ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 8 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 141 - 160 จากข้อมูลทั้งหมด 445 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
141 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นางสาวทิพานัน ศิริชนะ) | นร.04 | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นางสาวทิพานัน ศิริชนะ
เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
142 | ขอความเห็นชอบการเพิ่ม "กิจกรรมส่งเสริมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Cross-Border e-Commerce) ภายใต้โครงการ SMEs Pro-active" | พณ. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน
(Cross-Border
e-Commerce) ภายใต้โครงการ SMEs Pro-active ของกระทรวงพาณิชย์
ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นการสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการของไทยเพื่อเสนอขายสินค้าให้กับต่างประเทศผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์
เช่น ค่าใช้จ่ายแรกเข้าในการใช้งานแพลตฟอร์ม (เช่น Alibaba KlangOne และ Global Connect) ค่าการตลาดของแพลตฟอร์มฯ
เป็นต้น
เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงตลาดต่างประเทศและขยายการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรกำกับการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน
(Cross-Border e-Commerce) อย่างเคร่งครัด
และควรมีการตรวจสอบผู้ประกอบการอย่างจริงจัง และควรพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการฯ
โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของสมาพันธ์หรือสมาคมธุรกิจอื่น
นอกเหนือจากหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หรือสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยสามารถเข้าร่วมโครงการได้ด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
143 | การชำระค่าบำรุงสมาชิกคณะกรรมการด้านนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Committee on Digital Economy Policy: CDEP) ภายใต้องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) | ดศ. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการชำระค่าบำรุงสมาชิกรายปีในอัตราที่
OECD กำหนดเป็นประจำทุกปี
โดยไม่ต้องเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายในการชำระค่าบำรุงสมาชิกในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ
๑๐ ตามมติของ External Relation Committee ภายใต้ OECD
ให้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปรับแผนการใช้จ่ายในส่วนที่เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ไปดำเนินการก่อนในโอกาสแรก สำหรับภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป
ให้จัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง โดยรายงานการจ่ายเงินค่าบำรุงสมาชิก
และผลประโยชน์หรือผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
144 | รายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ประจำปีบัญชี 2564 (วันที่ 1 เมษายน 2564-31 มีนาคม 2565) | กค. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานกิจการประจำปี
งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ประจำปีบัญชี ๒๕๖๔ (วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔-๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕)
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ ดังนี้ ๑. งบการเงินของ ธ.ก.ส. ณ วันที่ ๓๑
มีนาคม ๒๕๖๕
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องและได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่สามัญของผู้ถือหุ้น
ธ.ก.ส. แล้ว โดยมีสินทรัพย์รวม ๒,๒๓๖,๓๔๕ ล้านบาท รายได้รวม ๙๘,๕๙๗ ล้านบาท
และมีกำไร ๗,๖๓๗ ล้านบาท ๒. การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ธ.ก.ส.
เช่น พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการแบบครบวงจร พัฒนาบุคลากรให้เกิดความเชี่ยวชาญ
และบริหารจัดการเงินทุน ๓. ทิศทางการดำเนินงาน ปีบัญชี ๒๕๖๕
เช่น สร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีด้านข้อมูล
ส่งเสริมงานนวัตกรรมและวิจัย และขับเคลื่อนการเป็นเกษตรมูลค่าสูง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
145 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ และนายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์) | รง. | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงแรงงาน
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
จำนวน ๒ ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม
๒๕๖๕ เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้ ๑. นายนันทชัย
ปัญญาสุรฤทธิ์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
146 | ผลการประชุมระดับสูงว่าด้วยทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ "น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน" ค.ศ. 2018-2028 ครั้งที่่ 2 | นร.14 | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมระดับสูงว่าด้วยทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ
“น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน” ค.ศ. ๒๐๑๘-๒๐๒๘ ครั้งที่ ๒ (The Second
High-Level International Conference on the International Decade for Action
“Water for Sustainable Development”, 2019-2028 หรือ Second
Dushanbe Water Action Decade Conference) ณ กรุงดูซานเบ สาธารณรัฐจิกิสถาน
เมื่อวันที่ ๖-๙ มิถุนายน ๒๕๖๕ ซึ่งในการประชุมฯ
มุ่งเน้นวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ ๖
และเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับน้ำของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030
รวมทั้งกล่าวถึงบทบาทสำคัญของน้ำ การสุขาภิบาล
และสุขอนามัยในการแก้ไขปัญหาวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙)
และภัยคุกคามด้านสาธารณสุขอื่น ๆ จากโรคที่เกิดจากน้ำ
ตลอดจนความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างน้ำและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทของการจัดการทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับตัวและบรรเทาสภาพอากาศ
โดยในการประชุมฯ ได้มีการรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ นำส่งต่อทั่วโลกและเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดเตรียมการประชุม
UN 2023 Water Decade Conference : การประชุมด้านน้ำแห่งสหประชาชาติ
ในเดือนมีนาคม ๒๕๖๖ ที่สหรัฐอเมริกา และจะถูกนำเสนอในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
สมัยสามัญ ครั้งที่ ๗๗ (The 77th session of the United Nations
General Assembly) ในเดือนกันยายน ๒๕๖๕
และการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (The United Nations
High-Level Political Forum on Sustainable Development) ในเดือนกรกฎาคม
๒๕๖๕ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
147 | ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 | กก. | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
148 | ขออนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 ของกรมประมง | กษ. | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้กรมประมงยืมเพื่อไปดำเนินการตามโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล
ปี ๒๕๖๕ ระยะที่ ๑ ของกรมประมง มีกำหนดชำระคืนภายใน ๓ ปี ระยะเวลาโครงการ พ.ศ.
๒๕๖๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยอนุมัติวงเงิน จำนวน ๕๑๐ ล้านบาท เป็นเงินยืม
(เงินหมุนเวียนจำนวน ๕๐๐ ล้านบาท และเงินจ่ายขาด จำนวน ๑๐ ล้านบาท
สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี
๒๕๖๕ ระยะที่ ๑ ของกรมประมงเพื่อเสริมสภาพคล่องในด้านปัจจัยการผลิต
(ค่าอาหารและค่าลูกพันธุ์กุ้ง)
ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลและสร้างความมั่นคงทางอาชีพ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๐
ต่อปี ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ เช่น
กรมประมงต้องกำกับดูแลการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
ควรมีการกำหนดมาตรฐานการเลี้ยงกุ้ง การผลิตกุ้งทะเล การแปรรูป
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการปัญหาโรคกุ้ง การปรับปรุงระบบการเพาะเลี้ยงให้ปลอดโรค
ให้ความสำคัญกับมาตรการติดตามและกำกับดูแลให้มีการผลิตกุ้งทะเลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานตลอดสายการผลิต
เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมกุ้งไทยกลับมาเป็นผู้นำการส่งออกอันดับต้นของโลกได้
ทั้งนี้
ให้มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินโครงการครอบคลุมทั้งระบบตั้งแต่กลุ่มเพาะและอนุบาลลูกกุ้ง
กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง และกลุ่มผู้แปรรูป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
149 | ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร.09 | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร
กระทรวงการคลัง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการของกรมศุลกากร เช่น
จัดตั้งสำนักงานศุลกากรมาบตาพุด
เพื่ออำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และจัดตั้งสำนักงานศุลกากร
ภาคที่ ๕ เพื่อรองรับการอำนวยความสะดวกในการนำของเข้า การส่งของออก
และการขยายตัวของระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้
รวมทั้งเพิ่มหน้าที่และอำนาจของสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานและท่าเรือในการตรวจสอบบันทึก
บัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนำของเข้า หรือส่งของออก ณ
ที่ทำการของผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปราบปรามการฉ้อฉลทางการค้าภายใน
เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจและเหมาะสมกับสภาพงานที่เปลี่ยนแปลงไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
150 | ร่างปฏิญญาว่าด้วยการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในอาเซียน | พม. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างปฏิญญาว่าด้วยการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม
และยืดหยุ่นในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในอาเซียน (Declaration on Building A More Sustainable, Inclusive
and Resilient Future : Unlocking Women’s Entrepreneurship in ASEAN) และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรีของประเทศไทย
มีหนังสือแจ้งความเห็นชอบรับรองร่างปฏิญญาฯ ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียน
ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว โดยร่างปฏิญญาฯ
เป็นเอกสารที่ผู้นำรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนจะให้การรับรองในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน
๒๕๖๕
มีสาระสำคัญเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการสตรีในธุรกิจทุกประเภทและทุกระดับในภูมิภาคอาเซียน
ผ่านการกำหนดนโยบายและแนวทางดำเนินการด้านกฎหมาย การลงทุน การเก็บรวบรวมข้อมูล
การสนับสนุนบริการ
ตลอดจนการเสริมสร้างความร่วมมือข้ามสาขาและข้ามเสาในชุมชนอาเซียน
ตลอดจนการมีส่วนร่วมขององค์กรอาเซียนและคู่เจรจาของอาเซียน
องค์การระหว่างประเทศและภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ และภาคเอกชน
วิสาหกิจทางสังคม ผู้เชี่ยวชาญและนักปฏิบัติและอื่น ๆ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สามารถดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
151 | ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ. .... | สธ. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ประเภท ๒ หรือประเภท ๕ หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท
๑ หรือประเภท ๒ ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ (ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง)
ประเภท ๒ (ยาเสพติดให้โทษทั่วไป) หรือประเภท ๕
(ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท ๑ ถึงประเภท ๔ เช่น พืชฝิ่น)
หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ (วัตถุออกฤทธิ์ที่ไม่ใช้ในทางการแพทย์
และอาจก่อให้เกิดการนำไปใช้หรือมีแนวโน้มในการนำไปใช้ในทางที่ผิดสูง) หรือประเภท ๒
(วัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้ในทางการแพทย์
และอาจก่อให้เกิดการนำไปใช้หรือมีแนวโน้มในการนำไปใช้ในทางที่ผิดสูง)
ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ครอบครองเพื่อเสพ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ที่ควรกำหนดบทนิยามคำว่า
“หน่วยการใช้” ในร่างกฎกระทรวง โดยให้หมายความว่า เม็ด ซอง ขวด
หรือหน่วยอย่างอื่นที่ทำขึ้นซึ่งโดยปกติสำหรับการเสพหนึ่งครั้ง
ในลักษณะเดียวกับที่เคยมีการกำหนดคำนิยามดังกล่าวในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ยกเลิกไป ควรระบุให้ชัดเจนว่ายาเสพติดให้โทษประเภท ๕ แต่ละชนิดดังกล่าวนั้นจะต้องมีปริมาณน้ำหนักเท่าใด
จึงจำให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ
และการเพิ่มปริมาณการครอบครองยาเสพติดเพื่อให้โอกาสแก่ผู้เสพที่มีไว้เสพโดยไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรงและกฎหมายพิจารณาเพียงให้เข้ารับการบำบัดรักษาอาจส่งผลกระทบต่อการเพิ่มระดับความรุนแรงของการเสพยาเสพติด
และเป็นภัยอันตรายต่อสังคมมากยิ่งขึ้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
152 | การปรับปรุงแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรม | นร.12 | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ (เรื่อง การมอบอำนาจการแบ่งส่วนราชการภายในกรม) และวันที่ ๒ มกราคม
๒๕๖๒ (เรื่อง การทบทวนข้อเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐตามแผนการปฏิรูปประเทศ) เห็นชอบแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรมและขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ (เรื่อง
การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ) ในกรณีการขอจัดตั้งส่วนราชการระดับต่ำกว่ากรม
โดยไม่เพิ่มจำนวนกองในภาพรวมของส่วนราชการ (rearrange)
ให้ส่วนราชการดำเนินการตามขั้นตอนที่ ก.พ.ร. กำหนด และให้สำนักงาน
ก.พ. นำข้อเสนอของ ก.พ.ร.
เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งประเภทอำนวยการ
กรณีที่ส่วนราชการมีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการใหม่ เสนอต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเพื่อพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์ฯ
(ตามที่กำหนดในหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๑๐๐๘/ว ๕ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒)
ต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงาน ก.พ.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
ข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เช่น
ควรมีแนวทางเพิ่มเติมเพื่อรองรับส่วนราชการที่ต้องการจัดตั้งกองเพิ่มใหม่เพื่อรองรับภารกิจตามยุทธศาสตร์ชาติแต่ไม่สามารถยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานที่มีอยู่เดิม
และไม่สามารถโอนถ่ายภารกิจให้ส่วนราชการอื่นดำเนินการแทนได้
ให้มีขอยกเว้นให้กับส่วนราชการที่ยังมีข้อจำกัดเรื่องปริมาณงานที่เกินกว่าอัตรากำลังที่มีอยู่
และควรเลี่ยงอัตรากำลังจากส่วนราชการที่ถูกยุบเลิก/ตัดโอนภารกิจให้กับส่วนราชการที่มีภารกิจรับผิดชอบเกินกว่าอัตรากำลังที่มีอยู่
เป็นต้น ไปพิจารณา ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
153 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2564 เรื่อง (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2566-2570 | สกพอ. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
154 | ผลการพิจารณารายงานสรุปผลการศึกษาวิเคราะห์รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2563 ของคณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ วุฒิสภา | สว. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานสรุปผลการศึกษาวิเคราะห์รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
ประจำปี ๒๕๖๓ ของคณะกรรมาธิการติดตามเสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ
และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ วุฒิสภา ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
สรุปผลการพิจารณาได้ว่า (๑) การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติในภาพรวมเกี่ยวกับการจัดให้มีฐานข้อมูลแห่งชาติที่เชื่อมโยงกันได้ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน
และการให้ความสำคัญกับแผนระดับที่ ๓ ได้ดำเนินการจัดทำระบบติดตามประเมินผลแห่งชาติ
(eMENSCR) และระบบการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) เพื่อประโยชน์ในการติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลในการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ
และมีการดำเนินการสร้างความเข้มแข็งของกลไกระดับพื้นที่ โดยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในระดับพื้นที่ผ่านการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาในระดับพื้นที่
(แผนระดับที่ ๓) และ (๒)
ข้อเสนอแนะเร่งรัดที่สำคัญต่อการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ๖ ด้าน เช่น
การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ การเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานในทุกระดับเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศและภาวะวิกฤติต่าง
ๆ และการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายกระบวนการยุติธรรมให้ทันสมัย เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขานุการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
155 | ร่างพระราชบัญญัติการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงโดยสะดวก พ.ศ. ... [สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2565)] | ปสส. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก
พ.ศ. .... ต่อรัฐสภาเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
156 | ร่างบันทึกการประชุมของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี ครั้งที่ 14 และการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 ระหว่างไทยกับมาเลเซีย | กต. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างบันทึกการประชุมของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี
(The Joint Commission for Bilateral
Cooperation : JC) ครั้งที่ ๑๔
และร่างบันทึกการประชุมของการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน
[The Joint Development Strategy (JDS) for Border Areas] ระดับรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๕ ระหว่างไทยกับมาเลเซีย และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรับรองร่างบันทึกการประชุมทั้ง
๒ ฉบับ ในช่วงการประชุมคณะกรรมาธิการ JC และคณะกรรมการ JDS
ระหว่างวันที่ ๙-๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งร่างบันทึกการประชุม
JC ครั้งที่ ๑๔
มีสาระสำคัญเป็นการสรุปผลการหารือของการประชุมคณะกรรมาธิการ JC เกี่ยวกับความคืบหน้าของการดำเนินความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ อาทิ
การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความร่วมมือสาขาใหม่ ๆ
ส่วนร่างบันทึกการประชุม JDS ครั้งที่ ๕
มีสาระสำคัญเป็นการสรุปผลการหารือคณะกรรมการ JDS เกี่ยวกับความคืบหน้าของการดำเนินงานภายใต้กรอบคณะกรรมการดังกล่าว
และแสดงเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกการประชุมทั้ง ๒ ฉบับ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและกระทรวงคมนาคมที่เห็นว่า ประเด็นการเชื่อมโยงบริเวณชายแดน ควรเน้นย้ำและผลักดันใน
๓ ประเด็น ได้แก่ (๑)
การหารือเพื่อเร่งรัดการดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกแห่งที่ ๒
จังหวัดนราธิวาส-รันเตาปันยัง รัฐกลันตัน
และโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกแห่งใหม่ อำเภอตากใบ
จังหวัดนราธิวาส-เปิงกาลันกูโบร์ รัฐกลันตัน
เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคมและการค้า (๒)
การหารือเรื่องความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งทางรางระหว่างไทยกับมาเลเซีย
โดยการดำเนินโครงการปรับปรุงเส้นทางรถไฟสุไหงโก-ลก-รันเตาปันยัง-ตุมปัต
เพื่อสนับสนุนการคมนาคมขนส่งและการท่องเที่ยวข้ามพรมแดน และ (๓)
การหารือเรื่องการเชื่อมโยงทางอากาศ ถึงความเป็นไปได้ในการทำ MoU Air Linking ระหว่างไทยกับมาเลเซียเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนเส้นทางการบินจากมาเลเซียสู่สนามบินเบตง
จังหวัดยะลา รวมทั้งขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
157 | รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2564 ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย | ส.ส.ท | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
๒๕๖๔ ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ
ได้แก่ (๑) ภาพรวมผลงานประจำปี ๒๕๖๔ เช่น ให้บริการข่าวสาร
รายการความรู้ที่มีสัดส่วนอย่างเหมาะสมบนพื้นฐานความเป็นไทย เน้นความหลากหลาย
ได้ความรู้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และผลิตรายการสารประโยชน์ทางด้านการศึกษาและสาระบันเทิงที่มีสัดส่วนอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพสูง
เน้นความหลากหลายในมิติต่าง ๆ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดทิศทางการให้บริการองค์กร (๒)
แผนการบริหารกิจการและแผนงบประมาณสำหรับปี ๒๕๖๕ (๓) ผังรายการในปี ๒๕๖๔ และแผนการที่จะเปลี่ยนแปลงผังรายการสำหรับปี
๒๕๖๕ (๔) งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชี (๕) รายงานการตรวจสอบภายใน (๖)
รายงานของคณะกรรมการประเมินผล (๗) การรับฟังความคิดเห็นจากสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ
และ (๘) ข้อมูลร้องเรียนจากผู้ชม/ฟังรายการและวิธีการแก้ไข ตามที่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
158 | การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (รองศาสตราจารย์ธีระเดช เจียรสุขสกุล) | ศธ. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ธีระเดช
เจียรสุขสกุล เป็นผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
159 | แจ้งคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ.480-509/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อ.179-208/2565 ระหว่างนายวีรยุทธ สุกสอน กับพวกรวม 30 คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย | อส. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
ในคดีหมายเลขดำที่ อ.๔๘๐-๕๐๙/๒๕๕๘ คดีหมายเลขแดงที่ อ.๑๗๙-๒๐๘/๒๕๖๕
ระหว่างนายวีรยุทธ สุกสอน กับพวกรวม ๓๐ คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด
(มหาชน) ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน ผู้ถูกฟ้องคดี (คณะรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๖)
ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้นให้ยกฟ้องคดี
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
160 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2565) | ปสส. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ ซึ่งพิจารณาเรื่องที่คณะรัฐมนตรีส่งมาให้วิปรัฐบาลพิจารณา
ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก
พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... พิจารณาระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๕
พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๖
(สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|