ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 16 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 301 - 320 จากข้อมูลทั้งหมด 443 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
301 | รายงานการถอดบทเรียนการดำเนินการของส่วนราชการและจังหวัดในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2564 | นร.12 | 19/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานการถอดบทเรียนการดำเนินการของส่วนราชการและจังหวัดในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ โดยเป็นการสรุปบทเรียนในการบริหารจัดการผลกระทบจากโควิด-๑๙
ในภาพรวมของส่วนราชการและจังหวัด
ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานและให้บริการประชาชนได้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพหากเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต
โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ เช่น
การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลเพื่อเป็นกลไกที่สำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของภาครัฐในการให้บริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มบริการแบบเบ็ดเสร็จ
และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการและระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการทำธุรกรรมกับภาครัฐ
การจัดทำและทบทวนแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกแบบ การให้บริการผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ๒.
เห็นชอบข้อเสนอแนะการบริหารงานและการให้บริการประชาชนกรณีเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้สำนักงาน
ก.พ.ร. ติดตามความคืบหน้าและรายงานต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
302 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์) | นร.04 | 12/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายอนุชา นาคาศัย) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๒ เมษายน ๒๕๖๕)
เป็นต้นไป ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
303 | มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2564 | ทส. | 12/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔
เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ จำนวน ๓ เรื่อง ประกอบด้วย (๑)
รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (จำนวน ๖ โครงการ) เช่น
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โครงการอาคารเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อยจังหวัดนครราชสีมา
(สูงเนิน) ระยะที่ ๑ และระยะที่ ๒ ของการเคหะแห่งชาติ และโครงการถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์-ศาลายา
ของกรมทางหลวงชนบท (๒) แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ (จำนวน ๒ โครงการ) ได้แก่
โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อทดแทนครุภัณฑ์เดิม เทศบาลเมืองพรุ จังหวัดสงขลา และโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อใช้ในระบบฝังกลบขยะมูลฝอยศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย
เทศบาลเมืองสตูล จังหวัดสตูล และ (๓) การปรับปรุงมาตรฐานค่าทึบแสงของเขม่าควันจากเตาเผาศพ
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
304 | ปฏิญญากลาสโกว์ของผู้นำด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Glasgow Leaders' Declaration on Forests and Land Use) | ทส. | 12/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
305 | การกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล | รง. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ตามมาตรา
๑๓ (๒) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล
สำหรับลูกจ้างเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินวันละ ๑,๕๐๐ บาท
และสำหรับบุคคลในครอบครัวเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินวันละ ๑,๑๐๐ บาท ซึ่งสิทธิสำหรับบุคคลในครอบครัวจะต้องเป็นสิทธิที่อยู่เดิม
ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๐
สิงหาคม ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าในการดำเนินการดังกล่าวแต่ละรัฐวิสาหกิจจะต้องคำนึงถึงสถานะทางการเงิน
ผลการดำเนินงานของกิจการ ขีดความสามารถในการหารายได้
และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุมรายจ่ายที่จะเกิดขึ้น
เพื่อมิให้กระทบต่อการใช้จ่ายเงินทุนสำหรับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
306 | ร่างยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ พ.ศ. 2565 - 2570 | นร.10 | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๗๐ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบและกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินการรักษาจริยธรรมและส่งเสริมพัฒนาจริยธรรมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ
และให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้มีการจัดทำแผนงาน
มาตรการ เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรักษาจริยธรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรม
ประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรม ซึ่งร่างยุทธศาสตร์ฯ
ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมแล้ว
ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
307 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา
และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดการเบิกจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้แก่ผู้ประกันตนซึ่งออกเงินสมทบเข้ากองทุนในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ
๒.๙๕ ของค่าจ้างผู้ประกันตน โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕
เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ
รวมทั้งวางแผนการดำเนินงานทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงแรงงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
308 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ของรัฐสภา | สผ. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด
พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ของรัฐสภา โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาและปรับลดอัตราการจ่ายเงินค่าตอบแทน
รวมถึงการยกเลิกการจ่ายเงินค่าตอบแทนในหลายกรณี ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่
และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓
โดยยังคงให้มีการจ่ายค่าตอบแทนเฉพาะในส่วนที่มีความจำเป็นเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสืบสวนปราบปรามเท่านั้น
ประกอบกับอัตราการจ่ายและเพดานการจ่ายในปัจจุบันมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
309 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... | รง. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกกฎกระทรวงอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลา ๓ เดือน ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้างและผู้ประกันตนจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ และให้สอดคล้องกับแนวทางการให้ความช่วยเหลือตามมาตรการเร่งด่วน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ
รวมทั้งวางแผนการดำเนินงานทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
และควรเร่งมาตรการรองรับภาระค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพกองทุนและลดภาระทางการคลังของภาครัฐในระยะยาว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงแรงงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
310 | ขออนุมัติค่าชดเชยปลูกป่าโครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติเพิ่มเติม | อก. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติปรับเพิ่มวงเงินค่าเชดเชยปลูกป่าทั้งโครงการ ๑,๒๓๔.๙๘ ไร่ จากเดิมจำนวน ๕๓,๐๕๕,๐๐๐ บาท เป็นจำนวน ๑๕๔,๐๑๗,๗๒๖.๘๒ บาท เพิ่มขึ้นจากกรอบวงเงินเดิม จำนวน ๑๐๐,๙๖๒,๗๒๖.๘๒ บาท เพื่อเป็นค่าชดเชยปลูกป่าให้กับกรมป่าไม้ จำนวน ๑๙,๕๗๗,๑๖๒.๔๘ บาท และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จำนวน ๘๑,๓๘๕,๕๖๔.๓๔ บาท และให้กระทรวงอุตสาหกรรม
โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
ทั้งนี้ กรอบวงเงินค่าเชดเชยปลูกป่าทั้งโครงการดังกล่าวอยู่ภายในกรอบวงเงินโครงการ
จำนวน ๓,๗๐๕,๗๐๐,๐๐๐
บาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๔
และควรเร่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งรัดการดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
311 | การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่เพื่อนำไปกำหนดเป็นอัตรากำลังแทนให้แก่ส่วนราชการที่ส่งข้าราชการไปปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล | นร.54 | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๖
(เรื่อง
ขออนุมัติเปิดที่ทำการสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสแห่งใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต
และขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสคนใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต)
เฉพาะในส่วนการกำหนดเขตกงสุลจากเดิมที่มีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดภูเก็ต เป็น
มีเขตกงสุลครอบคลุม ๔ จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ พังงา และระนอง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
312 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ) | กค. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(การขยายเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ) โดยมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากผู้ผลิตออกไปอีกเป็นระยะเวลา
๓ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
๓.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่า เพื่อเป็นการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการมีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ควรพิจารณามาตรการอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย ทั้งที่เป็นมาตรการแบบบังคับและแบบสมัครใจ
เช่น การดำเนินมาตรการภาษีภาคบังคับในช่วงเวลาที่เหมาะสม
หรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกเปลี่ยนมาใช้เม็ดพลาสติกชีวภาพเพื่อการผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างเป็นรูปธรรม
และดำเนินมาตรการตามมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.
๒๕๖๑ ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการ
จัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการที่ได้จัดทำตามวรรคหนึ่งเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นประจำทุกสิ้นปีงบประมาณ
จนกว่าการดำเนินการดังกล่าวจะแล้วเสร็จ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
313 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2565 | นร.11 สศช | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
314 | รัฐบาลสาธารณรัฐอิตาลีเสนอขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐอิตาลี ณ จังหวัดเชียงใหม่ (นายอัลแบร์โต โกซี) | กต. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรณีรัฐบาลสาธารณรัฐอิตาลีเสนอขอแต่งตั้ง นายอัลแบร์โต โกซี (Mr. Alberto Cosi)
ให้ดำรงตำแหน่ง กงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐอิตาลี ณ
จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา น่าน
ลำปาง ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
สืบแทน นายวิชิต ลีลามานิตย์ ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
315 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2565 | นร.11 สศช | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
316 | ขออนุมัติดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จังหวัดระยอง | กษ. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. อนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) ดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จังหวัดระยอง ภายในกรอบวงเงิน
๓,๕๖๑,๖๒๐,๐๐๐ บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ ๔ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕-พ.ศ. ๒๕๖๘)
สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่ดินและการแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้ใช้จ่ายจากรายการค่าซื้อที่ดิน ค่าทดแทน ค่ารื้อย้ายในการจัดหาที่ดิน
จำนวน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และรายการค่าใช้จ่ายตามแผนการป้องกัน แก้ไข
และพัฒนาสิ่งแวดล้อม จำนวน ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท ที่ได้จัดสรรงบประมาณรองรับไว้แล้ว
ส่วนที่เหลือขอให้กรมชลประทานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามความสามารถในการใช้จ่ายและการก่อหนี้ผูกพันภายในปีงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอย่างเคร่งครัด
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความพร้อม ความจำเป็นและเหมาะสม
ตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เช่น (๑)
กรมชลประทานควรวางแผนการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบน้ำที่มีอยู่เดิมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(EEC) กับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จังหวัดระยอง (๒)
กรมชลประทานควรดำเนินการตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ เช่น เร่งรัดออกแบบระบบส่งน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่ชลประทานเต็มศักยภาพ
ศึกษาความเป็นไปได้การเชื่อมโยงกับโครงข่ายน้ำกับพื้นที่ EEC เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) เร่งรัดการดำเนินการ ดังนี้ ๒.๑
ให้ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการอ่างก็บน้ำคลองโพล้
จังหวัดระยอง ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
317 | โครงการบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Services : GDCC) | ดศ. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลการดำเนินงานการให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center
and Cloud Services : GDCC) และเห็นชอบให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจัดให้มีคลาวด์กลางภาครัฐ
และให้บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการคลาวด์กลางภาครัฐ อันเนื่องมาจากการควบรวมกิจการ
และได้รับไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัท กสท
โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ทั้งหมด ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เช่น การดำเนินงานต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส คุ้มค่า และประหยัด
ควรกำหนดให้มีผู้ดูแลระบบคลาวด์แต่ละหน่วยงาน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอาจปรับลดระยะเวลาในการพิจารณาคำขอใช้บริการจากรอบรายไตรมาสเป็นรายเดือนหรือน้อยกว่า
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๒. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
ดำเนินการประเมินความจำเป็นของการใช้งานระบบคลาวด์กลางภาครัฐเป็นระยะ ๆ
รวมทั้งกำหนดตัวชี้วัดด้านเทคนิคของระบบที่ชัดเจน เช่น
เสถียรภาพของระบบคลาวด์กลางภาครัฐ ประสิทธิภาพในการรับรองความต้องการใช้งานในแต่ละช่วงเวลา
เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการบริหารจัดการ ติดตาม กำกับดูแล
และประเมินผลการดำเนินโครงการบริการระบบคลาวด์ภาครัฐให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ
และตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้
ให้พิจารณากำหนดกลไกการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของบุคลากรที่ได้รับการอบรมระบบคลาวด์ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
318 | ร่างพระราชกฤษฎีกาขยายระยะเวลาการใช้บังคับมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 พ.ศ. .... | ยธ. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาขยายระยะเวลาการใช้บังคับมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๑)
พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๑) ออกไปอีก
๕ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๐
เพื่อให้แพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ซึ่งได้รับวุฒิบัตรหรือได้รับหนังสืออนุมัติจากแพทยสภาตามมาตรา
๑๕๐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สามารถมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ผ่านการอบรมทางนิติเวชศาสตร์ไปร่วมตรวจชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุในเบื้องต้นแทนแพทย์
ในกรณีที่ต้องชันสูตรพลิกศพตามมาตรา ๑๔๘ (๓) (๔) และ (๕) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ต่อไป
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งผลิตแพทย์นิติเวชศาสตร์ให้เพียงพอแก่การดำเนินการชันสูตรพลิกศพตามมาตรา
๑๕๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและเร่งจัดให้มีการอบรมทางนิติวิทยาศาสตร์ให้แก่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้สามารถออกชันสูตรพลิกศพแทนแพทย์ตามมาตรา
๑๔๘ (๓) (๔) และ (๕) ได้ต่อไป
และรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานอัยการสูงสุด
ที่เห็นว่าจำเป็นต้องต้องมีการดำเนินงานที่เห็นเป็นรูปธรรมและมีความเป็นไปได้ในการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ความรู้ทางนิติเวชศาสตร์กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้มีความเชี่ยวชาญและสามารถออกชันสูตรพลิกศพแทนนายแพทย์ให้มากขึ้นทุกพื้นที่ในจำนวนที่เพียงพอต่อปริมาณคดีและจำนวนผู้สียชีวิต
และควรเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ให้เพียงพอต่อความต้องการต่อไป
ไปประกอบการพิจารณาด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
319 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง รูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้า กรณีศึกษาประเทศจีนและอินเดีย ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา | สว. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
รูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้า กรณีศึกษาประเทศจีนและอินเดีย
ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า
ปัจจุบันได้มีคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และคณะกรรมการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
โดยมีศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ
โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันอยู่แล้ว ดังนั้น การจัดตั้ง
“สำนักงานบูรณาการการแก้ปัญหาความยากจน”
เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายแก้ปัญหาความยากจนขึ้นใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูประบบราชการและยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ต้องการลดขนาดและกำลังคนในภาครัฐ
ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าและมิให้เกิดความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว
สำหรับการจัดให้มี “กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม” (Social Investment
Fund-SIF) ที่ครอบคลุมไปถึงภารกิจในการแก้ปัญหาความยากจนและผู้ได้รับผลกระทบอื่น
ๆ นั้น จะต้องพิจารณาไม่ซ้ำซ้อนกับกองทุนหมุนเวียนที่จัดตั้งไว้แล้ว
โดยต้องดำเนินการตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘
และมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ส่วนการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ
สร้างคนให้เก่งในเรื่องอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับยุค IT
ให้มากขึ้น นั้น
ควรผลักดันการใช้ข้อมูลระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai
People Map and Analytics Platform : TPMAP) และให้ระบบดังกล่าวเป็นศูนย์กลางข้อมูลเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาคน
นำนวัตกรรมการพัฒนาและการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อให้คนในชนบทมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร
และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนผ่านสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัดที่เป็นกลไกการดำเนินงานในระดับพื้นที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
320 | มาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป | นร.11 สศช | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการของข้อเสนอมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป
โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงแรงงาน
กำกับและติดตามให้หน่วยงานในสังกัดที่มีอำนาจและหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปตามข้อ
๓.๑ ตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายให้กระทรวงการคลัง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
และธนาคารแห่งประเทศไทย
ร่วมกันพิจารณาติดตามและปรับปรุงมาตรการการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่เหมาะสมตามสถานการณ์ของราคาพลังงานในตลาดโลก
โดยคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจ
ความพร้อมและความสามารถทางการเงินของภาครัฐภายใต้พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวบรวมข้อเสนอแนวทางหรือมาตรการผลกระทบของประชาชนและผู้ประกอบการจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปที่มีลักษณะมุ่งเป้าของกระทรวงต่าง
ๆ เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงาน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่ควรให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของโครงการ
วิธีการดำเนินการเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์
เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการ
รวมถึงปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นตอน
เร่งสร้างความรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|