ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 18 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 341 - 360 จากข้อมูลทั้งหมด 443 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
341 | การกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ในปี 2565 - 2567 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | พน. | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน
ในปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ ภายใต้กรอบวงเงินไม่เกิน ๒๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยวิธีการจัดหาเงินกู้ในรูปแบบ Term Loan อายุไม่เกิน ๓ ปี ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน
และให้กระทรวงพลังงาน (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าวงเงินกู้ดังกล่าวของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะต้องได้รับการจัดสรรในการบริหารหนี้สาธารณะก่อน
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจึงจะกู้ได้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
342 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ | ศร. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
โดยรายงานดังกล่าวประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงิน และงบแสดงผลการดำเนินการทางการเงิน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า
รายงานการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
343 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารประเภทควบคุมการใช้ พ.ศ. .... | มท. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารประเภทควบคุมการใช้
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ
ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่เห็นว่าควรแก้ไขร่างข้อความในร่างข้อ ๙ วรรค ๑ ร่างข้อ ๑๐ วรรค ๑ และร่างข้อ ๑๒
วรรค ๒ ให้ครอบคลุมถึงการป้องกันเสียง เพื่อให้สอดคล้องกับนิยาม
“วัสดุตกแต่งผิวผนังและผิวฝ้าเพดานภายใน” และ “ระบบผนังกระจก” ในร่างข้อ ๓
ที่กล่าวถึงวัสดุที่ใช้ในการป้องกันเสียง
และสร้างการรับรู้และความเข้าใจกับเจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ
และผู้ก่อสร้างอาคารด้วย ไปประกอบการพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าควรแก้ไขร่างข้อความในร่างข้อ
๙ วรรค ๑ ร่างข้อ ๑๐ วรรค ๑ และร่างข้อ ๑๒ วรรค ๒ ให้ครอบคลุมถึงการป้องกันเสียง
เพื่อให้สอดคล้องกับนิยาม “วัสดุตกแต่งผิวผนังและผิวฝ้าเพดานภายใน” และ
“ระบบผนังกระจก” ในร่างข้อ ๓ ที่กล่าวถึงวัสดุที่ใช้ในการป้องกันเสียง
และสร้างการรับรู้และความเข้าใจกับเจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ
และผู้ก่อสร้างอาคารด้วย และเมื่อร่างกฎกระทรวงฯ
ประกาศใช้บังคับแล้วพนักงานท้องถิ่นควรกำกับ ดูแล ให้เป็นตามร่างกฎกระทรวงฯ
ดังกล่าว อย่างเข้มงวดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
344 | ขอรับความอนุเคราะห์ในการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น | กษ. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
วงเงินงบประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท ให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสามารถดำเนินภารกิจในการแก้ไขปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรให้กับสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้อย่างต่อเนื่อง
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
345 | การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร | นร.12 | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีเห็นชอบการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร
ดังนี้ (๑) ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทของหน่วยงานของรัฐในการกำกับของฝ่ายบริหาร)
โดยเพิ่มประเภทขององค์การมหาชน จากเดิม ๒ ประเภท เป็น ๓ ประเภท
เพื่อรองรับหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
และมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๕/๘
แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ครอบคลุมถึงหน่วยงานดังกล่าว
(๒) จำแนกให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ
และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร
ประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคล และ (๓)
จำแนกให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารประเภทองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ
ตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงหน่วยงานที่เป็นอยู่เดิมเป็นลำดับแรกก่อน
เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนของภารกิจ
รวมทั้งคำนึงถึงหลักการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายของภาครัฐที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
คำนึงถึงแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐
โดยอาจวางระบบ หลักเกณฑ์ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติในการกำกับดูแล
และบริหารจัดการองค์กรให้ชัดเจน
และควรเร่งรัดการดำเนินการในส่วนของหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายหลังการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารแล้วเสร็จ
เพื่อปรับรูปแบบการบริหารราชการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
346 | หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] (ฉบับที่ 8) | สธ. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] (ฉบับที่ ๘) โดยมีการปรับอัตราค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินที่อยู่ในสภาวะอันตรายได้รับสิทธิที่จำเป็นและเหมาะสมต่อการรักษาพยาบาล
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข อัตราที่กำหนด และสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน
พร้อมกับดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายของกระทรวงการคลังด้วย นอกจากนี้
การปรับลดหลักเกณฑ์ดังกล่าวควรคำนึงถึงคุณภาพการให้บริการเป็นสำคัญ
เพื่อไม่ให้กระทบต่อการรับบริการและการให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลของประชาชนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
347 | ขออนุมัติหลักการก่อสร้างที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง | ปช. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการก่อสร้างที่ทำการ
สำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง และก่อหนี้ผูกผันข้ามปีงบประมาณตามนัยมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๑ จำนวน ๕๒๔,๑๔๗,๐๐๐ บาท โดยผูกพันระหว่างปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗ รวมเวลา ๓ ปี ดังนี้ ๑) ปีที่ ๑ (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕)
ใช้เงินคงเหลือสะสมสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน ๑๐๔,๘๒๙,๔๐๐ บาท และ ๒) ปีที่ ๒-๓ (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๗) จำนวน ๔๑๙,๓๑๗,๖๐๐ บาท ให้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงบประมาณ ที่เห็นว่าการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณจะต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ต่าง
ๆ ที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ กฎหมาย ระเบียบ
ประกาศและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ทั้งนี้
การเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างรายการดังกล่าวอยู่ภายใต้กรอบสัดส่วนการก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย
ที่กำหนดว่าต้องไม่เกินร้อยละแปดของบประมาณรายจ่ายประจำปี และต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้องบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
ไปดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
348 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 | นร.11 สศช | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
349 | ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากร) | ศย. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากรและให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าว
โดยอนุโลมกำหนดให้การออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการพิจารณาในส่วนคดีอาญาต้องไม่ทำให้สิทธิในการต่อสู้คดีอาญาของจำเลยลดน้อยลงกว่าที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
แก้ไขเพิ่มเติมการรับทราบกำหนดนัดของศาลในคดีศาลเพ่ง
และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ ฎีกา คำพิพากษา
หรือคำสั่งศาลในคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากร
รวมถึงให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวในศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษและศาลฎีกาโดยอนุโลม
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
เช่น แก้ไขกฎหมายให้มีความครอบคลุม ชัดเจน
และสอดคล้องกับหลักการของกฎหมายภาษีอากรที่ดีมากยิ่งขึ้น เพิ่มเติมถ้อยคำว่า
“เจ้าหน้าที่” ไว้ในมาตรา ๗ (๑) ด้วย หากมีการแก้ไขถ้อยคำในมาตรา ๗ (๑)
ดังกล่าวจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในมาตราอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ต้องพิจารณาคุณสมบัติของผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งในคดีภาษีอากรและคดีอาญาควบคู่กันด้วย
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ ๓. ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เช่น ควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๘ โดยตัดข้อความ
“เกี่ยวกับภาษีอากร” ออก
ก็จะส่งผลให้คดีคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวกับภาษีอากรในเรื่องอื่น ๆ
ที่มิใช่การประเมินภาษีอากรนั้นจะต้องผ่านการอุทธรณ์โดยถูกต้องตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองก่อน
จึงจะฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรได้ การเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจของศาลตามที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้จะไม่กระทบต่อการดำเนินงานตามภารกิจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรม
ควรพิจารณาดำเนินการปรับปรุงอาคารศาลเดิมเป็นสถานที่ทำการแทนการลงทุนก่อสร้างอาคารที่ทำการแห่งใหม่
อันเป็นการคำนึงถึงความคุ้มค่าและต้นทุนที่อาจลดลงได้ พิจารณากรอบอัตรากำลังข้าราชการตุลาการและข้าราชการศาลยุติธรรมเพื่อให้สอดรับกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
พิจารณาเกลี่ยอัตรากำลังที่ปฏิบัติงานในส่วนคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากรจากศาลยุติธรรมอื่นก่อนเป็นลำดับแรก
พิจารณานำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี และการบริหารจัดการคดีของศาลภาษีอากร
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติราชการ
และมอบหมายให้คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม และคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
ร่วมกับสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
350 | ขออนุมัติในหลักการจัดสรรงบประมาณให้แก่โครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก | สธ. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการการจัดสรรงบประมาณให้กับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อดำเนินโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต
สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
โดยค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๒๓/๑๖๐ ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการคลังกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA)
เพื่อประกอบการพิจารณา
ควรศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาคเอกชนและจัดทำแผนรองรับความเสี่ยง
ควรพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์ที่ทันสมัย เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
351 | ร่างแถลงข่าวร่วม (Joint Press Statement) สำหรับการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย | กต. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ และให้นายกรัฐมนตรีร่วมรับรองร่างแถลงข่าวร่วมฯ
ในการหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ โดยร่างแถลงข่าวร่วมฯ
มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองระดับผู้นำรัฐบาลของทั้งสองประเทศในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเยือนไทยหลังจากการเข้ารับตำแหน่งใหม่
เพื่อย้ำการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ ได้แก่
การฟื้นฟูความเชื่อมโยง การกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจ การกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงเพื่อรักษาเสถียรภาพ
และการรื้อฟื้นกลไกความร่วมมือทวิภาค ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
352 | ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 11 | กต. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา
ครั้งที่ ๑๑ ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งกัมพูชา
(นายปรัก สุคน) เป็นประธานร่วมกัน โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ
ได้แก่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมโดยเร็วจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙
การรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนและการส่งเสริมมิตรภาพอันใกล้ชิดระหว่างประชาชนไทยและกัมพูชา
ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในประเด็นอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน และมอบหมายให้ส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมฯ
ต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เช่น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด และให้ความสำคัญในการหารือด้านเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
ปรับปรุงถ้อยคำในบันทึกการประชุมฯ
ฉบับภาษาไทยและประเด็นการดำเนินการตามตารางติดตามผลการประชุมฯ
เพื่อให้เนื้อหาในเอกสารดังกล่าวมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
353 | การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี | นร.10 | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งสิ้น ๖๕ อัตรา
ตามมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๔
เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๔ ตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
354 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ประเภทต่าง ๆ
รวม ๒๗ ประเภท และรถจักรยานยนต์ประเภทต่าง ๆ รวม ๔ ประเภท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รวมพิจารณาร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้กับร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
รวม ๒ ฉบับ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรมีมาตรการรองรับให้รัดกุมและไม่เป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร
ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ควรเพิ่มหลักการควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศให้ครอบคลุมชนิดอื่นด้วย
เนื่องจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของการปล่อยมลพิษทางอากาศของประเทศไทย
ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
และมาตรการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดเก็บรายได้เพื่อมาชดเชยกับรายได้ที่คาดว่าจะสูญหายไป
และให้ดำเนินการตามนัยของมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.
๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
355 | ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูป (CBU) | กค. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูป (CBU) มีสาระสำคัญเป็นการลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบ CBU ขนาดเล็กและขนาดกลางที่ประกอบสำเร็จรูปนำเข้าทั้งคัน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้ระบุวันมีผลใช้บังคับตามความเห็นของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงบประมาณ เช่น กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของการดำเนินมาตรการยกเว้นหรือลดอัตราอากร กำหนดเงื่อนไขของผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางที่ชัดเจน และดำเนินการตามนัยมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ให้ครบถ้วนต่อไปด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
เห็นชอบให้ยกเลิกชั้นความลับในเรื่องนี้นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๒
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
356 | ร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... | ทส. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
โดยกำหนดพื้นที่ในการบังคับใช้กฎหมาย กำหนดให้มีแผนจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทุก
๕ ปี เพื่อใช้บริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในภาพรวมของประเทศ
กำหนดให้มีคณะกรรมการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ กำหนดให้มีการสร้างสมรรถนะและแรงจูงใจในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
กำหนดวิธีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ กำหนดกลไกในการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพรวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น
กำหนดกลไกการกำกับดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Living Modified Organisms : LMOs) กำหนดโทษทางแพ่ง
โทษทางปกครอง โทษทางอาญา และกำหนดบทเฉพาะกาล ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด
และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เช่น ควรพิจารณาความครอบคลุมของกฎหมาย
ในประเด็นการปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศจากการใช้ประโยชน์ในรูปแบบของการเอารัดเอาเปรียบทางการค้าจากต่างชาติ
กำหนดเพิ่มเติมในอนุบัญญัติให้บุคคลที่ไม่ได้ขออนุญาตก่อนการเข้าถึงทรัพยากรทางชีวภาพตั้งแต่แรกสามารถยื่นคำขออนุญาตก่อนการเข้าถึงและทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ในภายหลังได้
ควรมีความนิยามเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการด้านเทคนิค อาทิ
รายงานการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพ (มาตรา ๔๔) บัญชีปลดปล่อยต่อสิ่งแวดล้อม
(มาตรา ๔๖) แนวทางการระมัดระวังล่วงหน้า (มาตรา ๕๑) และสิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรม
(มาตรา ๕๓) เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป
และให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด
๑๖ การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรมีระบบความเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ครอบคลุมถึงสิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรมที่ได้มาจากการพัฒนาขึ้นทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร
และให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลเกิดผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
357 | ร่างกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กษ. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดระบบการป้องกันโรคระบาดและระบบการควบคุมโรคระบาดในม้าลาย
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข ที่เห็นว่าควรเพิ่มนิยาม “จนกว่าโรคจะสงบ”
ซึ่งปัจจุบันการเลี้ยงม้าลายมีวัตถุประสงค์เลี้ยงเพื่อการค้า
โรคที่เกิดกับม้าลายบางโรคโอกาสติดต่อจากสัตว์สู่คนน้อยแต่ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพได้
ควรต้องมีมาตรการป้องกัน ควบคุมโรค และป้องกันโรคจากสัตว์พาหนะเป็นสิ่งจำเป็น
โดยอาจพิจารณาเพิ่มเติมระบุการห้ามเลี้ยงสัตว์หลายชนิดปนกันในสถานที่เดียวกัน
ร่วมกับพิจารณาจำกัดจำนวนการเลี้ยงสัตว์ต่อพื้นที่ที่กำหนด
เพิ่มการปฏิบัติตามสุขลักษณะ และเพิ่มการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้อง
เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรคอีกทางหนึ่ง ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
358 | ร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติดและพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 รวม 3 ฉบับ | ยธ. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติดและพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบด้วย ๑.๑ ร่างกฎกระทรวงการตรวจสอบทรัพย์สินและการแจ้งสิทธิ
การยื่นคำร้องขอผ่อนผัน การยึดหรืออายัด การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้
และการขอรับทรัพย์สินคืนและการคืนทรัพย์สิน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและการแจ้งสิทธิ
การยื่นคำร้องขอผ่อนผัน การยึดหรืออายัด
การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้
และการขอรับทรัพย์สินคืนและการคืนทรัพย์สิน
เพื่อประโยชน์ในการใช้อ้างอิงและบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอยู่ในฉบับเดียวกันอย่างเป็นระบบ ๑.๒
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการบำบัดรักษาของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการกับบุคคลผู้มีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากระทำความผิดฐานเสพ
หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดเพื่อเสพ และกำหนดตำแหน่งหรือระดับของเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส.
หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่จะมีหน้าที่และอำนาจดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ๑.๓
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการการขออนุมัติ การอนุมัติ และการรายงาน การแจ้งข้อหาในความผิดฐานสมคบ
และสนับสนุนช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๖๔ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุมัติ
การอนุมัติ และการรายงาน ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ รวม
๓ ฉบับดังกล่าว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม
และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น กรณีร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๒ การตรวจสอบหรือทดสอบ
หรือเก็บปัสสาวะ ในร่างข้อ ๘ (๑) ควรเพิ่มความว่า กรณีมีความเร่งด่วน
ให้ดำเนินการเท่าที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ควรแก้ไขข้อความในร่างข้อ
๓ ของร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๓
เพื่อมิให้ขัดกับแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ
สำหรับร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๑ กรณีร่างข้อ ๓๕
เกี่ยวกับการอายัดสิทธิเรียกร้องซึ่งบุคคลภายนอกต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย
ควรกำหนดให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โดยร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๑ เห็นว่า การตรวจสอบทรัพย์สินตามกฎกระทรวงนี้
ขอให้หน่วยงานที่รับคำขอความร่วมมือจากเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดซึ่งกำหนดไว้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานนั้น
ๆ และร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๓ เห็นว่า
หากศาลใช้ดุลยพินิจอนุญาตให้ออกหมายจับในมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๗ แล้ว
ไม่ควรจะต้องขออนุมัติทางเลขาธิการ ป.ป.ส. อีก
เนื่องจากการออกหมายจับดังกล่าวเป็นการใช้ดุลยพินิจของผู้พิพากษาแล้ว
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
359 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 | นร.11 สศช | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
360 | ขอความเห็นชอบให้การประปาส่วนภูมิภาคปรับเพิ่มเงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนให้แก่พนักงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ | มท. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การประปาส่วนภูมิภาคปรับเพิ่มเงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนให้แก่พนักงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้
จาก “รายละ ๕,๐๐๐
บาทต่อเดือน เป็นรายละ ๗,๐๐๐ บาทต่อเดือน”
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทย
(การประปาส่วนภูมิภาค) รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ที่ควรพิจารณาความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจลสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย และคำนึงถึงสถานะการเงิน
ผลการดำเนินงานของกิจการ
มีการจัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานหรือเพิ่มรายได้อย่างต่อเนื่อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|