ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 7 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 125 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายพีรพันธ์ คอทอง ฯลฯ จำนวน 12 ราย) | กษ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๑๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑. นายพีรพันธ์ คอทอง ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นางสาวอิงอร ปัญญากิจ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๔. นายชัยวัฒน์ โยธคล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๕. นายชูชาติ รักจิตร ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๖. นายนวนิตย์ พลเคน ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๗. นางสาวเสาวลักษณ์ ศุภกมลเสนีย์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๘. นายปรีชา พันธุ์วา ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๙. นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๑๐. นางสาวภัทราภรณ์ โสเจยยะ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๑๑. นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ๑๒. นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
|
||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่จังหวัดนนทบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาจังหวัดนนบุรีให้เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย
มีคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดีมีการพัฒนาบริการสาธารณะที่ได้มาตรฐาน
และมีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ
สอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการผลิต การค้า การบริการและการลงทุน
ตลอดจนดำรงรักษาพื้นที่เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น
และวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
โดยมีแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาจังหวัดนนทบุรีให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวม จำแนกออกเป็น ๑๔
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไห้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติกฎหมาย
กฎ หรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึงกฎ ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งการตั้งสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตทางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
ประเภท ชนิด และจำพวกของโรงงานในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... ฉบับนี้ ลำดับที่ ๓๔ (๒)
ให้พิจารณากำหนดให้ตั้งในพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขาพของประชาชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
3 | แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (1. นายอนุชา เศรษฐเสถียร และนางจันทิรา บุรุษพัฒน์) | คค. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
จำนวน ๒ คน เนื่องกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้ ๑. นายอนุชา เศรษฐเสถียร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๒. นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย
ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (เรื่อง
การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)
|
||||||||||||||||||||||||||||||
4 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 4/2565 | ศอบต. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
(กพต.) ครั้งที่ ๔/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕
ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑. เรื่องเพื่อทราบ จำนวน ๗ เรื่อง ได้แก่ (๑) รายงานความก้าวหน้ากิจกรรมโคบาลชายแดนใต้ภายใต้โครงการเมืองปศุสัตว์กรอบระเบียบฮาลาล
จังหวัดชายแดนภาคใต้ (๒) รายงานความก้าวหน้าโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและประวัติศาสตร์อุโมงใหญ่ “ต้าสวุ่ยต้อ”
ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา (๓)
รายงานความคืบหน้าการพัฒนาศักยภาพด่านศุลกากรชายแดนไทย-มาเลเซีย
เพื่อยกระดับการค้าชายแดนและความร่วมมือในมิติต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
(ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ด่านศุลกากรตากใบ และด่านศุลกากรบูเก๊ะตา) (๔)
รายงานความก้าวหน้าโครงการพลังงานไฟฟ้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ (๕) รายงานความก้าวหน้าโครงการพลังงานไฟฟ้า (๖)
รายงานความก้าวหน้าการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาของน้ำทุกระบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
และ (๗) ผลการเยือนจังหวัดชายแดนภาคใต้ของนาย ยูซุฟ อัล-ดูเบอี ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายการเมือง
องค์การความร่วมมืออิสลามและคณะระหว่างวันที่ ๒๙-๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ ๒. เรื่องการติดตามความก้าวหน้าตามมติ กพต. จำนวน ๓ เรื่อง ได้แก่
(๑) โครงการเสริมสร้างคนดีตามหลักการทางศาสนาเพื่อสืบสานและรักษาสังคมพหุวัฒนธรรมที่ดีงามของจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐ (๒) กิจกรรมมหกรรมการอ่านแห่งชาติ “มหัศจรรย์สร้างสรรค์
และการอ่านเพื่อเด็กปฐมวัย ชายแดนใต้”
ภูมิภาษา วิถีพหุวัฒนธรรม นวัตกรรม สุขภาวะเด็กปฐมวัย และ (๓)
การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กเล็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (๔
จังหวัด และ ๔ อำเภอ ในจังหวัดสงขลา) ๓. เรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน ๕ เรื่อง ได้แก่ (๑) ขออนุมัติหลักการโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและบูรณปฏิสังขรณ์วัดและโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
(๒) ขออนุมัติหลักการส่งเสริมอัตลักษณ์ทางภาษา ประเพณี วัฒนธรรม
เพื่อสร้างความเข้มแข็งของสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (๓) ขออนุมัติหลักการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเชิงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (๔) ขออนุมัติหลักการการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายพลเรือนที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และ (๕) ขอทบทวนมติ กพต. ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เรื่อง
การสนับสนุนสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2566 | คค. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี
และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๖
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนทางพิเศษบูรพาวิถี
และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)
และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๖
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | คค. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข
๗ และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗
และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๐๐.๐๑
นาฬิกา ของวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันพุธที่ ๔
มกราคม ๒๕๖๖ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางบนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลดังกล่าว
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรเร่งประชาสัมพันธ์การยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบนทางหลวงพิเศษดังกล่าว
เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางในช่วงวันหยุดราชการต่อเนื่องได้อย่างคล่องตัวสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎกระทรวงต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน | กค. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบและรับทราบมาตรการและการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่พ.ศ.
๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒.
เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
เห็นชอบ ๓.๑
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ๓.๒
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับการโอนและการจำนองจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
พ.ศ. .... ๓.๓
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับการโอนและการจำนองจากการซื้อขายห้องชุดเพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
พ.ศ. …. ๓.๔
ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๓.๕
ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ใบอนุญาตขายยาสูบ และใบอนุญาตขายไพ่
ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....รวม ๕ ฉบับ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๔.
การจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี
๒๕๖๖ ให้เป็นไปตามความเห็นสำนักงบประมาณ ๕.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งความโปร่งใสในการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐ
และประชาชนเป็นสำคัญ ควรกำหนดมาตรการที่ชัดเจน เพื่อให้ อปท. มีรายได้เพียงพอสำหรับการจัดบริการสาธารณะและการลงทุนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในระยะต่อไป
นอกเหนือจากการลดอัตราภาษีน้ำมันแล้ว
ภาครัฐควรเร่งดำเนินมาตรการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวให้กลับมาอยู่ในระดับก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
โดยเร็ว และให้หน่วยงานผู้ดำเนินโครงการให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงต่อไป
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์ ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | พณ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงพาณิชย์
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๓ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอ
ดังนี้ ๑. นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นางสาวโชติมา เอี่อมสวัสดิกุล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองพังงา พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองพังงา
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลนบปริง
ตำบลถ้ำน้ำผุด ตำบลท้ายช้าง ตำบลตากแดด ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมืองพังงา
จังหวัดพังงา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมือง และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่งการสาธารณูปโภค การบริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดพังงาและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริหารและการปกครอง
การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
โดยดำรงรักษารูปแบบการตั้งถิ่นฐานที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น
๙ ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จะต้องปฏิบัติกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง ควรกำหนดพื้นที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งตามธรรมชาติในระยะที่มีความเหมาะสมโดยเฉพาะที่ดินประเภทสถาบันราชการในแปลงศูนย์ราชการจังหวัดพังงา
สถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการอนุญาตและควบคุมการประกอบกิจการโรงงานให้ได้มาตรฐานอย่างเคร่งครัด
รวมถึงกรมโยธาธิการและผังเมืองควรสนับสนุนให้เจ้าพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำกับ
ดูแล
และควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดของผังเมืองอย่างเข้มงวดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
10 | รายงานผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 - 2564) | อว. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๔)
ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (๑) กรมป่าไม้ได้ออกพระราชบัญญัติป่าไม้
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๒ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๗ เพื่อปลดล็อกไม้หวงห้าม (๒)
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยี
และนวัตกรรมเกี่ยวกับฐานข้อมูล “ชนิดไม้มีค่าที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
และแปลงสาธิตการปลูก” การพัฒนาเทคโนโลยี
และนวัตกรรมแม่นยำทางป่าไม้เพื่อสนับสนุนการจัดการและการประเมินมูลค่าไม้ และ (๓) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มชุมชนไม้มีค่า
จำนวน ๓๒๑ ชุมชน ทำให้มีรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากต้นไม้และป่าไม้ประมาณ ๙๐
ล้านบาท และสนับสนุนชุมชนไม้มีค่าในการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก จำนวน ๖๐ ชุมชน
ได้ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนปริมาณ ๔๖๘,๓๕๕ ตัน คาร์บอนไดออกไซด์
รวมทั้งสนับสนุนเกษตรกรในการใช้ต้นไม้เป็นหลักประกัน
โดยเบื้องต้นได้สนับสนุนเฉพาะในพื้นที่เอกสารสิทธิ์ จำนวน ๒๙๒ ต้น
และให้มูลค่าหลักประกันแก่เกษตรกรที่ใช้ต้นไม้ยื่นกู้ คิดเป็นมูลค่า ๓.๑๐ ล้านบาท
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำของการประชุมสุดยอดอาเซียน - สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ ค.ศ. 2022 | กต. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำ
(Joint
Leaders’ Statement) ของการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโปร
สมัยพิเศษ ค.ศ. ๒๐๒๒ (ASEAN-EU Commemorative Summit) และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ซึ่งร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในระดับผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและสหภาพยุโรปในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในสาขา
ได้แก่ (๑) สันติภาพและความมั่นคง (๒) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า (๓) ความเชื่อมโยงการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล
และการลดช่องว่างด้านการพัฒนา (๔) การพัฒนาที่ยั่งยืน สิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน (๕) สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
(โควิด ๑๙) และ (๖)
ประเด็นระหว่างประเทศและภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งใช้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า
กระทรวงการต่างประเทศจำเป็นต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
12 | แนวทางการประชุมสภาผู้แทนราษฎร | ปสส. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพุธที่ ๑๔
ธันวาคม ๒๕๖๕ ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๑๕
ธันวาคม ๒๕๖๕ และครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่
๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๕ ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท พ.ศ. .... | มท. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหันคา
ตำบลวังไก่เถื่อน และตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนหันคา ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ดำรงรักษาเมืองและรักษาพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม
ส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม เป็นศูนย์กลางการผลิต
การซื้อขายและบริการทางการเกษตรระดับชุมชน
โดยการจัดการด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค
การบริการสาธารณะ และรวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในเขตผังเมืองรวมชุมชนหันคา
จังหวัดชัยนาท
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๘
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภท หรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
คำนึงถึงการควบคุมและกำกับดูแลเพื่อป้องกันการกระจายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมและคงเจตนารมณ์ของการกำหนดที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมไว้
คำนึงถึงจำนวนและที่ตั้งของสถานประกอบกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และเป็นไปตามกฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อรักษาพื้นที่เกษตรกรรมและสภาพแวดล้อมที่ดีของชุมชนให้คงอยู่ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ผลการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง | พน. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน
ครั้งที่ ๔๐ และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๑๓-๑๖
กันยายน ๒๕๖๕ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ
สรุปได้ ดังนี้ (๑) การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ ๔๐ ที่ประชุมฯ
ได้รับทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านพลังงานอาเซียน
ระยะที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๘ ในด้านต่าง ๆ เช่น การเชื่อมโยงโครงข่าย
สายส่งไฟฟ้าอาเซียน การเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซอาเซียน
ถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานหมุนเวียน
รวมทั้งได้รองรับถ้อยแถลงร่วมของการประชุมฯ ด้วยแล้ว และ (๒) การประชุมอื่น ๆ
และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง เช่น การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนบวกสาม
ครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๕ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือด้านความมั่นคงทางพลังงานหมุนเวียน
และการแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีใหม่เกี่ยวกับพลังงานผ่านโครงการต่าง ๆ
การประชุมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ ๑๖ ได้หารือเกี่ยวกับความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
และการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐอเมริกาได้เสนอโครงการ
Southeast Asia Smart Power Program ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโครงการด้านพลังงานสะอาดในภูมิภาคและยกระดับความเชื่อมโยงทางพลังงานและส่งเสริมการค้าพลังงานพหุภาคีในภูมิภาค
เป็นต้น ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายพงศธร ศิริอ่อน) | กษ. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายพงศธร ศิริอ่อน
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งวิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ กรมชลประทาน ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา
(ด้านสำรวจและหรือออกแบบ) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่งตั้งวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ) | มท. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
17 | (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2566-2580) | นร16 | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐) โดย (ร่าง) นโยบายและแผนฯ
มีนโยบายหลัก ๔ ด้าน ได้แก่ (๑) การสงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
และการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ (๒)
การใช้ที่ดินและทรัพยากรที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด (๓)
การกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และ
(๔) การบูรณาการและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินอย่างมีเอกภาพ
และมีตัวชี้วัดรวมทั้งหมด ๑๙ ตัวชี้วัด มี ๑๑ แนวทางการพัฒนาหลัก และ ๑๗
แผนงานที่สำคัญ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม และข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย เช่น ควรมีการประเมินความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งของภาครัฐ
เอกชน รวมถึงประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายของ คทช.
เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแผนการดำเนินงานต่อไป ให้ความสำคัญกับการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายต่าง
ๆ และควรให้ภาคประชาชนในพื้นที่ที่มีส่วนร่วม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย | พน. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
(Memorandum of Understanding between the
Ministry of Energy of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Energy of the
Kingdom of Saudi Arabia in the Field of Energy) และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีด้านพลังงานระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
และเสริมสรางความสัมพันธ์ในมิติต่าง ๆ ได้แก่ (๑) ความร่วมมือด้านพลังงาน อาทิ
ปิโตรเลียม ก๊าซ ไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
และปิโตรเคมี (๒) การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนและเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำเพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อาทิ เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน การนำกลับมาใช้ซ้ำ การแปรสภาพและการกักเก็บคาร์บอน
และเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (๓)
การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลและนวัตกรรมด้านพลังงาน (๔)
การดำเนินการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนเชิงคุณภาพระหว่างคู่ภาคี เพื่อใช้ประโยชน์วัสดุ
ผลิตภัณฑ์ และบริการในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่คุณค่า
และเทคโนโลยีด้านพลังงาน (๕)
การเสริมสร้างความร่วมมือกับบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านพลังงาน (๖)
การดำเนินความร่วมมือในการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากวัสดุที่มีความยั่งยืนในภาคการก่อสร้างและภาคอื่น
ๆ (๗) การดำเนินการวิจัยด้านพลังงานร่วมกันกับมหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัย
และหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงการจัดประชุม การจัดอภิปราย งานสัมมนา
และการประชุมพหุภาคี (๘)
การเสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากรผ่านการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน
และ (๙) ด้านอื่น ๆ ที่ตกลงกันภายใต้กรอบของบันทึกความเข้าใจนี้ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ๒. ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวระหว่างไทยและญี่ปุ่น และข้อริเริ่มความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น | พน. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวระหว่างไทยและญี่ปุ่น
และข้อริเริ่มความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว
ระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม
ประเทศญี่ปุ่น (Memorandum of Cooperation on Thailand-Japan
LNG Upstream Investment and LNG Tank Cooperation Initiative between the
Ministry of Energy of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Economy,
Trade and Industry of Japan) และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)
เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือฯ โดยร่างบันทึกความร่วมมือฯ มีสาระสำคัญเป็นการขยายความร่วมมือด้านการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวและความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวในประเทศไทย
เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานระหว่างคู่ภาคีและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความร่วมมือฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งคำนึงถึงแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ ๒
ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (1.นายภาสกร บุญญลักษม์ ฯลฯ จำนวน 37 ราย) | มท. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
สังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๓๗ ราย
เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน และทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้ ๑. ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน ๒๔ ตำแหน่ง ๒. ผู้ตรวจราชการกระทรวง จำนวน ๑๑ ตำแหน่ง
|