ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค (Structural Reform Ministerial Meeting) ครั้งที่ 3 | นร.11 | 15/06/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค
(Structural Reform Ministerial Meeting : SRMM) ครั้งที่ ๓ ในวันพุธที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๔
โดยผ่านระบบการประชุมทางไกลร่วมกับรัฐมนตรีของเศรษฐกิจเอเปคให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรีฯ
โดยไม่มีการลงนาม สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ (๑) การประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการปฏิรูปโครงสร้าง
(SRMM) มีวาระการหารือ เช่น แนวทางการฟื้นตัวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนการปฏิรูปโครงสร้าง
ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจมหาภาคและจุลภาคที่ส่งเสริมการฟื้นตัวอย่างมีประสิทธิภาพจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
(๒) สาระสำคัญร่างแถลงการณ์ร่วมของที่ประชุมฯ เช่น
ตระหนักถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปฏิรูปโครงสร้าง
ทบทวนวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปคและรับรองการยกระดับวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค
ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๘
เน้นย้ำความสำคัญของเครื่องมือที่จะช่วยส่งเสริมการปฏิรูปโครงสร้างและภารกิจอื่น ๆ
(๓)ผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ เช่น ส่งเสริมบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศ สร้างความเชื่อมั่นแก่นานาประเทศผ่านการเน้นย้ำในเวทีการประชุมรัฐมนตรีเอเปค
การพัฒนากฎระเบียบที่มีความโปร่งใสและบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
และการพัฒนาที่ครอบคลุมทั่วถึง
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านการปฏิรูปโครงสร้าง ครั้งที่ ๓ (Ministerial Statement of the Third Structural
Reform Ministerial Meeting)
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวและให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. ที่เห็นว่าเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเป็นหลักการว่า
เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับต่าง ๆ ASEAN
APEC หรือ RCEP หรือการประชุมกรอบความร่วมมือต่าง
ๆ แล้ว ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งเวียนให้ทุกส่วนราชการทราบด้วย
และการปฏิรูปโครงสร้างในระยะ ๕ ปีต่อไป ในการยกระดับวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค
ควรกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของการจัดทำรายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น
แผนงานระยะเวลาดำเนินการ และตัวชี้วัด ให้เกิดความชัดเจน และ La Serena
Roadmap ได้ให้ความสำคัญกับการยกระดับบทบาทสตรีเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 และบริบทการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ
ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วควรต้องพิจารณากลุ่มเป้าหมายอื่นในการสร้างโอกาสและความเท่าเทียมด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|