ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 14 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 261 - 280 จากข้อมูลทั้งหมด 443 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
261 | (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570) | นร.08 | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ (ร่าง)
นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการดำเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข
หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามเพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ
โดยให้หน่วยงานของรัฐนำไปถ่ายทอดและจัดทำแผนระดับที่ ๓
ที่จะเริ่มดำเนินการพร้อมกันในห้วงที่ ๒ ของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ระหว่าง
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๗๐ ได้อย่างสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในการจัดทำ
(ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ได้ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การประชุม
การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ทางเว็บไซต์ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงสาธารณสุข
เช่น
ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาที่แต่ละหน่วยงานยังคงจัดทำแผนงานตามภารกิจและบริหารงบประมาณและทรัพยากรของแต่ละหน่วยงานเอง
ควรมีการปรับถ้อยคำตัวชี้ววัดในบางรายการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงการปรับปรุงในส่วนของนโยบายและแผนความมั่นคงที่
๖ การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง และนโยบายและแผนความมั่นคงที่ ๑๓
การบริหารจัดการความเสี่ยงโรคติดต่ออุบัติใหม่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
262 | วันผ้าไทยแห่งชาติ | วธ. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ “วันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันผ้าไทยแห่งชาติ”
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรจัดกิจกรรมในการรณรงค์
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของผ้าไทยและการสร้างการรับรู้ถึงคำนิยามของผ้าไทยที่ชัดเจนอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนารูปแบบให้ดูทันสมัย
เหมาะกับประชาชนทุกเพศทุกวัย และไม่เป็นภาระค่าใช้จ่าย
เพื่อให้สามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้โดยยังคงสะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทยของแต่ละท้องถิ่น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
263 | โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2565 - 2567 | อก. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก
(PM 2.5) ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗
โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สนับสนุนสินเชื่อให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย
กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร สถาบันชาวไร่อ้อย กลุ่มบุคคล และวิสาหกิจชุมชน
วงเงินปีละ ๒,๐๐๐ ล้านบาท รวม ๖,๐๐๐
ล้านบาท และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับการบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน ๗๘๙.๗๕
ล้านบาท ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการชดเชยดอกเบี้ยภายในกรอบวงเงินงบประมาณ ๗๘๙.๗๕
ล้านบาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามผลการดำเนินการจริง
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
และให้ความสำคัญในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นลำดับแรก ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการฯ อย่างใกล้ชิด
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ควรมีการนำข้อมูลแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกมาประกอบการพิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกอ้อยและพัฒนาแหล่งงน้ำ
ให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแหล่งน้ำและเครื่องจักรกลทางการเกษตรในการยกระดับประสิทธิภาพในการผลิตอ้อย
และควรมีการรายงานผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการลดต้นทุนการผลิตของชาวไร่อ้อยและการลดลงของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)
ที่สามารถลดได้จากการดำเนินโครงการ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
264 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าขนย้าย (ค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) เป็นกรณีพิเศษให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี | กษ. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้มีการจ่ายค่าขนย้าย
(ค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ)
เป็นกรณีพิเศษให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายกุมภวาปี
จังหวัดอุดรธานี ที่ยังไม่ได้รับเงินค่าขนย้าย จำนวน ๒๒๒ แปลง เนื้อที่ ๔,๔๘๓-๒-๙๗ ไร่
ตามหลักการของมติคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินเพื่อการชลประทานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ โครงการฝายกุมภวาปี
ที่กำหนดให้จ่ายเงินค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรที่ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่ได้รับผลกระทบในเขตพื้นที่อ่างเก็บน้ำในอัตราราคาสูงสุดไร่ละ
๕๐,๐๐๐ บาท และราคาต่ำสุดไร่ละ ๑๐,๐๐๐
บาท สำหรับการช่วยเหลือในส่วนเพิ่มเพื่อให้เหมาะสมตามสถานะและสภาพของที่ดินนั้น
ให้ใช้แนวทางการพิจารณากำหนดจำนวนเงินตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณหรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรเป็นรายปีงบประมาณ
ตามความเหมาะสมเท่าที่จำเป็นแล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๒ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ในส่วนของการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน
นั้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าขนย้ายตามข้อ
๑ ให้รอบคอบ ถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม
๒๕๖๔ (เรื่อง
แนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล)
ที่เห็นชอบให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติตามแนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยไม่ควรกำหนดให้คณะกรรมการที่จัดตั้งตามคำสั่งของฝ่ายบริหารนั้นทำงานปกติประจำ
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดวิธีการจ่ายเงินค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรตามหลักเกณฑ์และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าขนย้ายที่ถูกต้อง
ครบถ้วน ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๓.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น ควรเร่งกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐ
ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้รอบคอบและครบถ้วน
เพื่อให้การจ่ายเงินค่าขนย้ายทำได้ในครั้งเดียว และไม่เกิดปัญหาเช่นในโครงการอื่น
ๆ ที่ผ่านมา ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
265 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 พ.ศ. .... | กค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ รวม ๔ ชนิด ได้แก่ ๑)
เหรียญกษาปณ์ทองคำ ชนิดราคาสองหมื่นบาท ๒) เหรียญกษาปณ์เงิน ชนิดราคาหนึ่งพันบาท
๓) เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท ประเภทขัดเงา และ
๔) เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท ประเภทธรรมดา
เพื่อเป็นที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม
๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
โดยกระทรวงการคลังแก้ไขถ้อยคำในบัญชีท้ายกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง
จากเดิม “... “สก” ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี ...” เป็น “... “ส.ก.”
ภายใต้พระมหามงกุฎ ...” และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
266 | โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8 - 9 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | พน. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ ๘-๙
ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา ๖๐๐ เมกะวัตต์ พร้อมระบบส่งไฟฟ้า
ในวงเงินรวมทั้งสิ้น ๔๗,๔๗๐ ล้านบาท ๑.๒ อนุมัติงบประมาณประจำปี ๒๕๖๕ ตามแผนประมาณการเบิกจ่ายสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่
๘-๙ จำนวนเงินทั้งสิ้น ๓,๗๙๕ ล้านบาท ๒.
ให้กระทรวงพลังงานและ กฟผ. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น (๑)
การดำเนินโครงการฯ
ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับร่างแผนพลังงานแห่งชาติซึ่งสนับสนุนให้ไทยสามารถลดการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
(๒) กฟผ. ควรจัดทำรายงานการติดตามและประเมินผลการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เพื่อชี้แจงให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ (๓) กฟผ.
ควรดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่าตามมาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ และ (๔) กระทรวงพลังงานควรกำกับดูแลให้ กฟผ.
ดำเนินโครงการฯ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้มีการขอปรับเพิ่มเงินลงทุนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการในภายหลัง
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
267 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ) | มท. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย
ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
268 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 2/2565 | นร.11 สศช | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
269 | การดำเนินโครงการ “ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์”บนที่ดินราชพัสดุ จังหวัดสมุทรปราการ โดยบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด | กค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมธนารักษ์ และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ดำเนินโครงการ
“ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์” บนที่ดินราชพัสดุ จังหวัดสมุทรปราการ
โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล
(คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน) กรอบงบลงทุนของโครงการฯ ประมาณ ๑,๓๔๕.๙๓๔ ล้านบาท และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ
บนเงื่อนไขที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดเท่านั้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามมติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคราวประชุมเมื่อวันที่
๑ กันยายน ๒๕๖๔ (ตามหนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/ว ๕๕๙๘ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔) รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรเพิ่มกิจกรรมการจ้างงานผู้สูงอายุให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อการสร้างรายได้และพึ่งตนเอง
ควรกำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการเป็นระยะ ๆ
เพื่อให้สามารถนำไปปรับแผนการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมและทันต่อบริบทของสังคมผู้สูงอายุ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
270 | การปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและการทบทวนกฎหมายตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 | นร.12 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและการทบทวนกฎหมายตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการทบทวนกระบวนงานเพื่อปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในปี
๒๕๖๕ ได้แก่ กลุ่มกระบวนงานที่มีผลกระทบสูง ๓๑ กระบวนงาน เช่น
การขอออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน/ขยายโรงงาน การขึ้นทะเบียนเกษตรกร
และกลุ่มกระบวนงานทั่วไปที่เป็นภารกิจหลักของหน่วยงานที่นอกเหนือจากกลุ่มกระบวนงานที่มีผลกระทบสูง
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ และให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐรับแนวทางฯ
ไปพิจารณาทบทวนระยะเวลาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามกระบวนการในความรับผิดชอบให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน
และให้แจ้งผลการพิจารณาไปยังคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการโดยด่วน เพื่อให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการพิจารณาดำเนินการในภาพรวม
ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปภายใน ๑ เดือน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
271 | รายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 | นร.12 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ยุบเลิกสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ขอให้มอบหมายคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
ดำเนินการเพื่อยุบเลิกหน่วยงานและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
พ.ศ. .... และการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวของคณะรัฐมนตรีให้นำรายงานการประเมินความคุ้มค่า
บทเรียน ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัด
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนไปประกอบการพิจารณาด้วย ๒.
ให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น
ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความละเอียด รอบคอบ ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมาย
และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเกษตรกรและผู้ยากจนที่เข้าร่วมโครงการ
รวมทั้งบุคลากรและทรัพยากรของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ควรเข้ามาเสริมการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในการแก้ปัญหาที่ดินทั้งประเทศโดยไม่ควรเป็นหน่วยงานที่สำนักงานในทุกจังหวัด
และไม่ควรซื้อที่ดินเอกชนมาดำเนินการเอง ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
272 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายดนัย ธีวันดา) | สธ. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายดนัย ธีวันดา ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์เชี่ยวชาญ)
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
273 | การต่ออายุความตกลงว่าด้วยการก่อตั้งศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่น (ASEAN - Japan Centre : AJC) | พณ. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการต่ออายุความตกลงว่าด้วยการก่อตั้งศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น
(The Agreement
Establishing the ASEAN Promotion Centre on Trade, Investment and Tourism) ออกไปอีก ๕ ปี [๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ (ค.ศ. ๒๐๒๒)-๒๔ พฤษภาคม ๒๕๗๐ (ค.ศ. ๒๐๒๗)]
และมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งเป็นผู้แทนประเทศไทยในสมาชิกคณะมนตรีของศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น
เป็นผู้แทนในการลงนามให้การรับรองการต่ออายุความตกลงฯ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
274 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเชล
และน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกัน ตั้งแต่วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม
๒๕๖๕
เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผ่านราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ลดลงโดยตรง
และสะท้อนไปยังราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จะลดลงตามไปด้วย
อันเนื่องมาจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เป็นต้นทุนทางอ้อมลดราคาลง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าว
ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก ตลอดจนรายงาน
ติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินมาตรการเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
275 | ผลการประชุมผู้นำความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical andEconomic Cooperation-BIMSTEC) หรือบิมสเทค ครั้งที่ 5 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | กต. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
276 | ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 172 วรรคห้า และเพิ่มวรรคหก) | ศย. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๗๒ วรรคห้า และเพิ่มวรรคหก) มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อให้การพิจารณาและสืบพยานของศาลในกรณีที่เกิดภัยพิบัติสาธารณะหรือมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อความปลอดภัย
สามารถดำเนินการจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพ
โดยคู่ความหรือพยานอยู่นอกศาลได้ เมื่อจำเลยยินยอมและศาลเห็นสมควร
แต่ต้องไม่เป็นสิ่งที่เสียหายหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อจำเลย ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดและสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ ๓.
ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เช่น ให้ความสำคัญกับการวางระบบรักษาความปลอดภัยด้านสารสนเทศ
เพื่อรักษาความลับของข้อมูลในการพิจารณา และสืบพยานของศาล
ให้ความสำคัญกับประเด็นความเห็นที่ได้จากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นรวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
และควรกำหนดรายละเอียดประเภทของคดีด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
277 | แนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ | นร.11 สศช | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติแนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เรื่อง แนวทาง
หลักการ และการดำเนินการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นแผนระดับที่ ๒
โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาทบทวนยุทธศาสตร์ชาติ
ตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ เห็นว่าสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ชาติ
จึงจะยังคง “เป้าหมาย” ตามยุทธศาสตร์ชาติไว้เช่นเดิม แต่จะมีการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
จำนวน ๒๓ ฉบับ ในส่วนของ “ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนา”
เนื่องจากตัวชีวัดเดิมไม่สามารถสะท้อนต่อเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เช่น มีการหารือกับหน่วยงานเจ้าภาพแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้การปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และสามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหลักธรรมาภิบาล
ควรกำหนดแนวทางรองรับกรณีตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่มีการปรับเปลี่ยน
เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อแผนระดับ ๓ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ
และจัดทำแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
278 | การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ สมัยพิเศษ | กต. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
279 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565 | นร.11 สศช | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
280 | ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม
พ.ศ. ๒๕๓๓ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของคณะกรรมการประกันสังคม
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษาและคณะกรรมการการแพทย์
แก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการประกันสังคมมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการบริหารพนักงานและลูกจ้าง
รวมทั้งการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๙
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของผู้ประกันตนเกี่ยวกับสิทธิการได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
การให้ผู้รับบำนาญสามารถกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน สิทธิได้รับเงินสงเคราะห์
การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรโดยเป็นการเหมาจ่าย รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราการได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ
ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ หลักเกณฑ์การรับเงินบำนาญชราภาพ
และหลักเกณฑ์การได้รับประโยชน์ทดแทน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงาน ก.พ. เช่น
มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ให้ความสำคัญกับประเด็นกลุ่มแรงงานนอกระบบให้ได้รับการคุ้มครองของระบบประกันสังคมเพิ่มมากขึ้น
กำหนดอายุทดแทนกรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนที่มีอายุห้าสิบปีบริบูรณ์แต่ไม่ถึงหกสิบห้าปีบริบูรณ์ให้สอดคล้องกับการจ้างงาน
และควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณา
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
โดยให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพทางการเงินการคลังของกองทุนประกันสังคมต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงบประมาณ
และสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว ควรคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางรายได้ยามชราภาพของผู้ประกันตน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |