ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 20 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 381 - 400 จากข้อมูลทั้งหมด 443 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
381 | ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา ครั้งที่ 10 | พณ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา
ครั้งที่ ๑๐ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
(นายสินิตย์ เลิศไกร) เข้าร่วมประชุม ซึ่งเนการาบรูไนดารุสซาลาม ในฐานะประธานอาเซียน
ปี ๒๕๖๔ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม สรุปได้ ดังนี้ (๑) การแลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไขผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับการเปิดตลาดการค้าและการลงทุน ทั้งนี้
ไทยได้เน้นย้ำความสำคัญของระบบการค้าที่เปิดกว้างและสนับสนุนบทบาทขององค์การการค้าโลก
เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับวัคซีนและยาที่จำเป็น (๒)
รับทราบข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของสภาธุรกิจแคนาดา-อาเซียน ที่ให้ความสำคัญกับการเปิดเสรีทางการค้า
โดยเฉพาะการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
การเปิดพรมแดนให้นักธุรกิจสามารถเดินทางระหว่างกัน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
การส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าดิจิทัล
และการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (๓) เห็นชอบการเปิดเจรจาการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
โดยกำหนดเป้าหมายให้สรุปผลการเจรจาภายใน ๒ ปี
และเห็นชอบเอกสารขอบเขตสาระที่จะเจรจาในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
(๔) กระทรวงพาณิชย์คาดว่าอาเซียนและแคนาดาจะสามารถสรุปแผนงานเจรจาและเริ่มการเจรจารอบแรกในช่วงไตรมาสแรกของปี ๒๕๖๕ ทั้งนี้
ได้จัดทำขอบเขตสาระเบื้องต้นที่จะเจรจาในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา โดยมีประเด็นที่สำคัญ เช่น
ภาพรวมการเจรจา มาตรการป้องกันและเยียวยาทางการค้า และนโยบายแข่งขันทางการค้า และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเตรียมการเจรจาในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยให้คำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และเตรียมมาตรการบรรเทาผลกระทบในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนยึดท่าทีตามกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดาของประเทศไทย
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงวัฒนธรรม
ที่ควรคำนึงถึงหลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง
ซึ่งแต่ละประเทศต่างดำเนินการตามพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้าร่วมเป็นภาคี
โดยคำนึงถึงขีดความสามารถของแต่ละประเทศ
และไม่ควรใช้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมืดกีดกันทางการค้าต่อไปในอนาคต
ควรคำนึงถึงข้อดีและผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนผลประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
382 | ผลการประชุม United Nations Global Sustainable Transport Conference ครั้งที่ 2 | คค. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุม United Nations Global Sustainable Transport Conference ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๔–๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ ณ กรุงปักกิ่ง
สาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านระบบการประชุมทางไกล
โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมประชุม
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) ภาพรวมการประชุม องค์การสหประชาชาติ (United
Nations : UN) ร่วมกับจีนจัดการประชุมฯ
เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักที่สำคัญในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน
ค.ศ. ๒๐๓๐ ของ UN และได้กำหนดมาตรการเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายของประเทศ
การพัฒนาที่ยั่งยืน และความตกลงปารีส (๒) ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจีน
ได้กล่าวถ้อยแถลงโดยเน้นย้ำความมุ่งมั่นที่จะมุ่งสู่การพัฒนาระบบการขนส่งที่ยั่งยืน
โดยเฉพาะการฟื้นฟูจากสถานการณ์โควิด-๑๙ (๓) ประเด็นหารือที่สำคัญ เช่น ๑)
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสำหรับการขนส่งที่ยั่งยืน ๒)
การขนส่งที่ยั่งยืนและพัฒนาระดับภูมิภาค ๓)
บทบาทของภาคธุรกิจในการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืน และ ๔)
การขนส่งที่ยั่งยืนและการพัฒนาสีเขียว การแก้ไข การปรับตัว
และความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ (๔)
การนำเสนอร่างแถลงการณ์ปักกิ่งซึ่งเน้นย้ำความสำคัญของการขนส่งที่ยั่งยืนที่สามารถเข้าถึงได้
การเพิ่มความปลอดภัย และการนำไปสู่การบรรลุการเปลี่ยนแปลงด้านการขนส่งอย่างยั่งยืน
ซึ่งร่างแถลงการณ์ปักกิ่งเป็นเอกสารที่ไม่มีการเปิดให้เจรจา
โดยจะมีการนำเสนอเอกสารดังกล่าวในที่ประชุมสมัชชา UN ต่อไป ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
383 | รายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีกรณีหน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 | สผผ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานกรณีหน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด
๕หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
เรื่องคุณภาพและการคุ้มครองอาชีพมัคคุเทศก์ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในประเด็นปัญหา
เช่น กรณีการใช้คนไทยเป็นตัวแทนอำพรางหรือนอมินีเข้ามาประกอบธุรกิจนำเที่ยว
เนื่องจากช่องว่างและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอ ๒. ให้กระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) กระทรวงแรงงาน
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรับข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินและความเห็นของกระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ที่เห็นว่า หากร่างพระราชบัญญัติการข้อมูลผู้ที่ได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง พ.ศ.
....
มีผลใช้บังคับจะสามารถช่วยแก้ปัญหาที่คนต่างด้าวใช้คนไทยเป็นตัวแทนอำพรางหรือนอมินีประกอบธุรกิจนำเที่ยว
เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจนำเที่ยวของคนต่างด้าว พ.ศ.
๒๕๔๒ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากจะมีการกำหนดบทลงโทษผู้ที่แจ้งขอข้อมูลอันเป็นเท็จเพิ่มขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตามหน้าที่และอำนาจให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วภายในปี ๒๕๖๕ |
||||||||||||||||||||||||||||||
384 | ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่ 12 (The 12th ASEAN Ministers Meeting on Rural Development and Poverty Eradication) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | มท. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนครั้งที่
๑๒ (The 12th ASEAN Ministers Meeting on
Rural Development and Poverty Eradication : การประชุม AMRDPE
ครั้งที่ ๑๒) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ
ประกอบด้วย (๑)
รายงานของประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนเสนอต่อการประชุม
AMRDPE ครั้งที่ ๑๒ และ (๒) แถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุม AMRDPE ครั้งที่ ๑๒ และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยนำผลการประชุมฯ
ไปปฏิบัติเพื่อติดตามความคืบหน้าต่อไป ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ๒.
ในการดำเนินการจัดทำเอกสารใด ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศในครั้งต่อไปที่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการต่อไป
ให้กระทรวงมหาดไทยถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ (เรื่อง
การทำความตกลงกับต่างประเทศ การทำอนุสัญญา และสนธิสัญญาต่าง ๆ) และวันที่ ๓๐
มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
อย่างเคร่งครัด |
||||||||||||||||||||||||||||||
385 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | รง. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการ ๑.๑ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ
ประเภทของประโยชน์ทดแทน
ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราเงินสมทบที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตามมาตรา
๔๐ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นระยะเวลา ๖ ดือน
โดยยังคงอัตราการจ่ายเงินสมทบตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ
ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๔ ๑.๒ ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน
เพื่อให้สอดคล้องกับการลดอัตราการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา ๔๐
เป็นระยะเวลา ๖ เดือน โดยยังคงอัตราการจ่ายเงินสมทบตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน
พ.ศ. ๒๕๖๔ รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ให้นำร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมกับร่างพระราชกฤษฎีกาในคราวเดียวกัน ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ
รวมทั้งวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสม
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||
386 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา | กษ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
จำนวน ๓๕๐ แปลง เนื้อที่ ๗๗๐-๑-๕๙ ไร่ในอัตราไร่ละ ๔๕,๐๐๐
บาท เป็นเงิน ๓๔.๖๗ ล้านบาท ให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
ที่ผ่านการตรวจสอบและเห็นชอบโดยคณะอนุกรรมการทั้ง ๒ คณะ (คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
และคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
เฉพาะกลุ่มโนนสัง กลุ่มราษีไศล และกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน) โดยในส่วนของงบประมาณ กรมชลประทานจะปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ มาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าทดแทน
จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายละเอียดผลการตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา
อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ รวม ๒๑ ราย
โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธาน
เพื่อกำกับการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วน ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเสนอ และให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
กรมชลประทานควรเร่งรัดดำเนินการจ่ายค่าทดแทน
กำหนดแผนงานและกรอบระยะเวลาสำหรับการสำรวจพื้นที่และบุคคลที่ได้รับผลกระทบให้มีความชัดเจน
เพื่อให้ทราบงบประมาณที่ต้องนำมาใช้ในการจ่ายค่าทดแทนที่แน่นอน
และให้กรมชลประทานปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๖๕
แล้วขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเร่งรัดสำรวจพื้นที่และจำนวนราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนาทั้งหมด
เพื่อให้สามารถจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรได้ถูกต้องครบถ้วนโดยเร็วต่อไป ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐในกรณีต่าง
ๆ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง
ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา)
ให้แล้วเสร็จและนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
387 | รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของส่วนราชการ (จำนวน 13 ราย) | นร 05 | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
(ปคร.) ของส่วนราชการ จำนวน ๑๓ ราย ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ๒. นายพาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ๓. นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๔. นายกีรติ รัชโน รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ๕. นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ๖. นายปรีดี ภูสีน้ำ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ๗. นายมงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๘. นางอุดมพร เอกเอี่ยม รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๙. นายยุทธา สาโยชนกร รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๑๐. นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ๑๑. นายปวัตร์ นวะมะรัตน รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๑๒. พลตำรวจโท
ธนาศักดิ์ ฤทธิเดชไพบูลย์ ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่นายตำรวจประสานงานรัฐสภา)
๑๓. นางรวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ |
||||||||||||||||||||||||||||||
388 | การกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 | พณ. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้แก่ ๑) หน้ากากอนามัย
๒) ใยสังเคราะห์ Polypropylene (Spunbond) เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย ๓)
ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ ๔) เศษกระดาษ
และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก และ ๕) ไก่ เนื้อไก่
เพื่อกำหนดมาตรการการกำกับดูแลให้สินค้ามีปริมาณเพียงพอ
และราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริโภค ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงพาณิชย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
389 | แจ้งคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ. 626/2559 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 1006/2564 ระหว่าง นางสุรีย์ลักษณ์ คงเจริญโชค ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรและความรับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย | อส. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขดำที่ อ. ๖๒๖/๒๕๕๙
คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๑๐๐๖/๒๕๖๔ ระหว่าง นางสุรีย์ลักษณ์ คงเจริญโชค ผู้ฟ้องคดี
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน ผู้ถูกฟ้องคดี (คณะรัฐมนตรี
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๖) (เรื่อง
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
และความรับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย) ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นในส่วนของค่าเสียหายทางจิตใจและอัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระแก่คู่ฟ้องคดี
โดยยกฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๖ (คณะรัฐมนตรี)
ตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุด
|
||||||||||||||||||||||||||||||
390 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง บทบาทตลาดทุน (Capital Market) ต่อเศรษฐกิจประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา | สว. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
บทบาทตลาดทุน (Capital Market) ต่อเศรษฐกิจประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
วุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงการคลังได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ
การเงิน และการคลัง วุฒิสภา เรื่อง บทบาทตลาดทุน (Capital Market) ต่อเศรษฐกิจประเทศไทยแล้ว โดยผลการพิจารณาสรุปได้ว่าปัจจุบันการดำเนินการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับบทบาทตลาดทุน
(Capital Market) ต่อเศรษฐกิจประเทศไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
แล้ว เช่น
ผลักดันให้ภาคธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์มีระบบดิจิทัลเป็นความปกติใหม่ตลอดกระบวนทางธุรกิจ
ส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงิน (Financial Literacy)
ผลักดันให้ภาคประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการออมที่มีภาคปฏิบัติอย่างจริงจังและผลักดันให้ภาครัฐระดมทุนผ่าน
Infrastructure Fund และทรัสต์ เพื่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||
391 | ร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ พ.ศ. .... | ปช. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกการคุ้มครองประชาชนที่ถูกฟ้องคดีปิดปากอันเนื่องมาจากการแสดงความคิดเห็น
การให้ถ้อยคำ การแจ้งเบาะแสหรือข้อมูล หรือการจัดทำคำร้องหรือคำกล่าวหา
เกี่ยวกับการกระทำของเจ้าพนักงานของรัฐหรือบุคคลใดอันเป็นที่มาของการสอบสวน
การตรวจสอบ หรือการไต่สวน ในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบเพื่อให้เกิดการบังคับใช้อย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
หน่วยงานภาครัฐ
รวมถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาด้วยว่าอาจดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ แทนการออกเป็นกฎหมายเฉพาะได้หรือไม่ และให้รับความเห็นกระทรวงยุติธรรม
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น
ควรคำนึงถึงมาตรการหรือกลไกที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน
รวมทั้งต้องพิจารณากำหนดมาตรการหรือกลไกเพิ่มเติมขึ้นเป็นการเฉพาะ
เพื่อให้การป้องกันหรือคุ้มครองบุคคลที่แสดงความเห็นหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลโดยสุจริตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
ควรปรับคำนิยาม “ประพฤติมิชอบ” ในร่างมาตร ๓ ให้ครอบคลุมถึงพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมด้วย
เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป และให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด
๑๖ การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||
392 | รัฐบาลสาธารณรัฐไอซ์แลนด์เสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐไอซ์แลนด์ประจำประเทศไทย (นายทอรีร์ อิบเซน) | กต. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายทอรีร์ อิบเซน (Mr. Thorir Ibsen) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจแห่งสาธารณรัฐไอซ์แลนด์ประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน สืบแทน นายกุนนาร์ สนอร์รี
กุนนาร์ซอน (Mr. Gunnar Snorri Gunnarsson) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
393 | ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กต. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ ๓๘ และ ๓๙ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
รวม ๑๐ รายการ เมื่อวันที่ ๒๖-๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนการาบรูไนดารุสซาลาม
(บรูไน) ทรงเป็นประธานการประชุม โดยมีผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้นำของคู่เจรจา
๘ ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินเดีย รัสเซีย
และนิวซีแลนด์ ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน ๒๕ ฉบับ
และแสดงวิสัยทัศน์ของไทยโดยเน้นเรื่องการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด ๑๙) การฟื้นฟูและสร้างอนาคตที่ยั่งยืน และการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น การสร้างประชาคมอาเซียน การรับมือกับโรคโควิด-๑๙
การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
ความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและภาคีภายนอก สถานการณ์ระหว่างประเทศและในภูมิภาค และการส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียนให้แก่กัมพูชา
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ
ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่ควรดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
และควรเพิ่มประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ ในตารางติดตามผลการประชุมฯ หัวข้อ ๓
การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ ๒๔ ข้อ ๖ การพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อย่อย ๖.๒
เรื่องการส่งเสริมความร่วมมือ
เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
394 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายถาวร สกุลพาณิชย์) | สธ. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายถาวร สกุลพาณิชย์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านควบคุมป้องกันโรค [นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ
(ด้านวิจัย)] สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
395 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดให้กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การกำหนดให้กิจการให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้) | กค. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดให้กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การกำหนดให้กิจการให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร
หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้)
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้กิจการให้บริการหนังสือพิมพ์
นิตยสาร
หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
396 | การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร | นร.08 | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ๒. เห็นชอบและรับทราบร่างประกาศ ดังนี้ ๒.๑ เห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่
๑๖) และร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ๒.๒ รับทราบร่างประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ
และคำสั่งนายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ รวม ๓ ฉบับ
ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
397 | ความตกลงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับฮังการีว่าด้วยการศึกษา | ศธ. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับฮังการีว่าด้วยการศึกษา (Cooperation Agreement between the Association of
Southeast Asian Nations and the Government of Hungary on Education Cooperation) (ร่างความตกลงฯ) ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน
และประเทศไทยจะต้องแจ้งความเห็นชอบต่อร่างความตกลงดังกล่าวต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนผ่านคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน
ณ กรุงจากาตาร์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ภายในวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕ และอนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ
ของฝ่ายอาเซียน โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญ เช่น การสานต่อโครงการทุนการศึกษาอาเซียน-ฮังการี
ฮังการีจะให้โอกาสนักเรียนจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้เข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาฮังการี
อาเซียนจะให้โอกาสนักเรียนและอาจารย์ฮังการีได้เข้าร่วมโครงการการศึกษาและการวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน
เป็นต้น ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
398 | ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา รวม 4 ฉบับ | อว. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการ ๑.๑ ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๒ ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... ๑.๓ ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๔ ร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม ๔ ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
โดยให้รวมทุนหมุนเวียนเพื่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่
รวมทั้งแก้ไขบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องให้มีความสอดคล้องกัน
ซึ่งการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวเป็นไปเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา
และส่งเสริมการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับมติของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
และความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณ
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติ รวม ๔
ฉบับดังกล่าวเป็นร่างกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ๓. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรพิจารณาความคุ้มค่า
ต้นทุนและผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ ตามาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ควรกำหนดกลไกและมาตรการรวมทั้งส่งเสริมการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษา
หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ
ควรพิจารณากำหนดเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่น ควรแก้ไขบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และรูปแบบการดำเนินงานที่ควรได้รับการจัดสรรงบประมาณให้มีความชัดเจน
และให้ความสำคัญกับการกำหนดผลสัมฤทธิ์และตัวชี้วัดของการดำเนินงานของโครงการที่มีความท้าทาย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
399 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นางสาวนุสรา กาญจนกูล และนางโสรดา เลิศอาภาจิตร์) | พณ. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ ๑. นางสาวนุสรา กาญจนกูล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||
400 | ขออนุมัติโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย | กค. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง
จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และวงเงินงบประมาณรายจ่ายของโครงการฯ
ตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบบทเฉพาะกาลมาตรา
๖๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ พ.ศ.
๒๕๖๒ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเสนอ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการฯ
ระยะทางรวม ๓.๙๘ กิโลเมตร โดยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในรูปแบบ PPP
Net Cost โดยภาครัฐรับผิดชอบการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในขณะที่ ภาคเอกชนรับผิดชอบงานส่วนที่เหลือทั้งหมด ได้แก่
การออกแบบรายละเอียดและการก่อสร้าง และการดำเนินงาน และบำรุงรักษา (Operation and Maintenance: O&M) โดยเอกชนจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ลงทุนทั้งหมด ให้แก่ภาครัฐก่อนเริ่มดำเนินงานในลักษณะของ BTO
พร้อมทั้งให้เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รายได้ค่าผ่านทางโดยมีระยะเวลาสัมปทาน
๓๕ ปี (นับจากวันที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหนังสือแจ้งให้เริ่มปฏิบัติงาน (Notice
to Proceed) ตามรายงานผลการศึกษาฯ
ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้ความเห็นชอบไว้ ๒. อนุมัติค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดในวงเงิน
๕,๗๙๒.๒๔ ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณตามความจำเนและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง ๓. มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม
และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ พ.ศ. ๒๕๖๒ รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นว่า
เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็น
เหมาะสม และประหยัด ตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง และให้กระทรวงคมนาคม (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ ๑) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่เห็นว่า ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐเป็นสำคัญและเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เอกชนสามารถดำเนินโครงการได้จริงและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ก่อให้เกิดผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงขึ้นในจังหวัดภูเก็ตในอนาคต
นอกจากนี้ โครงการฯ ดังกล่าวยังมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ยุทธศาสตร์ที่ ๒
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
สำหรับการพัฒนาโลจิสติกส์ในการเดินทางข้ามจังหวัดและการเดินทางระหว่างประเทศ
ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศได้อย่างเชื่อมโยงกับรูปแบบการเดินทางอื่น ๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒) กระทรวงคมนาคมที่เห็นว่า
ให้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ๓) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เห็นว่า
ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าของโครงการ
ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่เสนอไว้ในรายงานฯ อย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ หรือมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ให้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๑
เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ เรื่อง การทบทวนมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่
๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติกรณีรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย ๔) กระทรวงมหาดไทยที่เห็นว่า ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ๕) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
๕.๑) ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พิจารณาใช้แหล่งเงินรายได้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินประมาณ
๕,๗๙๒.๒๔ ล้านบาท เป็นลำดับแรก
หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริงต่อไป
๕.๒) ให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับจังหวัดภูเก็ตในการพิจารณาแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง
ๆ ให้สามารถรองรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และสนับสนุนให้เกิดการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะและการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้น ๕.๓) เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างรอบคอบ
เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการ ดังนี้ ๕.๓.๑) พิจารณาแนวทางการบริหารความเสี่ยงของโครงการฯ
โดยเฉพาะการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยควรกำหนดอัตราค่าเวนคืนให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม
เพื่อให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยสามารถส่งมอบที่ดินให้กับเอกชนได้ตามกำหนดของสัญญาและเปิดให้บริการตามแผนที่ได้กำหนดไว้
และกำหนดเงื่อนไขในการสนับสนุนให้เกิดการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart
City) ๕.๓.๒) พิจารณากำหนดกลไกให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกระแสเงินสดของการดำเนินโครงการฯ
อาทิ เงินลงทุน รายได้ค่าผ่านทาง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษา
เพื่อให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชน์ตอบแทนจากการดำเนินโครงการระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ๕.๓.๓) ปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA) ตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบเมื่อวันที่
๗ มีนาคม ๒๕๖๑ อย่างเคร่งครัด
และในกรณีที่มีผลกระทบต่อประชาชนให้เร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว ๖) สำนักงบประมาณที่มีข้อสังเกตว่า เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวให้แก่หน่วยงานในพื้นที่และประชาชนเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการอีกครั้งหนึ่งก่อนเริ่มดำเนินการ
การดำเนินการตามมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งรับความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ
และประสานหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ
คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
ตลอดจนคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบในทุกมิติด้วย |