ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 61 - 80 จากข้อมูลทั้งหมด 443 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
61 | การขออนุมัติดำเนินงานก่อสร้างโครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา - อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ของกรมทางหลวงชนบท | คค. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการก่อสร้างโครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา
อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา-อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ภายในกรอบวงเงินทั้งสิ้น
๔,๘๒๙.๒๕
ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าก่อสร้าง จำนวน ๔,๗๐๐ ล้านบาท ในอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้
: ต่อเงินงบประมาณเป็น ๗๐ : ๓๐
และค่าควบคุมงาน ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ จำนวน ๑๒๙.๒๕ ล้านบาท ในอัตราร้อยละ ๒.๗๕ ของวงเงินค่าก่อสร้าง
โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี และแหล่งเงินกู้ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
หากกรมทางหลวงชนบทจะเริ่มดำเนินโครงการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
จะต้องเร่งรัดดำเนินการศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้แล้วเสร็จเพื่อรองรับการดำเนินโครงการก่อสร้างดังกล่าว ต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยในส่วนของแหล่งเงินกู้ให้ใช้เงินกู้ต่างประเทศตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงชนบท)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
หน่วยงานของรัฐจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในมาตรา ๒๗ ให้ครบถ้วน
ให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ในการประชุมดังกล่าวอย่างเคร่งครัดด้วย
ให้กรมทางหลวงชนบทและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาพิจารณาตรวจสอบและปรับปรุงจุดเสี่ยงบนถนนเชื่อมต่อ
(พท. ๔๐๐๔ และถนนท้องถิ่น) โดยพาะในบริเวณชุมชน ให้มีความเหมาะสมตามหลักวิศวกรรม
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ถนนและประชาชนในพื้นที่ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากกรณีมีโครงการฯ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงคมนาคมประสานการดำเนินโครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา-อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด
เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาโดยเฉพาะโลมาอิรวดี ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณากำหนดแนวทางที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมในการอนุรักษ์
คุ้มครอง และขยายพันธุ์โลมาอิรวดี
รวมถึงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในบริเวณทะเลสาบสงขลาให้เหมาะสมและยั่งยืนต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
62 | การแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของประชาชนในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงิน | กค. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายสันติ
พร้อมพัฒน์) รายงานว่า ปัจจุบันประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต เรื่อง
อายุข้อมูลในการประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต
และการส่งข้อมูลของสมาชิก ลงวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ได้กำหนดให้สมาชิกซึ่งเป็นสถาบันการเงินทั้งที่เป็นธนาคารพาณิชย์และไม่เป็นธนาคารพาณิชย์
หรือเป็นผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อ
ส่งข้อมูลของลูกค้าของตนให้แก่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
ซึ่งในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อ ให้สมาชิกส่งข้อมูลของลูกค้าต่อไป
เป็นระยะเวลา ๕ ปี โดยให้เริ่มนับระยะเวลา ๕
ปีในวันถัดจากวันที่ลูกค้าของสมาชิกผิดนัดชำระหนี้ครบ ๙๐ วัน
ซึ่งแม้ต่อมาลูกค้าจะชำระหนี้ดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ข้อมูลการผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวก็ยังไม่ถูกลบออกจนกว่าจะถึงกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้เก็บข้อมูลดังกล่าวไว้
จึงส่งผลให้ลูกค้าไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้
และอาจส่งผลใหบุคคลเหล่านี้ต้องกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนนอกระบบต่อไป
ซึ่งกระทรวงการคลังจะได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณามาตรการหรือพิจารณาการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของประชาชนในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินดังกล่าว
ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วลงมติรับทราบตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายสันติ พร้อมพัฒน์) รายงาน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
63 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สผ. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า ๑)
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการเตรียมการรองรับการบังคับใช้กฎหมายโดยการออกประกาศที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการนำส่งข้อมูล
การเปิดเผยข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล รวมถึงการประมวลผลข้อมูลเครดิต
การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อต้องปฏิบัติ
และการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อ ๒)
ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะหน่วยงานในกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล
[peer to peer lending platform : P2P (การกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านช่องทางออนไลน์)] ได้มีข้อกำหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ผู้ประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล
จะต้องยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนเพื่อป้องกันการทุจริต และ ๓)
กรมส่งเสริมสหกรณ์ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลสหกรณ์ได้สนับสนุนส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์
และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเข้าเป็นสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิต เป็นต้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
64 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแคเหนือ แขวงหลักสอง เขตบางแค และแขวงหนองค้างพลู แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... | มท. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแคเหนือ
แขวงหลักสอง เขตบางแค และแขวงหนองค้างพลู แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแคเหนือ แขวงหลักสอง
เขตบางแค แขวงหนองค้างพลู แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
เพื่อสร้างและขยายทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างถนนทวีวัฒนากับถนนบางบอน ๓
เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งบริเวณถนนทวีวัฒนากับถนนบางบอน
๓ และพื้นที่โดยรอบ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
และรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติ
ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
หากโครงการดังกล่าวเข้าข่ายในการจัดทำ EIA ให้กรุงเทพมหานครดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป
และให้กรุงเทพมหานครดำเนินโครงการฯ โดยให้ความสำคัญกับสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
65 | หลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ | นร.10 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดทำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามมติคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
โดยให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมและสำนักงาน ก.พ.
รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาประเด็นในหลักสูตรการอบรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่ได้จัดทำอยู่แล้ว
และกำหนดแนวทางการนำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาใช้ให้ชัดเจนและเหมาะสมกับหน่วยงานแต่ละประเภทด้วย
จึงจะเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีมาตรฐานจริยธรรมในระดับเดียวกันได้
ไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางดำเนินการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
แล้วให้แจ้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล
และองค์กรอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
66 | การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับหน่วยงานเครือข่าย | นร.01 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับหน่วยงานเครือข่าย
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วย (๑)
พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ (๒)
ด้านกลไกและวิธีการจัดการเรื่องร้องทุกข์ (๓) ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงานเรื่องร้องทุกข์
ดังนี้ (๑)
ขอความร่วมมือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์
เพื่อให้ประชาชนทราบถึงระยะเวลาในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
ซึ่งจะช่วยให้ลดเวลารอคอยและลดการติดตามเรื่องกับผู้ปฏิบัติงาน
และผลักดันให้เกิดการขยายผลและเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการจัดการเรื่องร้องทุกข์ไปยังระดับภูมิภาคและท้องถิ่น
เพื่อให้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการดูแลแก้ไขอย่างครอบคลุมและเป็นธรรม ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ.ร.
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณหรือรางวัลให้แก่หน่วยงานที่สามารถจัดการเรื่องร้องทุกข์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรมีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของหน่วยงานในภาพรวมให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงในหลายช่องทางด้วย
ควรมีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนให้ทุกส่วนราชการปฏิบัติ
โดยมีกลไกในการแจ้งความคืบหน้าให้แก่ผู้ร้อง และควรขยายผลการรับเรื่องผ่านไลน์สร้างสุข
(@psc1111) และ
Traffy Fondue (@traffyfondue) ไปยังส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลทั่วประเทศ
เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องร้องทุกข์
อีกทั้งยกระดับมาตรฐานการรับเรื่องและบริหารจัดการปัญหาและข้อร้องเรียนของภาครัฐ
ไปพิจารณาดำเนินการให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนแจ้งให้ส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
67 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง อุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy Industry) ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา | สว. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
68 | รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง | ศป. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
69 | การประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน | นร.12 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการให้องค์การทั้ง ๓ ประเภท ต้องได้รับการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี
และให้ปรับระยะเวลาในการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนในระยะที่ ๒
ได้แก่ องค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติเฉพาะ จำนวน ๒๔ แห่ง
รวมทั้งองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๑๕
แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
โดยให้เริ่มประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนในระยะที่ ๒ เมื่อดำเนินการระยะที่
๑ ครบ ๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๙) ๒. เห็นชอบให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนกำหนดแนวทางการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและสำนักงาน ก.พ.ร.
รับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับภารกิจ
บทบาท หน้าที่
และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการที่กำกับดูแลหน่วยงานนั้น
ควรสนับสนุนการพิจารณาความคุ้มค่าขององค์การมหาชนจากบทบาทและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานในระบบนิเวศที่องค์การมหาชนรับผิดชอบ
ควรให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามกรอบการประเมินความคุ้มค่าขององค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน
พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงาน ก.พ.ร. ควรระบุในข้อตกลงขอบเขตงาน (Term of Reference : TOR) ให้ที่ปรึกษามีกระบวนการบริหารจัดการความรู้เพื่อให้องค์การมหาชนมีองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้ประเมินตนเองในปีถัดไป
สำหรับการจัดตั้งองค์การมหาชนแห่งใหม่ขึ้นอีกในอนาคต
ควรพิจารณาเรื่องการเตรียมความพร้อมในการประเมินความคุ้มค่า
โดยให้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำคำขอจัดตั้งองค์การมหาชน
ควรมีการกำหนดแนวทางและขั้นตอนการดำเนินการ
เพื่อให้กรอบระยะเวลาดำเนินงานชัดเจนและใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะในส่วนของการใช้งบประมาณจัดจ้างที่ปรึกษาอย่างน้อยทุกห้าปี
อาจส่งผลต่อภาระงบประมาณของภาครัฐในอนาคต ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย
แล้วแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ๓. ในส่วนขององค์การมหาชนสมทบงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดการจ้างที่ปรึกษาในการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
นั้น ให้สำนักงาน ก.พ.ร. หารือกับองค์การมหาชนที่เกี่ยวข้อง ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงพลังงาน เช่น
ให้หน่วยงานสามารถเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปพลางก่อนจนกว่าจะมีเงินทุนสะสมหรือรายได้เพียงพอกับอัตราที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนกำหนด
พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การสมทบงบประมาณ
โดยแบ่งตามสัดส่วนเงินทุนสะสมหรือรายได้แต่ละองค์การมหาชน
พิจารณากำหนดมาตรการอื่นหรือสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมให้กับองค์การมหาชน
เพื่อใช้ในการจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
ควรเสนอของบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรงมากกว่ามาใช้งบสมทบจากองค์การมหาชนหากต้องการดำเนินการให้เป็นภาคบังคับ
และเสนอแนะให้มีการวิเคราะห์เพื่อกำหนดอัตราสมทบที่แตกต่างกันขึ้นกับชุดปัจจัยจำนวนหนึ่งที่สะท้อนการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน
และควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานและแหล่งที่มาของงบประมาณสำหรับองค์การมหาชนที่ไม่มีเงินทุนและรายได้ไว้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
70 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะอาชีพแก่สตรีและครอบครัว ของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา | สว. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
71 | โครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน | อว. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามันของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และให้ดำเนินการให้ถูกต้อง
เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๓๕ ตลอดจนกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ รวมถึงควรเชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั่วถึง
เท่าเทียม และมีประสิทธิภาพ ควรมีการทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผ่านสื่อที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง
ให้นำความเห็นของหน่วยงานโดยเฉพาะสำนักงบประมาณไปดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการ
ขั้นตอนของระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง
และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณเป็นหลัก ควรพิจารณาการใช้เงินนอกงบประมาณที่รวมรายได้หรือเงินอื่นใดที่หน่วยงานมีอยู่
หรือสามารถนำมาใช้จ่ายสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ นอกเหนือจากงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
72 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมสุดยอดผู้นำการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 6 | กต. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
73 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดวิธีปฏิบัติของเจ้าของเรือประมงที่ใช้สนับสนุนเรือที่ใช้ทำการประมงหรือเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ พ.ศ. .... | กษ. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดวิธีปฏิบัติของเจ้าของเรือประมงที่ใช้สนับสนุนเรือที่ใช้ทำการประมงหรือเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดวิธีปฏิบัติของเจ้าของเรือประมงที่ใช้สนับสนุนเรือที่ใช้ทำการประมงหรือเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ
เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบ ควบคุม
และเฝ้าระวังการทำประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ประกอบกับเพื่อให้การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์
เพื่อสร้างการรับรู้ สร้างความร่วมมือในการปฏิบัติและการบังคับใช้ร่างกฎกระทรวงฯ
ดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
74 | ร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศและทางทะเล | คค. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศและทางทะเล
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองและร่วมลงนามในร่างความตกลงฯ
รวมทั้งให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าว
โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเพื่อพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศและทางทะเลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้เข้มแข็งขึ้น
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ เช่น
ควรพิจารณาให้มีการฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัยร่วมกับรัฐสมาชิกอื่นด้วย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
75 | การกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | กต. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้วันที่ ๑๖-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี
และจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อบรรเทาปัญหาด้านการจราจร
อำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ผู้เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจพิเศษเอเปค
ครั้งที่ ๒๙ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งเพื่อให้การอารักขาและการรักษาความปลอดภัยผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งนี้ ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน
ให้ส่วนของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย
และกระทรวงแรงงานพิจารณาความเหมาะสมของการกำหนดเป็นวันหยุดให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละกรณีไป
นอกจากนี้ หน่วยงานที่มีภารกิจให้บริการประชาชนหรือมีความจำเป็นหรือราชการสำคัญในวันหยุดดังกล่าวโดยได้กำหนดหรือนัดหมายไว้ก่อนแล้ว
ซึ่งหากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหาย
หรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร
โดยมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและการให้บริการประชาชน
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
โดยจะพิจารณาดำเนินการมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและการให้บริการประชาชน
และจะดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
และขอให้พิจารณาถึงผลกระทบของการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชนควบคู่กันไปด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้
ในส่วนของสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้เป็นไปตามความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
โดยให้ช่วงวันดังกล่าวเป็นวันทำการปกติ
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
และขอความร่วมมือสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้หน่วยงานที่ไม่ได้ให้บริการประชาชนหรือไม่ใช่ critical function เน้นการทำงาน work
from home ในช่วงวันดังกล่าว เพื่อบรรเทาปัญหาด้านการจราจร
และอำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้เข้าร่วมประชุม |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
76 | การยุบเลิกกิจการบริษัท เอ ซี ที โมบาย จำกัด | ดศ. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ยุบเลิกกิจการบริษัท เอ ซี ที โมบาย จำกัด
และอนุมัติยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ
พ.ศ. ๒๕๐๔ (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง [บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด
(มหาชน) และบริษัท เอ ซี ที โมบาย จำกัด] และคณะกรรมการ บริษัท
โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ที่เห็นว่าภายหลังการได้รับอนุมัติยกเว้นหรือผ่อนผันระเบียบข้างต้นแล้วให้คณะกรรมการ
บมจ. เอ็นที กำหนดวิธีปฏิบัติในการจำหน่ายกิจการหรือหุ้น
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการ
โดยอย่างน้อยจะต้องครอบคลุมถึงกระบวนการกำหนดวิธีการจำหน่าย ราคาที่จำหน่าย เวลาที่จำหน่าย
และอำนาจในการอนุมัติการจำหน่าย และจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
77 | ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2535 เกี่ยวกับการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชน | ทส. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘
กันยายน ๒๕๓๕ (เรื่อง การปรับปรุงภารกิจและโครงสร้างของกรมป่าไม้ และร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมป่าไม้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ....) เฉพาะในส่วนของการปลูกต้นไม้ในเขตป่าสงวนเสื่อมโทรมที่มีผู้ครอบครองอยู่แล้ว
ที่ขอแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓
เป็นการอนุมัติให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชนให้ระงับการพิจารณา
เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขครบทั้ง ๕ ประการ
รวมทั้งเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓ (เรื่อง
การอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้)
เฉพาะในส่วนของการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชน
และเห็นชอบให้ภาคเอกชนเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการปลูกสร้างสวนป่า
ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไปได้
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมีมาตรการรองรับการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โดยเฉพาะการตรวจสอบสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อป้องกันไม่ให้ภาคเอกชนรายใหญ่สามารถซื้อหรือสวมสิทธิ์ของเกษตรกรรายย่อย
การควบคุมไม่ให้มีการรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่าไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และการกำหนดเขตพื้นที่ในการเข้าทำประโยชน์ให้ชัดเจน
และคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศจากการปลูกสร้างสวนป่าใกล้บริเวณพื้นที่ที่มีระบบนิเวศเปราะบางและพื้นที่ป่าอนุรักษ์
โดยดำเนินมาตรการดังกล่าวให้รัดกุมเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจฐานรากในประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำการกระจายการถือครองที่ดินและการเข้าถึงทรัพยากร
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับไปพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมในการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมประกอบการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้
เพื่อการปลูกสวนป่าภาคเอกชน โดยส่งเสริมให้เอกชนปลูกไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
๕๘ ชนิดด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
78 | รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประจำประเทศไทย (นายอุบัยด์ ซะอีด อุบัยด์ บินฏอริช อัลฎอฮิรี) | กต. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายอุบัยด์ ซะอีด อุบัยด์ บินฏอริช อัลฎอฮิรี (Mr. Obaid Saeed Obaid
Bintaresh Aldhaheri) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายชัยฟ์ อับดุลลอฮ์ มุฮัมมัด คอลฟาน อัชชามิซย์ (Mr. Saif Abdulla
Mohammed Khalfan Alshamisi) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
79 | ผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง ราคาหนังสัตว์โค - กระบือตกต่ำ ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
80 | ขอขยายเวลาการประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร | นร.51 | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบสรุปผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๑ ในเขตพื้นที่อำเภอศรีสาคร อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน
จังหวัดนราธิวาส อำเภอยะหริ่ง อำเภอไม้แก่น และอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
อำเภอเบตงและอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา และอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา
และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ตามที่กองอำนวยการการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเสนอ ๒. อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการประกาศพื้นที่ปรากฎเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ในเขตท้องที่อำเภอศรีสาคร อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส อำเภอยะหริ่ง
อำเภอไม้แก่น และอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี อำเภอเบตงและอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
และอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ออกไปอีก ๑ ปี
ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๖๖ ตามที่กองอำนวยการการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเสนอ ๓. เห็นชอบ ๓.๑ ร่างประกาศ เรื่อง
พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ๓.๒ ร่างประกาศ เรื่อง
การให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ๓.๓ ร่างประกาศ เรื่อง กำหนดลักษณะความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๑ และ
๓.๔. ร่างข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๑ รวม
๔ ฉบับ ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๔. ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|