ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 40 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ครั้งที่ 1/2565 | อก. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
(กอช.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ในฐานะรองประธาน กอช. เป็นประธานการประชุม
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติที่ประชุม กอช. ดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ ๑) (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐)
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุปกรณ์และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอาเซียน
และมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองภายในปี ๒๕๗๐ โดยมีแนวทางดำเนินงาน ๓ มาตรการหลัก
ได้แก่ ยกระดับศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เดิม
กระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ และสร้างและพัฒนาระบบนิเวศสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ๒)
(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพืชกัญชงเชิงอุตสาหกรรมแห่งอาเซียนภายใน ๕ ปี
มีแนวทางดำเนินงาน ๔ มาตรการหลัก ได้แก่
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่กัญชง
ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปเชิงพาณิชย์ ส่งเสริมด้านการตลาด
และสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการประกอบการ และ ๓)
การส่งเสริมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
มีแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่ การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะ
๕ ปี (๒๕๖๖-๒๕๗๐)
จัดตั้งกองทุนอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เข่น ควรคำนึงถึงความยั่งยืนในการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงพาณิชย์
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานอย่างครบวงจรเพื่อเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชนทั้งในภาคเกษตร
อุตสาหกรรมและบริการ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้ระเบียบ
กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ และกฎระเบียบอย่างอื่นอย่างเคร่งครัด
ควรติดตามผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุม กอช. เพื่อเสนอต่อ กอช.
และคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ การพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ควรให้ความสำคัญกับความต้องการของตลาดเป็นหลักจึงจะสามารถรองรับความผันผวนของราคาได้
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำของการประชุมสุดยอดอาเซียน - สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ ค.ศ. 2022 | กต. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำ
(Joint
Leaders’ Statement) ของการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโปร
สมัยพิเศษ ค.ศ. ๒๐๒๒ (ASEAN-EU Commemorative Summit) และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ซึ่งร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในระดับผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและสหภาพยุโรปในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในสาขา
ได้แก่ (๑) สันติภาพและความมั่นคง (๒) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า (๓) ความเชื่อมโยงการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล
และการลดช่องว่างด้านการพัฒนา (๔) การพัฒนาที่ยั่งยืน สิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน (๕) สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
(โควิด ๑๙) และ (๖)
ประเด็นระหว่างประเทศและภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งใช้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า
กระทรวงการต่างประเทศจำเป็นต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 2/2565 | นร.11 สศช | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
(กบส.) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๕
พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติและรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เพื่อนำเสนอคณะกรรมการระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศตามขั้นตอนต่อไป
และเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
รวมทั้งเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ (เรื่อง
ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑)
เพื่อมอบหมายให้กรมศุลกากรเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ
National Single Window และกำหนดขอบเขตหน้าที่ของบริษัท
โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ให้เหมาะสม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) กระทรวงคมนาคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เช่น
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแผนการรปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อมาดำเนินการในโอกาสแรก
และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมกับ reprocess เพื่อลดกระบวนงานให้เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้นและกำหนดกรอบเวลาการพัฒนาระบบ
NSW ให้แล้วเสร็จไว้อย่างชัดเจน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2565 | กษ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปมติคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๕ และเห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองภายใต้กรอบองค์การค้าโลก (World Trade Organization :
WTO) คราวละ ๓ ปี (ปี ๒๕๖๖-๒๕๖๘) ไม่จำกัดปริมาณ อัตราภาษี
ร้อยละ ๐ และกรอบการค้าอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อผูกพัน
และการบริหารการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง คราวละ ๓ ปี (๒๕๖๖-๒๕๖๘) การเปิดตลาดและบริหารการนำเข้าสินค้าน้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมันถั่วเหลือง
มะพร้าว มะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว
ตามพันธกรณีความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO และความตกลงการค้าเสรี
(FTA) อื่น ๆ คราวละ ๓ ปี (ปี ๒๕๖๖-๒๕๖๘)
โดยจัดสรรปริมาณการนำเข้าในโควตาปีต่อปี การใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special
Safeguard Measure : SSG) ภายใต้ความตกลงเกษตรของ WTO และความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
สำหรับสินค้ามะพร้าวผล ปี ๒๕๖๕
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งผู้ประกอบการสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
และเห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
โดยเพิ่มเติมอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นกรรมการ ตามที่คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชเสนอ และให้คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น การใช้มาตรการป้องกันพิเศษ (Special
Safeguard Measure)
ควรพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและขั้นตอนภายใต้ข้อ ๕
ของความตกลงว่าด้วยการเกษตร (Agreement on Agriculture) ของ WTO
และข้อ ๘๖ ของ ATIGA ควรกำกับดูแลการนำเข้าให้เป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนด
รวมทั้งเข้มงวดกับการป้องกันผู้กระทำความผิดและเฝ้าระวังให้เกิดการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรชนิดต่าง
ๆ อาทิ เมล็ดถั่วเหลือง มะพร้าว น้ำมันปาล์ม
อย่างเคร่งครัดเพื่อมิให้กระทบกับเกษตรกรในประเทศ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวอัญชลี ตันวานิช) | มท. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาวอัญชลี ตันวานิช
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง)
สำนักพัฒนามาตรฐาน กรมโยธาธิการและผังเมือง
ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการผังเมือง (นักผังเมืองทรงคุณวุฒิ)
กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... | นร.01 | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(ฉบับปรับปรุง)
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบและสภาพการณ์ปัจจุบัน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ
และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เช่น ในการกำหนดบทนิยามคำว่า
“บุคคลในครอบครัว” ตามข้อ ๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว
ควรบัญญัติบทคำนิยามคำว่า “บุคคลในครอบครัว” ให้สอดคล้องกับบทนิยามคำว่า
“คู่ชีวิต”
ตามร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วและปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา
ข้อคิดเห็นในข้อที่ ๙ ควรพิจารณาเพิ่มข้อความว่า
“ของขวัญนั้นต้องไม่จูงใจให้เกิดการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ควรปรับปรุงร่างข้อ ๑๒ วรรคสาม
โดยใช้คำว่า “บุคคลในครอบครัว” เนื่องจากมีการกำหนดไว้ในบทนิยาม เป็นต้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้
รวมถึงการให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับเพื่อให้รับทราบและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
และให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างกลไกเพื่อบังคับใช้ร่างระเบียบดังกล่าวให้ครอบคลุมทุกหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
ปรับหลักเกณฑ์หรือสาระให้สอดคล้องกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๔
และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้น
และควรนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลบันทึกรายงานเกี่ยวกับการรับของขวัญด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สผ. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า ๑)
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการเตรียมการรองรับการบังคับใช้กฎหมายโดยการออกประกาศที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการนำส่งข้อมูล
การเปิดเผยข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล รวมถึงการประมวลผลข้อมูลเครดิต
การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อต้องปฏิบัติ
และการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อ ๒)
ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะหน่วยงานในกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล
[peer to peer lending platform : P2P (การกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านช่องทางออนไลน์)] ได้มีข้อกำหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ผู้ประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล
จะต้องยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนเพื่อป้องกันการทุจริต และ ๓)
กรมส่งเสริมสหกรณ์ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลสหกรณ์ได้สนับสนุนส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์
และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเข้าเป็นสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิต เป็นต้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | โครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน | อว. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามันของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และให้ดำเนินการให้ถูกต้อง
เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๓๕ ตลอดจนกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ รวมถึงควรเชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั่วถึง
เท่าเทียม และมีประสิทธิภาพ ควรมีการทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผ่านสื่อที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง
ให้นำความเห็นของหน่วยงานโดยเฉพาะสำนักงบประมาณไปดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการ
ขั้นตอนของระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง
และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณเป็นหลัก ควรพิจารณาการใช้เงินนอกงบประมาณที่รวมรายได้หรือเงินอื่นใดที่หน่วยงานมีอยู่
หรือสามารถนำมาใช้จ่ายสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ นอกเหนือจากงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Projects of the Mekong-Lancang Cooperation Special Fund 2022) | อว. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีการกำหนดให้กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย | กค. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๑,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อจ่ายคืนแก่กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับจัดทำโครงการจัดเก็บข้อมูลดีเอ็นเอของบุคคลพ้นโทษ พักโทษจากเรือนจำและทัณฑสถาน | ตช. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน
๑๓๗,๙๔๑,๘๐๐ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับจัดทำโครงการจัดเก็บข้อมูลดีเอ็นเอของบุคคลพ้นโทษ
พักโทษจากเรือนจำและทัณฑสถาน ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น พ.ศ. .... ของวุฒิสภา | สว. | 30/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | แนวทางการให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ และท่าอากาศยานกระบี่ แทนกรมท่าอากาศยาน | คค. | 30/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. .... | นร.09 | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. .... ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
โดยเพิ่มส่วนราชการภายในสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จำนวน ๔ กอง ได้แก่
(๑) กองคดี ๔ (๒) กองคดี ๕ (๓)
กองป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และ (๔)
กองความร่วมมือและพัฒนามาตรฐาน
โดยกองความร่วมมือและพัฒนามาตรฐานเป็นการยุบรวมภารกิจของกองความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีอยู่เดิม
รวมทั้งได้แก้ไขหน้าที่และอำนาจให้สอดคล้องกับภารกิจของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่เพิ่มขึ้น
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
พ.ศ. ๒๕๕๙ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | รัฐบาลสหภาพคอโมโรสเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหภาพคอโมโรสประจำประเทศไทย (นายชาริฟ มาอูลานา) | กต. | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายชาริฟ มาอูลานา (Mr. Charif Maoulana) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหภาพคอโมโรสประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน สืบแทน นายมะฮ์มูด มุฮัมมัด
อะบูด (Mr. Mahmoud Mohamed Aboud) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 21/2565 | นร.11 สศช | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | นโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง | อก. | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการต่อนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยระยะแรกสมควรปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
พร้อมทั้งกำหนดสิทธิประโยชน์ให้เหมาะสม โดยแบ่งกิจการที่ต้องการส่งเสริมเป็น ๓
ประเภท ได้แก่ (๑) กลุ่มกิจการสำรวจแร่ (๒) กลุ่มกิจการทำเหมืองแร่
และ/หรือแต่งแร่ และ (๓) กลุ่มกิจการถลุงแร่หรือประกอบโลหกรรม
และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และกระทรวงอุตสาหกรรมประสานความร่วมมือหรือปรึกษาหารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและกรมทรัพยากรธรณี
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติพิจารณานำนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และนโยบายต่อเนื่องไปกำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่
ฉบับที่ ๒ ต่อไป เพื่อให้การบริหารจัดการมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดชนิดของแร่และประเภทอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่จะส่งเสริมในแต่ละช่วงเวลาให้มีความเหมาะสมชัดเจนสอดคล้องกับความต้องการใช้งานและทิศทางในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ
๒๐ ปี โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายอนุกูล ปีดแก้ว) | พม. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายอนุกูล ปีดแก้ว ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕
เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | รง. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา
และเวียดนาม
เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ๒.
อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม ๗ ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.๑ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ (ฉบับที่ ..) ๒.๒ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๒
ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔ (ฉบับที่ ..) ๒.๓ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๓
ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔ (ฉบับที่ ..) ๒.๔ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา
ซึ่งใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔ (ฉบับที่ ..) ๒.๕ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘
กันยายน ๒๕๖๔ (ฉบับที่ ..) ๒.๖ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ .... ๒.๗ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ .... ๓.
เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงแรงงาน รวม ๘ ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓.๑ ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๒
ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔ (ฉบับที่ ..) ๓.๒ ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๓
ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔ (ฉบับที่ ..) ๓.๓ ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา
ซึ่งใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔ (ฉบับที่ ..) ๓.๔ ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘
กันยายน ๒๕๖๔ (ฉบับที่ ..) ๓.๕ ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ .... ๓.๖ ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ซึ่งได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
.... ๓.๗ ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การกำหนดเงื่อนไขการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว
และเมียนมา
ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ ๓.๘ ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การยกเว้นหน้าที่การแจ้งข้อมูลการเข้าทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๔/๒ ๔.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรปรับปรุงระบบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวให้ตอบสนองต่อความจำเป็นของตลาดแรงงานได้อย่างรวดเร็วและมีความโปร่งใสในกระบวนการจัดหาแรงงาน
รวมทั้งจัดทำแผนการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวและมาตรการลดแรงจูงใจในการทำผิดกฎหมายที่เป็นรูปธรรม
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๕.
ให้กระทรวงแรงงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการเสริมสร้างศักยภาพเชิงสถาบันและเชิงเทคนิคเพื่อดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานด้านความโปร่งใสภายใต้ความตกลงปารีส | ทส. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||