ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 23 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 443 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติและมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ | สช. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติและมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
โดยมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
เช่น การบูรณาการแรงงานข้ามชาติเข้าสู่นโยบายพัฒนาประเทศ
การพัฒนาหลักประกันสุขภาพที่มีเสถียรภาพครอบคลุมแรงงานข้ามชาติทุกกลุ่ม
โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการพำนักอยู่ในไทย และการพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิครอบคลุมแรงงานข้ามชาติ
และมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
เช่น การพัฒนาปรับปรุงมาตรการ หลักเกณฑ์
แนวปฏิบัติการรับรองการเกิดและมาตรการเชิงรุก
การจดทะเบียนครบขั้นตอนทันทีหลังการเกิดเพื่อรองรับสิทธิในสัญชาติ
และการปรับปรุงกฎหมาย และพัฒนาบริการสาธารณสุข
สิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณาและออกแบบแหล่งที่มาของเงินสนับสนุนการคุ้มครองและส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพสำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ
และระดับความสามารถในการร่วมจ่ายเงินของนายจ้างและกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวตามสมควร ให้หน่วยรับประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
มาดำเนินการในโอกาสแรก สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน
ควรคำนึงถึงการวางแนวทางรองรับผลกระทบที่อาจมีต่อความเสี่ยงทางการคลังของประเทศในระยะยาว
ควรมีการบูรณาการการทำงานและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อมิให้ขัดกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น
กฎหมายว่าด้วยการกำหนดสัญชาติ
รวมทั้งควรมีการบูรณาการวางแผนการบริหารจัดการการเงินการคลังด้านสุขภาพภาครัฐให้มีความสมดุล
เพียงพอรองรับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของกลุ่มคนดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และมีความยั่งยืนในอนาคต มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
เช่น ประเด็น “การบูรณาการแรงงานข้ามชาติสู่นโยบายพัฒนาประเทศ”
ควรเน้นการวางแผนการจัดการและการบูรณาการในนโยบายพัฒนาประเทศ “ในระยะยาว ระยะกลาง
และระยะสั้น” ภายใต้บริบทที่สังคมไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
และมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
เช่น ควรพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
รวมถึงระบบสนับสนุนการเข้าถึงระบบประกันสุขภาพ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างกฎหมายขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวม 2 ฉบับ [ร่างพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ) และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน)] | กค. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม ๒ ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ)
มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่เกิดจากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตในประเทศตามโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจที่ได้ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
(องค์การมหาชน) ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม
๒๕๗๐ และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน)
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา
และขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สำหรับเงินที่บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้บริจาคผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Donation)
ของกรมสรรพากรให้แก่กรมป่าไม้
เพื่อสนับสนุนโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๐ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้
และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
ร่วมขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้และความเข้าใจมาตรการภาษี
เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ร่วมทั้งรวมติดตามและประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการนี้ เช่น
มูลค่าเงินลงทุนของโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ
มูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง
และปริมาณกักเก็บคาร์บอนที่ได้
และนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่กระทรวงการคลังเป็นรายปีจนสิ้นสุดมาตรการเพื่อประกอบการจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับจากการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๓.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่เห็นควรครอบคลุมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดรองด้วย
เพื่อให้เกิดการสร้างแรงจูงใจที่ครอบคลุมภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกลไกดังกล่าว
ส่งเสริมให้ตลาดมีสภาพคล่องมากยิ่งขึ้นอันจะผลักดันให้คาร์บอนเครดิตมีมูลค่าสูงขึ้น
และส่งผลให้เกิดการพัฒนาโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน รายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงดังกล่าว
จนกว่าการดำเนินการดังกล่าวจะแล้วเสร็จตามนัยมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ครั้งที่ 1/2565 | อก. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
(กอช.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ในฐานะรองประธาน กอช. เป็นประธานการประชุม
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติที่ประชุม กอช. ดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ ๑) (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐)
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุปกรณ์และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอาเซียน
และมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองภายในปี ๒๕๗๐ โดยมีแนวทางดำเนินงาน ๓ มาตรการหลัก
ได้แก่ ยกระดับศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เดิม
กระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ และสร้างและพัฒนาระบบนิเวศสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ๒)
(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพืชกัญชงเชิงอุตสาหกรรมแห่งอาเซียนภายใน ๕ ปี
มีแนวทางดำเนินงาน ๔ มาตรการหลัก ได้แก่
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่กัญชง
ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปเชิงพาณิชย์ ส่งเสริมด้านการตลาด
และสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการประกอบการ และ ๓)
การส่งเสริมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
มีแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่ การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะ
๕ ปี (๒๕๖๖-๒๕๗๐)
จัดตั้งกองทุนอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เข่น ควรคำนึงถึงความยั่งยืนในการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงพาณิชย์
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานอย่างครบวงจรเพื่อเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชนทั้งในภาคเกษตร
อุตสาหกรรมและบริการ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้ระเบียบ
กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ และกฎระเบียบอย่างอื่นอย่างเคร่งครัด
ควรติดตามผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุม กอช. เพื่อเสนอต่อ กอช.
และคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ การพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ควรให้ความสำคัญกับความต้องการของตลาดเป็นหลักจึงจะสามารถรองรับความผันผวนของราคาได้
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ขอความเห็นชอบการปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงขององค์การเภสัชกรรม | สธ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบการขยายเพดานอัตราค่าจ้างขั้นสูงของพนักงานองค์การเภสัชกรรม
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑.๑ ระดับ ๙ จากอัตรา ๙๕,๘๑๐ บาท เป็นอัตรา ๑๑๘,๐๒๐ บาท ๑.๒ ระดับ ๑๐ จากอัตรา ๑๐๔,๓๑๐ บาท เป็นอัตรา
๑๒๗,๐๒๐ บาท ๑.๓ ระดับ ๑๑ จากอัตรา ๑๑๓,๕๒๐ บาท เป็นอัตรา
๑๓๘,๒๗๐ บาท ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุข
(องค์การเภสัชกรรม) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณที่เห็นควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐประกอบด้วย
และควรพิจารณาค่าใช้จ่ายบุคลากรให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของหน่วยงานอย่างรอบคอบ
จัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานหรือการเพิ่มรายได้
รวมทั้งแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณและเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน
รวมถึงฐานะทางการเงินในอนาคต
โดยคำนึงถึงหลักความคุ้มค่าและประหยัดในการใช้จ่ายงบประมาณอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา | กก. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มทะเลทราบสงขลาขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา [องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)]
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่าในการดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ขอให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ควรมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของงบประมาณแผ่นดิน
และคำนึงถึงภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานเป็นหลัก
และการดำเนินงานด้านงบประมาณต้องพิจารณาอย่างละเอียด รอบคอบ
และเป็นไปตามกฎหมายของทางราชการ รวมทั้ง
ไม่ส่งผลต่อวงเงินงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่เป็นสำคัญ
ควรกำหนดเพิ่มเติมในแผนยุทธศาสตร์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาว่า
กรณีเป็นแผนหรือโครงการที่ต้องดำเนินการในเขตโบราณสถาน
จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ก่อนดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการดังกล่าว
และควรกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานตามแผนการขับเคลื่อนฯ ให้มีความชัดเจน
รวมทั้งควรพิจารณาถึงกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
อย่างเคร่งครัดในการจัดตั้งสำนักงานการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของงบประมาณในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอแผนงานยุทธศาสตร์ชาติการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
และดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับการขอรับการจัดสรรงบประมาณ ๓.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วยว่า
เมื่อการพิจารณาประกาศกำหนดให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณาตามลำดับในลักษณะ
Bottom Up จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องไปสู่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติแล้ว
ยังสมควรที่จะต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการประกาศกำหนดพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่
ประการใด เพื่อพิจารณาทบทวนและแก้ไขพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน เพิ่มเติม | นร.01 | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่
พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน เพิ่มเติม.เช่น มาตรการ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา
เรื่อง ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. ๒๕๖๕ และร่างประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา
เรื่อง.ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. .... เป็นต้น ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค)
เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การดำเนินการตามข้อสังเกต (Concluding Observations) ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ต่อรายงานประเทศฉบับที่ 4-8 ของประเทศไทย | ยธ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบข้อสังเกต
(Concluding Observations)
ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
ต่อรายงานประเทศฉบับที่ ๔-๘ ของประเทศไทย
และตารางหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ
และพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ
ดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและข้อเสนอแนะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่เห็นว่าการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สามารถเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันคนในสังคมให้หลีกเลี่ยงการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์และโซเซียลมีเดียในทางที่ผิด
หรือนำมาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ Hate Speech และ Hate
Crime ทางเชื้อชาติได้ และในประเด็นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบ จำนวน ๓ ประเด็น ประกอบด้วย ๑)
ประเด็นที่ดิน อาณาเขต และทรัพยากรของกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม ๒)
ประเด็นการค้ามนุษย์ และ ๓) ประเด็นย่อหน้าที่มีความสำคัญเป็นการเฉพาะ
พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นแรงงานข้ามชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายพีรพันธ์ คอทอง ฯลฯ จำนวน 12 ราย) | กษ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๑๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑. นายพีรพันธ์ คอทอง ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นางสาวอิงอร ปัญญากิจ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๔. นายชัยวัฒน์ โยธคล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๕. นายชูชาติ รักจิตร ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๖. นายนวนิตย์ พลเคน ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๗. นางสาวเสาวลักษณ์ ศุภกมลเสนีย์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๘. นายปรีชา พันธุ์วา ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๙. นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๑๐. นางสาวภัทราภรณ์ โสเจยยะ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๑๑. นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ๑๒. นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสำหรับปี 2566 | กค. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงิน
ประจำปี ๒๕๖๖ พร้อมข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง
และเป้าหมายสำหรับปี ๒๕๖๖
ซึ่งกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินไว้ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ ๑-๓
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง คณะกรรมการนโยบายการเงิน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
ในระยะถัดไปยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ดังนั้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรติดตามและเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือกับปัจจัยเสี่ยงต่าง
ๆ ดังกล่าว อย่างใกล้ชิด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ของขวัญปีใหม่สำหรับประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2566 ของกระทรวงพลังงาน | พน. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการมอบของขวัญปีใหม่
สำหรับประชาชน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ของกระทรวงพลังงาน ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
ดังนี้ ๑.
เตรียมการขยายระยะเวลาคงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซหุงต้ม (Liquefied Petroleum Gas : LPG)
โดยกำหนดราคาขายปลีกอยู่ที่ ๔๐๘ บาท/ถัง ๑๕ กิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ ๑-๓๑ มกราคม
๒๕๖๖ ๒.
ให้ส่วนลดค่าซื้อ LPG แก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
จำนวน ๑๐๐บาท/คน/๓ เดือน และให้แก่กลุ่มร้านค้าหาบเร่ จำนวน ๑๐๐ บาท/คน/เดือน
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม-๓๑มีนาคม ๒๕๖๖ ๓. ตรึงราคาน้ำมันทุกชนิดในช่วงวันที่
๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๕-๓ มกราคม ๒๕๖๖ เพื่อลดค่าใช้จ่ายระหว่างการเดินทางช่วงปีใหม่ ๔.
ตรวจสภาพรถยนต์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่สถานีบริการ FIT
Auto จำนวน ๓๕ รายการ ระหว่างวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๕-๑๕ มกราคม ๒๕๖๖ ๕.
แจกคูปองส่วนลดครึ่งราคาที่พักที่เขื่อนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน ๓๐,๐๐๐ สิทธิ์
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุ่มน้ำ | ทส. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐ และวันที่ ๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จากเดิม ที่มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานประสานงานระดับชาติและตั้งงบประมาณสำหรับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ
รวมทั้งเป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินการตามมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็น
ให้กรมทรัพยากรน้ำ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบแทน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้แก้ไขชื่อหน่วยงานในมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ (เรื่อง
การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ เรื่อง
ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติของประเทศไทย
และมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ) จากเดิม “กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี”
เป็น “กรมเจ้าท่า” ตามความเห็นของกระทรวงคมนาคม รวมทั้งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่เห็นควรปรับรายชื่อหน่วยงานสนับสนุนท้ายมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่ขอทบทวนให้สอดคล้องเป็นปัจจุบัน
และขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นเงินบริจาคสนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่ได้รับจัดสรรแล้ว
โดยค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป
ขอให้กรมทรัพยากรน้ำจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามอัตราที่กำหนดตามขั้นตอนต่อไป
ควรใช้กลไกที่มีอยู่เพื่อให้การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมความหลากหลายของระบบนิเวศ
เช่น การดำเนินการของสถาบันการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาศักยภาพ
เสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกกระทรวง
ตลอดจนประชาชนทั่วไป และพิจารณาวางแผนการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ของพื้นที่ชุ่มน้ำตามลำดับความสำคัญแต่ละแห่งให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ขอความเห็นชอบแผนการดำเนินงาน กรอบงบประมาณ การจัดงาน Expo 2025 Osaka Kansai ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น | สธ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการดำเนินงานเข้าร่วมการจัดงาน
Expo 2025 Osaka Kansai ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น
และกรอบงบประมาณจำนวนเงินทั้งสิ้น ๙๗๓,๔๘๒,๐๑๑ บาท ระยะเวลาปีงบประมาณ ๒๕๖๖-๒๕๖๙ เพื่อใช้จัดงานนิทรรศการ Expo
2025 Osaka Kansai ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น
และมอบหมายสำนักงบประมาณพิจารณาแหล่งเงินที่เหมาะสมในการดำเนินงาน โดยให้อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
โดยตำแหน่งเป็น Commissioner General of Section (CG)
ของประเทศไทย เป็นผู้ลงนามในสัญญาต่าง ๆ สำหรับการเข้าร่วมงาน Expo
2025 Osaka Kansai ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ทั้งนี้
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดงาน Expo 2025 Osaka Kansai ให้กระทรวงสาธารณสุข
(กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม และกำกับดูแลการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
สำหรับการจัดสรรงบประมาณและแหล่งเงินในการดำเนินงานให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
การสนับสนุนบริการสุขภาพต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ก่อนลงนามในสัญญาใด ๆ อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | แผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 3 (พ.ศ. 2564-2568) | กต. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ (๑)
ผลการเข้าร่วมการรับรองผลการนำเสนอรายงานประเทศตามกลไก Universal
Periodic Review (UPR) รอบที่ ๓
ในการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human
Rights Council-UNHCR) สมัยที่ ๔๙ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕
ซึ่งคณะผู้แทนถาวรไทย ณ นครเจนีวา ได้ร่วมรับรองผลการนำเสนอรายงานประเทศฯ และแจ้งตอบรับข้อเสนอแนะภายใต้กลไก
UPR เพิ่มอีก ๒๕ ข้อ
(จากเดิมที่ได้ตอบรับไว้แล้วในที่ประชุมคณะทำงาน UPR สมัยที่
๓๙ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ จำนวน ๑๙๓ ข้อ และขอนำกลับมาพิจารณาเพิ่มเติม ๘๕
ข้อ) รวมเป็น ๒๑๘ ข้อ และรับทราบ (ไม่ตอบรับ) ข้อเสนอแนะ ๖๐ ข้อ รวมทั้งได้ให้คำมั่นโดยสมัครใจรวม
๘ ข้อ และ (๒) ผลการดำเนินการภายหลังการรับรองผลการนำเสนอรายงานประเทศฯ
ซึ่งรวมถึงการยกร่างแผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก
UPR รอบที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๘) และเห็นชอบร่างแผนการปฏิบัติตามฯ
พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนการปฏิบัติตามดังกล่าวไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาปรับกรอบระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมตามร่างแผนการปฏิบัติตามฯ
ให้เหมาะสมสอดคล้องกับข้อเท็จจริง รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น
การกำหนดให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหน่วยงานรองในการร่วมมือกับหน่วยงานต่าง
ๆ ในการบริหารจัดการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-๑๙
(ศบค.) นั้น ปัจจุบันการปฏิบัติภารกิจของ ศบค. ได้ยุติลงแล้ว เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่จังหวัดนนทบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาจังหวัดนนบุรีให้เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย
มีคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดีมีการพัฒนาบริการสาธารณะที่ได้มาตรฐาน
และมีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ
สอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการผลิต การค้า การบริการและการลงทุน
ตลอดจนดำรงรักษาพื้นที่เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น
และวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
โดยมีแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาจังหวัดนนทบุรีให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวม จำแนกออกเป็น ๑๔
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไห้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติกฎหมาย
กฎ หรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึงกฎ ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งการตั้งสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตทางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
ประเภท ชนิด และจำพวกของโรงงานในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... ฉบับนี้ ลำดับที่ ๓๔ (๒)
ให้พิจารณากำหนดให้ตั้งในพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขาพของประชาชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำของการประชุมสุดยอดอาเซียน - สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ ค.ศ. 2022 | กต. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำ
(Joint
Leaders’ Statement) ของการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโปร
สมัยพิเศษ ค.ศ. ๒๐๒๒ (ASEAN-EU Commemorative Summit) และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ซึ่งร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในระดับผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและสหภาพยุโรปในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในสาขา
ได้แก่ (๑) สันติภาพและความมั่นคง (๒) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า (๓) ความเชื่อมโยงการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล
และการลดช่องว่างด้านการพัฒนา (๔) การพัฒนาที่ยั่งยืน สิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน (๕) สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
(โควิด ๑๙) และ (๖)
ประเด็นระหว่างประเทศและภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งใช้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า
กระทรวงการต่างประเทศจำเป็นต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 | อว. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงบประมาณ เช่น เห็นควรมุ่งเน้นให้มีการปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลกมีมาตรฐานและรับรองคุณภาพผลงานวิจัย
พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถครอบคลุมในทุกมิติ
เน้นการขับเคลื่อนให้ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มุ่งผลสัมฤทธิ์ ลดช่องว่างของการเข้าถึงโอกาส
ด้านการพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยี นวัตกรรม
สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ
และความไม่เสมอภาคทางสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ควรคำนึงถึงความต้องการจำเป็นต่อระบบบริการสาธารณสุขไทยในปัจจุบันและอนาคต
การยกระดับระบบบริการของสังคมสูงวัย การลดอัตราการตายโรคสำคัญ
การเสริมความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ
ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการ โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ยธ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประกอบด้วย (๑)
การดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
(๒) การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการติดตามและตรวจสอบกรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
(๓) การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการเยียวยากรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
(๔) การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการป้องกันการกระทำทรมานและบังคับให้หายสาบสูญ และ
(๕) การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการคัดกรองกรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 2/2565 | นร.11 สศช | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
(กบส.) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๕
พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติและรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เพื่อนำเสนอคณะกรรมการระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศตามขั้นตอนต่อไป
และเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
รวมทั้งเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ (เรื่อง
ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑)
เพื่อมอบหมายให้กรมศุลกากรเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ
National Single Window และกำหนดขอบเขตหน้าที่ของบริษัท
โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ให้เหมาะสม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) กระทรวงคมนาคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เช่น
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแผนการรปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อมาดำเนินการในโอกาสแรก
และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมกับ reprocess เพื่อลดกระบวนงานให้เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้นและกำหนดกรอบเวลาการพัฒนาระบบ
NSW ให้แล้วเสร็จไว้อย่างชัดเจน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Startup) | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital
Startup) ได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นหน่วยงานจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล
และเป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประกอบการดิจิทัลและบริการดิจิทัลที่ขอขึ้นทะเบียนบัญชีดิจิทัล
และมอบหมายให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พิจารณาผลักดันบัญชีบริการดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
และเป็นหนึ่งในหมวดพัสดุที่รัฐต้องส่งเสริมหรือสนับสนุน
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดิจิทัลร่วมพัฒนาระบบราชการไทย ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เช่น
ควรคำนึงถึงการลดต้นทุนของการจัดทำบริการดิจิทัลผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น
(Digital Startup) และช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ควรมีผู้แทนของกรมต่าง
ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีส่วนร่วม คำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า
ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ ควรพิจารณากำหนดให้มีคณะทำงานหรือคณะกรรมการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลที่ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
อาทิ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย
เพื่อให้เกิดการบูรณาการและประโยชน์จากองค์ความรู้ ฐานข้อมูล
และความเชี่ยวชาญของบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |