ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 100 จากข้อมูลทั้งหมด 443 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | ร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และการสมัครเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ภายใต้กรรมสารเจนีวา ค.ศ. 1999 | พณ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
82 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง
นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงอุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง
นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง
และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นมีสิทธิขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
(Smart Visa) เพื่อให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมของ
Smart Visa
และอุตสาหกรรมเป้าหมายตามพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๐ พร้อมทั้งเพิ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีศักยภาพสูงในอนาคต (เดิมจาก ๑๓
อุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็น ๑๘ อุตสาหกรรมเป้าหมาย) ทั้งนี้
เพื่อให้สอดล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
83 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 27/2565 | นร.11 สศช | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
84 | ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน | คค. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง กำหนดให้การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน
ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์
เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร
และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน
เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน
พ.ศ. ๒๕๔๐ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง
ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
85 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Projects of the Mekong-Lancang Cooperation Special Fund 2022) | อว. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
86 | ขอก่อหนี้ผูกพันเกินวงเงินที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภคค้างจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564) | ยธ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมราชทัณฑ์ก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๙๔,๖๘๔,๖๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภคค้างจ่ายในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
87 | การจ่ายเงินสวัสดิการพิเศษให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ | กษ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
88 | ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรม หลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ในท้องที่ตำบลสำนักทอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... | อก. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป
นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ในท้องที่ตำบลสำนักทอง
อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการเปลี่ยนแปลงสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองที่ใช้ร่วมกัน
ซึ่งเดิมมีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์และปัจจุบันพลเมืองเลิกใช้ประโยชน์แล้ว จำนวน
๑ แปลง มีเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ๑ งาน ๘๑
ตารางวา เพื่อนำไปพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของเขตอุตสาหกรรมทั่วไป
นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
89 | ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.12 | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน
(Joint
KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
โดยมีกรอบแนวทางและเกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
รวมทั้งกำหนดการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพิ่มเติมจากปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ ใน ๓ ประเด็น ได้แก่ (๑) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (๒)
การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และ ๓) การท่องเที่ยว
และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนตัวชี้วัดดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายต่อไป
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการร่วมกับสำนักงาน
ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.
รวมทั้งข้อสังเกตและความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข เช่น
ควรกำหนดตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ให้ครอบคลุมภารกิจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
และควรมีการทบทวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวชี้วัดเป็นระยะ
เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
ไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนก่อนแจ้งให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
90 | การขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีการกำหนดให้กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย | กค. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๑,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อจ่ายคืนแก่กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
91 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 [ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….] | สกพอ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ [ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เรื่อง
แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….] โดย กพอ.
มีมติเห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน
๙๙.๘๗๘๘ ล้านบาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒.
อนุมัติร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง
แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
๗ แห่ง พื้นที่รวมประมาณ ๗,๙๘๖ ไร่ ซึ่ง กพอ. มีมติเห็นชอบแล้ว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ๙๙.๘๗๘๘ ล้านบาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าเช่าสำนักงาน ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสำนักงาน
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วน
รวมทั้งภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป (หากมี)
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกดำเนินการตามความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ ๔.
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.ร. โดยให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรส่งเสริมการดำเนินงานด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
ควรพิจารณาอย่างรอบคอบไม่ให้กระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนโดยรอบ
และพิจารณาถึงพื้นที่ที่สามารถรองรับการขยายการลงทุนรวมถึงการลงทุนในกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ด้วย
ควรพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีมาดำเนินการในโอกาสแรก
หากไม่เพียงให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒ อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้
หากมีภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
และกำกับดูแลและบูรณาการการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
92 | โครงการอาคารรักษาพยาบาลศิริราชและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล | อว. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
93 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....) | กค. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....)
มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องดื่ม
และสินค้าผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องดื่มที่มีลักษณะผง เกล็ด
หรือเครื่องดื่มเข้มข้นที่มีส่วนผสมของน้ำตาล และสามารถละลายได้
แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์นมที่อยู่ในรูปแบบนมผงตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
ในระยะเวลาช่วงที่ ๒ ออกไปอีก ๖ เดือน คือ จากช่วงระยะเวลา “ตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคม ๒๕๖๒ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕” เป็น “ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒
จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖” และเลื่อนระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของอัตราภาษีสำหรับสินค้าดังกล่าว
ในระยะเวลาช่วงที่ ๓ และช่วงที่ ๔ ออกไปอีก ๖ เดือน คือ ในระยะเวลาช่วงที่ ๓
จากช่วงระยะเวลา “ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗” เป็น
“ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๖ จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๘ และในระยะเวลาช่วงที่ ๔
จากช่วงระยะเวลา “ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ เป็นต้นไป เป็นตั้งแต่วันที่ ๑
เมษายน ๒๕๖๘ เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเร่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์
ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรกำหนดให้อัตราภาษีปรับเข้าสู่ระยะเวลาช่วงที่
๓ และช่วงที่ ๔ ตามแผนการที่กำหนดไว้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมาตรการภาษีสรรพสามิตในการส่งเสริมคุณภาพที่ดีของผู้บริโภค
และมอบหมายให้กระทรวงการคลังดำเนินการตามนัยของมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ให้ครบถ้วนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔.
ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
94 | โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/2565 | อก. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น
PM 2.5 ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเป็นกรณีเฉพาะเป็นการชั่วคราว
ภายในกรอบวงเงินโครงการ ๘,๓๑๙,๒๓๙,๐๑๐.๐๙ บาท
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงาน
และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป
และเพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเห็นควรให้มีระบบกลไกในการตรวจสอบให้มีมาตรฐาน
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และครบถ้วน รวมทั้งปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี
และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๗๖๒ ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๕)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำกับดูแลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ให้เร่งรัดการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยให้ได้รับเงินโดยด่วน
และขอให้มีการกำกับดูแลการตรวจสอบการจ่ายเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ถูกต้อง ครบถ้วน โดยเคร่งครัด ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนการลดพื้นที่เผาอ้อย
หาแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) อย่างยั่งยืน
เพื่อลดการใช้เงินงบประมาณจากภาครัฐ
บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้
รวมถึงส่งเสริมและหนุนเสริมให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัด
“อ้อยสดคุณภาพดี” ส่งโรงงาน เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๓/๑๓๘ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕)
ที่เห็นควรมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังภาครัฐ
ได้กำหนดให้มีการประชุมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาความจำเป็นของโครงการ
ประกอบด้วย โครงการประกันรายได้ของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา
มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย
โครงการที่เกี่ยวกับการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร โครงการประกันภัยพืชผล เป็นต้น
และพิจารณาถึงความสามารถของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่จะต้องตั้งงบประมาณรองรับ
รวมถึงภาระทางการคลัง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนพิจารณาถึงความคุ้มค่า
ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
95 | รัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซียเสนอขอแต่งตั้งกงสุลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ณ จังหวัดสงขลา (นายซูวาร์กานา ปริงกานู) | กต. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายซูวาร์กานา ปริงกานู (Mr. Suargana Pringganu)
ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ณ จังหวัดสงขลา
โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดสงขลา ชุมพร กระบี่ นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี
พังงา พัทลุง ภูเก็ต ระนอง สตูล สุราษฎร์ธานี ตรัง และยะลา สืบแทน นายฟะฮ์รี
ซูไรมัน (Mr. Fachry Sulaiman) ซึ่งครบวาระการกำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
96 | แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ | นร.10 | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
97 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร | กก. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร
วงเงิน ๒๑๒,๑๐๒,๘๒๙.๖๒
บาท ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณฯ
รวมทั้งจะได้เร่งคืนเงินตามมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยให้แก่ผู้ผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศทั้ง
๖ เรื่องดังกล่าวภายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรร่วมมือเพื่อวางกลยุทธ์การใช้ประโยชน์จากการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
อาทิ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ให้กับบุคลากรและธุรกิจภาพยนตร์ของไทย
และการส่งเสริมและการสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์และนโยบายการพัฒนาของประเทศไทยผ่านภาพยนตร์ต่างประเทศในรูปแบบ
Soft Power เป็นต้น รวมทั้ง อาจพิจารณามาตรการจูงใจอื่น ๆ
เพิ่มเติมในระยะต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
98 | (ร่าง) นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565-2570) | สกมช. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
99 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย พ.ศ. ... | คค. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย พ.ศ. ...
มีสาระสำคัญเป้นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองกอมเกาะ
อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย เพื่อสร้างทางหลวงชนบท สายเชื่อมระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒ กับสถานีรถไฟนาทา ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าก่อนการสร้างทางหลวงชนบททุกเส้นทาง ขอให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงชนบท)
ให้ความสำคัญและตระหนักถึงแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างทางหลวงชนบทกีดขวางทางไหลของน้ำตามธรรมชาติ
เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการระบายน้ำไม่ทันและอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมหรืออุทกภัยต่อไปในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
100 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
(กพศ.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และเห็นชอบการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปางเป็นระเบียงฯ ภาคเหนือ หรือ Northern Economic Corridor : NEC-Creative LANNA (๒) ให้พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี
และจังหวัดหนองคาย เป็นระเบียงฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ Northeastern
Economic Corridor : NeEC-Bioeconomy (๓) ให้พื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี เป็นระเบียงฯ
ภาคกลาง-ตะวันตก หรือ Central-Western Economic Corridor : CWEC และ (๔) ให้พื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นระเบียงฯ ภาคใต้ หรือ Southern Economic Corridor
: SEC ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เช่น การกำหนดพื้นที่ระเบียงฯ ๔ ภาค
และพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการพัฒนาอื่น
ๆ
ควรคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาควบคู่กับความสามารถในการรองรับและจำกัดของพื้นที่
ควรมีการพิจารณาเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์กับพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และควรมีมาตรการทางภาษีสำหรับผู้ที่ไม่อยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|