ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 58 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การดำเนินการตามข้อสังเกต (Concluding Observations) ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ต่อรายงานประเทศฉบับที่ 4-8 ของประเทศไทย | ยธ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบข้อสังเกต
(Concluding Observations)
ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
ต่อรายงานประเทศฉบับที่ ๔-๘ ของประเทศไทย
และตารางหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ
และพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ
ดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและข้อเสนอแนะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่เห็นว่าการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สามารถเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันคนในสังคมให้หลีกเลี่ยงการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์และโซเซียลมีเดียในทางที่ผิด
หรือนำมาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ Hate Speech และ Hate
Crime ทางเชื้อชาติได้ และในประเด็นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบ จำนวน ๓ ประเด็น ประกอบด้วย ๑)
ประเด็นที่ดิน อาณาเขต และทรัพยากรของกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม ๒)
ประเด็นการค้ามนุษย์ และ ๓) ประเด็นย่อหน้าที่มีความสำคัญเป็นการเฉพาะ
พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นแรงงานข้ามชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (1. ศาสตราจารย์พิเศษเข็มชัย ชุติวงศ์ ฯลฯ รวม 6 คน) | ยธ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย
รวม ๖ คน
เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอ ดังนี้ ๑. ศาสตราจารย์พิเศษเข็มชัย
ชุติวงศ์ ประธานกรรมการ ๒. ศาสตราจารย์พิเศษกิติพงศ์
อุรพีพัฒนพงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๓. หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปารีณา ศรีวนิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๕. นายพณชิต กิตติปัญญางาม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๖. นายสุรงค์ บูลกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน | กต. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่
พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. การให้บริการทำหนังสือเดินทางด่วนภายในวันเดียว (ทำเช้า รับบ่าย) โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเล่มด่วน
ตั้งแต่วันที่ ๓-๑๓ มกราคม ๒๕๖๖ (ยกเว้นวันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดราชการ) ๒. การให้บริการหนังสือเดินทางในวันหยุดสุดสัปดาห์ (วันเสาร์-วันอาทิตย์)
ตลอดปี ๒๕๖๖ ณ สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวปทุมวัน (MBK Center)
และบางใหญ่ (Central Plaza West Gate)
ทั้งในรูปแบบบูธปกติและเครื่องทำหนังสือเดินทางด้วยตนเอง (kiosk) จำนวน ๒๐ เครื่อง ๓. การให้บริการกงสุลสัญจร “ของขวัญตลอดปี”
เพื่อให้บริการหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ เดือนละ ๑
ครั้ง รวม ๑๒ ครั้ง ตลอดปี ๒๕๖๖ เพื่อบริการประชาชนในพื้นที่จังหวัดที่ไม่มีสาขาสำนักงานหนังสือเดินทางตั้งอยู่ ๔. การให้บริการแปลเอกสารภาษาอังกฤษ โดยไม่คิดค่าบริการ (จำกัดคนละ ๑
เอกสาร) โดยต้องเป็นเอกสารของตัวเอง และเอกสารนั้นแปลเพื่อทำนิติกรณ์เอกสารเท่านั้น)
ตั้งแต่วันที่ ๓-๓๑ มกราคม ๒๕๖๖ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) ณ กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวภูเก็ต และเชียงใหม่
เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ประชาชนในการจัดจ้างเอกชนแปลภาษา
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 เรื่อง ร่าง แผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ | สกพอ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เรื่อง ร่าง แผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
มีสาระสำคัญเป็นการรายงานสรุปผลการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) ที่มีมติอนุมัติร่างแผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ซึ่งเป็นการดำเนินการในกรอบหน้าที่และอำนาจของ กพอ. ตามมาตรา ๑๑ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เป็นหลักในการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจและการเงินระดับภูมิภาค และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด่วนที่สุด
ที่ นร ๑๑๑๐/๕๐๙๘ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕) เช่น
ในการชดเชยผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเดิมควรตระหนักถึงหลักเกณฑ์การชดเชยที่มีความเป็นธรรมต่อผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดินให้มากที่สุด
ควรเน้นสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานภายใต้ร่างแผนปฏิบัติการฯ
เห็นควรให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๖
โดยดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา ฯลฯ จำนวน 4 ราย) | อก. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๔ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ดังนี้ ๑. นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นายภาสกร ชัยรัตน์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ๔. นายเอกภัทร วังสุวรรณ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙
สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐
เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) นโยบายการดำเนินงานด้าวเทียมสื่อสารแห่งชาติ
และรับทราบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศของประเทศ ตามที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอ ๒. เห็นชอบในหลักการ (ร่าง)
นโยบายการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ มีสาระสำคัญเพื่อเป็นกรอบนโยบายในการจัดสร้างหรือการบริหารจัดการดาวเทียม
และการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมของรัฐ เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานรัฐ และมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติที่เหมาะสมที่สุดและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
โดยให้รับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางประกอบการพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายและพันธกรณีต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น
(๑) ให้เร่งรัดดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติเกิดผลสำเร็จ
เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป (๒) เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว
หากไม่เพียงพอเห็นควรให้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ แล้วแต่กรณี
โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลระดับนานาชาติ รายการ Thailand by UTMB | กก. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเห็นเพิ่มเติมว่า
ขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(การกีฬาแห่งประเทศไทย) ประสานงานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) เกี่ยวกับรายละเอียดของแผนการดำเนินงานในการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลระดับนานาชาติ
รายการ Thailand by UTMB ในปีต่อ ๆ ไป
ภายหลังปี ๒๕๖๖ ให้ชัดเจน
รวมทั้งขอให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ภายหลังสิ้นสุดการจัดการแข่งขันในแต่ละปีด้วย ๒. เห็นชอบในหลักการให้ประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลระดับนานาชาติ
๒ รายการ รายการ Doi Inthanon Thailand By UTMB ประจำปี
๒๕๖๖-๒๕๖๘ (๓ ปี) และรายการ Amazean Jungle Thailand By UTMB
ประจำปี ๒๕๖๖-๒๕๗๑ (๖ ปี) และเห็นชอบกรอบวงเงิน ดังนี้ (๑) งบประมาณค่าลิขสิทธ์ การจัดการแข่งขันภายในกรอบวงเงิน
จำนวน ๑,๗๒๕,๐๐๐ ยูโร เป็นเงิน ๖๕,๕๕๐,๐๐๐ บาท และ (๒)
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการแข่งขันภายในกรอบวงเงิน ๔๐๙,๕๖๔,๕๐๐ บาท โดยให้การกีฬาแห่งประเทศไทยดำเนินการขอรับการสนับสนุนจากเอกชนและใช้เงินรายได้จากการบริหารสิทธิประโยชน์เป็นลำดับแรกก่อน
หากไม่เพียงพอและมีความจำเป็นให้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นโอกาสแรกก่อน
และให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานเป็นรายปีเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับแผนการดำเนินงานในแต่ละปี
ให้มีประสิทธิภาะและประสิทธิผล ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (การกีฬาแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
รวมทั้งความเห็นเพิ่มเติมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ควรพิจารณาจำกัดจำนวนผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขัน
เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติมีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่สามารถรองรับได้ต่อวัน
ควรคำนึงถึงความประหยัดและความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณ
การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ความเสี่ยงและความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ ควรประชาสัมพันธ์จังหวัดใกล้เคียงเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชื่อมโยงและกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างทั่วถึง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบและรับทราบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐ (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ ๒ จำนวน ๑๑ จังหวัด และให้หน่วยงานที่มีดินอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่ตามแนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ
ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จ ภายใน ๓๖๐ วัน โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้ตามเหตุผลความจำเป็นแต่ไม่เกิน
๑๘๐ วัน หากมีผู้ใดได้รับผลกระทบดังกล่าว
ให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง
รวดเร็ว เหมาะสม ตามควรแก่กรณี โดยเป็นไปตามกฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีราษฎรถือครองทำกิน พื้นที่ที่มีศักยภาพทำการเกษตรไม่คุ้มค่า
พื้นที่หล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ และพื้นที่ที่ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกันนั้น
ขอให้กันไว้ใช้ในกิจกรรมของกรมป่าไม้ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม
๒๕๓๗ ในการเสนอออกกฎหมายของหน่วยงาน
ควรพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายที่จะให้การรับรองและความคุ้มครองหน่วยงานของรัฐ
เจ้าหน้าที่รัฐ
และผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ
และควรมีการกำกับและติดตามผลการดำเนินการเพื่อให้สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จเป็นไปตามแผนที่วางไว้และเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมพัฒนาที่ดิน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดพิจารณาแนวทางการดำเนินการ
กรณีพื้นที่กันออกจากป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ที่ทับซ้อนกับป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ [เรื่อง
การจำแนกประเภทที่ดินจังหวัดขอนแก่น (เฉพาะแห่ง)] ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน
ถูกต้อง ตรงกัน รวมทั้งให้เร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวให้แล้วเสร็จและเป็นรูปธรรมโดยเร็วด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ขอความเห็นชอบต่อการรับรองร่างแนวทางอาเซียนว่าด้วยการให้คำปรึกษาและการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในสถานประกอบการ และร่างแผนงานคณะกรรมการตรวจแรงงานอาเซียน พ.ศ. 2565 - 2573 | รง. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแนวทางอาเซียนว่าด้วยการให้คำปรึกษาและการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในสถานประกอบการ
(ASEAN Guidelines on HIV Counselling and
Testing in the Workplace) และร่างแผนงานคณะกรรมการตรวจแรงงานอาเซียน
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๓ [ASEAN Labour Inspection Committee (ALICOM) Work Plan
2022-2030] และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงนามในหนังสือถึงสำนักเลขาธิการอาเซียน
เพื่อรับรองร่างเอกสารทั้งสองฉบับ โดยร่างแนวทางอาเซียนฯ และร่างแผนงานคณะกรรมการฯ
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการการติดเชื้อเอชไอวีในสถานประกอบการ
และการกำหนดแผนงานสำหรับคณะกรรมการตรวจแรงงานอาเซียนในการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานตรวจแรงงาน
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารทั้งสองฉบับในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนเกาะสุกร จังหวัดตรัง พ.ศ. .... | มท. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนเกาะสุกร จังหวัดตรัง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลเกาะสุกร อำเภอบางปะเหลียน จังหวัดตรัง
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค การบริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม
ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับการส่งเสริมให้เกาะสุกรเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญของจังหวัดตรัง
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๑๑
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎ
หรือระเบียบและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และควรคำนึงถึงกฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ และมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขในการพิจารณาอนุญาตกิจการต้องคำนึงถึงจำนวนและที่ตั้งของสถานประกอบกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับ
และติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังมืองรวมชุมชนเกาะสุกรให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ขอความเห็นชอบต่อการรับรองร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียน | รง. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นางวรวรรณ ชิตอรุณ ฯลฯ จำนวน 4 ราย) | อก. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๔ ราย
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้ ๑. นางวรวรรณ ชิตอรุณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ๒. นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ๓. นายจุลพงษ์ ทวีศรี ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ๔. นายวันชัย พนมชัย ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | โครงการอาคารรักษาพยาบาลศิริราชและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล | อว. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2566-2569 | ยธ. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๙
ซึ่งถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทสังคมและแนวทางการจัดทำข้อเสนอวิจัยตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกอบด้วย (๑) กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญา
เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมอย่างสงบสุข (๒)
กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง ปกครอง
เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมอย่างสงบสุข (๓)
กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากฎหมายให้กฎหมายมีความทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและภาวะวิกฤติ
(๔) กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการยุติธรรม
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรม ทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
และภาวะวิกฤติ และ (๕) กรอบการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
ให้มีระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
และภาวะวิกฤติ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติเสนอ
และให้คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานศาลปกครอง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2022 (ITU Plenipotentiary Conference 2022: PP-22) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) | กสทช. | 13/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. ๒๐๒๒ (ITU Plenipotentiary Conference 2022 : PP-22) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication
Union : ITU) รวมถึงร่างข้อสงวนต่อกรรมการสารสุดท้าย และมอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนไทยที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าคณะพิจารณาใช้ดุลยพินิจตามสถานการณ์
ตามความเหมาะสมในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อไป ซึ่งมีกำหนดการประชุม ณ
กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย ระหว่างวันที่ ๒๖ กันยายน-๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๕
โดยการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการพัฒนาและปรับปรุงการใช้ประโยชน์จากกิจการโทรคมนาคม
รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือด้านโทรคมนาคมแก่ประเทศกำลังพัฒนา
ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกรวม ๑๙๓ ประเทศ และมอบอำนาจให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการอภิปราย
ลงมติ และลงนามในกรรมการสารสุดท้ายของการประชุม PP-22 ของ ITU
และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ ออกหนังสือแต่งตั้งผู้แทน โดยมอบอำนาจให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าเอกสารท่าที่ของประเทศไทย
ไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
การออกหนังสือแต่งตั้งผู้แทนโดยกระทรวงการต่างประเทศไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา
๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และควรมอบหมายให้คณะผู้แทนไทยใช้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระหว่างปี
พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐ แทนการใช้แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เป็นกรอบในการจัดทำเอกสารท่าทีของประเทศไทย เนื่องจากแผนดังกล่าวได้สิ้นสุดเมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่ ของนายประสาน ยุวานนท์ ที่จังหวัดนครราชสีมา | อก. | 30/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้นายประสาน
ยุวานนท์ ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕
(เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเรื่อง
การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำมูลและชี และข้อเสนอแนะมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ)
วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓ (เรื่อง การอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้)
และวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ [เรื่อง
ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ ชั้นที่ ๑ บี ๑ เอเอ็ม และ๑ บีเอ็ม
เพื่อทำเหมืองแร่ ของบริษัท พีทีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ที่จังหวัดสระบุรี]
เพื่อเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๕ (เรื่อง
การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ)
เพื่อเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม
สำหรับการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างที่จังหวัดนครราชสีมา
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | การชำระค่าบำรุงสมาชิกคณะกรรมการด้านนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Committee on Digital Economy Policy: CDEP) ภายใต้องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) | ดศ. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการชำระค่าบำรุงสมาชิกรายปีในอัตราที่
OECD กำหนดเป็นประจำทุกปี
โดยไม่ต้องเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายในการชำระค่าบำรุงสมาชิกในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ
๑๐ ตามมติของ External Relation Committee ภายใต้ OECD
ให้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปรับแผนการใช้จ่ายในส่วนที่เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ไปดำเนินการก่อนในโอกาสแรก สำหรับภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป
ให้จัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง โดยรายงานการจ่ายเงินค่าบำรุงสมาชิก
และผลประโยชน์หรือผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (สภาผู้แทนราษฎร) | สผ. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (วุฒิสภา) | สว. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | รายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ | ศป. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|