ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 22 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 421 - 440 จากข้อมูลทั้งหมด 443 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
421 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวสุภัค ไชยวรรณ) | กค. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาวสุภัค ไชยวรรณ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการ (นักบริหารระดับต้น) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๔
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
422 | ขอความเห็นชอบโครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public and Private Sector Policy and Decision-making for Sustainable Landscapes | ทส. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (Project Cooperation Agreement : PCA) โครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public
and Private Sector Policy and Decision-making for
Sustainable Landscapes เพื่อเป็นการพัฒนากรอบแนวคิดและแนวทางในการนำระบบบัญชีต้นทุนธรรมชาติมาใช้ในประเทศไทย
รวมทั้งการริเริ่มการพัฒนาระบบบัญชีต้นทุนธรรมชาติสำหรับภาคการท่องเที่ยวและภาคการจัดการน้ำในพื้นที่
จังหวัดกระบี่
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถบูรณาการข้อมูลต้นทุนธรรมชาติในพื้นที่เข้าสู่นโยบาย
แผน งบประมาณ ระดับภูมิภาคได้ และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลดผลกระทบ
ฟื้นฟู และปกป้องระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่ชายฝั่งและทะเลต่อไป
โดยโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global
Environment Facility : GEF) เป็นจำนวนเงิน ๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะหน่วยงานดำเนินโครงการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร่วมสมทบงบประมาณในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน (in-kind) ในรูปแบบบุคลากร
มูลค่าทรัพยากรในการดำเนินงาน เป็นจำนวนเงิน ๖.๑๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นงบประมาณและทรัพยากรที่แต่ละหน่วยงานได้รับจัดสรรในทุกปีตามปกติ
ไม่ใช่การขอรับจัดสรรเพิ่มเติม และมอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือฯ ร่วมกับผู้แทนโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
(United Nations Environment Programme : UNEP) และที่ปรึกษาโครงการ(Lead Service Provider) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างข้อตกลงความร่วมมือ (Project
Cooperation Agreement : PCA) โครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public
and PrivateSector Policy and Decision-making for
Sustainable Landscapes ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (หนังสือสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่ นร
๑๔๐๓/๑๐๙๘๗ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔) และสำนักงานอัยการสูงสุด
(หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ด่วนที่สุด ที่ อส ๐๐๐๗/๑๙๖๔๗ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม
๒๕๖๓) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำองค์ความรู้
ประสบการณ์
และข้อมูลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้นไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการ/งานอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น
การประเมินมูลค่าต้นทุนหรือผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการ
การกำหนดให้ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติที่สูญเสียไป
เป็นต้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
423 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ในพื้นที่ศูนย์ราชการบริเวณ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี แปลงที่ 21 และแปลงที่ 64 | อส. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน
ในการดำเนินการโครงการก่อสร้างสำนักงานอัยการจังหวัดปัตตานี
พร้อมบ้านพักและสิ่งก่อสร้างประกอบ พื้นที่ ศูนย์ราชการจังหวัดปัตตานี ตำบลรูสะมิแล
อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี แปลงที่ ๒๑ และแปลงที่ ๖๔ ในพื้นที่ป่าชายเลน ตำบลรูสะมิแล
อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เนื้อที่ ๓.๙๑ ไร่ (๓-๓-๖๔ ไร่) ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ
และให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงบประมาณ ที่เห็นว่าการดำเนินโครงการจะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่ากับศักยภาพของที่ดินและดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โอนเงินจัดสรร
เปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร หรือเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม
แล้วแต่กรณี ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
424 | รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 5 รายการ [โครงการ "เช่ารถยนต์ พร้อมอุปกรณ์ (ทดแทน) เพื่อใช้ในภารกิจงานสอบสวน ปราบปรามยาเสพติดของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนในสถานีตำรวจทั่วประเทศ จำนวน 2,081 คัน"] | ตช. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ รายการ เพื่อเป็นค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์
จำนวน ๙,๒๑๕ คัน วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๔๕๔,๖๗๐,๐๐๐ บาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ จำนวน ๒,๖๙๐,๙๓๔,๒๐๐
บาท และส่วนที่เหลืออีก จำนวน ๑๐,๗๖๓,๗๓๕,๘๐๐
บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ ตลอดจนสถานะการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาตามความจำเป็นและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
เนื่องจากการเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ในโครงการเช่ารถยนต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าวเป็นรถยนต์ประเภทพิเศษ
ซึ่งแตกต่างไปจากบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณและอัตราค่าเช่ารถยนต์ไม่เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
จึงต้องขอความตกลงประเภทรถยนต์ และอัตราค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์กับกระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ และวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
425 | ขออนุมัติรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป กระทรวงยุติธรรม | ยธ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยพิจารณาอนุมัติในหลักการให้กระทรวงยุติธรรมนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่
๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น
๗,๙๙๕,๙๘๓,๕๖๐
บาท (เจ็ดพันเก้าร้อยเก้าสิบห้าล้านเก้าแสนแปดหมื่นสามพันห้าร้อยหกสิบบาทถ้วน) เพื่อเสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑,๕๗๕,๑๓๙,๔๒๐ บาท (หนึ่งพันห้าร้อยเจ็ดสิบห้าล้านหนึ่งแสนสามหมื่นเก้าพันสี่ร้อยยี่สิบบาทถ้วน)
ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๖,๔๒๐,๘๔๔,๑๔๐ บาท
(หกพันสี่ร้อยยี่สิบล้านแปดแสนสี่หมื่นสี่พันหนึ่งร้อยสี่สิบบาทถ้วน) ตามนัยมาตรา
๒๖ ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ดังนี้ ๑. โครงการก่อสร้างเรือนจำกลางลำปาง
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑,๖๑๔,๕๙๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันหกร้อยสิบสี่ล้านห้าแสนเก้าหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน)
เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๓๒๒,๙๑๘,๒๐๐ บาท
(สามร้อยยี่สิบสองล้านเก้าแสนหนึ่งหมื่นแปดพันสองร้อยบาทถ้วน)
ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๑,๒๙๑,๖๗๒,๘๐๐ บาท
(หนึ่งพันสองร้อยเก้าสิบเอ็ดล้านหกแสนเจ็ดหมื่นสองพันแปดร้อยบาทถ้วน) ๒. โครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดชัยนาท
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑,๕๗๒,๔๘๖,๔๐๐ บาท
(หนึ่งพันห้าร้อยเจ็ดสิบสองล้านสี่แสนแปดหมื่นหกพันสี่ร้อยบาทถ้วน)
เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๓๑๔,๔๙๗,๒๐๐ บาท
(สามร้อยสิบสี่ล้านสี่แสนเก้าหมื่นเจ็ดพันสองร้อยบาทถ้วน)
ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๑,๒๕๗,๙๘๙,๒๐๐ บาท
(หนึ่งพันสองร้อยห้าสิบเจ็ดล้านเก้าแสนแปดหมื่นเก้าพันสองร้อยบาทถ้วน) ๓. โครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดอุตรดิตถ์
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑,๖๒๗,๒๘๒,๐๐๐ บาท
(หนึ่งพันหกร้อยยี่สิบเจ็ดล้านสองแสนแปดหมื่นสองพันบาทถ้วน) เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๓๒๕,๔๕๖,๔๐๐ บาท
(สามร้อยยี่สิบห้าล้านสี่แสนห้าหมื่นหกพันสี่ร้อยบาทถ้วน)
ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน๑,๓๐๑,๘๒๕,๖๐๐ บาท
(หนึ่งพันสามร้อยเอ็ดล้านแปดแสนสองหมื่นห้าพันหกร้อยบาทถ้วน) ๔. โครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดยโสธร
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑,๕๒๗,๑๙๒,๕๐๐ บาท
(หนึ่งพันห้าร้อยยี่สิบเจ็ดล้านหนึ่งแสนเก้าหมื่นสองพันห้าร้อยบาทถ้วน)
เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๓๐๕,๔๓๘,๕๐๐ บาท
(สามร้อยห้าล้านสี่แสนสามหมื่นแปดพันห้าร้อยบาทถ้วน) ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๑,๒๒๑,๗๕๔,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันสองร้อยยี่สิบเอ็ดล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นสี่พันบาทถ้วน) ๕. โครงการการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้เพื่อเป็นมาตรการทางเลือกแทนการลงโทษจำคุก
จำนวน ๖๐,๐๐๐ เครื่อง วงเงินทั้งสิ้น ๑,๖๕๔,๔๓๑,๖๖๐ บาท
(หนึ่งพันหกร้อยห้าสิบสี่ล้านสี่แสนสามหมื่นหนึ่งพันหกร้อยหกสิบบาทถ้วน)
เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๓๐๖,๘๒๙,๑๒๐ บาท
(สามร้อยหกล้านแปดแสนสองหมื่นเก้าพันหนึ่งร้อยยี่สิบบาทถ้วน) ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๑,๓๔๗,๖๐๒,๕๔๐ บาท (หนึ่งพันสามร้อยสี่สิบเจ็ดล้านหกแสนสองพันห้าร้อยสี่สิบบาทถ้วน) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
ทั้งนี้
ขอให้กระทรวงยุติธรรมจัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของโครงการก่อสร้างเรือนจำ
จำนวน ๔ โครงการ ดังกล่าว โดยมีรายละเอียดแบบรูปรายการ ประมาณการค่าก่อสร้าง
สถานที่/พื้นที่พร้อมที่จะดำเนินการ รวมทั้งพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมตามความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ สถานะการเงินการคลังของประเทศ
และคำนึงถึงภาระผูกพันงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณให้เป็นไปตามสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนที่กำหนด
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ สำหรับโครงการการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้เพื่อเป็นมาตรการทางเลือกแทนการลงโทษจำคุก
ขอให้กระทรวงยุติธรรมจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ในการเช่าอุปกรณ์ดังกล่าวตามจำนวนและคุณลักษณะเฉพาะที่เหมาะสม
และจำเป็นกับภารกิจและปริมาณการใช้งานของหน่วยงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ
ตลอดจนคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัดการพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการก่อสร้างเรือนจำ
และโครงการการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้เพื่อเป็นมาตรการทางเลือกแทนการลงโทษจำคุก
ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาความเหมาะสมและจำเป็น ตามวงเงินงบประมาณประจำปีต่อไป โดยให้ปรับแก้ไขชื่อโครงการก่อสร้างให้ถูกต้อง จากเดิม “โครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดลำปาง
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ” เป็น “โครงการก่อสร้างเรือนจำกลางลำปาง
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ” ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เห็นว่า
ให้กระทรวงยุติธรรมควบคุม ดูแล
และกำกับการดำเนินงานโครงการก่อสร้างเรือนจำตามมาตรการที่กำหนดเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และโครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัด จำนวน ๔ โครงการ ไม่เข้าข่ายเป็นโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ
ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ
หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๒ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
426 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2536 เรื่อง ขออนุมัติทำสัญญาว่าจ้างในลักษณะจ้างเหมาออกแบบและก่อสร้าง โดยผู้รับจ้างรายเดียวกัน และขอผ่อนผันการดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจากต่างประเทศ โดยขอยกเลิกโครงการก่อสร้างอาคารเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูฯ พร้อมเครื่องปฏิกรณ์ ระบบผลิตไอโซโทปพร้อมอุปกรณ์ ระบบขจัดกากกัมมันตรังสีพร้อมอุปกรณ์ ของโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2536 | อว. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบหลักการในการเจรจาไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาเลขที่
๕๖/๒๕๔๐
(สัญญาการจ้างออกแบบและก่อสร้างอาคารเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูฯ พร้อมเครื่องปฏิกรณ์
ระบบผลิตไอโซโทปพร้อมอุปกรณ์ ระบบขจัดกากกัมมันตรังสีพร้อมอุปกรณ์ ของโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์)
และให้ดำเนินการต่อไปอย่างโปร่งใส ชอบด้วยกฎหมายและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
427 | ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้สินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าและสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออก ห้ามนำเข้า และห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. .... | พณ. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้สินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าและสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออก
ห้ามนำเข้า และห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงมาตรการห้ามส่งออก ห้ามนำเข้า และห้ามนำผ่านราชอาณาจักร
ซึ่งเครื่องหมายการค้าและสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ข้อเท็จจริง และพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น
ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS Agreement) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
(RCEP) ซึ่งจะช่วยให้การป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ณ จุดผ่านแดน มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
428 | รายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของโฆษกกระทรวง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี และผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ ประจำเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2564 | นร.02 | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของโฆษกกระทรวง
โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี
และผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์
ประจำเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ๒๕๖๔ และมอบให้โฆษกกระทรวง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี
แถลงข่าวและชี้แจงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงอย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์
ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ได้มีการประชาสัมพันธ์และชี้แจงในประเด็นการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙)
และมาตรการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-๑๙
ตามที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
429 | การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ) | กค. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ เป็นกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเพิ่มเติมในตำแหน่งที่ว่าง
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๔ มกราคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
430 | รัฐบาลสาธารณรัฐอุซเบกิสถานเสนอแต่งตั้งกงสุลใหญ่สาธารณรัฐอุซเบกิสถานประจำประเทศไทย (นายฟาคริดดิน ซุลตานอฟ) | กต. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายฟาคริดดิน ซุลตานอฟ (Mr. Fakhriddin Sultanov) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่สาธารณรัฐอุซเบกิสถานประจำประเทศไทย
สืบแทน นายอะซีซ อะลีเยฟ (Mr. Aziz Aliev) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
431 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 2,125.56 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย (จำนวน 17 จังหวัด) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท | คค. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน ๒,๑๒๕.๕๖ ล้านบาท ประกอบด้วย กรมทางหลวง
จำนวน ๑,๖๔๙.๑๒ ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท จำนวน ๔๗๖.๔๔ ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย
(จำนวน ๑๗ จังหวัด) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท)
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม
กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปอย่างเคร่งครัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
432 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ ระยะเวลา
และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ
พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อกำหนดอัตราการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ
ตั้งวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับข้อเสนอแนะและความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
ที่ควรคำนึงถึงความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์
เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ
รวมทั้งวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
รวมถึงภาระการเงินการคลังที่อาจเกิดขึ้นแก่รัฐในอนาคต ตามนัยของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
433 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการ SMEs และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) | กค. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการ
SMEs และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ดังนี้ (๑) การปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำออมสินช่วยเหลือ
SMEs ในภาคการท่องเที่ยว (โครงการ Soft Loan ออมสินฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย)
โดยทบทวนการดำเนินการ ดังนี้ ๑) ขยายกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ
ให้ครอบคลุมถึงธุรกิจอื่นที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
(COVID-19) เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เป็นไปอย่างทั่วถึงและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เช่น ผู้ผลิตรายย่อย ผู้ค้าส่ง
ผู้ค้าปลีก เป็นต้น และ ๒) ขยายระยะเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปจนถึงวันที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๖๕ และ (๒) มาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19
โดยขยายระยะเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและธนาคารแห่งประเทศไทย
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงสาธารณสุข ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการและโครงการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานการดำเนินงานตามมาตรการและโครงการดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(SFIs) ที่เข้าร่วมโครงการควรพิจารณาให้ลูกหนี้ที่มีความเปราะบางซึ่งมีข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อจากแหล่งอื่นสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
ตลอดจนจัดสรรเงินภายใต้โครงการระหว่าง SFIs
ที่เข้าร่วมให้เหมาะสมกับประมาณความต้องการสินเชื่อของลูกหนี้แต่ละแห่ง
เพื่อให้การให้ความช่วยเหลือมีความยืดหยุ่นและทั่วถึงต่อไป รวมทั้งหากมีการปรับเพิ่มโครงการให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ขยายเพิ่ม
จะทำให้ผู้ประกอบการ SMEs
รวมถึงประชาชนรับรู้ได้อย่างชัดเจนและอาจจะเข้าร่วมรับความช่วยเหลือได้มากยิ่งขึ้นตามวัตถุประสงค์ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
434 | รัฐบาลสหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิสเสนอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิสประจำประเทศไทย (นายเควิน เอ็ม. ไอแซก) | กต. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายเควิน เอ็ม. ไอแซก (Mr. Kevin M. Isaac) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิสประจำประเทศไทยคนแรก
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
435 | รายงานผลการจัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11 และข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานเชิงนโยบาย | วธ. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการจัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑๑ และข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานเชิงนโยบาย ซึ่งจัดในรูปแบบออนไลน์
ภายใต้แนวคิด “คุณธรรมวิถีใหม่ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านคุณธรรมให้กับประชาชน
โดยจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ของกลุ่มเครือข่ายทางสังคมทุกภาคส่วน
จนก่อให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นและข้อเสนอเพิ่มเติมของกระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน
ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรต่อยอดการคิดค้นและพัฒนาระบบเครดิตทางสังคมให้เป็นเครื่องมือในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีงามของคนในสังคมอย่างยั่งยืน
มีการบูรณาการงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
รวมทั้งเพิ่มบทวิเคราะห์และสรุปผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ไว้ในรายงานครั้งต่อไป
นำข้อเสนอเชิงนโยบาย เช่น การส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาคน
การสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างระบบเครดิตทางสังคมไปประกอบการพิจารณาและจัดทำแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และบูรณาการการทำงานกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมของคนในชาติให้เกิดผลในทางปฏิบัติและบรรลุเป้าหมายความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๒.
ให้หน่วยงานของรัฐรับข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
436 | ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | สธ. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง
อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดจะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร
และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ
หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ
หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ
องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ
หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวม ๒ ฉบับดังกล่าว ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ควรแก้ไขบทอาศัยอำนาจและรายการแนบท้ายร่างประกาศ รวม ๒ ฉบับดังกล่าว ให้ถูกต้องตามแนวทางการร่างกฎหมาย
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เช่น พิจารณาทบทวนอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดโดยพิจารณาต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงควบคู่กันและควรมีการชี้แจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน
พิจารณาความเหมาะสมและสอดคล้องกับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
มีช่องทางการติดตามรับฟังความคิดเห็น เพื่อพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
อัตราค่าใช้จ่ายตามร่างประกาศควรกำหนดในอัตราที่ไม่สูง เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
437 | แนวทางการยกร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. .... | นร.09 | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแนวทางการยกร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ.
.... ของคณะกรรมการกฤษฎีกา
(คณะที่ ๒) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกในการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไร
เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน
รวมทั้งกำหนดกลไกในการกำกับดูแลการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไรให้เป็นไปอย่างเปิดเผย
โปร่งใส และเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ๒.
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ยกร่างไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายตามมาตรา
๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ๓.
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เช่น ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับหน้าที่และอำนาจ
ตลอดจนภารกิจหลักของหน่วยงานนั้น ๆ เป็นสำคัญ กำหนดกลไกการกำกับดูแลให้เปิดเผย
โปร่งใส สนับสนุนหลักการ “การส่งเสริมและพัฒนาและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไร”
เพื่อการพัฒนาประเทศร่วมกับราชการและภาคส่วนอื่น รวมทั้งกำหนดให้มีการจดแจ้งแหล่งเงินทุน
บัญชีธนาคารที่จะรับเงิน จำนวนเงินที่จะได้รับ และวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงิน เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
438 | รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โครงการ“อาคารที่ทำการพร้อมอาคารที่จอดรถยนต์และอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจฯ จำนวน 6 อาคาร” | ตช. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป โครงการอาคารที่ทำการพร้อมอาคารที่จอดรถยนต์และอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ
แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๖ อาคาร วงเงินทั้งสิ้น ๔,๐๘๙,๔๘๐,๐๐๐ บาท ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๘๑๗,๘๙๖,๐๐๐ บาท
ส่วนที่เหลืออีก ๓,๒๗๑,๕๘๔,๐๐๐ บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๖๙ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
และให้จัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของโครงการดังกล่าว
โดยมีรายละเอียดแบบรูปรายการ ประมาณการค่าก่อสร้าง สถานที่/พื้นที่พร้อมที่จะดำเนินการ
รวมถึงการดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัดการพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดจากการดำเนินโครงการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
รวมทั้งพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ ตลอดจนสถานะการเงินการคลังของประเทศ
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
ที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ กฎหมาย ระเบียบ
ประกาศ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และให้หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการนั้น
เสนอรายงานในขั้นก่อนขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปอย่างเคร่งครัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
439 | รายงานการปฏิบัติงานของศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง ประจำปี 2563 | ศป. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการปฏิบัติงานของศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง
(ศป.)ประจำปี ๒๕๖๓ ตามมาตรา ๙๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ มีสาระสำคัญ ได้แก่ (๑) การพิจารณาพิพากษาคดีด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว
และเป็นธรรม (๒)
การวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีปกครองและการวางหลักกฎหมายและแนวทางปฏิบัติราชการที่ดี
(๓) การเสริมสร้างโอกาสการเข้าถึงความยุติธรรมทางปกครอง ศป.
ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลปกครองแห่งใหม่ และอาคารที่ทำการศาลปกครองในภูมิภาค (๔)
การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วนในสังคม ศป.
ได้ดำเนินภารกิจสนับสนุนแผนแม่บทด้านที่ ๒ การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสังคม
และภารกิจสนับสนุนแผนแม่บทด้านที่ ๔ การบริหารจัดการองค์กรให้มีมาตรฐานในระดับสากล
(๕) การพัฒนาศาลปกครองอิเล็กทรอนิกส์ ศป.
ได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง
และปรับปรุงการให้บริการประชาชน (๖) การเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ศาลปกครองได้ดำเนินการเสริมสร้างความร่วมมือกับประชาชนศาลปกครอง
องค์กรหรือหน่วยงานระหว่างประเทศและการรับรองคณะผู้แทนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ (๗) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรศาลปกครอง
ประกอบด้วย การพัฒนาตุลาการศาลปกครอง และการพัฒนาข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง (๘)
การเสริมสร้างวัฒนธรรมศาลปกครอง และองค์กรแห่งความสุข และ (๙)
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ ศป. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
ตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
440 | การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 เรื่อง ขออนุมัติดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่า | นร.01 | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๒ ในการมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบการเสนอขอตั้งงบประมาณการดำเนินโครงการพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ
และหอประชุมอเนกประสงค์นานาชาติเฉลิมพระเกียรติ
เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ดังนี้ (๑) ให้กองทัพบก เป็นหน่วยงานรับผิดชอบเสนอขอตั้งงบประมาณโครงการจัดสร้างหอประชุมอเนกประสงค์นานาชาติเฉลิมพระเกียรติ
ในส่วนที่กองทัพบกได้มีการก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว
และส่วนคงเหลืองบประมาณที่ต้องเสนอขอตามภาระหนี้ผูกพันและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
ทั้งนี้
รวมถึงงบประมาณในการบริหารจัดการและบำรุงรักษารายปีภายหลังจากที่โครงการแล้วเสร็จด้วย
และ (๒) ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นหน่วยงานรับผิดชอบเสนอขอตั้งงบประมาณโครงการพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ
ตั้งแต่ปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป จนกว่าจะแล้วเสร็จ
รวมทั้งงบประมาณในการบริหารจัดการและบำรุงรักษารายปีต่อไป ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้กระทรวงกลาโหม (กองทัพบก) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่เห็นว่าการดำเนินงานยังคงอยู่ภายใต้กรอบวงเงินภาระผูกพันเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไว้
เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ จึงไม่เป็นการเพิ่มภาระงบประมาณตามนัยมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|