ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 7 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 100 จากข้อมูลทั้งหมด 125 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ) | มท. | 24/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย
ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
82 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายคธาทิพย์ เอี่ยมกมลา) | มท. | 17/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายคธาทิพย์ เอี่ยมกมลา ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งผู้ตรวจราชการกรม (ผู้อำนวยการระดับสูง) กรมโยธาธิการและผังเมือง ให้ดำรงตำแหน่งสถาปนิกใหญ่ (สถาปนิกทรงคุณวุฒิ)
กรมโยธาธิการและผังเมือง
กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๔
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
83 | แนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ | นร.11 สศช | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติแนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เรื่อง แนวทาง
หลักการ และการดำเนินการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นแผนระดับที่ ๒
โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาทบทวนยุทธศาสตร์ชาติ
ตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ เห็นว่าสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ชาติ
จึงจะยังคง “เป้าหมาย” ตามยุทธศาสตร์ชาติไว้เช่นเดิม แต่จะมีการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
จำนวน ๒๓ ฉบับ ในส่วนของ “ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนา”
เนื่องจากตัวชีวัดเดิมไม่สามารถสะท้อนต่อเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เช่น มีการหารือกับหน่วยงานเจ้าภาพแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้การปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และสามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหลักธรรมาภิบาล
ควรกำหนดแนวทางรองรับกรณีตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่มีการปรับเปลี่ยน
เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อแผนระดับ ๓ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ
และจัดทำแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
84 | ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม
พ.ศ. ๒๕๓๓ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของคณะกรรมการประกันสังคม
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษาและคณะกรรมการการแพทย์
แก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการประกันสังคมมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการบริหารพนักงานและลูกจ้าง
รวมทั้งการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๙
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของผู้ประกันตนเกี่ยวกับสิทธิการได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
การให้ผู้รับบำนาญสามารถกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน สิทธิได้รับเงินสงเคราะห์
การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรโดยเป็นการเหมาจ่าย รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราการได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ
ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ หลักเกณฑ์การรับเงินบำนาญชราภาพ
และหลักเกณฑ์การได้รับประโยชน์ทดแทน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงาน ก.พ. เช่น
มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ให้ความสำคัญกับประเด็นกลุ่มแรงงานนอกระบบให้ได้รับการคุ้มครองของระบบประกันสังคมเพิ่มมากขึ้น
กำหนดอายุทดแทนกรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนที่มีอายุห้าสิบปีบริบูรณ์แต่ไม่ถึงหกสิบห้าปีบริบูรณ์ให้สอดคล้องกับการจ้างงาน
และควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณา
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
โดยให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพทางการเงินการคลังของกองทุนประกันสังคมต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงบประมาณ
และสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว ควรคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางรายได้ยามชราภาพของผู้ประกันตน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
85 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายประกอบ เผ่าพงศ์) | กษ. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายประกอบ เผ่าพงศ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
86 | ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 17 | กต. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย
(Asia Cooperation Dialogue : ACD) ครั้งที่ ๑๗
เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๔ ภายใต้หัวข้อ
“สภาพปกติใหม่และการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยและแข็งแรง” ผ่านระบบการประชุมทางไกล
โดยสาธารณรัฐตุรกี เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม และรองนายกรัฐมนตรี (นายดอน
ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม ซึ่งที่ประชุมฯ ได้รับรองร่างปฏิญญาอังการา
โดยมีสาระสำคัญไม่ต่างฉบับที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้
(มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔)
แต่มีการเพิ่มเติมข้อความในประเด็นต่าง ๆ เช่น
การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ACD การเน้นย้ำความมุ่งมั่นต่อวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน
ค.ศ. ๒๐๓๐ การสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกใช้มาตรการเฝ้าระวังทุกประเภท
เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยว รวมถึงความแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก
และถ้อยแถลงของหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้เน้นย้ำความสำคัญของ ACD ในฐานะเวทีหารือและความร่วมมือที่ช่วยสร้างความเชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียและผลักดันความร่วมมือด้านการส่งเสริมความมั่นคงด้านสุขภาพเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนตามแนวคิดสังคม
๓H ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
87 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยที่เกี่ยวกับการบิน รวมถึงการจัดการจราจรทางอากาศตามมาตรฐานสากล ของคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา | สว. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง การพัฒนาด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยที่เกี่ยวกับการบิน
รวมถึงการจัดการจราจรทางอากาศตามมาตรฐานสากล ของคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยได้สรุปความเห็นในภาพรวม เช่น
ปัจจัยการประเมินและปรับปรุงโครงสร้างกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ของประเทศ
ซึ่งได้มีการปรับปรุงและข้อกำหนดต่าง ๆ ด้านเทคนิคอยู่เสมอ เพื่อให้มั่นใจข้อกำหนดต่าง
ๆ เป็นไปตามที่กำหนด โดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดยมีการดำเนินการปรับปรุงและทบทวนข้อแตกต่างระหว่างข้อกำหนดต่าง ๆ
ด้านเทคนิคของประเทศไทย กับข้อกำหนดองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
ในระบบออนไลน์ ICAO
อีกทั้งยังอยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนรูปแบบ โครงสร้างกฎหมายด้านเทคนิคทั้งหมด
ให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ Model โครงสร้างกฎหมายของสหภาพยุโรป
สำหรับปัจจัยการพัฒนาขีดความสามารถและการสร้างความเข้มแข็ง
ในการตรวจประเมินและการทบทวนด้านความปลอดภัยและด้านการรักษาความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อจัดให้มีระบบประกันคุณภาพ โดยได้มีการจัดตั้งหน่วยงานภายใน คือ
ฝ่ายประกันคุณภาพ ทำหน้าที่ประกันคุณภาพ ของสำนักงานการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
ซึ่งได้รับการรับรอง ISO 9001 : 2015 ตั้งแต่ปี
๒๕๖๒ และมีการปรับปรุงระบบการตรวจประเมินอย่างต่อเนื่อง
ทั้งในส่วนของการปฏิบัติตามมาตรฐานของ ICAO ต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินงานอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ
และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการตามข้อกำหนดของ ISO 9001 : 2015 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
88 | ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานบิมสเทค ครั้งที่ 3 | พน. | 19/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานบิมสเทค ครั้งที่ ๓ (Joint
Statement of the Third Meeting of BIMSTEC Ministers on Ener) พร้อมคำแปล
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)
เป็นผู้ให้การรับรองในร่างถ้อยแถลงร่วมฯ โดยร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
เป็นเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานบิมสเทค ครั้งที่ ๓ (Joint Statement of the Third Meeting of BIMSTEC Ministers on Ener) ในวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๕
ผ่านระบบการประชุมทางไกล
มีสาระสำคัญเป็นการแสดงจุดยืนร่วมกันของประเทศสมาชิกบิมสเทคในการให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานในภูมิภาค
และเร่งให้มีการหารือในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งศูนย์พลังงานบิมสเทค (BIMSTEC
Energy Centre : BEC) โดยเร็ว
และให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศในส่วนของประเด็นสารัตถะและถ้อยคำ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
89 | ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ครั้งที่ 1 (นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม) | พณ. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายอรมน
ทรัพย์ทวีธรรม ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ ๔ ปี ในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ต่อไปอีก ๑ ปี
(ครั้งที่ ๑) ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
90 | การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยแทนตำแหน่งที่ว่างลง (นายระพี ผ่องบุพกิจ) | คค. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายระพี ผ่องบุพกิจ
เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย แทนนายพินิจ พัวพันธ์ กรรมการอื่นเดิมที่ลาออก โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๒ เมษายน ๒๕๖๕)
เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอ
โดยให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
91 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 เรื่อง ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Aquaculture Practice) และ CoC (Code of Conduct) | กษ. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๔๖ [เรื่อง ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
GAP (Good
Aquaculture Practice) และ CoC (Code
of Conduct)] เป็น ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบให้การสนับสนุนด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด
ที่อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และแจ้งประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
(จสค.)
และเป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) หรือมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of
Conduct: CoC)
หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรจากกรมประมงหรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ๑.๒ มอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน
และแจ้งให้สถาบันการเงินรับทราบว่าสถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดที่อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และแจ้งประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (จสค.)
และเป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) หรือมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of
Conduct: CoC)
หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรจากกรมประมงหรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติได้
โดยให้สถาบันการเงินพิจารณาการให้สินเชื่อเป็นกรณีพิเศษแก่ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองหรือมีแผนการปรับปรุงพัฒนาเพื่อขอรับการรับรองมาตรฐานที่สูงกว่ามาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) [ได้แก่ มาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด
ออฟ คอนดัค (Code of Conduct: CoC)
หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตร]
ด้วย ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสานกับธนาคารแห่งประเทศไทยในส่วนของรายละเอียดการรับรองมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและมาตรฐานสินค้าเกษตรต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน และแจ้งให้สถาบันการเงิน
รวมทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินรับทราบถึงรายละเอียดของมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่อได้อย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานดังกล่าวต่อไป
ควรมีแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๔๖ เพื่อให้อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
และให้ความสำคัญกับการอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่มีคุณสมบัติ
ให้ได้รับการบริการการตรวจรับรองมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
และควรต้องติดตามและกำกับดูแลให้การบริหารจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นไปตามพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
เพื่อป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งกระทบตามมาในวงกว้าง
พร้อมทั้งการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคระบาดในกุ้ง อย่างสม่ำเสมอ
เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากโรคระบาดในกุ้งทั้งในระดับฟาร์มและระดับประเทศด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
92 | ขออนุมัติค่าชดเชยปลูกป่าโครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติเพิ่มเติม | อก. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติปรับเพิ่มวงเงินค่าเชดเชยปลูกป่าทั้งโครงการ ๑,๒๓๔.๙๘ ไร่ จากเดิมจำนวน ๕๓,๐๕๕,๐๐๐ บาท เป็นจำนวน ๑๕๔,๐๑๗,๗๒๖.๘๒ บาท เพิ่มขึ้นจากกรอบวงเงินเดิม จำนวน ๑๐๐,๙๖๒,๗๒๖.๘๒ บาท เพื่อเป็นค่าชดเชยปลูกป่าให้กับกรมป่าไม้ จำนวน ๑๙,๕๗๗,๑๖๒.๔๘ บาท และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จำนวน ๘๑,๓๘๕,๕๖๔.๓๔ บาท และให้กระทรวงอุตสาหกรรม
โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
ทั้งนี้ กรอบวงเงินค่าเชดเชยปลูกป่าทั้งโครงการดังกล่าวอยู่ภายในกรอบวงเงินโครงการ
จำนวน ๓,๗๐๕,๗๐๐,๐๐๐
บาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๔
และควรเร่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งรัดการดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
93 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายสมพร อารยชาติสกุล) | กษ. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายสมพร อารยชาติสกุล ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งวิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ
กรมชลประทาน ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านควบคุมการก่อสร้าง)
(วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ ๑๖
สิงหาคม ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
94 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. .... | คค. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข
๗ และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗
และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๐๐.๐๑
นาฬิกา ของวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๑๘ เมษายน
๒๕๖๕ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางบนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลดังกล่าว
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรเร่งประชาสัมพันธ์การยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมบนทางหลวงพิเศษดังกล่าวให้ประชาชนทราบ
เพื่อให้ประชาชนใช้เส้นทางดังกล่าวในช่วงวันหยุดราชการต่อเนื่องได้อย่างคล่องตัว
สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎกระทรวงต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
95 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. .... [แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558] | มท. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี
พ.ศ. ๒๕๕๔ และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมรวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะห่างตามแนวขนานริมเขตทาง
ในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการโรงงานริมทางหลวงแผ่นดิน และริมทางรถไฟ
ตลอดจนปรับปรุงบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. ๒๕๕๔
ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
เช่น ควรให้โรงงานมีระยะห่างริมทางหลวงแผ่นดินไม่น้อยกว่า ๕ เมตร คำนึงถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในกรณีใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมที่ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูง
องค์กรปกครองท้องถิ่น ควรควบคุมดูแลสุขลักษณะ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
96 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ พ.ศ. .... | คค. | 15/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการการขจัดมลพิษทางน้ำ
เนื่องจากน้ำมันให้ครอบคลุมถึงเคมีภัณฑ์ สารอันตราย และสารพิษ
อันจะเป็นประโยขน์ต่อการรักษาสภาพแวดล้อมทางน้ำ ป้องกันมลพิษทางน้ำ
รวมทั้งเยียวยาความเสียหายให้แก่บุคคล
ซึ่งได้รับความเสียหายจากการขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์
ให้สามารถจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
97 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2560) | มท. | 15/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
(สีม่วง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)
รวมทั้งปรับปรุงบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. ๒๕๖๐
ตลอดจนปรับปรุงรายการประกอบแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี
พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
และเพื่อการสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
(S-Curve)
และอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (New S-Curve)
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมการก่อสร้างต่าง
ๆ ไม่ให้กีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
จำเป็นต้องมีมาตรการที่เหมาะสม
ควรคำนึงถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และควรคำนึงถึงจำนวนสถานประกอบกิจการต่อพื้นที่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
และสุขลักษณะอาคารไม่ให้เกิดความแออัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
98 | รายงานผลการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (คดีโฮปเวลล์) | คค. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
99 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 3/2564 | นร.52 | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
(กพต.) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑)
เรื่องเพื่อทราบ (๑ เรื่อง) ได้แก่ การถ่ายโอนภารกิจจ้างวิทยากรสอนภาษาให้แก่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
(๒) เรื่องติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการตามข้อสั่งการประธาน กพต. (๒ เรื่อง) ได้แก่
๑)
ความคืบหน้าการช่วยเหลือและพัฒนาแรงงานไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กลุ่มที่เดินทางกลับจากต่างประเทศภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) และ ๒) ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ (๓)
เรื่องเพื่อพิจารณา (๘ เรื่อง) ได้แก่
๑) การศึกษาแนวทางการมอบอำนาจให้เลขาธิการ ศอ.บต. ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒) กรอบการบูรณาการขับเคลื่อนความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ภายใต้แนวคิดจัดข้าราชการรับผิดชอบครัวเรือนยากจน ๓) โครงการขยายพื้นที่ปลูกไม้เศรษฐกิจและผลไม้เศรษฐกิจ
เพื่อสร้างความยั่งยืนทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ ๔) โครงการยกระดับการพัฒนาพื้นที่เมืองต้นแบบเบตง จังหวัดยะลา “Amazean Jungle Trai” ๕) โครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากน้ำเทพา
ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ๖) โครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรทะเลประมงที่ยั่งยืนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีเร่งด่วน
เรือชุดที่ ๑ ๗) โครงการพัฒนาศักยภาพด่านศุลกากรชายแดนไทย-มาเลเซีย (๙ ด่าน) เพื่อยกระดับการค้าชายแดนและความร่วมมือในมิติต่าง ๆ และ ๘)
การขอทบทวนมติ กพต. เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ เรื่อง
การพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนกรณีครอบครัวนายอัลดุลเลาะอีซอมูซอ
และมติ กพต. เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เรื่อง
การให้ความช่วยเหลือกรณีราษฎรเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ๓ ศพ
บนเทือกเขาตะเว ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
100 | ร่างบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | พน. | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑.๑
เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Memorandum
of Understanding between The Government of the Kingdom of Thailand and The Government of the Lao
People’s Democratic Republic Regarding Cooperation on the Development of
Electrical Energy in the Lao People’s Democratic Republic) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขยายความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าจากปริมาณกำลังการผลิต
เดิม ๙,๐๐๐ เมกะวัตต์ เป็น ๑๐,๕๐๐ เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้น ๑,๕๐๐ เมกะวัตต์ ๑.๒ อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
ดังกล่าว และขอให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม โดยวิธีการลงนามแบบเสมือนจริง (Virtual
Signing Ceremony) ๒.
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ต่อไป ๓.
ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานอัยการสูงสุด
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าจาก
สปป.ลาว
ให้เป็นไปอย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับแผนการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศในแต่ละช่วงเวลา
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|