ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 21 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 401 - 420 จากข้อมูลทั้งหมด 443 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
401 | ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อดำเนินโครงการพาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน ปี 2565 | พณ. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้แก้ไขข้อความในหนังสือกระทรวงพาณิชย์
ด่วนที่สุด ที่ พณ ๐๔๑๔/๒๑๑ ลงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕
และในสิ่งที่ส่งมาด้วยให้เหมาะสม จากเดิม “ในราคาต่ำกว่าท้องตลาด” หรือ
“ในราคาถูกกว่าท้องตลาด” เป็น “ในราคาประหยัด” ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ๒. อนุมัติในหลักการการจัดทำโครงการพาณิชย์...ลดราคา!
ช่วยประชาชน ปี ๒๕๖๕ เพื่อจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพให้แก่ประชาชนในราคาต่ำกว่าท้องตลาด
ระยะเวลาดำเนินการ ๙๐ วัน เช่น กิจกรรมบริหารจัดการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางจำหน่าย
กิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ และกิจกรรมประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-๑๙) และจากภาวะการปรับราคาสินค้าขึ้นอย่างต่อเนื่องจากโรคระบาดจากสัตว์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้กระทรวงพาณิชย์ขอทำความตกลงรายละเอียดค่าใช้จ่ายกับสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่งก่อนดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์รับข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๗/๓๐๕๑ ลงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕) ไปร่วมหารือและวางแผนการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเพื่อการบริโภค
ตั้งแต่ในระดับต้นน้ำ (การผลิต) กลางน้ำ (การแปรรูป) จนกระทั่งปลายน้ำ
(การจำหน่วย) ให้มีระดับราคาที่พอเหมาะ และสามารถสะท้อนต้นทุนการผลิตได้อย่างเหมาะสม
ควรให้มีการกระจายสินค้าให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
และให้กระทรวงพาณิชย์รวบรวมประมวลผล และประเมินความสำเร็จของโครงการลักษณะเดียวกัน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงพาณิชย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
402 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย (ระยะที่ 10) พ.ศ. 2562 - 2566 | มท. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี
เรื่อง โครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้
เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย (ระยะที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๖ ในประเด็นปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับทุนอุดหนุนการศึกษาจากนักศึกษาชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้
เป็นกลุ่มผู้ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดในจังหวัดชายแดนภาคใต้
และเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น “โครงการจัดส่งนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย”
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรถือปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
จัดให้มีระบบการติดตามประเมินผลให้ทันต่อสถานการณ์
และบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลผู้สำเร็จการศึกษาและโครงการในภาพรวม
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
403 | การพ้นจากตำแหน่งของกุงสุลกิตติมศักดิ์สหราชอาณาจักรประจำจังหวัดภูเก็ต (นายมาร์ติน ชาลส์ ริชาร์ด คาร์เพนเตอร์) | กต. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการพ้นจากตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์สหราชอาณาจักรประจำจังหวัดภูเก็ตของ
นายมาร์ติน ชาลส์ ริชาร์ด
คาร์เพนเตอร์ (Mr. Martin Charies Carpenter) ตั้งแต่วันที่ ๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เนื่องจากขอยุติการปฏิบัติหน้าที่เพื่อไปประกอบธุรกิจส่วนตัว
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
404 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา | สว. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน
วุฒิสภา ซึ่งได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
แล้ว สรุปว่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืชได้ดำเนินการยกร่างกฎหมายลำดับรองตามมาตรา ๖๔
แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ และมาตรา ๑๒๑
แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ เสร็จแล้ว โดยได้ดำเนินกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว
และจะนำร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าและคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติพิจารณา
เมื่อผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการแล้ว
จะเร่งรัดจัดทำกฎหมายเพื่อเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบและประกาศเป็นกฎหมายใช้บังคับต่อไป
สำหรับการอนุญาตให้ประชาชนเข้าใช้ประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
กรมป่าไม้ได้มีการเร่งรัดดำเนินการเกี่ยวกับพื้นที่เป็นโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่ตามที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้เสนอไว้
การจัดทำสัญญาประชาคมจะเกี่ยวพันกับการอนุญาตใช้พื้นที่หวงห้ามในการที่จะเข้าไปสนับสนุนระบบสาธารณูปโภค
ถึงแม้ปัจจุบันได้มีข้อผ่อนผันทางกฎหมายมากขึ้น แต่ทั้งนี้
จะต้องดำเนินการตามระเบียบในการอนุญาตใช้พื้นที่ จึงจะสามารถดำเนินการเรื่องจัดทำสัญญาประชาคมได้ตามลำดับขั้นต่อไป
ในกรณีการสนับสนุนจ่ายไฟฟ้าสำหรับพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ดังเช่นหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สามารถจัดทำโครงการเสนอกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามมาตรา ๙๗ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการประกาศกิจการพลังงาน
พ.ศ. ๒๕๕๐ “เพื่อการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน
และเทคโนโลยีที่ใช้ในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย” ทั้งนี้
จะให้มี “คณะอนุกรรมการ” ภายใต้ “คณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า”
เพื่อทำหน้าที่พิจารณาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้าสำหรับพื้นที่เกาะและพื้นที่ห่างไกล
รวมถึงจัดทำแผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาแนวทางดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสำหรับพื้นที่ห่างไกลต่อไป
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
405 | รัฐบาลจาเมกาเสนอขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์จาเมกาประจำประเทศไทย (นางสาววรัดดา รัตนิน) | กต. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นางสาววรัดดา รัตนิน ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์จาเมกาประจำประเทศไทย สืบแทน
นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๓๑ กรกฎาคม
๒๕๖๓ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
406 | หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)] (ฉบับที่ 7) | สธ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ
กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด
19 [Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)] (ฉบับที่ ๗) มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขรายการซ้ำซ้อน
การแก้ไขลำดับ/รหัส/หน่วยของรายการ รวมถึงการปรับแก้อัตราค่าบริการบางรายการ
โดยเฉพาะค่าตรวจ Covid-19 Real
time และค่าห้องพัก (กรณี Hospitel)
ให้ลดลงจากเดิม เพื่อให้เป็นราคาเดียวกันกับค่าใช้จ่ายกรณี Hospitel Isolation
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปดำเนินการให้ถูกต้องเหมาะสม
เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ฯ
และสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน
พร้อมกับดำเนินการใหเป็นไปตามหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายของกระทรวงการคลังด้วย และการปรับลดหลักเกณฑ์ดังกล่าวควรคำนึงถึงคุณภาพ
การให้บริการเป็นสำคัญ
เพื่อไม่ให้กระทบต่อการบริการและการให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลของประชาชนที่ติดเชื้อโควิด-๑๙
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
407 | ผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพสมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่หนึ่ง ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน | ทส. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัยที่ ๑๕ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่หนึ่ง ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านระบบการประชุมทางไกล
ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ มีสาระสำคัญ ประกอบด้วย (๑)
การประชุมระดับสูง
โดยไทยได้เน้นย้ำในเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนในการฟื้นฟูระบบนิเวศ และนำเสนอการดำเนินงานเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในเชิงนโยบายของไทย
โดยเฉพาะการดำเนินนโยบาย BCG Model รวมทั้ง ได้มีการรับรองปฏิญญาคุนหมิงในระหว่างการกระชุมระดับรัฐมนตรี
ซึ่งได้มีการปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนตามความเห็นของประเทศภาคีอนุสัญญา
โดยไม่กระทบกับสาระสำคัญ (๒) การประชุมระดับเจ้าหน้าที่
ที่ประชุมได้รับทราบรายงานผลการดำเนินงานขององค์กรย่อยและคณะทำงานต่าง ๆ ภายใต้อนุสัญญาฯ
และรับรองกรอบงบประมาณ ปี ค.ศ. ๒๐๒๐ สำหรับการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ
และพิธีสารภายใต้อนุสัญญาฯ (๓) จีนมีกำหนดประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัยที่ ๑๕ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่สอง ระหว่างวันที่ ๒๕ เมษายน-๘
พฤษภาคม ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาดำเนินการศึกษา
สำรวจและจัดเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศไทย
โดยอาจบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ
และพิจารณาจ้างงานนักศึกษาที่เพิ่งจบการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการสำรวจและเก็บข้อมูลต่าง
ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีงานทำและแก้ปัญหาการว่างงานของบัณฑิตใหม่ในเบื้องต้นด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
408 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 41/2564 | นร.11 สศช | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๑๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ในคราวประชุมครั้งที่ ๔๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ ดังนี้
(๑) อนุมัติให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ
กรณีโครงการภายใต้แผนเร่งรัดการเข้าถึงวัคซีน COVID ๑๙ สำหรับประชาชนไทย โดยขยายระยะเวลาดำเนินงาน จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม
๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ (๒) อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาระบบสื่อสารสั่งการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับกระทรวงและระดับเขตสุขภาพเป็น
SmartEOC โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ (๓) อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ
รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (A๐๐๑) ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค โดยขยายระยะเวลาดำเนินงานจากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม
๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ (๔) อนุมัติให้มหาวิทยาลัยนเรศวร
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่
: กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID ๑๙)
โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนเมษายน
๒๕๖๕ (๕) อนุมัติให้สำนักงานประกันสังคม เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา
๓๓ ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม
๒๕๖๕ (๖) อนุมัติให้กรมการพัฒนาชุมชน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่
ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” โดยระยะเวลาดำเนินงานใน ๔ กิจกรรมย่อย
(กิจกรรมที่ ๒ ๔ ๕ และ ๗) จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม
๒๕๖๕ (๗) อนุมัติให้จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดปัตตานี จังหวัดเลย จังหวัดตาก
จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ
โดยให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว และ (๘)
มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการเร่งรัดการดำเนินโครงการฯ
ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาดำเนินงานที่เสนอในครั้งนี้ รวมถึงรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมตามมติคณะกรรมการฯ
ไปประกอบการดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้หน่วยงานต้นสังกัดกำกับดูแลให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปฏิบัติตามข้อ
๑๙ และ ข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้อีก หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากคลังโดยเร็ว ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการทั้งในช่วงระหว่างดำเนินโครงการและภายหลังสิ้นสุดโครงการ
เพื่อประกอบการจัดทำรายงานตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
ตามขั้นตอนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
409 | การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานศาลปกครอง | ศป. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ของสำนักงานศาลปกครอง จำนวน ๓,๗๑๖,๗๐๙,๐๐๐ บาท ทั้งนี้
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณดังกล่าวเป็นการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยแสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ตามนัยมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่อสำนักงบประมาณจะได้จัดทำงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
และให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
410 | ขออนุมัติขยายกรอบระยะเวลาและปรับรายละเอียดโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ | กษ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒
พฤศจิกายน ๒๕๕๙ (เรื่อง ขออนุมัติโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่)
โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปรับรายละเอียดโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
รวมทั้งให้ขยายกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการดังกล่าว ดังนี้ ๑.๑ ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
จากเดิมตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๙-เมษายน ๒๕๗๐ เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๐ มิถุนายน
๒๕๗๕ ๑.๒ ระยะเวลาการจ่ายเงินกู้
จากเดิมตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๙-ธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๔ ๑.๓ ระยะเวลาการชดเชยดอกเบี้ยจากภายใน
๕ ปี นับแต่วันกู้ จากเดิมไม่เกินเดือนธันวาคม ๒๕๖๙ เป็นไม่เกินเดือนธันวาคม ๒๕๗๔ ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศ เช่น
ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อให้ได้รับโอกาสในการเข้าถึงโครงการอย่างเท่าเทียม
มีการทบทวนและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ และปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่รัฐชดเชยให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในโครงการฯ
จากเดิมร้อยละ ๓ คงเหลือร้อยละ ๒.๘๗๕ (ตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในปัจจุบัน) ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตาม ประเมินผล และพิจารณาความจำเป็นและเหมาะสมในการดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ (เรื่อง ขออนุมัติวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปี ๒๕๖๔/๖๕ เพิ่มเติม) โดยหากการดำเนินโครงการฯ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายให้พิจารณายุติการดำเนินโครงการ
เพื่อให้สามารถนำวงเงินเหลือจ่ายมาใช้ในการดำเนินโครงการอื่นที่มีความจำเป็นต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
411 | ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - ลาว ครั้งที่ 22 | กต. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ลาว
ครั้งที่ ๒๒ ระหว่างวันที่ ๓-๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ณ กรุงเทพมหานคร
และพิจารณามอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามตารางติดตามผลการประชุมฯ
ต่อไป โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น
การส่งเสริมความร่วมมือตามแนวชายแดน
การเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบ
และการส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทยและ สปป.ลาว
ได้มีการหารือทวิภาคีในประเด็นสำคัญที่นอกเหนือจากผลการประชุมฯ เช่น
ความร่วมมือเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ การคุ้มครองดูแลภาคเอกชนใน
สปป.ลาว การบริหารจัดการในแม่น้ำโขง และความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ที่เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการต่าง ๆ ใน สปป.
ลาว ให้แล้วเสร็จตามแผน การทบทวนแผนการดำเนินงานในการช่วยเหลือผู้เสียหายจากคดีการค้ามนุษย์
ปี ๒๕๖๒-๒๕๖๔ เพื่อวางแผนและประสานต่อความร่วมมือในระยะต่อไป ควรประสานกับสำนักงานอัยการสูงสุด
เข้ามาร่วมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
เนื่องจากเป็นองค์กรที่มีพันธกิจด้านบูรณาการเครือข่ายองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
412 | รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 5 รายการ [โครงการ "เช่ารถบรรทุก (ทดแทน) ขนาด 1 ตัน พร้อมอุปกรณ์ฯ เพื่อใช้ในภารกิจงานสอบสวนของสถานีตำรวจ จำนวน 1,311 คัน"] | ตช. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ รายการ เพื่อเป็นค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์
จำนวน ๙,๒๑๕ คัน วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๔๕๔,๖๗๐,๐๐๐ บาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ จำนวน ๒,๖๙๐,๙๓๔,๒๐๐
บาท และส่วนที่เหลืออีก จำนวน ๑๐,๗๖๓,๗๓๕,๘๐๐
บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ ตลอดจนสถานะการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาตามความจำเป็นและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
เนื่องจากการเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ในโครงการเช่ารถยนต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าวเป็นรถยนต์ประเภทพิเศษ
ซึ่งแตกต่างไปจากบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณและอัตราค่าเช่ารถยนต์ไม่เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
จึงต้องขอความตกลงประเภทรถยนต์ และอัตราค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์กับกระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ และวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
413 | มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564 - 2565 | นร.14 | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ
ฤดูแล้ง ปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง
ปี ๒๕๖๕ เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำชุมชนให้เหมาะสม
รวมถึงเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทานให้มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในชุมชนตามแนวพระราชดำริ
จึงเห็นสมควรเพิ่มเติมมาตรการเกี่ยวกับการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากน้ำและน้ำฝนในพื้นที่นอกเขตชลประทานเป็นมาตรการที่
๑๐ ในเรื่องนี้ด้วย ตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยา
โสภณพนิช) เสนอ และมอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติรับไปพิจารณาดำเนินการในรายละเอียดต่อไป ๒. รับทราบและเห็นชอบมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี
๒๕๖๔/๒๕๖๕ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี ๒๕๖๕
และมอบหมายหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว
โดยรายงานให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติทราบ พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติติดตามและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ
ฤดูแล้ง ปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕
เพื่อให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดและเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ทั้งนี้
ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรให้หน่วยงานดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
414 | รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 5 รายการ [โครงการ "เช่ารถยนต์บรรทุกเอนกประสงค์ (ทดแทน) ขนาด 1 ตัน พร้อมอุปกรณ์ฯ เพื่อใช้ในภารกิจบรรทุกผู้ต้องหาและการตรวจสถานที่เกิดเหตุ และการควบคุมฝูงชน กลุ่มผู้ชุมชุนประท้วงของสถานีตำรวจทั่วประเทศ จำนวน 1,482 คัน"] | ตช. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ รายการ เพื่อเป็นค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์
จำนวน ๙,๒๑๕ คัน วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๔๕๔,๖๗๐,๐๐๐ บาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ จำนวน ๒,๖๙๐,๙๓๔,๒๐๐
บาท และส่วนที่เหลืออีก จำนวน ๑๐,๗๖๓,๗๓๕,๘๐๐
บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ ตลอดจนสถานะการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาตามความจำเป็นและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
เนื่องจากการเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ในโครงการเช่ารถยนต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าวเป็นรถยนต์ประเภทพิเศษ
ซึ่งแตกต่างไปจากบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณและอัตราค่าเช่ารถยนต์ไม่เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
จึงต้องขอความตกลงประเภทรถยนต์ และอัตราค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์กับกระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ และวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
415 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศูนย์คุณธรรม (คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล) | วธ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศูนย์คุณธรรม แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๑
มกราคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอ และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
416 | ร่างมาตรการสนับสนุนให้สตรีเป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ | พม. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นซอบในหลักการของมาตรการสนับสนุนสตรีให้เป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ
ประกอบด้วยมาตรการย่อย ๓ มาตรการ ได้แก่ จัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓
ปี ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
และขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นำมาตรการดังกล่าวไปพิจารณาในรายละเอียดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
โดยให้นำความเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วยเพื่อให้ได้ข้อยุติในประเด็นต่าง
ๆ ที่ชัดเจน เหมาะสม ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ดังนี้ ๑)
กระทรวงการคลังเห็นว่า ในการพิจารณาจะต้องคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๒)
กระทรวงแรงงานเห็นว่า หากจะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ครอบคลุมสิทธิการลาคลอด
ให้สามีของแรงงานสตรีสามารถลาเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ นายจ้าง
เจ้าของสถานประกอบกิจการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคธุรกิจ
เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวด้วย ๓)
กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่า เพื่อให้การแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เหมาะสมและครอบคลุมข้าราชการทุกประเภท
จึงเห็นควรพิจารณาในรายละเอียดด้วยความรอบคอบ ๔)
กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่า ควรมีการทบทวนข้อมูลอย่างรอบด้าน
โดยคำนึงถึงหลักความเหลื่อมล้ำในกลุ่มแม่ที่ใช้สิทธิอื่น
หรือกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีบุตร เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติหรือความเป็นธรรมในการจ้างงานด้วย ๕)
สำนักงบประมาณเห็นว่า สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕
เห็นควรให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ในโอกาสแรก สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ
ๆ ไป
เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ๖)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีความเห็นประกอบการพิจารณาในแต่ละมาตรการ
ดังนี้ ๖.๑) การจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓
ปี โดยขยายบริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กให้รับเด็กอายุ ๐ ถึง
๓ ปี และขยายเวลาเบิดและปิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนทำงาน นั้น
เป็นมาตรการเพื่อแบ่งเบาภาระของสตรีในการเลี้ยงดูบุตรโดยกำหนดอายุของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง
๓ ปี
แต่การกำหนดอายุขั้นต่ำของเด็กดังกล่าวหากเป็นกรณีผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นหญิงที่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน
จะต้องคำนึงถึงมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
ที่กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน ๙๘
วัน และมาตรการที่กำหนดให้ขยายวันลาคลอดของข้าราชการจากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการสามารถลาคลอดบุตรได้
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน และเสนอให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘ วัน
สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ
ซึ่งเป็นการกำหนดเพื่อให้สิทธิแก่สตรีในการใช้วันลาคลอดเพื่อเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเอง ๖.๒) การส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
โดยให้ข้าราชการชายสามารถลาไปช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร นั้น
ควรกำหนดให้ลูกจ้างขายสามารถลาเพื่อช่วยเหลือภรรยาดูแลบุตรได้
เพื่อให้การกำหนดมาตรการดังกล่าวครอบคลุมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งจะทำให้เกิดความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ
แต่ในรายละเอียดอาจจะต้องกำหนดเพื่อไม่ให้นายจ้างได้รับผลกระทบจนเกินสมควร ๖.๓) การขยายวันลาคลอดของข้าราชการ
โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการจากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการสามารถลาคลอดบุตรได้
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน และเสนอให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘ วัน
สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ นั้น
ในส่วนของการแก้ไขวันลาคลอดของข้าราชการ เป็น ๙๘ วัน เป็นการกำหนดที่สอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
(ILO)
ฉบับที่ ๑๘๓
ว่าด้วยสิทธิการคุ้มครองความเป็นมารดาซึ่งได้กำหนดให้ภาครัฐต้องดูแลผู้หญิงตั้งครรภ์
ระหว่าง และหลังคลอด และต้องให้วันหยุดมารดาหลังคลอด ๑๔ สับดาห์
ซึ่งสตรีในภาคเอกชนได้รับสิทธิดังกล่าวแล้วตามมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
สำหรับการกำหนดให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ลาได้อีก ๙๐ วัน
และให้ได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ นั้น จะต้องพิจารณาว่า การแก้ไขดังกล่าวกระทบกับการการลาบระเภทอื่นหรือไม่
ได้แก่ การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ส่วนการกำหนดให้ได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐
ของเงินเดือนปกติ จะต้องพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินเดือน ได้แก่
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบด้วย ๗)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า
มาตรการส่งเสริมการลาของสามี และขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง
มีผลบังคับใช้กับกลุ่มข้าราชการเท่านั้น เพื่อให้ร่างมาตรการดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
จึงควรเร่งศึกษาแนวทางเพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายสู่แรงงานกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างเอกชน
ซึ่งมีสัดส่วนถึง ๒ ใน ๕ ของผู้มีงานทำทั้งหมด ๘)
สำนักงาน ก.พ. เห็นว่า เห็นควรมอบหมายสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาปรับปรุงระเบียบฯ ดังกล่าว
และโดยที่ข้อเสนอการปรับปรุงวันลาของข้าราชการชายเพื่อช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร
และการขยายวันลาคลอดบุตรของข้าราชการหญิง
มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา
และเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น อาทิ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ
บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายอื่นให้สอดคล้องกันต่อไปด้วย ๙)
กระทรวงมหาดไทยมีข้อเสนอแนะว่า ๙.๑) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ได้จัดบริการให้กับเด็กเล็กครอบคลุมช่วงอายุ ๒ - ๓ ปี ซึ่งในการขยายบริการเด็กเล็ก
โดยให้รับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๒ ปีลงไปนั้น
ควรกำหนดแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พิจารณาดำเนินการตามความพร้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รวมถึงความต้องการของชุมชนในพื้นที่โดยรัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณ
อัตรากำลังครู/ผู้ดูแลเด็กในแต่ละช่วงอายุ รวมถึงการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญในการดูแลเด็กอย่างถูกต้องตามหลักวิซาการ ๙.๒) สำหรับการขยายเวลาเปิด -
ปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หากจะขยายเวลาเปิด - ปิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนทำงาน
ต้องคำนึงถึงความพร้อม สภาพบริบท ที่ตั้ง
การประกอบอาชีพของผู้ปกครองและความต้องการของผู้ปกครองในท้องถิ่นนั้น ๆ
รวมถึงงบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ในการดำเนินการดังกล่าว ๑๐)
สำนักงาน ก.พ.ร. มีข้อเสนอแนะว่า
๑๐.๑) กรณีมาตรการจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า
๓ ปี ควรกำหนดให้อายุเด็กที่จะเข้ารับบริการ จาก ๐ - ๓ ปี เป็น ตั้งแต่ ๓
เดือนขึ้นไป - ๓ ปี เนื่องจากจะสอดคล้องกับมาตรการขยายวันลาคลอดของแม่
และช่วยให้เด็กได้รับการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจากแม่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อพัฒนาการของเด็ก
ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี
สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติและสามารถให้บริการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรพิจารณาประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญของบุคลากร และศักยภาพของศูนย์
พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่ง รวมทั้งต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอ
ตลอดจนคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการของผู้ปกครองหรือผู้รับบริการในแต่ละพื้นที่สำหรับการขยายเวลาให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่งด้วย ๑๐.๒) กรณีการส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
ซึ่งกำหนดให้ลาได้ ๑๕ วัน โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อกันนั้น
ควรพิจารณารับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุม เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับนำไปกำหนดรายละเอียดและกรอบระยะเวลาการลาของสามีดังกล่าวให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของทุกภาคส่วนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ๑๐.๓) กรณีการกำหนดให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรสามารถลาเพิ่มได้อีกไม่เกิน
๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ
ควรพิจารณาผลกระทบทั้งในประเด็นการปฏิบัติงานและการบริหารงานขององค์กรและภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่จะเพิ่มขึ้น
รวมทั้งคำนึงถึงความคุ้มค่าของประโยชน์โดยรวมที่สังคมและประเทศจะได้รับด้วย ๑๑)
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า ๑๑.๑) มาตรการข้อ ๒
ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด ที่เสนอว่า “...ให้ลาได้ ๑๕
วันทำการ เป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันจนครบวันลา” นั้น เห็นควรเพิ่มเติมคำว่า “ไม่เกิน”
ไว้หน้า ๑๕ วันทำการด้วย
เพื่อให้มีความคล่องตัวในการลาและสอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
ที่กำหนดไว้ให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างลาได้ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ ๑๑.๒) มาตรการข้อ ๓
ขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง ที่เสนอว่า “...โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการจากเดิม
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน” นั้น เห็นควรเพิ่มเติมคำว่า “ไม่เกิน” ไว้หน้า ๙๘ วัน ด้วยเหตุผลผลเดียวกับข้อ
๑๑.๑) แต่สำหรับการได้รับเงินเดือนระหว่างลา กฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ได้กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกิน ๙๐ วัน
ในส่วนของประเด็นที่เสนอว่า “...โดยให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘
วัน สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ”
นั้น ประเด็นดังกล่าวน่าจะมีจุดมุ่งหมายในการลาเพื่อการเลี้ยงดูบุตร
ซึ่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕
ได้กำหนดให้เป็นประเภทของการลากิจสวนตัว ตามข้อ ๒๒ ที่กำหนดไว้ว่า “ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรตามข้อ
๑๙ แล้ว หากประสงค์จะลากิจสวนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน
๑๕๐ วันทำการ”
แต่การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรดังกล่าวกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
กำหนดไว้ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
417 | รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 5 รายการ [โครงการ "เช่ารถตู้โดยสาร พร้อมอุปกรณ์ฯ (ทดแทน) ไว้ใช้ในภารกิจปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ประจำสถานีตำรวจและงานควบคุมฝูงชน กลุ่มผู้ชุมชุมประท้วง จำนวน 1,447 คัน"] | ตช. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ รายการ เพื่อเป็นค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์
จำนวน ๙,๒๑๕ คัน วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๔๕๔,๖๗๐,๐๐๐ บาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ จำนวน ๒,๖๙๐,๙๓๔,๒๐๐
บาท และส่วนที่เหลืออีก จำนวน ๑๐,๗๖๓,๗๓๕,๘๐๐
บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ ตลอดจนสถานะการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาตามความจำเป็นและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
เนื่องจากการเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ในโครงการเช่ารถยนต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าวเป็นรถยนต์ประเภทพิเศษ
ซึ่งแตกต่างไปจากบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณและอัตราค่าเช่ารถยนต์ไม่เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
จึงต้องขอความตกลงประเภทรถยนต์ และอัตราค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์กับกระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ และวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
418 | ผลการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 7 (7th GMS Summit) ผ่านระบบการประชุมทางไกล | นร.11 สศช | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ๖ ประเทศ (Greater Mekong Subregion : GMS) ครั้งที่ ๗ (7th GMS Summit)
เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล
โดยมีนายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นประธานการประชุม
และประธานธนาคารพัฒนาเอเชียเป็นประธานร่วมการประชุม โดยมีผู้นำประเทศลุ่มน้ำโขงเข้าร่วมการประชุม
และเห็นชอบข้อเสนอแผนการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของแผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
๖ ประเทศ (GMS) และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป สรุปได้ ดังนี้ (๑)
การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ โดยไม่มีการลงนาม ประกอบด้วย
ร่างปฏิญญาร่วมระดับผู้นำ GMS ครั้งที่ ๗
ร่างกรอบยุทธศาสตร์แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน GMS พ.ศ.
๒๕๗๓ และร่างเอกสารแผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อผลกระทบจากโควิด-๑๙ (๒)
ผลรับความสำเร็จของแผนงาน GMS เช่น
พัฒนาโครงการในสาขาคมนาคมขนส่งแล้วเสร็จ จำนวน ๑๑ โครงการ มูลค่ารวม ๒
พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ไทย-สปป. ลาว-มาเลเซีย
และกรอบการลงทุนในภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๖๕ ประกอบด้วย ๒๐๔ โครงการ มูลค่ารวม ๗.๘
หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และ (๓)
ไทยมีแผนการดำเนินงานระยะเร่งด่วนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน
GMS เช่น
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งในทุกระบบทั้งในไทยและประเทศเพื่อนบ้านและมุ่งดำเนินโครงการที่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่เห็นว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ควรมีการวิเคราะห์ ติดตามสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด
และการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง
ควรคำนึงถึงโครงสร้างสีเขียวและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการระบบคมนาคมขนส่งด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
419 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 1/2565 | นร.04 | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันศุกร์ที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๕ ซึ่งมีผลการประชุมที่สำคัญ
ได้แก่ (๑) รายงานสถานการณ์และแนวโน้มการแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อ (๒) ความก้าวหน้าการเปิดประเทศ
และการดำเนินการสำหรับพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว (Sandbox) (๓) การปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ และมาตรการป้องกันควบคุมโรค (๔) การปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร
(๕) แผนการให้บริการวัคซีนโควิด-19 และแผนการจัดหายารักษาโรคโควิด-19 (ยาต้านไวรัส
Paxlovid) (๖) แนวทางการยกระดับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ (๗) การจัดกิจกรรมการสอบของหน่วยงานภาครัฐ และ (๘) ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ตามที่สำนักงานเลขาธิการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
420 | รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 5 รายการ [โครงการ "เช่ารถบรรทุก (ทดแทน) ขนาด 1 ตัน พร้อมอุปกรณ์ ปฏิบัติการสายตรวจ งานปราบปรามอาชญากรรมยาเสพติด และรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนของสถานีตำรวจ จำนวน 2,894 คัน"] | ตช. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ รายการ เพื่อเป็นค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ จำนวน ๙,๒๑๕ คัน วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๔๕๔,๖๗๐,๐๐๐ บาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๒,๖๙๐,๙๓๔,๒๐๐ บาท และส่วนที่เหลืออีก จำนวน ๑๐,๗๖๓,๗๓๕,๘๐๐ บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามนัยมาตรา ๒๖ ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน ศักยภาพในการดำเนินการ ตลอดจนสถานะการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาตามความจำเป็นและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง เนื่องจากการเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ในโครงการเช่ารถยนต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าวเป็นรถยนต์ประเภทพิเศษ ซึ่งแตกต่างไปจากบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณและอัตราค่าเช่ารถยนต์ไม่เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด จึงต้องขอความตกลงประเภทรถยนต์ และอัตราค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์กับกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ และวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|