ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 58 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | ขออนุมัติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง | ทส. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (Thai National Committee for International Council of Museum) | วธ. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | การจัดทำโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) ของสำนักงบประมาณ ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) | พม. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | การปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรโมร็อกโกประจำกรุงเทพมหานครเป็นการถาวร เนื่องจากการถึงแก่กรรมของนายจิระ รัตนะรัต กงสุลกิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรโมร็อกโกประจำกรุงเทพมหานคร | กต. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรโมร็อกโกประจำกรุงเทพมหานครเป็นการถาวร
ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๕ และสิ้นสุดหน้าที่ของ นายจิระ รัตนะรัต กงสุลกิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรโมร็อกโกประจำกรุงเทพมหานคร
เนื่องจากการถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๕
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (รองศาสตราจารย์ธีระเดช เจียรสุขสกุล) | ศธ. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ธีระเดช
เจียรสุขสกุล เป็นผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | งบการเงินของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2564 ที่เปลี่ยนแปลงไปจากรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2564 | กสทช. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบงบการเงินของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๔ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๔ ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2565 - 2570 | อว. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๗๐ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำร่างแผนปฏิบัติการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยร่างแผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์
“ประเทศไทยเกิดระบบนิเวศที่ครบถ้วนและเชื่อมโยงแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในปี พ.ศ. ๒๕๗๐”
และวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
รวมทั้งเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคการศึกษาที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนและดำเนินงานที่สอดคล้องกัน ประกอบด้วย ๕
ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม
กฎหมายและกฎระเบียบสำหรับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (๒)
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(๓) การเพิ่มศักยภาพบุคลากรและการพัฒนาการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ (๔)
การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ (๕)
การส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงมหาดไทย เช่น
ควรมีการทดลองร่วมกับภาคเอกชนในการนำเทคโนโลยี AI
มาใช้ในลักษณะ Sandbox เพิ่มเติมจากการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างครอบคลุมในทุกมิติ
ซึ่งจะทำให้สามารถเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ได้
และควรส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำในการขับเคลื่อนและพัฒนา AI โดยภาครัฐทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและสนับสนุนการดำเนินงานของภาคส่วนอื่น ๆ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | หลักการในการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 | นร.12 | 12/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘
โดยให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการพิจารณาให้สอดคล้องกับเรื่องการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาการอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ และรับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และธนาคารแห่งประเทศไทย ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนก่อนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (ณัฐพล รังสิตพล) | อก. | 12/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายณัฐพล รังสิตพล ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม
เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕
เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | รายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของโฆษกกระทรวง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี และผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ ประจำเดือนมกราคม - เมษายน 2565 | นร.02 | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของโฆษกกระทรวง
โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี และผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์
ประจำเดือนมกราคม-เมษายน ๒๕๖๕ และมอบหมายให้โฆษกกระทรวง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี
แถลงข่าวและชี้แจงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงอย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์
ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ได้มีการประชาสัมพันธ์และชี้แจงในประเด็น (๑)
มาตรการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙)
(๒) การแก้ไขปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน และ (๓) แนวทางแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา
ตามที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | รายงานการขับเคลื่อนแผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2564 | วธ. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการขับเคลื่อนแผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๕) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ โดยมีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
และมีผลการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ จำนวน ๔ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑
การสนับสนุนการผลิตและเผยแพร่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สำหรับประชาชนทุกกลุ่มและครอบคลุมทุกพื้นที่
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การส่งเสริมความรู้เท่าทันสื่อ พฤติกรรม การใช้สื่อเชิงสร้างสรรค์
เฝ้าระวัง และตรวจสอบสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ เช่น เพิ่มเครือข่ายการเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อที่ไม่เหมาะสมผ่านการฝึกอบรมและหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การบูรณาการกลไกการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนผ่านการสื่อสารสาธารณะ
เช่น การเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทุกกลุ่มได้มีเวทีในการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากเครือข่ายสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
และยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาและบูรณาการการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
โดยพัฒนาและบูรณาการการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อปลอดภัยให้ทันสมัยและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงได้
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | ร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการและกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. .... | กสทช. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการและกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ และกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๕๖ โดยปรับค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือน
กำหนดเพิ่มเติมค่าเสียโอกาส และกำหนดค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการและกรรมการ
เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นตามกฎหมายบัญญัติ
รวมทั้งสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยไม่กำหนดค่าเสียโอกาสไว้ในร่างพระราชกฤษฎีกา ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงบประมาณ แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
มอบหมายให้กรมบัญชีกลางรับไปพิจารณากำหนดแนวทางการปรับอัตราค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่น
ๆ ของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการในสาขาต่าง ๆ เพื่อให้การกำหนดอัตราค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายเดือนและสิทธิประโยชน์
สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการดำเนินการและเป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑ และเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๒
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ ๒.
ให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายสันติ พร้อมพัฒน์) รวมทั้งความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น (๑) ขอให้พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหา
กรณีการตรวจสอบพบแนวเขตที่ดินในความรับผิดชอบมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง
ภายหลังจากมติคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ
แล้ว รวมทั้งให้กรมป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมนำไปปฏิรูปที่ดิน
เพื่อกันคืนพื้นที่ให้กรมป่าไม้ และ (๒) ให้หน่วยงานในสังกัด ประกอบด้วย
กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และสำนักงานยุติธรรมจังหวัด
เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตรการส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) และแก้ไขปัญหา
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | ร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565-2570 | กค. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | รายงานตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 | สม. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
ปี ๒๕๖๔ และรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับภาพรวมสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค
และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ (๑)
ด้านสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์เฉพาะ (๒) ด้านสิทธิพลเมืองและด้านสิทธิทางการเมือง
(๓) ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (๔) ด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคล ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอ
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ปรากฏในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ฯ
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างเคร่งครัด
และนำข้อเสนอแนะในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติมากขึ้น
ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย
แล้วแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป ๒. ให้ส่งความเห็นของกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม
และสำนักงานอัยการสูงสุดไปเพื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานดอนเมืองและด่านศุลกากรหนองคาย) | กค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... (สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานดอนเมืองและด่านศุลกากรหนองคาย)
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากร พ.ศ ๒๕๖๐
โดยกำหนดให้สนามบินดอนเมืองเป็นสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานดอนเมือง (เดิมอยู่ภายใต้สำนักงานศุลกากร
กรุงเทพ) และกำหนดเพิ่มเติมให้บริเวณด่านศุลกากรหนองคายและสถานีรถไฟหนองคายเป็นเขตศุลกากร
ด่านศุลกากรหนองคาย (เดิมไม่ได้กำหนดไว้) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไป ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรให้ความสำคัญกับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจปล่อยสินค้าผ่านระบบ
NSW เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่งและ โลจิสติกส์ในภาพรวมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) | พม. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐)
มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท
เพิ่มคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้เพิ่มพูนศักยภาพของตนเองอย่างเต็มกำลังความสามารถ
ให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติ รองรับสังคมสูงวัยเชิงรุก ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นข้อเสนอแนะ
และข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณสำนักงาน ก.พ.
และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น ควรกำหนดบทบาทของหน่วยงานรับผิดชอบหลัก/หน่วยงานรับผิดชอบร่วมในรูปของผังกระบวนงานหรือ
Work Flow ให้ชัดเจน
ควรมีแนวทางในการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการที่ชัดเจน
อาจเพิ่มตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการเสริมสร้างพลังให้กับผู้สูงวัย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงสาธารณสุข
และกระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ที่เห็นว่าในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ
ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐) นั้น เห็นควรมอบหมายเพิ่มเติมให้กระทรวงกลาโหม
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อส่งเสริมการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยอาจร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย
เพื่อผลิตสิ่งอำนวยความสะดวก/อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ
และให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม
รวมทั้งอาจพิจารณาผลิตสิ่งอำนวยความสะดวก/อุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อการส่งออกอีกด้วย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2564 | กสทช. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๔ ประกอบด้วย (๑)
ผลการดำเนินงานสำคัญของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๔ (๒) แผนการดำเนินงานและงบประมาณรายจ่าย
ประจำปี ๒๕๖๕ (๓) งบการเงิน และรายงานการตรวจสอบภายใน (๔) ปัญหาและอุปสรรคในการประกอบกิจการฯ
(๕) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคในกิจการฯ
(๖) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ และ (๗) รายงานสภาพตลาดและการแข่งขัน
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายทาวัน ทวีถาวรสวัสดิ์) | อก. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายทาวัน ทวีถาวรสวัสดิ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | ข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส (Implementing Agreement to the Paris Agreement between the Kingdom of Thailand and the Swiss Confederation) | ทส. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส
(Implementing Agreement to the Paris Agreement
between the Kingdom of Thailand and the Swiss Confederation)
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจลงนามในข้อตกลงฯ
โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full powers) เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงนามในข้อตกลงฯ
มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานตามข้อตกลงนี้ และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
(องค์การมหาชน) ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานของกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกและระบบทะเบียน
โดยข้อตกลงฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือโดยสมัครใจในการดำเนินงานและการยอมรับการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ
เพื่อใช้สำหรับการดำเนินการตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม ที่ควรเน้นย้ำถึงความโปร่งใส
และการไม่นับซ้ำของคาร์บอนเครดิตที่ลดได้พร้อมทั้งความช่วยเหลือในการดำเนินงานของภาคกิจกรรมที่เข้าร่วมในภาคการตกลงต่อไป
ให้ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) พิจารณาดำเนินการ ดังนี้ ๒.๑ กำหนดโครงการหรือกิจกรรมตามข้อตกลงฯ
ที่จะดำเนินการในประเทศไทยอย่างละเอียดรอบคอบ เหมาะสม
โดยคำนึงถึงผลกระทบและประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ ๒.๒
ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย
เพื่อใช้ในการกำกับติดตาม การบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตของประเทศ
รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายใต้ข้อตกลงฯ (เช่น
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ เกณฑ์ในการคำนวณประมาณคาร์บอนเครดิต เป็นต้น)
ให้มีความชัดเจน ครบถ้วน
เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้องโดยเร็วด้วย ๒.๓
ร่วมมือ/กำกับติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(Nationally Determined Contribution : NDC)
ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้
|