ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 443 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง | คค. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข ๘๒ สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว
สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
โดยโครงการร่วมลงทุน O&M
มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาสภาพการจราจรที่ติดขัดบนทางหลวงหมายเลข ๓๕
(ถนนพระราม ๒) โดยเฉพาะช่วงเร่งด่วนเช้าและเย็น
เพิ่มโครงการถนนสายหลักในพื้นที่ตอนล่างของกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง
ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม
กรมทางหลวง และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒
รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานอัยการสูงสุด และคณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่ กค
๐๘๒๐.๑/๔๗๗๐ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๕) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง เช่น ให้กรมทางหลวงพิจารณาแนวทางการเปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันและกำหนดเงื่อนไขการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน
และให้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | การจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) [ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....] | ดศ. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการยกฐานะของสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ
(Government Big Data Institute : GBDI)
หน่วยงานภายในภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ให้เป็นสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (National Big
Data Institute : NBDI) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน
เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อน วิเคราะห์
และบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศโดยตรง ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้แก้ไขชื่อหน่วยงาน ตัดคำว่า
“คลัง” และ “แห่งชาติ” ออก เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
ตลอดจนมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ที่กำหนดว่า
“ไม่ควรใช้คำว่า “แห่งชาติ”
ในการกำหนดชื่อหน่วยงานของรัฐเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเอกรัฐ
และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งทำหน้าที่ในฐานะ “แห่งชาติ” อยู่แล้ว” และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ เช่น การกู้ยืมเงินของ NDBI ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
รอบคอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk)
โดยจะต้องยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะและกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ตลอดจนระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรให้ผู้บริหารหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับมิติด้านเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นกรรมการด้วย
ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาปรับเปลี่ยนองค์กรรูปแบบใหม่
เมื่อได้ดำเนินการจัดตั้ง NDBI ครบ ๒ ปี เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2565 | กค. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่
๓ ปี ๒๕๖๕ ประกอบด้วย (๑) การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน
โดยเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง
และดอกเบี้ยธนาคารโลกทั่วไปปรับตัวสูงขึ้นเพื่อชะลอเงินเฟ้อ
และเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น
อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง ในปี ๒๕๖๖
เนื่องจากราคาพลังงานมีแนวโน้มลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม
ราคาอาหารและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามการผลักภาระต้นทุนให้แก่ผู้บริโภค
ส่วนการส่งออกของไทยมีแนวโน้มขยายตัวในปี ๒๕๖๕ และคาดว่าจะชะลอตัวลงในปี ๒๕๖๖
ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า (๒) ภาวะการเงินและเสถียรภาพระบบการเงิน
มีแนวโน้มผ่อนคลายเพียงเล็กน้อยเนื่องจากยังคงมีความกังวลจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก
ค่าเงินบาทในไตรมาสที่ ๓ ปี ๒๕๖๕ ยังคงอ่อนค่าลงจากไตรมาสที่ ๒
เนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ
และระบบการเงินของไทยยังคงมีเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง อย่างไรก็ตาม
ผู้ประกอบการ SMEs
ในบางสาขาธุรกิจยังคงฟื้นตัวช้าและครัวเรือนรายได้น้อยยังคงได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น
และ (๓) การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ ๓ ปี ๒๕๖๕
คณะกรรมการนโยบายการเงินได้มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ย ๒ ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ ๑ มติคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่
๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ ปรับขึ้นดอกเบี้ยจากร้อยละ ๐.๕๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๐.๗๕ ต่อปี
และครั้งที่ ๒ มติคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๕
ปรับขึ้นดอกเบี้ยจากร้อยละ ๐.๗๕ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑ ต่อปี
โดยปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 2 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา | ทส. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
๑.๑ เห็นชอบกรอบท่าทีเจรจาของประเทศไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัยที่ ๑๕ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ ๒ (The Fifteenth meeting of the
Conference of the Parties to Convention on Biological Diversity : COP15 Part 2)
ที่มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๗-๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ นครมอนทรีออล
ประเทศแคนาดา โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดท่าทีของประเทศไทยสำหรับการประชุมฯ
โดยอยู่บนพื้นฐานหลักการในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่
การให้ความเห็นชอบในหลักการต่อร่างกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ.
๒๐๒๐ (Post-2020 Global Biodiversity Framework : Post-2020 GBF) ซึ่งเป็นผลลัพธ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการประชุมฯ
การสนับสนุนแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพฉบับใหม่
และการให้ความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มพื้นที่ที่มีการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพตามข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และวิชาการที่ชัดเจน
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงกรอบท่าทีเจรจาฯ
ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา
โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่อีกครั้ง
๑.๒
รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัยที่ ๑๕ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ ๒ รวม ๗ คน ประกอบด้วย
เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็ฯเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาตามมาตรา
๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | การร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง | พน. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving
Terminal (แห่งที่ ๒) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง
จังหวัดระยอง ในสัดส่วนร้อยละ ๕๐ โดยมีมูลค่าเงินลงทุนตามสัดส่วนดังกล่าวไม่เกิน
๑๖,๓๕๐ ล้านบาท และ กฟผ. ได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อการลงทุนตามแผนการประมาณการเบิกจ่ายประจำปี
๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงาน และ กฟผ.
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจที่เห็นควรให้ กฟผ.
กำหนดขอบเขตการดำเนินงานด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้
และ กฟผ.
ควรกำกับดูแลบริษัทในเครือให้ดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งเป้าหมายการดำเนินงาน
สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และไม่เป็นภาระทางการเงินกับ กฟผ. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. อนุมัติในหลักการการยกเว้นภาษี
เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้าง
การจัดตั้งบริษัทฯ และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องจากการร่วมทุนในบริษัทดังกล่าว
ทั้งนี้
ในส่วนของการลดหย่อนค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนการจำนองให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
และให้กระทรวงพลังงาน และ กฟผ. ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไปอย่างเคร่งครัด
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | รายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ | ดศ. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ทั้งนี้
ในส่วนของข้อเสนอที่ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรายงานการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
(Digital Infrastructure)
ในส่วนของการพัฒนาระบบ Digital ID
ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๒. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในแผนที่ปฏิบัติการของกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗)
จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากสำนักงบประมาณ
และดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบการขับเคลื่อนที่กำหนด
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
โครงการที่ขอการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะต้องอยู่ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | วธ. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดย (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ
มีสาระสำคัญเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม/การทำความดีที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
เพื่อให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐ พัฒนาระบบ และการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรม
และเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนและองค์กรเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงาน
ก.พ. และข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข เช่น ควรเพิ่มเติมในเรื่องของนวัตกรรม
ในแนวทางการพัฒนาที่ ๓ ด้วย
เพื่อให้ครอบคลุมการส่งเสริมให้การวิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
โดยปรับเป็น “ส่งเสริมงานวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรม และพัฒนา...” ให้กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดในการดำเนินการจัดทำแผนจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมในพื้นที่ ตามนโยบาย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรร
หรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ให้ทุกหน่วยงานจัดกิจกรรมจิตอาสาส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2565 | กษ. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปมติคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๕ และเห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองภายใต้กรอบองค์การค้าโลก (World Trade Organization :
WTO) คราวละ ๓ ปี (ปี ๒๕๖๖-๒๕๖๘) ไม่จำกัดปริมาณ อัตราภาษี
ร้อยละ ๐ และกรอบการค้าอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อผูกพัน
และการบริหารการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง คราวละ ๓ ปี (๒๕๖๖-๒๕๖๘) การเปิดตลาดและบริหารการนำเข้าสินค้าน้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมันถั่วเหลือง
มะพร้าว มะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว
ตามพันธกรณีความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO และความตกลงการค้าเสรี
(FTA) อื่น ๆ คราวละ ๓ ปี (ปี ๒๕๖๖-๒๕๖๘)
โดยจัดสรรปริมาณการนำเข้าในโควตาปีต่อปี การใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special
Safeguard Measure : SSG) ภายใต้ความตกลงเกษตรของ WTO และความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
สำหรับสินค้ามะพร้าวผล ปี ๒๕๖๕
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งผู้ประกอบการสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
และเห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
โดยเพิ่มเติมอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นกรรมการ ตามที่คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชเสนอ และให้คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น การใช้มาตรการป้องกันพิเศษ (Special
Safeguard Measure)
ควรพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและขั้นตอนภายใต้ข้อ ๕
ของความตกลงว่าด้วยการเกษตร (Agreement on Agriculture) ของ WTO
และข้อ ๘๖ ของ ATIGA ควรกำกับดูแลการนำเข้าให้เป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนด
รวมทั้งเข้มงวดกับการป้องกันผู้กระทำความผิดและเฝ้าระวังให้เกิดการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรชนิดต่าง
ๆ อาทิ เมล็ดถั่วเหลือง มะพร้าว น้ำมันปาล์ม
อย่างเคร่งครัดเพื่อมิให้กระทบกับเกษตรกรในประเทศ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | ร่าง แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | ปช. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน | นร.01 | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน
ประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๕ โดยมีผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น (๑) การรายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน
(มท.) โดยมีประชาชนลงทะเบียนแล้ว ๖,๙๗๗,๕๗๗ คน (๒)
การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ ๑๖ หน่วยงาน ประกอบด้วย จิตอาสาพัฒนา
จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ และวิทยากรจิตอาสา ๙๐๔ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๑,๑๔๔,๖๖๗ คน และ (๓)
การติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่ จิตอาสาพระราชทาน เช่น
โครงการที่ได้รับเงินพระราชทานบริจาคช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติภาคใต้
และกิจกรรมอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | การเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลระดับนานาชาติ รายการ Thailand by UTMB | กก. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเห็นเพิ่มเติมว่า
ขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(การกีฬาแห่งประเทศไทย) ประสานงานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) เกี่ยวกับรายละเอียดของแผนการดำเนินงานในการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลระดับนานาชาติ
รายการ Thailand by UTMB ในปีต่อ ๆ ไป
ภายหลังปี ๒๕๖๖ ให้ชัดเจน
รวมทั้งขอให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ภายหลังสิ้นสุดการจัดการแข่งขันในแต่ละปีด้วย ๒. เห็นชอบในหลักการให้ประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลระดับนานาชาติ
๒ รายการ รายการ Doi Inthanon Thailand By UTMB ประจำปี
๒๕๖๖-๒๕๖๘ (๓ ปี) และรายการ Amazean Jungle Thailand By UTMB
ประจำปี ๒๕๖๖-๒๕๗๑ (๖ ปี) และเห็นชอบกรอบวงเงิน ดังนี้ (๑) งบประมาณค่าลิขสิทธ์ การจัดการแข่งขันภายในกรอบวงเงิน
จำนวน ๑,๗๒๕,๐๐๐ ยูโร เป็นเงิน ๖๕,๕๕๐,๐๐๐ บาท และ (๒)
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการแข่งขันภายในกรอบวงเงิน ๔๐๙,๕๖๔,๕๐๐ บาท โดยให้การกีฬาแห่งประเทศไทยดำเนินการขอรับการสนับสนุนจากเอกชนและใช้เงินรายได้จากการบริหารสิทธิประโยชน์เป็นลำดับแรกก่อน
หากไม่เพียงพอและมีความจำเป็นให้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นโอกาสแรกก่อน
และให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานเป็นรายปีเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับแผนการดำเนินงานในแต่ละปี
ให้มีประสิทธิภาะและประสิทธิผล ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (การกีฬาแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
รวมทั้งความเห็นเพิ่มเติมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ควรพิจารณาจำกัดจำนวนผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขัน
เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติมีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่สามารถรองรับได้ต่อวัน
ควรคำนึงถึงความประหยัดและความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณ
การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ความเสี่ยงและความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ ควรประชาสัมพันธ์จังหวัดใกล้เคียงเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชื่อมโยงและกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างทั่วถึง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | ผลการดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศของกระทรวงกลาโหม | กห. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศของกระทรวงกลาโหม
ประกอบด้วย การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Defence
Minister’ Meeting Retreat : ADMM Retreat) และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา
ครั้งที่ ๙ (9th ASEAN Defence Ministers’ Meeting Plus : 9th
ADMM-Plus) รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๒ ถึงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ เมืองเสียมราฐ
ซึ่งราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
ตลอดจนการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee : GBC) ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ ๑๕ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ ผลการประชุม ADMM Retreat และการประชุม 9th
ADMM-Plus รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เป็นการร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองด้านความมั่นคงของภูมิภาคเพื่อส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจแสวงหาความร่วมมือที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน
และรับทราบพัฒนาการการดำเนินงานภายใต้กรอบ ADMM และ ADMM-Plus
รวมทั้งผลักดันประเด็นที่กระทรวงกลาโหมเป็นผู้ริเริ่ม
ตลอดจนเสริมสร้างการปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา
จึงนับว่าการประชุมดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผลการประชุม GBC
ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ ๑๕
เป็นการพัฒนาความสัมพันธ์และเสริมสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงตามแนวชายแดนร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมและครอบคลุมทุกมิติ
ในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพและความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ชายแดนไทยและกัมพูชา
สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทกระทรวงกลาโหมในการเสริมสร้างความร่วมมือและพัฒนาสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศ
ให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงในอาเซียนและภูมิภาคต่อไป ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | รายงานผลการดำเนินการต่อข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม กรณีการดำเนินคดีล่าช้าอันเกี่ยวเนื่องกับการอายัดตัว | สม. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมติรับทราบรายผลการดำเนินการต่อข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
กรณีการดำเนินคดีล่าช้าอันเกี่ยวเนื่องกับการอายัดตัว
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ซึ่งได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยมีผลสรุปในภาพรวมว่า
กระทรวงยุติธรรมโดยสำนักงานกิจการยุติธรรมได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเร่งรัดบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูล
ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม
โดยได้เชื่อมโยงข้อมูลการอายัดตัวผู้ต้องขังและข้อมูลผู้ต้องขัง การฝึกอาชีพ
และการศึกษาอบรมนอกเรือนจำของนักโทษเด็ดขาดโดยคำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน
นอกจากนี้ประเด็นการแก้ไขปรับปรุงกฎ ระเบียบ และสำนักงานศาลยุติธรรม
จะได้นำไปพิจารณาและประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา | ศธ. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดให้จังหวัดสุโขทัย
จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดกระบี่ จังหวัดตราด และจังหวัดสระแก้ว
เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามที่คณะกรรมการนโยบายพื้นนวัตกรรมการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น การจัดทำหลักสูตรควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างในแต่ละจังหวัด
และควรเร่งออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อความคล่องตัวยิ่งขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2566-2580) | นร16 | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐) โดย (ร่าง) นโยบายและแผนฯ
มีนโยบายหลัก ๔ ด้าน ได้แก่ (๑) การสงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
และการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ (๒)
การใช้ที่ดินและทรัพยากรที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด (๓)
การกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และ
(๔) การบูรณาการและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินอย่างมีเอกภาพ
และมีตัวชี้วัดรวมทั้งหมด ๑๙ ตัวชี้วัด มี ๑๑ แนวทางการพัฒนาหลัก และ ๑๗
แผนงานที่สำคัญ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม และข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย เช่น ควรมีการประเมินความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งของภาครัฐ
เอกชน รวมถึงประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายของ คทช.
เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแผนการดำเนินงานต่อไป ให้ความสำคัญกับการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายต่าง
ๆ และควรให้ภาคประชาชนในพื้นที่ที่มีส่วนร่วม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | การแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน จำกัด | อก. | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน จำกัด โดยขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมทุนในข้อ ๑๐
และชื่อคู่สัญญาร่วมทุน ดังนี้ (๑) ให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้งบริษัท
โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน จำกัด ข้อ ๑๐ จากเดิมที่ระบุว่า
“...คณะกรรมการบริษัท
ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการที่มาจากการเสนอชื่อของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
โดยจำนวนสัดส่วนของกรรมการนั้นให้เป็นไปตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือ ทั้งนี้
จำนวนกรรมการฝ่ายรัฐต้องมีไม่น้อยกว่า ๓ คน โดยเป็นผู้แทนจากกระทรวงอุตสาหกรรม ๒
คน และผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ๑ คน เป็นกรรมการ
โดยผู้แทนจากกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานกรรมการ” และ (๒)
ให้มีการแก้ไขชื่อคู่สัญญาร่วมทุนจากเดิม “บริษัท บวรกิจร่วมทุน จำกัด” เป็น “บริษัท
สนิทเสถียร จำกัด”
โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานอัยการสูงสุดไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปให้ถูกต้อง
เหมาะสม เป็นไปตาม กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งให้คำนึงถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา ๗๕ วรรคสอง
ที่บัญญัติให้รัฐต้องประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน
เว้นแต่กรณีที่มีความจำเป็น เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ
การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม การจัดให้มีสาธารณูปโภค หรือการจัดทำบริการสาธารณะ ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | รายงานการดำเนินการตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 | อว. | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติมว่า
การดำเนินการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติในสถานะของส่วนราชการภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมสามารถขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและภารกิจตามหน้าที่และอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด
รวมทั้งผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวมก็มิได้น้อยกว่าหน่วยงานบริการและจัดการกองทุนอื่น
ๆ ที่มีสถานะเป็นองค์การมหาชนแต่ประการใด นอกจากนี้
บุคลากรของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้แสดงความประสงค์ขอคงสถานะของหน่วยงานให้เป็นส่วนราชการ
ดังนั้น จึงเห็นควรให้คงสถานะของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นส่วนราชการไว้ดังเดิมและที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมในประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา | สว. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
การขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมในประเทศไทย
ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา
ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า
แนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมของคณะกรรมาธิการดังกล่าว มีความเหมาะสม
สอดคล้อง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาบูรณาการเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน
และเห็นด้วยกับแนวทางและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว
โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ ๑) การกำหนดกรอบยุทธศาสตร์และกลไกการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมในระดับชาติควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเฉพาะให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๒)
การส่งเสริมและการสร้างผู้นำในการขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมแบบคลัสเตอร์ควรเพิ่ม
“นิคมเกษตรอุตสาหกรรมภูมิภาค”
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นพื้นที่ในการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมแบบคลัสเตอร์
สำหรับการคัดเลือกเกษตรต้นแบบในแต่ละจังหวัด
ควรให้สภาเกษตรกรแห่งชาติและสภาหอการค้าจังหวัด เข้ามามีส่วนร่วมในการคัดเลือก และ
๓) การขับเคลื่อนหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม
โดยการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเชื่อมโยงเกษตรอุตสาหกรรมในทุกภาคส่วน
โดยแนวทางในการส่งเสริมในส่วนของการวิจัยด้านการเกษตรควรขยายให้ครอบคลุมปัจจัยการผลิตอื่น
ๆ เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช เครื่องจักรกลการเกษตรขนาดเล็ก ระบบเตือนภัยต่าง ๆ
เพื่อช่วยลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต เป็นต้น ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | ขออนุมัติแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง (พลโท นิธิ จึงเจริญ) | มท. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมติอนุมัติแต่งตั้ง พลโท นิธิ จึงเจริญ
เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง แทนกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่ง
เนื่องจากขอลาออก ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมของการหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส | กต. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|