ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 4 จากข้อมูลทั้งหมด 4 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | มาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล สำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | คค. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟชานเมืองสายสีแดง
๒๐ บาท เฉพาะสายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์-ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์-รังสิต)
ต่อ ๑ เที่ยวการเดินทาง (เริ่มต้นเมื่อระบบมีความพร้อม จนถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน
๒๕๖๗) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ๒.
รับทราบแนวทางการดำเนินมาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง)
สูงสุด ๒๐ บาท ตามนโยบายรัฐบาล (เริ่มต้นเมื่อระบบมีความพร้อม จนถึงวันที่ ๓๐
พฤศจิกายน ๒๕๖๗) ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๓.
ให้กระทรวงคมนาคมประเมินผลการดำเนินมาตรการตามข้อ ๑ และ ๒ เป็นรายปี
เพื่อนำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงแนวทางมาตรการดังกล่าวในปีต่อไป
ทั้งนี้ ให้นำความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินผลไปพิจารณาประกอบการดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
2 | การรับรองร่างถ้อยแถลงฮาลองสำหรับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติว่าด้วยการสร้างความเข้มแข็งของภูมิภาคอาเซียนโดยการขับเคลื่อนขั้นตอนปฏิบัติล่วงหน้าในการจัดการภัยพิบัติ (Ha Long Ministerial Statement on the Strengthening of ASEAN Anticipatory Actions in Disaster Management) | มท. | 10/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างถ้อยแถลงฮาลองสำหรับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติว่าด้วยการสร้างความเข้มแข็งของภูมิภาคอาเซียนโดยการขับเคลื่อนขั้นตอนปฏิบัติล่วงหน้าในการจัดการภัยพิบัติ
(Ha Long Ministerial Statement on the
Strengthening of ASEAN Anticipatory Actions in Disaster Management) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างถ้อยแถลงฯ
ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Ministerial
Meeting on Disaster Management : AMMDM) ครั้งที่ ๑๑ ในวันที่ ๑๒
ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ เมืองฮาลอง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยร่างถ้อยแถลงฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการผลักดันให้ทุกประเทศดำเนินการตามแผนงานความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน
ค.ศ. ๒๐๒๑-๒๐๒๕ ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติล่วงหน้า
โดยสนับสนุนให้มีการดำเนินการใน ๓ ด้าน ได้แก่ (๑)
การปรับปรุงระบบการพยากรณ์และการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า (๒) การวางแผน การดำเนินงาน
และการส่งมอบขั้นตอนการปฏิบัติล่วงหน้า และ (๓) การวางแผนจัดเตรียมงบประมาณในการจัดการภัยพิบัติ
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศในประเด็นเกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๘ หรือไม่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
3 | การรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองสำหรับการประชุมระดับสูงว่าด้วยการทบทวนครึ่งวาระของกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ค.ศ. 2015-2030 | มท. | 16/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาทางการเมืองสำหรับการประชุมระดับสูงว่าด้วยการทบทวนครึ่งวาระของกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
ค.ศ. ๒๐๑๕-๒๐๓๐ และอนุมัติให้ นายสุริยา
จินดาวงษ์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก หรือผู้แทน
ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้รับรองร่างปฏิญญาดังกล่าว
โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นและการเร่งรัดการดำเนินการตามพันธกิจ
๔ ประการ (Priorities for Action) ของกรอเซนได ประกอบด้วย พันธกิจที่ ๑ เข้าใจความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
พันธกิจที่ ๒ เสริมสร้างศักยภาพในการบริหารและจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
พันธกิจที่ ๓ ลงทุนในด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
เพื่อให้พร้อมรับมือและฟื้นคืนกลับได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และพันธกิจที่
๔ พัฒนาศักยภาพในการเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ
ตลอดจนการฟื้นสภาพและซ่อมสร้างที่ดีกว่าเดิมในช่วงของการบูรณาการฟื้นฟูภายหลังเหตุภัยพิบัติ
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาทางการเมืองสำหรับการประชุมระดับสูงว่าด้วยการทบทวนครึ่งวาระของกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
ค.ศ. ๒๐๑๕-๒๐๓๐ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||
4 | การนำเสนออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก | ทส. | 24/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบเอกสารการนำเสนออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
และเห็นชอบให้ประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญามรดกโลกลงนามในเอกสารนำเสนออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกต่อศูนย์มรดกโลก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ๒. การนำเสนอพื้นที่เพื่อการขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในครั้งต่อ
ๆ ไป
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำผลการศึกษาที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
เกี่ยวกับความคุ้มค่าหรือประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
รวมทั้งให้จัดทำข้อมูลการคาดการณ์ผลกระทบจากการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของหน่วยงานต่าง
ๆ ในพื้นที่แหล่งมรกดกโลกที่อาจเกิดขึ้น (การสร้างถนน ทางรถไฟ
หรือระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นต้น) เพื่อเสนอเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในคราวเดียวกันด้วย)
|