ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 445 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | ร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย-จีนเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น ในโอกาสการเยือนไทยของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในห้วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค | กต. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย-จีนเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง
มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น (Joint Statement
between the Kingdom of Thailand and the People’s Republic of China on Working
towards a Thailand-China Community with a Shared Future for Enhanced Stability,
Prosperity and Sustainability) ในโอกาสการเยือนไทยของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในห้วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีร่วมกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
โดยไม่มีการลงนาม โดยร่างถ้อยแถลงร่วมฯ สะท้อนสาะสำคัญของผลการหารือข้อราชการระหว่างนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในประเด็นต่าง
ๆ เช่น การขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
การย้ำท่าทีทางการเมืองในการเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของกันและกัน
การส่งเสริมการค้า การลงทุน และความเชื่อมโยง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
กระทรวงการต่างประเทศจำเป็นต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานร่างแผนความร่วมมือฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 | วธ. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการรับรองวัดคาทอลิกเป็นวัดคาทอลิกตามกฎหมาย
จำนวน ๓๔ วัด ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบด้วย (๑)
ได้รับความเห็นชอบให้ยื่นคำขอรับรองวัดคาทอลิกจากสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
(๒) มีข้อมูลที่ตั้งวัด (๓) มีข้อมูลที่ดินที่ตั้งวัดและการอนุญาตให้ใช้ที่ดิน (๔)
มีรายชื่อบาทหลวงซึ่งจะไปประกอบศาสนกิจ ประจำ ณ วัดคาทอลิก (๕) มีข้อมูลอื่นที่จำเป็นเกี่ยวกับการรับรองวัดคาทอลิก
เช่น คุณค่าและประโยชน์ของวัดคาทอลิก การอุปถัมภ์และทำนุบำรุงจากภาคส่วนต่าง ๆ
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เห็นว่ากรณีพื้นที่ที่ดำเนินการอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๕ และพื้นที่ที่ดำเนินการในเขตป่า ตามาตรา ๔(๑) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้
พุทธศักราช ๒๔๘๔
ขอให้ดำเนินการตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. ๒๕๕๘ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
43 | ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๕๕
และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาสั่งการหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องตามนัยสรุปประเด็นสำคัญสำหรับการติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
เพื่อนำไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยมีรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เข้าร่วมประชุมฯ
โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑) การสร้างประชาคมอาเซียน เช่น
การสนับสนุนข้อริเริ่มของกัมพูชาตามหัวข้อหลัก “ASEAN
A.C.T. : Addressing Challenges Together” และการเตรียมความพร้อมความร่วมมือกับประเทศที่เป็นที่ตั้งสำนักงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่
และการรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม จำนวน ๑๑ ฉบับ (๒)
ประเด็นด้านความมั่นคงในภูมิภาคและระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในเมียนมาและช่องแคบไต้หวัน
และ (๓) ความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาและภาคีภายนอก เช่น
ไทยได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามตราสารภาคยานุวัติ TAC
โดยเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (รวม ๖ ฉบับ)
โดยในส่วนของยูเครนยังมิได้มีการลงนามตราสารฯ เนื่องจากเมียนมายังดำเนินกระบวนการภายในไม่แล้วเสร็จ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เช่น ควรดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ควรมีการยกระดับการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็นการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ
ขยะมูลฝอย และขยะพลาสติก
และประเด็นความมั่นคงในบางกรอบการประชุมอาเซียนที่ไม่ได้มอบหมายให้มีการติดตาม
อาทิ การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ออสเตรเลีย ซึ่งสำนักงานฯ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
44 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวอัญชลี ตันวานิช) | มท. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาวอัญชลี ตันวานิช
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง)
สำนักพัฒนามาตรฐาน กรมโยธาธิการและผังเมือง
ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการผังเมือง (นักผังเมืองทรงคุณวุฒิ)
กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... | นร.01 | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(ฉบับปรับปรุง)
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบและสภาพการณ์ปัจจุบัน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ
และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เช่น ในการกำหนดบทนิยามคำว่า
“บุคคลในครอบครัว” ตามข้อ ๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว
ควรบัญญัติบทคำนิยามคำว่า “บุคคลในครอบครัว” ให้สอดคล้องกับบทนิยามคำว่า
“คู่ชีวิต”
ตามร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วและปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา
ข้อคิดเห็นในข้อที่ ๙ ควรพิจารณาเพิ่มข้อความว่า
“ของขวัญนั้นต้องไม่จูงใจให้เกิดการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ควรปรับปรุงร่างข้อ ๑๒ วรรคสาม
โดยใช้คำว่า “บุคคลในครอบครัว” เนื่องจากมีการกำหนดไว้ในบทนิยาม เป็นต้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้
รวมถึงการให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับเพื่อให้รับทราบและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
และให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างกลไกเพื่อบังคับใช้ร่างระเบียบดังกล่าวให้ครอบคลุมทุกหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
ปรับหลักเกณฑ์หรือสาระให้สอดคล้องกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๔
และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้น
และควรนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลบันทึกรายงานเกี่ยวกับการรับของขวัญด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
46 | รายงานความคืบหน้าโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ | อก. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑)
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ได้กำหนดให้มีการดำเนินในระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ
โดยมอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยคัดเลือกผู้พัฒนาโครงการซึ่งมีภาคเอกชน
๑ ราย เสนอโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทรัพย์สาคร ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร (๒)
กระทรวงอุตสาหกรรมได้ตรวจสอบความเหมาะสมในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทรัพย์สาคร
พบว่า เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (เขตสีเขียว)
และที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (เขตสีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจึงให้บริษัทฯ
ดำเนินการขอแก้ไขการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม และ
(๓) กระทรวงอุตสาหกรรมได้ขอให้สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
เร่งพิจารณากำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่จะจัดตั้งโครงการฯ
เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (เขตสีม่วง) เนื่องจากได้เตรียมความพร้อมของโครงการฯ
และว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำรายงาน EIA รวมทั้งได้จัดส่งข้อมูล เพื่อประกอบการดำเนินการและจัดทำผังเมืองให้เทศบาลนครสมุทรสาครแล้ว เช่น
ข้อมูลการกำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในเบื้องต้นและข้อมูลการกรอกแบบผังแม่บทและระบบสาธารณูปโภค
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
47 | ขอปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียน | ศธ. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติให้ปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนระดับชั้นเด็กเล็กถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
๖ ทุกสังกัด ประกอบด้วย โรงเรียนจำนวน ๕๑,๐๕๘ โรงเรียน จำนวนนักเรียน ๕,๙๑๒,๕๒๐ คน
(ข้อมูล ณ ปี ๒๕๖๕) จากเดิม อัตรา ๒๑ บาท/คน/วัน
ที่ใช้หลักวิธีการหาค่าเฉลี่ยของอัตราตามจำนวนนักเรียน
(ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔) เป็น อัตราเฉลี่ย ๒๔ บาท/คน/วัน
ในภาพรวม ตามขนาดของโรงเรียน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ทั้งนี้
การปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันมาใช้ในอัตราที่เพิ่มขึ้น
รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่อาจจะเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และปีต่อ ๆ ไป
ให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
โดยค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้ว
หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินเป็นลำดับแรกก่อน
หากไม่เพียงพอและมีความจำเป็นเร่งด่วน
ก็ให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ตามขั้นตอนของกฎหมายเท่าที่จำเป็นและเหมาะสม สำหรับในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป
ขอให้เสนอขอตั้งงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสม
โดยคำนึงถึงการนำเงินนอกงบประมาณมาสมทบ
และให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการดังกล่าวด้วย ๒.
ให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพของโรงเรียนในการจัดอาหารกลางวันอย่างสร้างสรรค์
จัดซื้อวัตถุดิบที่เป็นผลผลิตจากชุมชนท้องถิ่นควบคู่กับการส่งเสริมให้ภาคส่วนต่าง
ๆ มีส่วนร่วมในการควบคุมคุณภาพอาหาร
และการสนับสนุนการทำการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันปลอดภัย และควรพัฒนาระบบติดตามประเมินผลลัพธ์ในการดำเนินการเพื่อประโยชน์ต่อการวิเคราะห์และจัดสรรเงินอุดหนุนในระยะต่อไป
เป็นต้น รวมทั้งความเห็นของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาในประเด็นการระดมความร่วมมือและทรัพยากรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดสรรงบประมาณค่าอาหารกลางวันสมทบเพิ่มเติม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
48 | รายงานผลการเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | พณ. | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
เมื่อวันที่ ๒๗-๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้พบหารือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของซาอุดีอาระเบียในประเด็นต่าง
ๆ เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Area :
FTA) กับกลุ่มประเทศความร่วมมือแห่งอ่าวอาหรับ (Gulf
Cooperation Council : GCC) การแก้ไขปัญหาการส่งออกไก่แปรรูปและการทำความเข้าใจกับโรงงานไทย
การสนับสนุนให้ซาอุดีอาระเบียนำเข้าสินค้าเนื้อสัตว์ เช่น โค และผลิตภัณฑ์เนื้อแพะจากไทย
และการส่งเสริมการค้าระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการเยือนฯ
ต่อไป ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น
หากองค์การอาหารและยาซาอุดีอาระเบียยืนยันว่าสามารถส่งไก่แปรรูป/ไก่ปรุงสุกไปยังซาอุดีอาระเบียได้
ขอให้ทำหนังสือแจ้งมายังกรมปศุสัตว์ทราบอย่างเป็นทางการ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 เรื่อง ขออนุมัติโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก | สกพอ. | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. รับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(สกพอ.) ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) เสนอ ดังนี้ ๑.๑ รับทราบมติ กพอ. ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕
ในการให้กองทัพเรือเป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ (Implementing
Agency) สำหรับโครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ ๒
(โครงการทางวิ่งและทางขับที่ ๒)
โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (โครงการสนามบินอู่ตะเภา)
ทั้งนี้ ทางวิ่งและทางขับที่ ๒ เป็นทรัพย์สินราชพัสดุ
เมื่อกองทัพเรือดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ให้ส่งมอบสิทธิการใช้ประโยชน์ให้กับ
สกพอ. เพื่อดำเนินการตามสัญญาร่วมลงทุนต่อไป
โดยหากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น
ให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหรือเห็นชอบตามมติ กพอ. ๑.๒ พิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ เรื่อง ขออนุมัติโครงการสนามบินอู่ตะเภา จากเดิม
“อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณจำนวน ๑๗,๗๖๘ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการสนามบินอู่ตะเภา
และให้กองทัพเรือดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณต่อไป” เป็น
“อนุมัติกรอบวงเงินจำนวน ๑๗,๗๖๘ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการสนามบินอู่ตะเภา
และให้กองทัพเรือดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณต่อไป ทั้งนี้
สำหรับแหล่งเงินเพื่อการดำเนินงานการก่อสร้างโครงการทางวิ่งและทางขับที่ ๒
โครงการสนามบินอู่ตะเภา อนุมัติให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินกู้ตามมาตรา ๒๒
แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ในกรอบวงเงิน ๑๖,๒๑๐ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือ
โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสมทบในอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้และเงินงบประมาณเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังตกลงกับแหล่งเงินกู้ ๒. ให้
สกพอ. ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของ กพอ. และกองทัพเรือรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เช่น (๑)
ให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ
พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในกรอบวงเงิน ๑๖,๒๑๐.๙๐ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือ
(๒) ให้กองทัพเรือ และ สกพอ. จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามเงื่อนไขในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ของแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ
และ (๓) ให้กองทัพเรือจัดเตรียมงบประมาณสำหรับโครงการทางวิ่งและทางขับที่ ๒
รวมทั้งจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินในแต่ละปีส่งให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้
ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | ขอผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านเขาจีน-บ้านโคกพยอม ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล | มท. | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
ท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านเขาจีน-บ้านโคกพยอม ตำบลคลองขุด
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จำนวน ๓ ฉบับ ได้แก่ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓
กรกฎาคม ๒๕๓๔ (เรื่อง
รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม
๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๔๓ เรื่อง
การแก้ปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
โดยให้กระทรวงมหาดไทย (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล)
ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ (เรื่อง
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน ประเทศไทย) ด้วย ทั้งนี้
ให้กระทรวงมหาดไทย (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล)
รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรให้หน่วยงานดำเนินการตามมาตรา ๖๒ “ห้ามมิให้ผู้ใดทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ให้ผิดไปจากสภาพที่เป็นอยู่เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่”
เพื่อให้การพัฒนาโครงการถูกต้องตามบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
หากมีการดำเนินการใด ๆ ในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบทะเล
หรือบนชายหาดของทะเลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
พระพุทธศักราช ๒๕๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และขอให้ปฏิบัติตามมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ควรให้เทศบาลตำบลคลองขุดเร่งดำเนินโครงการฯ
ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
พร้อมทั้งจัดทำและเสนอรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ครบถ้วน อย่างเคร่งครัดต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
51 | การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะศึกษาด้านการบริหารและค้นคว้าทางภาษีอากรแห่งเอเชียแปซิฟิก (Study Group on Asia-Pacific Tax Administration and Research : SGATAR) ครั้งที่ 52 | กค. | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณซึ่งเห็นชอบในหลักการให้กรมสรรพากรเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะศึกษาด้านการบริหารและค้นคว้าทางภาษีอากรแห่งเอเชียแปซิฟิก
(Study Group on Asia-Pacific Tax
Administration and Research : SGATAR) ครั้งที่ ๕๒ ณ จังหวัดภูเก็ต
และเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณ จำนวน ๑๔,๕๘๔,๙๐๐ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการประชุม SGATAR ครั้งที่ ๕๒
และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นขอให้กระทรวงการคลัง
โดยกรมสรรพากรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
52 | ขออนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ระยะที่ 2 | กษ. | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง
ระยะที่ ๒ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
โดยในส่วนของกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง
ระยะที่ ๒ จำนวน ๑,๐๕๐.๕ ล้านบาท
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) ร่วมกับธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเร่งรัดกระบวนการพิจารณาสินเชื่อของโครงการฯ
ระยะที่ ๑ และโครงการฯ ระยะที่ ๒ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ผู้ประกอบการประมงที่เข้าร่วมโครงการทั้ง
๒ ระยะ
สามารถใช้ประโยชน์จากสินเชื่อตามโครงการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์ ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง เช่น
ควรพิจารณาคุณสมบัติของผู้ประกอบการประมงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
และควรมีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
53 | รัฐบาลสมาพันธรัฐสวิสเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย (นายเปโดร สวาห์เลน) | กต. | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายเปโดร สวาห์เลน (Mr. Pedro Zwahlen)
ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นางเฮเลเนอ บุดลีเกอร์ อาร์ทิเอดา (Mrs.
Helene Budliger Artieda) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
54 | การขอความเห็นชอบการขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากสำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการของประเทศไทย (Thailand Integrated Logistics and Intermodal Transport Development Plan) | คค. | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากสำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา
เพื่อดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการของประเทศไทย
(Thailand Integrated Logistics and Intermodal
Transport Development Plan) โดยให้ทุน วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓๖๐๗๔๐
ดอลลาร์สหรัฐ แก่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยสำหรับการลงนามในบันทึกความตกลงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการฯ
ดังกล่าว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม
(สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร) รับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด
ไปพิจารณาดำเนินการ โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมในการเข้าถึงข้อมูลและการใช้ประโยชน์จากรายงานผลการศึกษาอย่างละเอียด
รอบคอบ และรัดกุมด้วย ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความตกลงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการจากสำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา
เพื่อดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการของประเทศไทย
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
55 | รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา | สว. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา โดยมีผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๑,๘๓๕.๔๔๗
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๖๙ และมีผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดใน ๒ ยุทธศาสตร์
ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง
และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการได้สำเร็จเกินค่าเป้าหมายที่กำหนด ตามที่สำนักเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
56 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก - ม่วงเจ็ดต้น จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. .... | มท. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก-ม่วงเจ็ดต้น
จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลบ้านม่วงเจ็ดต้น และตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ
และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งมีนโยบายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชนบ้านโคก-ม่วงเจ็ดต้น
ให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง การค้าตามแนวชายแดน ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
ส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจ
รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยได้มีการกำหนดแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนดข้อบังคับลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอและพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึง กฎ ระเบียบ
ที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินกิจการโรงงานตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ
ของผังเมืองรวมดังกล่าวให้ได้มาตรฐานอย่างเคร่งครัด
เพื่อป้องกันผลกระทบต่อธรรมชาติ ระบบนิเวศ และสุขภาพของชุมชน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
57 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. .... | มท. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว
จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลข่วงเปา ตำบลบ้านหลวง ตำบลจอมทอง ตำบลดอยแก้ว และตำบลสบเตี๊ยะ
อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมือง
และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม
ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง ซึ่งกำหนดให้เป็น
“แหล่งโบราณพุทธศาสนา ล้ำค่าประเพณี สิ่งแวดล้อมดี สาธารณูปโภคพร้อม”
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๑๓
ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ
รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภทตลอดจนการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึง กฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เช่น มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์
สถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตทางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
58 | ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ตำบลปากคลอง ตำบลชุมโค ตำบลบางสน และตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร พ.ศ. .... | ทส. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ตำบลปากคลอง
ตำบลชุมโค ตำบลบางสน และตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร พ.ศ. ....
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่ตำบลปากคลอง ตำบลชุมโค ตำบลบางสน และตำบลสะพลี อำเภอปะทิว
จังหวัดชุมพร ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการปรับปรุงมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามร่างประกาศในเรื่องนี้เพื่อไม่ให้มีความทับซ้อนหรือขัดแย้งกับร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่ตำบลชุมโค
อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พ.ศ.
.... ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ ก่อนที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับต่อไป
ทั้งนี้ การประกาศบังคับใช้ร่างประกาศในเรื่องนี้ไปพลางก่อน
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประสานความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำที่ไม่เหมาะสมและอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและระบบนิเวศชายฝั่งตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
59 | การดำเนินการตามหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง | พน. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแผนการกู้เงิน
แผนการใช้จ่ายเงินกู้ และแผนการชำระหนี้ของการกู้เงิน
โดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในวงเงินรวม ๑๕๐,๐๐๐ ล้านบาท
โดยมอบให้คณะกรรมการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถพิจารณาปรับแผนการกู้เงิน
แผนการใช้จ่ายเงินกู้ และแผนการชำระหนี้
ตามความจำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ฐานะการเงินของกองทุน หรือสภาวะตลาดเงินในช่วงเวลานั้น ๆ โดยจะต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
และขอให้ครอบคลุมถึงการขออนุมัติการกู้เงิน
โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกันวงเงินกู้ดังกล่าวด้วย ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอเพิ่มเติม และให้กระทรวงพลังงานและสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงรับความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น การกู้เงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวข้างต้นถือเป็นหนี้สาธารณะที่จะต้องเสนอบรรจุในแผนบริหารหนี้สาธารณะก่อน
ในชั้นนี้จะกู้ได้ในวงเงิน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท สำหรับวงเงิน ๑๒๐,๐๐๐ ล้านบาท
ที่จะกู้เพิ่มเติมจะดำเนินการได้เมื่อบรรจุในแผนการบริหารหนี้สาธารณะแล้ว
ให้กระทรวงพลังงานและสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเร่งดำเนินการศึกษาและกำหนดมาตรการในระยะยาวในการปรับโครงสร้างราคาพลังงานของประเทศให้เป็นไปตามกลไกและสถานะต้นทุนที่แท้จริง
ควรคำนึงถึงกรอบและวินัยการใช้จ่ายเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการใช้จ่ายเพื่อชดเชยให้กับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
และเมื่อสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับเข้าสู่ภาวะปกติ
คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงควรพิจารณาแนวทางการลดการชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
และกำหนดแนวทางการบริหารจัดเก็บการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามกลไกการทำงานของกองทุนฯ
เพื่อให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีจำนวนเงินเพียงพอต่อการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์
สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพได้เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
60 | ขอความเห็นชอบร่างข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศในบริบทความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในลุ่มน้ำโขง | ทส. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศในบริบทความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในลุ่มน้ำโขง
และอนุมัติให้อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำเป็นผู้มีอำนาจลงนามในร่างข้อตกลงฯ โดยร่างข้อตกลงฯ
จัดทำขึ้นระหว่างกรมทรัพยากรน้ำ และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme : UNEP) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศตามที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากกองทุนเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Adaptation Fund : AF) โดยมีการกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายต้องปฏิบัติ
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างข้อตกลงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แลสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น
ควรรายงานความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ของโครงการดังกล่าวแก่คณะกรรมการลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดี
(Best Practices) และนำไปสู่การขยายผลในลุ่มน้ำอื่น ๆ ต่อไป
และการใช้อนุญาโตตุลาการเพื่อระงับข้อพิพาท โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นราย ๆ ไป เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |