ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 7 จากข้อมูลทั้งหมด 7 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ที่ดินสาธารณประโยชน์แปลง “ทุ่งหนองแด” ตำบลกุดสระ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี | กษ. | 16/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่เมื่อวันที่
๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ และเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เรื่อง
มาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำพื้นที่ที่ดินสาธารณประโยชน์ แปลง “ทุ่งหนองแด”
ตำบลกุดสระ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
เพื่อให้สามารถเข้าดำเนินงานในพื้นที่ พร้อมส่งมอบพื้นที่ให้แก่
สมาคมพืชสวนโลกระหว่างประเทศ AIPH ตามกำหนดกรอบเวลา
ก่อน ๖ เดือน ในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๙ และให้ทันพิธีเปิดงานในวันที่ ๑ พฤศจิกายน
๒๕๖๙ ซึ่งให้เกิดประโยชน์กับการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. ๒๕๖๙ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรมีการสื่อสารแนวปฏิบัติที่ชัดเจน
ตลอดจนมีมาตรการรองรับในระหว่างการจัดงานและภายหลังเสร็จสิ้นงาน
เพื่อเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดงานพืชสวนโลกอย่างมีความรับผิดชอบ
อันจะเป็นประโยชน์ในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานของไทยในอนาคต ควรพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อทางหลวงแผ่นดิน
หมายเลข ๒ เช่น
ปริมาณจราจรที่จะเพิ่มขึ้นทั้งในระหว่างเตรียมการจัดงานและระหว่างจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่มาร่วมงานและประชาชนโดยทั่วไปได้ ควรให้ความสำคัญต่อการพิจารณากำหนดมาตรการบริหารจัดการพื้นที่ดำเนินการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ
ที่สอดคล้องกับขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ (Carrying Capacity) ตลอดจนกำหนดมาตรการและแนวทางในการบำรุงรักษาพื้นที่ให้ยังคงสภาพที่สมบูรณ์
สามารถใช้ประโยชน์ภายหลังการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกให้เกิดประโยชน์ต่อเนื่องทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
ชุมชน โดยรอบได้อย่างยั่งยืนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๖ กันยายน ๒๕๖๖ (เรื่อง การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. ๒๕๖๙) รวมทั้งการขออนุญาตเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณประโยชน์ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การจัดงาน OTOP Midyear 2023 "ที่สุดแห่งภูมิปัญญา รังสรรค์จากการพัฒนา เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจไทย" | นร. | 26/09/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า การจัดงาน OTOP Midyear 2023 “ที่สุดแห่งภูมิปัญญา
รังสรรค์การพัฒนา เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจไทย” ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๓
กันยายน-๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
เป็นกิจกรรมการจัดจำหน่ายสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของชุมชนต่าง ๆ
ทั่วประเทศที่ดีมาก สมควรที่ประชาชนและผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าคุณภาพดี มีความโดดเด่น
และราคาเหมาะสม จะเข้าเยี่ยมชมและซื้อสินค้าในงานดังกล่าวให้มากที่สุด
ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ชุมชน ผู้ผลิต และผู้ประกอบการสินค้า OTOP สามารถสร้างรายได้และอาชีพให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
จึงขอให้กระทรวงมหาดไทย (กรมการพัฒนาชุมชน)
เร่งประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดงานดังกล่าวให้แพร่หลายและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ เชิญชวนให้บุคลากรในสังกัดเข้าร่วมงานดังกล่าวต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566) | กค. | 26/09/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดมาตรการในการพักหนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs)
ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เห็นชอบมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล
รวมถึงการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ผู้เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ดังกล่าวภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม
เพิ่มรายได้” และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๒,๐๙๖ ล้านบาท โดยมอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงสภาพคล่องของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรต่อไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป
ควรคัดกรองผู้ที่เข้าร่วมโครงการให้เป็นลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อนทางด้านสภาพคล่องอย่างแท้จริง
เพื่อมิให้ลูกหนี้ที่มีศักยภาพในการชำระหนี้ เกิดแรงจูงใจที่จะไม่ชำระหนี้
และมอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีข้อมูลของเกษตรกร
ร่วมกันประเมินสภาพปัญหาของผู้ที่แสดงความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ
และกำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือให้เหมาะสมแก่สภาพปัญหาของเกษตรกรแต่ละราย
ควรมีการสร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้ที่มีศักยภาพยังชำระหนี้ต่อเนื่อง
โดยออกแบบมาตรการที่ให้ผลตอบแทนแก่ลูกหนี้มากพอที่จะยังชำระหนี้ต่อ
รัฐจะต้องให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์และสื่อสารทำความเข้าใจกับลูกหนี้ถึงเจตนารมณ์และเงื่อนไขของโครงการอย่างชัดเจน
ครบถ้วน เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในรายการค่าอยู่เวรรักษาการณ์ผู้คุมผู้ต้องขัง | ยธ. | 26/09/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
จำนวน ๑๔๙,๕๗๑,๘๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมรายการค่าอยู่เวรรักษาการณ์ผู้คุมผู้ต้องขัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายไพโรจน์ โชติกเสถียร) | รง. | 18/09/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายไพโรจน์
โชติกเสถียร ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งอธิบดีกรมการจัดหางาน
ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน
เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๖
เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 | สธ. | 31/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 | พม. | 24/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุ
พ.ศ. ๒๕๖๔ ตามมติคณะกรรมการผู้สูงอายุ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนในเชิงนโยบายต่อไป
โดยรายงานฯ มีสาระสำคัญ เช่น สถานการณ์ผู้สูงอายุของโลกและสถานการณ์ในประเทศไทย
สถานการณ์ผู้สูงอายุกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ปี ๒๕๖๔
การปรับตัวและการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุในช่วงโควิด-๑๙
การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในไทย งานวิจัยเพื่อสังคมผู้สูงอายุ
และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและกระทรวงคมนาคม ที่เห็นว่า
ในประเด็นข้อเสนอการมุ่งพัฒนาระบบบำนาญให้ครอบคลุมผู้สูงอายุอย่างถ้วนหน้า
รวมทั้งการปรับปรุงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับค่าครองชีพหรือภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
ควรคำนึงถึงภาระผูกพันงบประมาณในอนาคตอันเนื่องมาจากการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและแนวทางเพื่อลดภาระผูกพันงบประมาณดังกล่าว
ให้ความสำคัญเรื่องการสูงวัยในถิ่นเดิม นอกเหนือจากการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะด้านร่างกายและจิตใจ
ควรมุ่งเน้นด้านระบบการบริหารจัดการ การดูแลและช่วยเหลือผู้สูงอายุ
และให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|