ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 58 จากข้อมูลทั้งหมด 58 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ไตรมาสที่ 2) | นร.07 | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ
และผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ (ไตรมาสที่ ๒) ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ สรุปได้ ดังนี้ ๑. ผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ (ไตรมาสที่ ๒) ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น ๓,๑๐๐,๐๐๐.๐๐๐๐ ล้านบาท
มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน ๑๕๙๓,๕๕๑.๓๓๙๑ ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๔๐ มีการก่อหนี้แล้ว จำนวน ๑,๘๒๐,๖๘๐.๙๒๙๘ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๕๘.๗๓
สูงกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ ๐.๔๐ และ ๒.๔๙
(เป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้ ร้อยละ ๕๑.๐๐ และ ๕๖.๒๔
ตามลำดับ) ๒. ปัญหาและอุปสรรค เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) ยังคงยึดเยื้อและรุนแรง ประกอบกับสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
และความแปรปรวนของสภาพอากาศทำให้เกิดภัยพิบัติในหลายพื้นที่ของประเทศ
ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ รวมถึงการขาดแคลนแรงงาน
เป็นต้น ๓.
ข้อเสนอแนะ เช่น
หน่วยรับงบประมาณควรเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายและหรือแผนที่กำหนดไว้
และให้หัวหน้าส่วนราชการกำกับดูแลการรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ
รวมทั้งปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขโดยเคร่งครัด เป็นต้น
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | การเสนอความเห็นเรื่อง การกำหนดให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อนหรือนำไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคมตามร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
43 | ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง | คค. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง
และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน
ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง โดยร่างแถลงการณ์ร่วมฯ มีสาระสำคัญเพื่อเน้นย้ำบทบาทสำคัญของการบินพลเรือนในการสร้างความเชื่อมโยงเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกโดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19
นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำบทบาท ของผู้นำการบินในการสนับสนุนการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ
มาใช้เพื่อพัฒนาภาคการบินพลเรือนให้มีความปลอดภัย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน
ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือในการรักษาประสบการณ์ของบุคลากรการบินที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ ในลักษณะหลักสูตรการฝึกอบรมทบทวน (Refresher/Requalification Training) ซึ่งจะช่วยให้รักษามาตรฐานบุคลากรภาคการบินของไทยให้พร้อมในการประกอบอาชีพในระดับสากลต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
44 | ขออนุมัติดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทย | คค. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
ในกรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) ๒.
เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ยืมเงินตามนัยมาตรา ๓๙ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายใต้กรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้น ๓.
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขอปรับเพิ่มเงินลงทุน
(Cost Overrun) ในอนาคต
ซึ่งอาจกระทบต่อผลการดำเนินงานและผลตอบแทนการลงทุน รวมทั้งอาจเกิดความล่าช้าในการให้บริการและไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ๔.
ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้และจำเป็นต้องติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๕.
ให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับแนวโน้มการประกอบกิจการของรัฐวิสาหกิจต่าง
ๆ ในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | รายงานการถอดบทเรียนการดำเนินการของส่วนราชการและจังหวัดในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2564 | นร.12 | 19/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานการถอดบทเรียนการดำเนินการของส่วนราชการและจังหวัดในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ โดยเป็นการสรุปบทเรียนในการบริหารจัดการผลกระทบจากโควิด-๑๙
ในภาพรวมของส่วนราชการและจังหวัด
ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานและให้บริการประชาชนได้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพหากเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต
โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ เช่น
การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลเพื่อเป็นกลไกที่สำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของภาครัฐในการให้บริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มบริการแบบเบ็ดเสร็จ
และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการและระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการทำธุรกรรมกับภาครัฐ
การจัดทำและทบทวนแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกแบบ การให้บริการผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ๒.
เห็นชอบข้อเสนอแนะการบริหารงานและการให้บริการประชาชนกรณีเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้สำนักงาน
ก.พ.ร. ติดตามความคืบหน้าและรายงานต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
46 | รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กองทุนยุติธรรม | ยธ. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ กองทุนยุติธรรม (กองทุนฯ) มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (๑)
ความสำเร็จของการดำเนินงานตามมาตรฐานระยะเวลางานบริการของกองทุนฯ (๒) ความสำเร็จของการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนของสำนักงานกองทุนฯ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (๓) การดำเนินงานที่สำคัญตามภารกิจของกองทุนฯ
เช่น การช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี และการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
(๔) การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี ๒๕๖๔ และ (๕)
รายงานการเงินของกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ซึ่งประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
47 | ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... | นร.09 | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรน้ำ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการของกรมทรัพยากรน้ำ โดยเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานจากสำนักและศูนย์เป็นกอง
และปรับปรุงหน้าที่และอำนาจให้สอดคล้องกับโครงสร้างของกรมทรัพยากรน้ำที่ภารกิจบางส่วนได้โอนไปจัดตั้งเป็นสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ เช่น
ให้สำนักงานเลขานุการกรมมีภารกิจด้านการสนับสนุนการตรวจราชการและภารกิจด้านงานกฎหมาย
ปรับหน้าที่และอำนาจของกองการจัดสรรน้ำให้รองรับการควบคุมกำกับการดำเนินการและส่งเสริมเกี่ยวกับสัมปทานประกอบกิจการประปา
เพิ่มหน้าที่และอำนาจของกองยุทธศาสตร์และแผนงานให้มีหน้าที่และอำนาจในการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับประเทศด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสาธารณะ
ปรับภารกิจของกองวิเคราะห์และประเมินสถานการ์น้ำให้รองรับการจัดทำข้อมูล
บูรณาการข้อมูลทรัพยากรน้ำ การติดตาม ควบคุมดูแล การจัดสรรน้ำ และการวิเคราะห์
คาดการณ์สภาวะวิกฤตน้ำ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
48 | ขอความเห็นชอบการรับรองร่างเอกสารขอบเขตอำนาจหน้าที่ของการประชุมอาเซียนว่าด้วยแรงงานต่างด้าวและร่างเอกสารขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการด้านการตรวจแรงงานอาเซียนและการประชุมวิชาการว่าด้วยการตรวจแรงงานอาเซียน | รง. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | ผลการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย ครั้งที่ 2 | พณ. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | ขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีต่อร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue ครั้งที่ 6 (The Joint Declaration of the Abu Dhabi Dialogue Sixth Consultation) | รง. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี
Abu Dhabi Dialogue ครั้งที่ ๖ (The Joint Declaration of the Abu Dhabi Dialogue
Sixth Consultation) โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือที่สำนักเลขาธิการการประชุมระดับรัฐมนตรี
Abu Dhabi Dialogue (ADD) จะให้ความสำคัญต่อไปในอนาคต ได้แก่
(๑) การพัฒนาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของแรงงานที่มีสัญญาจ้างชั่วคราว (๒)
การอำนวยความสะดวกและยกระดับการเคลื่อนย้ายฝีมือแรงงานและการเทียบคุณวุฒิแรงงานระหว่างประเทศผู้รับและประเทศผู้ส่งแรงงาน
เพื่อตอบสนองต่อภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปของงาน (๓)
การแก้ไขปัญหาข้อท้าทายที่เกิดจากการระบาดของเชื้อโควิด ๑๙ (๔)
การบูรณาการเพศภาวะในนโยบายด้านการส่งเสริมการจ้างงาน และ (๕)
การส่งเสริมความร่วมมือภายในภูมิภาค ระหว่างภูมิภาค และระหว่างประเทศ
รวมถึงข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามความร่วมมือดังกล่าว เช่น
ให้มีการศึกษาและการประเมินผลการดำเนินงานตามความร่วมมือที่สำคัญดังกล่าวด้วย
เป็นต้น (เป็นการเวียนเอกสารให้ประเทศสมาชิกรับรองโดยไม่มีการลงนามและไม่ได้กำหนดเวลา)
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
51 | ขอความเห็นชอบร่างข้อตกลงด้านแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย | รง. | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างข้อตกลงว่าด้วยการจัดหาแรงงานทำงานบ้านระหว่างกระทรวงแรงงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
และร่างข้อตกลงว่าด้วยการจัดหาแรงงานระหว่างกระทรวงแรงงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาแรงงานไปทำงานในประเทศซาอุดีอาระเบียอย่างถูกกฎหมายและปกป้องสิทธิของนายจ้างและแรงงาน
รวมถึงการบังคับใช้กฎระเบียบสัญญาจ้างระหว่างกัน และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างข้อตกลงด้านแรงงานฯ
ทั้งสองฉบับ ในนามของผู้แทนไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมซาอุดีอาระเบียหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้ลงนามร่วมฝ่ายซาอุดีอาระเบีย และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
ให้ลงนามในข้อตกลงด้านแรงงานฯ ทั้งสองฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ เช่น
ขอให้ปรับแก้ถ้อยคำเพื่อความถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น และปรับแก้ถ้อยคำของร่างความตกลงฯ
ทั้งภาษาไทยและภาษาอารบิกให้สอดคล้องกับร่างภาษาอังกฤษด้วย
ปรับเพิ่มประโยคก่อนการลงนามของความตกลงฯ ทั้งสองฉบับ ดังนี้ “IN WITNESS
WHEREOF the undersigned, being duly authorized thereto by their respective
Governments, have signed this Agreement” ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างข้อตกลงด้านแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
ทั้ง ๒ ฉบับ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
52 | ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 11 | กต. | 22/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา
ครั้งที่ ๑๑ ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งกัมพูชา
(นายปรัก สุคน) เป็นประธานร่วมกัน โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ
ได้แก่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมโดยเร็วจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙
การรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนและการส่งเสริมมิตรภาพอันใกล้ชิดระหว่างประชาชนไทยและกัมพูชา
ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในประเด็นอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน และมอบหมายให้ส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมฯ
ต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เช่น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด และให้ความสำคัญในการหารือด้านเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
ปรับปรุงถ้อยคำในบันทึกการประชุมฯ
ฉบับภาษาไทยและประเด็นการดำเนินการตามตารางติดตามผลการประชุมฯ
เพื่อให้เนื้อหาในเอกสารดังกล่าวมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
53 | รายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของโฆษกกระทรวง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี และผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ ประจำเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2564 | นร.02 | 08/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของโฆษกกระทรวง
โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี และผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์
ประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๖๔ และมอบหมายให้โฆษกกระทรวง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี
แถลงข่าวและชี้แจงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงอย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์
ซึ่งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
ได้มีการประชาสัมพันธ์และชี้แจงในประเด็นมาตรการการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) และสถานการณ์อุทกภัยและการช่วยเหลือประชาชน ตามที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
54 | ขออนุมัติปรับกรอบวงเงินลงทุนและจัดหาแหล่งเงินเพิ่มเติม กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้แหล่งเงินกู้ ECP กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มงวด 27 ถึง 29 กรณีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และกรณีค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรจากการนำเข้า (Import VAT & Import Duty) พร้อมทั้งขออนุมัติจัดหาแหล่งเงินรองรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต และช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน | คค. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย
(รฟท.) ปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) (โครงการฯ
สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน ๒,๙๑๗,๗๕๒,๑๓๗.๙๕ บาท และอนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินในประเทศเพื่อให้ รฟท. กู้ต่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการฯ
ช่วงบางซื่อ-รังสิต ภายใต้กรอบวงเงิน ๗,๐๗๘,๘๙๓,๙๑๑.๐๙ บาท
เพื่อชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรจากการนำเข้าต่าง ๆ ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
จำนวน ๒,๐๑๑,๔๖๓,๙๒๒.๗๐
บาท จ่ายค่างานโยธา งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟฟ้า และค่าที่ปรึกษา
เนื่องจากความผันผวนของอัตราการแลกเปลี่ยน จำนวน ๔,๔๐๖,๗๔๑,๓๒๑.๑๙ บาท และชำระค่าอากรจากการนำเข้า จำนวน ๖๖๐,๖๘๘,๖๖๗.๒๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๕,๐๖๗,๔๒๙,๙๘๘.๓๙ บาท รวมทั้งอนุมัติให้ รฟท.
กู้เงินในประเทศและให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นที่ต้องชำระผู้รับจ้างในส่วนที่เป็นเงินเยนจากความผันผวนของอัตราการแลกเปลี่ยนเนื่องจากเงินบาทแข็งค่ามากกว่าที่ประมาณการไว้
และค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าของระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหารถตู้ไฟฟ้า
ของโครงการฯ ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน ๙๐๖,๒๘๘,๒๑๕.๒๕ บาท โดยให้ รฟท. รับภาระเงินต้น ดอกเบี้ย
และค่าใช้จ่ายอื่นในการกู้เงิน และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน
วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ
ของการกู้เงินตามความเหมาะสมและจำเป็น ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร
๐๗๒๐/๑๖๒๐ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๔)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ นร ๑๑๐๖/๕๙๒๙ ลงวันที่ ๘
ตุลาคม ๒๕๖๔) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง ที่ควรเร่งตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงานเพิ่ม
(Variation Order) และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการจ้างที่ปรึกษาในโครงการฯ
ให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว ให้ความสำคัญกับการติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
และพิจารณาแนวทางการลงทุนในส่วนต่อขยายให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงคมนาคมหารือกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณากำหนดแนวทางการบริหารโครงการลงทุนขนาดใหญ่อย่างเป็นระบบ
ครอบคลุมประเด็นการบริหารจัดการปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนดังกล่าว
อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
55 | แจ้งคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ. 626/2559 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 1006/2564 ระหว่าง นางสุรีย์ลักษณ์ คงเจริญโชค ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรและความรับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย | อส. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขดำที่ อ. ๖๒๖/๒๕๕๙
คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๑๐๐๖/๒๕๖๔ ระหว่าง นางสุรีย์ลักษณ์ คงเจริญโชค ผู้ฟ้องคดี
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน ผู้ถูกฟ้องคดี (คณะรัฐมนตรี
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๖) (เรื่อง
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
และความรับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย) ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นในส่วนของค่าเสียหายทางจิตใจและอัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระแก่คู่ฟ้องคดี
โดยยกฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๖ (คณะรัฐมนตรี)
ตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
56 | ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี | กต. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่
๒๕-๒๖ มกราคม ๒๕๖๕ มีเนื้อหาสำคัญ คือ การปรับประกาศความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียให้เป็นปกติ
โดยมุ่งเน้นส่งเสริมความร่วมมือทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีเพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย
ตลอดจนเห็นชอบสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการหลังฟื้นฟูความสัมพันธ์ อาทิ
การแต่งตั้งเอกอัครราชทูต และการจัดตั้งกลไกการหารือทวิภาคี ตามที่กระทรวงการต่างประทศเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียของนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
57 | การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 1 | กค. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ครั้งที่ ๑
ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ตามมติที่ประชุม
ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เช่น การปรับปรุงแผนการก่อหนี้ใหม่
การบรรจุโครงการพัฒนา โครงการ
และรายการเพิ่มเติมในการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕
ครั้งที่ ๑ จำนวน ๘ โครงการ/รายการ เป็นต้น
และการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการก่อหนี้ใหม่ การกู้มาและการนำไปให้กู้ต่อ
การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ
ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
รวมทั้งอนุมัติการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนา
และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ภายใต้กรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ
๒๕๖๕ ปรับปรุงครั้งที่ ๑ และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน
เงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ ในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
ตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะเสนอ และให้คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
(การรถไฟแห่งประเทศไทย) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่เห็นว่าควรกำกับ ติดตาม
และเร่งรัดการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงินกู้ของหน่วยงานในสังกัดให้สอดคล้องและบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนดไว้
การรถไฟแห่งประเทศไทยควรเร่งดำเนินการหารายได้จากแหล่งอื่นเพิ่มเติม
การกู้เงินควรพิจารณาให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพคล่องทางการเงินในแต่ละช่วงเวลา
ควรติดตามสถานการณ์พลังงานในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด
รวมถึงพิจารณาประสิทธิผลและความคุ้มค่าของการตรึงราคาพลังงาน เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
58 | รายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของโฆษกกระทรวง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี และผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ ประจำเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2564 | นร.02 | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของโฆษกกระทรวง
โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี
และผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์
ประจำเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ๒๕๖๔ และมอบให้โฆษกกระทรวง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี
แถลงข่าวและชี้แจงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงอย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์
ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ได้มีการประชาสัมพันธ์และชี้แจงในประเด็นการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙)
และมาตรการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-๑๙
ตามที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติเสนอ
|