ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 7 หน้า แสดงรายการที่ 61 - 80 จากข้อมูลทั้งหมด 125 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
61 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (1. นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ฯลฯ จำนวน 6 ราย) | นร.04 | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
จำนวน ๖ ราย ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายวิชาวัฒน์
อิศรภักดี ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๒. นายสรรเสริญ
สมะลาภา ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๓. นายอนุชา
สะสมทรัพย์ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๔. นายชาญกฤช
เดชวิทักษ์ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๕.
พลตำรวจโท ณัฐพิชย์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๕
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
62 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ (นายสรายุทธ แก้วกุลปรีชา และนายชัยณรงค์ วาสนะสมสิทธิ์) | มท. | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ จำนวน ๒ ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้ ๑. นายสรายุทธ แก้วกุลปรีชา ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการปกครอง (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวงตั้งแต่วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๔
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
63 | ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ครั้งที่ 2) | มท. | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายวิชวุทย์ จินโต
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย ต่อไปอีก ๑ ปี (ครั้งที่ ๒) ตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
64 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายกีรติ รัชโน) | พณ. | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายกีรติ รัชโน ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงพาณิชย์ เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
65 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ แทนตำแหน่งที่ว่าง (นายพลวัฒน์ ศุภภัทรเศรษฐ์) | อว. | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายพลวัฒน์ ศุภภัทรเศรษฐ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ
แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
66 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายปวัตร์ นวะมะรัตน์) | กร | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายปวัตร์
นวะมะรัตน ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕
เป็นต้นไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
67 | ผลการประชุมรัฐมนตรีพลังงานบิมสเทค ครั้งที่ 3 | พน. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีพลังงานบิมสเทค ครั้งที่ ๓
มีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑) ความคืบหน้าของโครงการด้านพลังงานภายใต้กรอบความร่วมมือบิมสเทค
เช่น
จัดตั้งคณะกรรมาธิการประสานงานด้านการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าบิมสเทคและได้จัดประชุมแล้วเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔
และศึกษาแผนแม่บทการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าบิมสเทคโดยอยู่ระหว่างหารือเกี่ยวกับเอกสารเชิงหลักการและขอบเขตการดำเนินโครงการร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซีย
(๒) การแสดงวิสัยทัศน์และนำเสนอนโยบายด้านพลังงานและแนวทางความร่วมมือภายใต้กรอบบิมสเทค
(๓) ที่ประชุมได้รับรองร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานบิมสเทค ครั้งที่
๓ มีสาระสำคัญ เช่น เน้นย้ำความร่วมมือด้านพลังงานและการซื้อขายพลังงานระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อบรรลุความมั่นคงทางพลังงานและความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ดียิ่งขึ้นภายในภูมิภาค (๔)
ที่ประชุมได้รับรองผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงานบิมสเทค
ครั้งที่ ๓-๕ โดยมีสาระสำคัญ เช่น
การเร่งลงนามในบันทึกความตกลงเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์พลังงานบิมสเทคและบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าบิมสเทค
และ (๕) ที่ประชุมเห็นชอบให้อินเดียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีพลังงานบิมสเทค
ครั้งที่ ๔ ซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นภายในปี ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
68 | ร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. .... | คค. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการลดอัตราภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวที่จดทะเบียนระหว่างวันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๘ ลงร้อยละ ๘๐ ของอัตราที่กำหนดตาม (๑๑)
ของอัตราภาษีประจำปีท้ายพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์
(ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นระยะเวลา ๑ ปี
นับแต่วันที่จดทะเบียนเพื่อเป็นการจูงใจให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กรมการขนส่งทางบกกำหนดคำนิยามของรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ภายใต้ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับมาตรการอื่น
ๆ ของภาครัฐ ไปประกอบการตรวจพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
69 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๕๕
และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวม ๑๑ ฉบับ
เป็นเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมดังกล่าว ระหว่างวันที่ ๒-๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ
กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา
มีสาระสำคัญมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมืออย่างรอบด้าน
ครอบคลุมการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนผ่านการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศ
การสร้างเสถียรภาพด้านความมั่นคงในระดับภูมิภาค
รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งของการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิก
เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่มีความยืดหยุ่น ยั่งยืน และมีความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
70 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม และกำหนดแบบใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถและลักษณะเครื่องหมายพิเศษ พ.ศ. .... | คค. | 18/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม
และกำหนดแบบใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถและลักษณะเครื่องหมายพิเศษ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม โดยกำหนดอายุของใบอนุญาต และเงื่อนไขให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องรายงานการใช้เครื่องหมายพิเศษ
(ป้ายแดง) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งปรับปรุงแบบใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถ
และลักษณะเครื่องหมายพิเศษ เพื่อให้ทางราชการสามารถควบคุม กำกับ ดูแล
การใช้เครื่องหมายพิเศษ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดปัญหาการหลีกเลี่ยงการใช้รถโดยไม่จดทะเบียน
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้พิจารณาประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
รวมทั้งปรับปรุงประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
71 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนมะเขือแจ้ จังหวัดลำพูน พ.ศ. .... | มท. | 12/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนมะเขือแจ้
จังหวัดลำพูน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท
ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค
บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดลำพูน ซึ่งกำหนดให้
“ชุมชนมะเขือแจ้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้ความสำคัญกับการควบคุมการก่อสร้างต่าง ๆ มิให้กีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จะต้องไม่อยู่ในระยะที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
หรือต้องจัดให้มีระบบป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่มีประสิทธิภาพ
ควรควบคุมสถานประกอบกิจการที่ตั้งในพื้นที่ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออนามัยสิ่งแวดล้อม
จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และให้กรมโยธาธิการและผังเมืองควรกำกับดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ
ดังกล่าว อย่างเข้มงวดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
72 | หลักการในการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 | นร.12 | 12/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘
โดยให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการพิจารณาให้สอดคล้องกับเรื่องการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาการอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ และรับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และธนาคารแห่งประเทศไทย ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนก่อนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
73 | การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมปศุสัตว์ (ครั้งที่ 1) (นายสรวิศ ธานีโต) | กษ. | 12/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายสรวิศ ธานีโต
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งอธิบดีกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ ๔ ปี เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๕ ต่อไปอีก (
ครั้งที่ ๑) ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
74 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. .... | ดศ. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ
หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ มาใช้บังคับ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการเก็บ
รวบรวม ใช้ เปิดเผย ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันประเทศ
การรักษาความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ การจัดเก็บภาษีของหน่วยงานรัฐ
การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ การดำเนินการของหน่วยงาน ศาล อัยการ
และผู้บังคับใช้กฎหมาย โดยมิให้นำบทบัญญัติในหมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๕ หมวด ๖ และหมวด
๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
ทั้งหมดมาใช้บังคับกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด
เช่น ให้เพิ่มภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ
การควบคุมป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภคไว้ในมาตราดังกล่าว
กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผย
ประมวลข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีเรื่องดังกล่าวด้วย และตามร่างมาตรา ๓ (๓) คำว่า
“ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย” นั้น มีความครอบคลุมเพียงใด
เนื่องจากเป็นถ้อยคำที่อาจมีการตีความได้หลายนัย
จึงพึงระมัดระวังเพื่อไม่ให้ขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๒ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
75 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฏกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. 2553) | มท. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
(สีเขียว) สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อกิจการอื่นในพื้นที่บางบริเวณ
ให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มขึ้น จาก ไม่เกินร้อยละ ๕ เป็น ไม่เกินร้อยละ ๑๐
ของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
76 | ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) | กค. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา
๑๒ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นอากรสำหรับที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก
(Car seat) ตามประเภทย่อย ๙๔๐๑.๘๐.๐๐ รหัสย่อย ๐๑ เฉพาะที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กนำเข้ามา
ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ร่างประกาศฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จนถึงวันที่ ๓๑
ธันวาคม ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติ ที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นควรเพิ่มเหตุผลการยกเว้นอากรไว้ในร่างประกาศกระทรวงการคลังเพื่อให้เห็นความจำเป็นในการออกประกาศในครั้งนี้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติของมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็น
และประโยชน์ที่จะได้รับให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
77 | ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารฯ สายเฉลิมรัชมงคล สายฉลองรัชธรรม และอัตราค่าโดยสารร่วม รวม 3 ฉบับ | คค. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรายงานว่า
เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระประชาชนจากผลกระทบทางเศรษฐกิจในปัจจุบันตามนโยบายรัฐบาลกระทรวงคมนาคมจะไปเจรจากับ
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) เพื่อชะลอการใช้อัตราค่าโดยสารใหม่สายฉลองรัชธรรม
(สายสีน้ำเงิน) ออกไปก่อน โดยให้คงอัตราค่าโดยสารไว้ราคาเดิมจนถึงวันที่ ๓๑
ธันวาคม ๒๕๖๕ และจะใช้อัตราค่าโดยสารใหม่ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ๒. เห็นชอบในหลักการ ๒.๑ ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารการรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
โดยอัตราค่าโดยสารใหม่จะมีอัตราเริ่มต้นที่ ๑๗ บาท สูงสุด ๔๓ บาท โดยสถานีที่ ๖ , ๙,
๑๑ และ ๑๒ ขึ้นไป จะมีอัตราค่าโดยสารเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ๑ บาท
อีกทั้งยังกำหนดให้คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย อาจประกาศกำหนดผลิตภัณฑ์ของตั๋วโดยสาร
เพื่อส่งเสริมการใช้บริการรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารเพื่อสนับสนุนกิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาล
หรือเพื่อประโยชน์อื่นใด ๒.๒
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร
วิธีการจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารการรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชธรรม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับให้สอดคล้องกับรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชมงคล โดยไม่มีการปรับอัตราค่าโดยสาร ๒.๓
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารใหม่ตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
และกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วมให้ครอบคลุมรถไฟฟ้าสายอื่น รวม ๓ ฉบับ
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยให้กระทรวงคมนาคมแก้ไขร่างข้อบังคับตามข้อ ๒.๓
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
เพื่อให้การดำเนินการตามร่างข้อบังคับดังกล่าวเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
ควรมีมาตรการส่งเสริมการใช้บริการ เช่น การจัดโปรโมชั่น ตั๋วรายเดือน ตั๋วเป็นชุด
พิจารณากำหนดในรูปแบบการให้ส่วนลดค่าโดยสารและยกเลิกการจัดสวัสดิการรถรับ-ส่งพนักงานควบคู่กันไปด้วย
พร้อมทั้งเร่งพิจารณาจัดทำแผนเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชธรรม ภายใต้ขอบเขตและอำนาจหน้าที่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
78 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2565 และครั้งที่ 2/2565 | นร.52 | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
(กพต.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๕ และครั้งที่ ๒/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑.
เรื่องเพื่อทราบ เช่น (๑) รายงานการตรวจติดตามงานด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของ
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี/ประธาน กพต. (๒)
รายงานความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน (อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา)
ผ่านโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากน้ำเทพา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา
จังหวัดสงขลา และ (๓) การขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
รองรับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย ๒.
เรื่องที่ประชุมรับทราบรายงานการติดตามข้อสั่งการประธาน กพต. เช่น (๑)
การขับเคลื่อนโครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
เพื่อขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผ่านโครงการนำร่อง “๑ ข้าราชการ ๑ ครัวเรือนยากจน” และ (๒)
ความคืบหน้าการช่วยเหลือและพัฒนาแรงงานไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กลุ่มที่เดินทางกลับจากต่างประเทศภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ๓.
เรื่องเพื่อพิจารณา เช่น (๑)
โครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์หลักสูตรเข้มข้นและเตรียมการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และ (๒) ขออนุมัติหลักการโครงการเสริมสร้างคนดีตามหลักการทางศาสนาเพื่อสืบสานและรักษาสังคมพหุวัฒนธรรมที่ดีงามของจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
79 | มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย | กก. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-19) อาทิ (๑)
ควรจัดเก็บข้อมูลนักแสดงชาวต่างชาติที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย
และจัดส่งให้กรมสรรพากรเป็นระยะ และ (๒)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจด้านอื่น ๆ
ให้มากขึ้นควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะการลดข้อจำกัดและกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่เป็นอุปสรรคต่อการถ่ายทำภาพยนตร์
การพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนดำเนินการผลักดันมาตรการสร้างแรงจูงใจในด้านอื่น
ๆ
ที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการยกเว้นภาษีนักแสดงชาวต่างชาติในครั้งนี้ให้เหมาะสมและครอบคลุม
รวมทั้งให้พิจารณาแนวทางการดำเนินการส่งเสริมและยกระดับจังหวัดเมืองรองต่าง ๆ
ให้สามารถใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้นด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
80 | (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570) | นร.08 | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ (ร่าง)
นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการดำเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข
หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามเพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ
โดยให้หน่วยงานของรัฐนำไปถ่ายทอดและจัดทำแผนระดับที่ ๓
ที่จะเริ่มดำเนินการพร้อมกันในห้วงที่ ๒ ของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ระหว่าง
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๗๐ ได้อย่างสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในการจัดทำ
(ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ได้ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การประชุม
การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ทางเว็บไซต์ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงสาธารณสุข
เช่น
ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาที่แต่ละหน่วยงานยังคงจัดทำแผนงานตามภารกิจและบริหารงบประมาณและทรัพยากรของแต่ละหน่วยงานเอง
ควรมีการปรับถ้อยคำตัวชี้ววัดในบางรายการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงการปรับปรุงในส่วนของนโยบายและแผนความมั่นคงที่
๖ การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง และนโยบายและแผนความมั่นคงที่ ๑๓
การบริหารจัดการความเสี่ยงโรคติดต่ออุบัติใหม่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |