๒,๒๕๗,๙๘๙,๖๐๐ บาท ให้กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
ใช้จ่ายเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานสูงขึ้น
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๕/๑๖๘๓๐
ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๕) และให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพลังงาน
และหน่วยงานรับผิดชอบรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรเร่งรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แผนงานเชิงรุกของรัฐบาล : การยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) (พ.ศ. 2565 - 2567) ของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา | สว. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง แผนงานเชิงรุกของรัฐบาล : การยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
(Corruption Perceptions Index : CPI) (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗) ของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล
วุฒิสภา ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่าสามารถขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวได้
รวมถึงได้มีการให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานเพิ่มเติม
และได้ให้ข้อสังเกตในบางมาตรการที่อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้
หรืออาจต้องหารือในรายละเอียดเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบต่อไปในอนาคต
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ และให้แจ้งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2566-2569 | ยธ. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๙
ซึ่งถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทสังคมและแนวทางการจัดทำข้อเสนอวิจัยตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกอบด้วย (๑) กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญา
เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมอย่างสงบสุข (๒)
กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง ปกครอง
เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมอย่างสงบสุข (๓)
กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากฎหมายให้กฎหมายมีความทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและภาวะวิกฤติ
(๔) กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการยุติธรรม
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรม ทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
และภาวะวิกฤติ และ (๕) กรอบการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
ให้มีระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
และภาวะวิกฤติ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติเสนอ
และให้คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานศาลปกครอง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/2565 | อก. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น
PM 2.5 ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเป็นกรณีเฉพาะเป็นการชั่วคราว
ภายในกรอบวงเงินโครงการ ๘,๓๑๙,๒๓๙,๐๑๐.๐๙ บาท
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงาน
และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป
และเพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเห็นควรให้มีระบบกลไกในการตรวจสอบให้มีมาตรฐาน
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และครบถ้วน รวมทั้งปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี
และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๗๖๒ ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๕)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำกับดูแลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ให้เร่งรัดการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยให้ได้รับเงินโดยด่วน
และขอให้มีการกำกับดูแลการตรวจสอบการจ่ายเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ถูกต้อง ครบถ้วน โดยเคร่งครัด ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนการลดพื้นที่เผาอ้อย
หาแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) อย่างยั่งยืน
เพื่อลดการใช้เงินงบประมาณจากภาครัฐ
บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้
รวมถึงส่งเสริมและหนุนเสริมให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัด
“อ้อยสดคุณภาพดี” ส่งโรงงาน เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๓/๑๓๘ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕)
ที่เห็นควรมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังภาครัฐ
ได้กำหนดให้มีการประชุมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาความจำเป็นของโครงการ
ประกอบด้วย โครงการประกันรายได้ของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา
มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย
โครงการที่เกี่ยวกับการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร โครงการประกันภัยพืชผล เป็นต้น
และพิจารณาถึงความสามารถของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่จะต้องตั้งงบประมาณรองรับ
รวมถึงภาระทางการคลัง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนพิจารณาถึงความคุ้มค่า
ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2537 เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล | ทส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๕ มกราคม ๒๕๓๗ เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ
จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์
กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี
และไม้ตาล จากเดิม “เห็นควรให้ความเห็นชอบในหลักการอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย)
เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส
สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม
มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
โดยให้ทดลองดำเนินการในบางพื้นที่ก่อน
เช่นเดียวกับการแปรรูปไม้ยางพาราตามหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒
พฤษภาคม ๒๕๒๔ ทั้งนี้ ในการอนุญาตให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุญาตและมาตรการตรวจสอบควบคุมเช่นเดียวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ มกราคม ๒๕๓๒” เป็น “อนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้
(โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์
กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี
ไม้ตาล และไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน
โดยมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และมาตรการตรวจสอบควบคุมตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้กำหนด”
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการเพิ่มไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกขึ้นอยู่ในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ต้องมีกฎหมาย ระเบียบ มาตรการ หรือเงื่อนไขกำชับไว้ชัดเจน
ในการนำวัตถุดิบป้อนโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับของโรงงาน
ให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรี ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และควรมีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ได้จากอุตสาหกรรมไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ
ให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้มีที่มาจากการตัดไม้ทำลายป่า
ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
และเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้อย่างคุ้มค่า
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม
คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการตรวจสอบที่มาของไม้ที่จะนำมาแปรรูปให้ชัดเจนและรัดกุม
เพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบตัดไม้จากป่าธรรมชาติ หรือการนำไม้ที่ได้จากที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิมาแปรรูปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน สำหรับโครงการถนนเลี่ยงเมืองสตูลฝั่งตะวันออก ตำบลคลองขุด ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล | คค. | 30/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
สำหรับโครงการถนนเลี่ยงเมืองสตูลฝั่งตะวันออก ตำบลคลองขุด ตำบลพิมาน อำเภอเมือง
จังหวัดสตูล ของกรมทางหลวงชนบท ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้พิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
เพื่อใช้ประกอบในการดำเนินโครงการต่อไปแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้หน่วยงานผู้ดำเนินโครงการฯ
ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ในคราวประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๕
มกราคม ๒๕๖๔ อย่างเคร่งครัดต่อไป รวมถึงมาตรการด้านสาธารณสุขและความปลอดภัย
เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากการก่อสร้างโครงการ ให้กระทรวงคมนาคมปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ กรณีการดำเนินการโครงการใด ๆ
ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า
จะต้องมีการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ดังกล่าวด้วย
และให้กรมทางหลวงชนบทเร่งดำเนินโครงการฯ
ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้สามารถบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดบนเส้นทางถนนสายหลักในพื้นที่ได้โดยเร็ว
พร้อมทั้งปฏิบัติตามความเห็นเพิ่มเติมของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่ ของนายประสาน ยุวานนท์ ที่จังหวัดนครราชสีมา | อก. | 30/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้นายประสาน
ยุวานนท์ ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕
(เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเรื่อง
การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำมูลและชี และข้อเสนอแนะมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ)
วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓ (เรื่อง การอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้)
และวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ [เรื่อง
ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ ชั้นที่ ๑ บี ๑ เอเอ็ม และ๑ บีเอ็ม
เพื่อทำเหมืองแร่ ของบริษัท พีทีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ที่จังหวัดสระบุรี]
เพื่อเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๕ (เรื่อง
การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ)
เพื่อเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม
สำหรับการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างที่จังหวัดนครราชสีมา
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | แนวทางการให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ และท่าอากาศยานกระบี่ แทนกรมท่าอากาศยาน | คค. | 30/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 | วธ. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง...สู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ กรณีศึกษา ทรัพยากรป่าชายเลน ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา | สว. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | ขอความเห็นชอบการเพิ่ม "กิจกรรมส่งเสริมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Cross-Border e-Commerce) ภายใต้โครงการ SMEs Pro-active" | พณ. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 11/2565 | นร. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. .... | นร.09 | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๕) ฉบับปรับปรุง ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนางานด้านสถิติของประเทศให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ
รวมทั้งแผนปฏิบัติการภายใต้ร่างแผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการและสนับสนุนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
เห็นชอบการเปลี่ยนชื่อและปรับปรุงองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ
ของคณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย ๓ ด้าน (ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ
และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการ
การจัดประเภทผลิตภัณฑ์กลางประเทศไทย ปี ๒๕๖๓ และมาตรฐานการผลิตสถิติ ตัวแปร : สกุลเงิน
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ๓.
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.
และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น ควรจัดทำมาตรฐานสถิติเป็นชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ
ควรส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนใช้ข้อมูลสถิติจากฐานข้อมูลสถิติของประเทศ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | แต่งตั้งผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค (นายวิบูลย์ วงสกุล) | มท. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายวิบูลย์ วงสกุล
เป็นผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในปีแรกอัตราเดือนละ
๒๕๐,๐๐๐ บาท
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป
แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
สำหรับสิทธิประโยชน์อื่นให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ | นร.12 | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ทบทวนการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ (เรื่อง
รายงานการประเมินผลองค์การมหาชนตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๖ มกราคม
๒๕๕๘ เรื่อง การทบทวนความจำเป็นในการมีอยู่ขององค์การมหาชน)
และให้พิจารณาการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) ต่อไป
ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอ ๒. ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงาน
ก.พ.ร. ที่ควรเร่งดำเนินการจัดทำข้อมูลในรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่า
ต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะได้รับทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
จากการดำเนินการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์
เปรียบเทียบกับการจัดตั้งสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเป็นองค์การมหาชน
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาทบทวนแนวทางในการดำเนินการ
โดยคำนึงถึงภาระด้านงบประมาณของภาครัฐ
และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการอย่างรอบด้าน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (สภาผู้แทนราษฎร) | สผ. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 7 | กต. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (วุฒิสภา) | สว. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | ขออนุมัติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง | ทส. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ | กค. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์
๒,๙๒๓,๓๙๗,๒๕๐ บาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลัง
(กรมสรรพสามิต) รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่เห็นควรเร่งรัดให้มีการเบิกจ่ายและจัดการงบประมาณไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยด่วน
เร่งหามาตรการส่งเสริมให้เกิดผู้ผลิตชิ้นส่วนสำคัญในรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ
ควรมีกลไกการติดตามมาตรการส่งเสริมอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ของมาตรการและผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากมาตรการส่งเสริมจริง
สนับสนุนการผลิตและใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มรถโดยสารตั้งแต่ขนาด ๑๒ ที่นั่ง
ไปจนถึงขนาดมากกว่า ๓๐ ที่นั่ง รวมถึงการบรรทุกสำหรับการขนส่งและโลจิสติกส์
ควรพิจารณาหาวิธีการใช้งบประมาณจริงอย่างประหยัด
ควรเร่งรัดและส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาดให้เพียงพอสำหรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศ
ควรสนับสนุนกลไกทางกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และสังคมเพื่อนำไปสู่แนวทางการจัดเก็บ
รวบรวม นำกลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิล ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|