ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 13 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 241 - 260 จากข้อมูลทั้งหมด 443 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
241 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2565 ครั้งที่ 13/2565 และครั้งที่ 14/2565 | นร.11 สศช | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
242 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565 และครั้งที่ 11/2565 | นร.11 สศช | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
243 | (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการเสริมสร้างศักยภาพเชิงสถาบันและเชิงเทคนิคเพื่อดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานด้านความโปร่งใสภายใต้ความตกลงปารีส | ทส. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
244 | ผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น | กต. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในฐานะแขกของรัฐบาล
ระหว่างวันที่ ๑-๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕ โดยนายกรัฐมนตรีได้หารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นทั้งในประเด็นทวิภาคีความร่วมมือในกรอบภูมิภาคและอนุภูมิภาค
ประเด็นสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ
รวมทั้งนายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้เป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงและหนังสือแลกเปลี่ยน
๓ ฉบับ ได้แก่ (๑) ความตกลงว่าด้วยการมอบโอนยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศระหว่างรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
(๒)
หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น
และ (๓) หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความช่วยเหลือแบบให้เปล่าของรัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้โครงการ
The Programme for COVID-19 Crisis
Response Emergency Support ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น
และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามตารางติดตามผลการเยือนไทยฯ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เช่น
การแลกเปลี่ยนข่าวกรองและองค์ความรู้ทางเทคนิค
เพื่อเสริมความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศ
ความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานหลัก
การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงและการรักษาความปลอดภัยเทคโนโลยีที่อ่อนไหวต่อความมั่นคงแห่งชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
245 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑ และเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๒
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ ๒.
ให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายสันติ พร้อมพัฒน์) รวมทั้งความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น (๑) ขอให้พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหา
กรณีการตรวจสอบพบแนวเขตที่ดินในความรับผิดชอบมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง
ภายหลังจากมติคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ
แล้ว รวมทั้งให้กรมป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมนำไปปฏิรูปที่ดิน
เพื่อกันคืนพื้นที่ให้กรมป่าไม้ และ (๒) ให้หน่วยงานในสังกัด ประกอบด้วย
กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และสำนักงานยุติธรรมจังหวัด
เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตรการส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) และแก้ไขปัญหา
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
246 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรดินและข้อเสนอแนะเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 ทรัพยากรทางบก ในประเด็นทรัพยากรดิน ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา | สว. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรดินและข้อเสนอแนะเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประเด็นการปฏิรูปที่ ๑ ทรัพยากรทางบก ในประเด็นทรัพยากรดิน
ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยและมีความเห็นเพิ่มเติม
สรุปได้ว่า ประเด็นการจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ควรมีการทบทวนกำหนดเป้าหมายพื้นที่ป่าไม้ให้สอดคล้องกับการกำหนดพื้นที่สีเขียวทุกประเภทตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
(พ.ศ. ๒๕๖๑-พ.ศ. ๒๕๘๐) ประเด็นที่ ๑๘ การเติบโตอย่างยั่งยืน
และในการจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับนโยบายป่าไม้แห่งชาติด้วย
ประเด็นการปรับปรุงคุณภาพดิน
ควรจัดทำแผนบูรณาการการปรับปรุงคุณภาพดินและการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ตลอดจนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้ใช้ประโยชน์ที่ดิน และรัฐบาลควรพิจารณาทบทวนการจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการบูรณาการของหน่วยงานท้องถิ่นและเกษตรกรในการดำเนินงาน
ประเด็นการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ควรจัดทำแผนการเพาะปลูกโดยการกำหนดโซนนิ่งการเพาะปลูก เพื่อให้ผลผลิตสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
ซึ่งจะเป็นการลดภาระรัฐบาลในการประกันราคาผลผลิต
ตลอดจนการส่งเสริมด้านการตลาดโดยวิธีสร้างแรงจูงใจเกษตรกรให้เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||
247 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่นที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานภายในประเทศ
จากเดิมลิตรละ ๔.๗๒๖ เป็นลิตรละ
๐.๒๐ บาท เป็นการชั่วคราว โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕
ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.
๒๕๖๐
ที่ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตได้
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
248 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (ศาสตราจารย์จิรประภา อัครบวร) | สธ. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง ศาสตราจารย์จิรประภา อัครบวร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
249 | (ร่าง) ข้อเสนอปรับลดบัญชีจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) ต่อที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 19 (CITES CoP19) | กษ. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
250 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... | อก. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศ
เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและมาตรฐานระหว่างประเทศในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
251 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมติคณะรัฐมนตรี | มท. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๖
พฤศจิกายน ๒๕๖๔ จำนวน ๖ โครงการ งบประมาณ ๓๓๘,๗๙๘,๐๐๐ บาท ให้กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยจะได้แจ้งให้กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
ในฐานะหน่วยรับงบประมาณจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
รวมถึงประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคำนึงถึงศักยภาพและความสามารถในการใช้จ่าย
ความคุ้มค่า ประหยัด เป้าหมาย และประโยชน์ที่ทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
ตลอดจนปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลาดำเนินการ และความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในทุกมิติต่อไป
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทยและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้ความสำคัญในการควบคุม
กำกับ ดูแลการดำเนินการของหน่วยรับงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรจัดทำแผนบริหารจัดการเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์โครงการได้สูงสุดและยั่งยืนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยกำกับดูแลให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันทั้ง
๖ โครงการ ให้แล้วเสร็จโดยเร็วในกรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด |
||||||||||||||||||||||||||||||
252 | รายงานตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 | สม. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
ปี ๒๕๖๔ และรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับภาพรวมสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค
และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ (๑)
ด้านสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์เฉพาะ (๒) ด้านสิทธิพลเมืองและด้านสิทธิทางการเมือง
(๓) ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (๔) ด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคล ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอ
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ปรากฏในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ฯ
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างเคร่งครัด
และนำข้อเสนอแนะในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติมากขึ้น
ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย
แล้วแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป ๒. ให้ส่งความเห็นของกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม
และสำนักงานอัยการสูงสุดไปเพื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
253 | ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และคณะในศูนย์สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 | อว. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบวงเงินของแผนอัตรากำลังของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและคณะในศูนย์สุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ จำนวน ๓๕๒,๔๙๘,๘๐๐ บาท
และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) พิจารณาทบทวนการกำหนดจำนวนอัตรากำลังภายใต้แผนฯ
ให้เหมาะสม สอดคล้องกับภารกิจเท่าที่จำเป็นและประหยัด
โดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินที่จะนำมาใช้
โดยเฉพาะรายได้หรือเงินนอกงบประมาณอื่นใดที่มหาวิทยาลัยมีอยู่หรือที่สามารถนำมาใช้จ่ายเป็นลำดับแรก
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับความเห็นของสำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกำกับเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ข้อสังเกตของสำนักงาน
ก.พ. รวมทั้งรับความเห็นและข้อเสนอแนะของสำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น คณะในศูนย์สุขศาสตร์ควรพิจารณาทบทวนกรอบอัตรากำลังที่ขอรับการสนับสนุนให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
พิจารณารูปแบบการจ้างงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ ควรบูรณาการการทำงาน
และเชื่อมโยงฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพและข้อมูลผู้ป่วยในพื้นที่
ทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||
254 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์) | อว. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
255 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเลื่อมล้ำ: กรณีศึกษาการแก้ปัญหาระดับจุลภาคในประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเลื่อมล้ำ วุฒิสภา | สว. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
แนวทางการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเลื่อมล้ำ :
กรณีศึกษาการแก้ปัญหาระดับจุลภาคในประเทศไทย
ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเลื่อมล้ำ วุฒิสภา
ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า
เห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการฯ และได้ดำเนินการ ดังนี้ (๑)
กลไกที่สนับสนุนส่งเสริมการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับจุลภาค
โดยให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการวางแผนการแก้ไขปัญหาและกำหนดเป้าหมายความสำเร็จ (๒)
การสร้างพันธมิตร การพัฒนาที่ยั่งยืนมีจุดแข็งในการทำงานในภาพรวม
โดยการสร้างระบบการทำงานระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคมมีการทำงานร่วมกับอาสาพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และมูลนิธิต่าง
ๆ เช่น มูลนิธิกระจกเงา และมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก เป็นต้น รวมทั้ง
มีการดำเนินงานกับภาคีเครือข่ายภาคเอกชนในการช่วยเหลือประชาชนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
COVID-19 (๓)
การแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับจุลภาค
โดยกำหนดแนวทางพัฒนาการเข้าถึงบริการภาครัฐทั้งในระบบออนไลน์และในสำนักงานที่สามารถเข้าถึงในทุกพื้นที่ได้
(๔) การแก้ไขปัญหาความยากจน โดยกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง
โดยมุ่งเน้นการดำเนินการแบบบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และประชาชนที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||
256 | รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน | นร.01 | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทานประจำเดือน
มกราคม-มีนาคม ๒๕๖๕ โดยมีผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น (๑) การรายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน
(มท.) (๒) การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ ๒๐ หน่วยงาน และ (๓) การติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
257 | รายงานความคืบหน้าแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570) | อก. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่
๑ (พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๗๐) ในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๗๐)
ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
และแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในระยะต่อไป สรุปได้ ดังนี้
(๑) ความคืบหน้าการดำเนินงานที่สำคัญในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ได้แก่ มาตรการที่ ๑ :
สร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ มาตรการที่ ๒ : สร้างมาตรการอาหารอนาคต มาตรการที่ ๓ : สร้างโอกาสทางธุรกิจ
มาตรการที่ ๔ :
สร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม (๒)
ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เช่น
รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอนาคตยังเป็นสินค้าแปรรูปขั้นต้นซึ่งมีมูลค่าเพิ่มต่ำและมีสินค้าออกสู่ตลาดไม่มาก
รวมทั้งผู้ประกอบการยังขาดความเข้าใจถึงความสำคัญของการได้รับการรับรองมาตรฐานสากลต่าง
ๆ และ (๓) การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตาสาหกรรมแปรรูปอาหารในระยะต่อไป
จะใช้กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งมีแนวทางการพัฒนา เช่น
พัฒนาผู้ประกอบการโดยมุ่งเน้นเรื่องระบบการตรวจสอบย้อนถึงแหล่งที่มาเพื่อสร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับบริโภค
และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมอาหาร ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
258 | ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 26 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 8 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | กค. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers’ Meeting : AFMM)
ครั้งที่ ๒๖
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN
Finance Ministers’ and Central Bank Governots’ Meeting : AFMGM)
ครั้งที่ ๘ และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๗-๘
เมษายน ๒๕๖๕ ผ่านระบบการประชุมทางไกล
ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน
และแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ ๘
โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง
ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นประธานการประชุม โดยมีประเด็นที่สำคัญ เช่น
ความร่วมมือทางด้านการเงินอาเซียน การยกระดับด้านการเงินที่ยั่งยืน
แผนงานการบูรณาการทางการเงินของอาเซียน การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ เป็นต้น
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
259 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2502 เรื่อง การเดินรถขนส่งต่างจังหวัด เพื่อให้บริษัท ขนส่ง จำกัด มีภารกิจด้านการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ | คค. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๑ ตุลาคม ๒๕๐๒ เรื่อง การเดินรถขนส่งต่างจังหวัด จากเดิมให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
(บขส.) รับภาระเดินเฉพาะรถโดยสาร เป็นให้ บขส. มีภารกิจด้านการขนส่งผู้โดยสาร
และการขนส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคมและบริษัท
ขนส่ง จำกัด รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
เช่น
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นภารกิจหลักขององค์กรเป็นลำดับแรก
ควรทบทวนโครงสร้างอุตสาหกรรมการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง
ควรพิจารณาความเหมาะสมและความพร้อมของ บขส.
ในการเข้าไปดำเนินธุรกิจในลักษณะที่ต้องเข้าไปแข่งขันกับเอกชน
และพิจารณาความสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๕ (๔) ควรดำเนินการภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่และไม่ลงทุนเพิ่ม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
หารือกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด อย่างละเอียดรอบคอบ
เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ร่วมกันอย่างเหมาะสมเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
โดยไม่เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนของขอบเขตภารกิจและการลงทุน แล้วให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
เร่งปรับปรุงแผนวิสาหกิจและแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับแนวทางในการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
260 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 รวม 62 วัน (ห้วงที่ 3-4) | ตช. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน ๑๖๘,๒๗๗,๘๐๐ บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ระหว่างวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๕ รวม ๖๒ วัน
หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จะยุติลง ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงสาธารณสุข
ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล การดำเนินการดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และให้มีการรายงานผลการดำเนินงานตามที่ได้ปฏิบัติในห้วงเวลาข้างต้นและการใช้จ่ายงบประมาณต่อสำนักงบประมาณ
ตามนัยข้อ ๑๒ แห่งระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งจะได้นำผลการดำเนินงานไปใช้ประโยชน์กับการพัฒนางานในโอกาสต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|