ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 29 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ดเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. 2560 พ.ศ. .... | กษ. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติ
สำหรับการผลิตเชื้อเห็ดเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. ๒๕๖๐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกการควบคุมกระบวนการผลิตที่จะทำให้เชื้อเห็ดมีคุณภาพและได้มาตรฐานตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ดเป็นมาตรฐานบังคับ
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อลดภาระของผู้ผลิตเชื้อเห็ดที่จะต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการและขอรับการตรวจสอบและรับรองจากผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร
พ.ศ. ๒๕๕๑ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม ลด และยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาต พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | ยธ. | 17/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม
ลด และยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาต พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตนำเข้า
ใบอนุญาตส่งออก การออกใบแทนใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต รวมทั้งลดและยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม
และร่างกฎกระทรวงการขออนุญาต และการอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต และการอนุญาตนำเข้า หรือส่งออกใบกระท่อม ซึ่งจะเป็นมาตรการในการกำกับดูแลการนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม
รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไป
เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นว่าร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม
ลด และยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาต พ.ศ.
.... ควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในข้อ ๔ โดยตัดคำว่า “ผู้ส่งออกใบกระท่อมซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา
๑๑ (๓)” ซึ่ง การลดค่าธรรมเนียม และการยกเว้นค่าธรรมเนียม
อาจส่งผลให้เกิดการปลูกพืชกระท่อมเพิ่มมากขึ้น
หากไม่สามารถควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานได้อาจส่งผลเสียต่อตลาดส่งออกพืชกระท่อมในอนาคต สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรพิจารณาทบทวนความตามข้อ
๓ ในร่างกฎกระทรวงฯ ที่ระบุให้มีการลดค่าธรรมเนียมกึ่งหนึ่งแก่ผู้ส่งออกที่เป็นวิสาหกิจชุมชน
ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศ และความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าในเรื่องค่าธรรมเนียมและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออก ๒. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์
เห็นควรดำเนินการให้สอดคล้องกับความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade : GATT) ที่กำหนดให้การกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าภาระต่าง
ๆ จะต้องจำกัดอยู่เพียงต้นทุนโดยประมาณในการให้บริการ
และไม่เป็นการคุ้มครองทางอ้อมแก่ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ และควรดำเนินการให้สอดคล้องกับความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าที่ระบุให้การปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าของคู่ค้าต้องมีความเท่าเทียมกับการปฏิบัติต่อสินค้าภายในประเทศทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับ
กฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการขาย ภายในประเทศ การเสนอขาย
การซื้อ การขนส่ง การจำหน่าย หรือการใช้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ในท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และเขตหลักสี่ เขตบางเขน เขตคันนายาว เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ในท้องที่เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | คค. | 17/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 18 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 11 | กห. | 19/11/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
ครั้งที่ ๑๘ (ADMM ครั้งที่
๑๘) และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ ๑๑
(ADMM - Plus ครั้งที่ ๑๑) จำนวน ๕ ฉบับ ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่
๒๐ - ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับรองและให้ความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
ได้แก่ ร่างเอกสารที่จะต้องรับรอง จำนวน ๓ ฉบับ ได้แก่ (๑)
ร่างปฏิญญาร่วมเวียงจันทน์ของการประชุม ADMM ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อให้อาเซียนเกิดสันติสุข
ความมั่นคง และความเข้มแข็งของภูมิภาค (๒) ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุม ADMM
- Plus ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่น
ๆ (๓) ร่างระเบียบการปฏิบัติสำหรับประเทศผู้สังเกตการณ์ในกิจกรรมของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในกรอบการประชุม
ADMM-Plus และร่างเอกสารที่จะต้องอนุมัติ จำนวน ๒ ฉบับ ได้แก่
(๑) ร่างเอกสารยุทธศาสตร์เพื่อการเตรียมความพร้อมในอนาคตของการประชุม ADMM และการประชุม ADMM - Plus (๒) ร่างเอกสารการจัดการฝึกผสมทางทะเลระหว่างอาเซียน
- สหรัฐฯ ครั้งที่ ๒ โดยร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
เป็นการแสดงเจตนารมณ์เชิงนโยบายด้านความมั่นคงในการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียนและระหว่างกระทรวงกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาให้ครอบคลุมในทุกมิติในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ
รวมทั้งเป็นการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านความมั่นคงของภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานความเป็นแกนกลางของอาเซียน
ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว และให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรวิเคราะห์ พิจารณา และติดตามการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องตามแนวทางดังกล่าว
รวมทั้งสื่อสารเพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนและทุกภาคส่วน
มีความเข้าใจและทราบถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
โดยพิจารณาใช้ช่องทางการสื่อสารอย่างเหมาะสม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ขออนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน | กษ. | 19/11/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน เพิ่มขึ้นถุงหรือกล่องละ
๐.๔๖ บาท ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๗ เป็นต้นไป ทั้งนี้ ได้แนบรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา
๒๗ ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ทั้งนี้ ให้การปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม)
โรงเรียน มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗) เป็นต้นไป
สำหรับงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไป
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงศึกษาธิการ เห็นว่าในการผลิตผลิตภัณฑ์นม
โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ควรมีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์นม ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(อย.) กระทรวงสาธารณสุข กำหนด เพื่อให้นักเรียนได้บริโภคอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
ที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนในการเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายและภูมิคุ้มกันโรค
และหากมีการปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมโครงการอาหารเสริม (นม)
โรงเรียนดังกล่าว
จะส่งผลกระทบต่อหน่วยจัดซื้อในด้านการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๗ ที่ผ่านกระบวนการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณส่วนที่เพิ่มเติม
ต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (1. นายสมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ ฯลฯ จำนวน 4 ราย) | มท. | 29/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
จำนวน ๔ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๗) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
ดังนี้ ๑. นายสมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ๒. นายณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์) ๓. นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ขอความเห็นชอบต่อการรับรองร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมด้านการเกษตรยั่งยืน (ASEAN Leaders' Declaration on Promoting Sustainable Agriculture) | กษ. | 08/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมด้านการเกษตรยั่งยืน
(ASEAN Leaders’ Declaration on Promoting
Sustainable Agriculture) และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนฯ
โดยร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางสำหรับความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียน
เพื่อสร้างระบบอาหารเกษตรที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม ยืดหยุ่นและยั่งยืน
ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการลงทุน และการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนในภาคการเกษตร
สนับสนุนการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในภาคการเกษตร
เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมมือกันในการพัฒนาและดำเนินโครงการและแผนงานที่สนับสนุนการเกษตรที่ยั่งยืนในภูมิภาค
เสริมสร้างห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้แก่เกษตรกรรายย่อยโดยส่งเสริมความเชื่อมโยงทางการตลาด
โครงสร้างพื้นฐาน และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มรายได้ผ่านการเพิ่มผลผลิตและความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำบ้านปากช่อง จังหวัดเพชรบูรณ์ | กษ. | 24/09/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๗ จากรายการโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นอ่างเก็บน้ำห้วยส้มป่อย
จังหวัดกาฬสินธุ์ วงเงิน ๒๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็นรายการโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำบ้านปากช่อง
จังหวัดเพรชบูรณ์ วเงิน ๑๙,๑๑๕,๕๐๐ บาท
และอนุมัติรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำบ้านปากช่อง
จังหวัดเพชรบูรณ์ วงเงิน ๑๙,๑๑๕,๕๐๐
บาท ผูกพันงบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๖๘ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีให้ถูกต้อง
ครบถ้วนทุกขั้นตอนเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนเป็นสำคัญ ตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา | นร.05 | 07/09/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา
ทั้งนี้ มอบหมายให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการปรับแก้ไขร่างคำแถลงนโยบายฯ
ให้ถูกต้อง ครบถ้วน
เป็นไปตามผลการประชุมคณะรัฐมนตรีก่อนดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒. มอบหมายให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรับไปประสานเพื่อแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบว่าคณะรัฐมนตรีมีความพร้อมที่จะแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาได้ตั้งแต่วันที่
๑๒ กันยายน ๖๕๖๗ เป็นต้นไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การมอบหมายการชี้แจงร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 | ปสส. | 07/09/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี
(นายพิชัย ชุณหวชิร) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นางมนพร เจริญศรี)
เป็นผู้แทนคณะรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ ต่อที่ประชุมวุฒิสภาในวันจันทร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๗ โดยให้สำนักงบประมาณสนับสนุนข้อมูลประกอบการชี้แจงดังกล่าว
และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวขอบคุณต่อวุฒิสภาเมื่อการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ เสร็จสิ้น ทั้งนี้ ตามมาตรา ๑๖๒ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีและกลั่นกรองเรื่องก่อนเสนอนายกรัฐมนตรี | นร.05 | 07/09/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
เป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรีที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ๒. มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายชูศักดิ์ ศิรินิล) เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองเรื่องดังต่อไปนี้ก่อนนำเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป ๒.๑
เรื่องการดำเนินคดีในศาลปกครองในกรณีที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีถูกฟ้องในคดีปกครองที่เกี่ยวข้องกับมติคณะรัฐมนตรี ๒.๒
เรื่องการดำเนินคดีในศาลรัฐธรรมนูญในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ๒.๓
เรื่องเกี่ยวกับกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างกฎกระทรวงการยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. .... | สธ. | 03/09/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการทางกฎหมายกรณีเมื่อมีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุสงสัยว่าพาหนะนั้นมาจากท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรที่มีโรคระบาดเจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่าน
ควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม
และกระทรวงมหาดไทยไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ เช่น กระทรวงคมนาคม เห็นว่ากรณีของพาหนะทางน้ำตามข้อ ๓
(๑) ของร่างกฎกระทรวงฯ ไม่ได้กำหนดให้ต้องยื่นแบบรายงานเรื่องสุขภาพของผู้เดินทางโดยพาหนะทางน้ำเช่นเดียวกับกรณีของพาหนะทางบกและพาหนะทางอากาศ
จึงเห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์การยื่นแบบรายงานเรื่องสุขภาพสำหรับพาหนะทางบก
พาหนะทางน้ำ และพาหนะทางอากาศให้เป็นอย่างเดียวกัน กระทรวงมหาดไทย
เห็นควรขยายระยะเวลาในการกำหนดวันบังคับใช้ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด
๓๐ วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ซักซ้อมแนวทางในขั้นตอนการดำเนินการ
และเห็นควรตัดข้อ ๖ ออก โดยนำถ้อยคำในข้อ ๖ มาเพิ่มเติมในข้อ ๕ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงคมนาคมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงการต่างประเทศ
เห็นว่าร่างกฎกระทรวงดังกล่าวต้องสอดรับกับพันธกรณีของไทยต่อกฎอนามัยระหว่างประเทศ
ค.ศ. ๒๐๐๕ ฉบับ แก้ไขล่าสุด
ที่จะมีผลใช้บังคับสำหรับรัฐสมาชิกขององค์การอนามัยโลกในอนาคตอันใกล้ กระทรวงคมนาคม เห็นว่ากรณีของพาหนะทางน้ำตามข้อ ๓
(๑) ของร่างกฎกระทรวงฯ ไม่ได้กำหนดให้ต้องยื่นแบบรายงานเรื่องสุขภาพของผู้เดินทางโดยพาหนะทางน้ำเช่นเดียวกับกรณีของพาหนะทางบกและพาหนะทางอากาศ
จึงเห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์การยื่นแบบรายงานเรื่องสุขภาพสำหรับพาหนะทางบก
พาหนะทางน้ำ และพาหนะทางอากาศให้เป็นอย่างเดียวกัน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิทัลระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการไปรษณีย์และโทรคมนาคมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา | ดศ. | 03/09/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิทัลระหว่าง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการไปรษณีย์และโทรคมนาคมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทย
- กัมพูชา ในด้านต่าง ๆ เช่น บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลสินค้าและบริการของรัฐบาลดิจิทัล
กำลังคนทางดิจิทัล ความปลอดภัยทางออนไลน์และการป้องกันการหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์รวมถึงความร่วมมืออื่น
ๆ เป็นต้น ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับข้อสังเกตของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ที่เห็นควรเพิ่มเติมรายละเอียดความร่วมมือด้านการสืบสวนดำเนินคดีเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ
ทั้งนี้ ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติสามารถสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าวได้ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน
จึงไม่มีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมแต่อย่างใด ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... | สธ. | 03/09/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ๒๕๖๒ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอขึ้นทะเบียน การขึ้นทะเบียน การเพิกถอนทะเบียน และการประเมินคุณภาพการให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมหรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงแรงงาน สำนักงาน ก.พ.ร.
กรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
เช่น กรุงเทพมหานคร เห็นควรให้หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้รับผิดชอบ
ต้องสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีความพร้อมมากยิ่งขึ้นในการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวด้วย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นควรรับฟังข้อคิดเห็นจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อประกอบการพิจารณา
และควรพิจารณาทบทวนการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามความจำเป็น ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. และกรุงเทพมหานคร ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ดังนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นว่าการกำหนดให้กฎกระทรวงใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามร่างกฎกระทรวงข้อ
๑ ควรพิจารณาให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้เร็วกว่าที่กำหนด
การกำหนดระยะเวลาแจ้งผลการพิจารณารับขึ้นทะเบียนให้แก่หน่วยบริการตามร่างกฎกระทรวงฯ
ข้อ ๙ วรรคหนึ่ง ควรกำหนดให้สอดคล้องตามมาตรา ๑๐
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นต้น กรุงเทพมหานคร เห็นควรให้หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้รับผิดชอบ
ต้องสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีความพร้อมมากยิ่งขึ้นในการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 9 | กต. | 13/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง
- ล้านช้าง ครั้งที่ ๙ จำนวน ๔ ฉบับ ได้แก่ ๑. ร่างแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง
-ล้านช้าง ครั้งที่ ๙ มีสาระสำคัญเป็นการทบทวนความคืบหน้าการดำเนินการของกรอบความร่วมมือ
MLC และแสดงเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือใน
๓ เสา และ ๕ สาขาความร่วมมือหลัก และความร่วมมือด้านอื่น ๆ ๒. ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยข้อริเริ่มอากาศสะอาดแม่โขง
- ล้านช้าง มีสาระสำคัญเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือ MLC ในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ
และส่งเสริมบทบาทของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานท้องถิ่นของประเทศสมาชิกกรอบ MLC ๓. ร่างข้อริเริ่มว่าด้วยการกระชับความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง
- แม่โขง มีสาระสำคัญเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือ
MLC ๔.
ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามพรมแดน
ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง มีสาระสำคัญเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามพรมแดน
สนับสนุนการดำเนินการภายใต้กลไกที่มีอยู่ของกรอบความร่วมมือ MLC และกลไกอื่น ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ทั้ง ๔ ฉบับ ตามที่ประเทศสมาชิกมีฉันทามติ
ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ ๙ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ดังนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้
และรวบรวมผลการปรับแก้ร่างเอกสารดังกล่าวและเอกสารผลลัพธ์ความตกลงระหว่างประเทศของกรอบความร่วมมืออื่น
ๆ พร้อมทั้งผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องรายงานต่อคณะรัฐมนตรีทราบในคราวเดียวกัน
โดยให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เห็นว่าไม่มีข้อขัดข้องต่อร่างแถลงการณ์ฯ
เนื่องจากเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานด้านความมั่นคง
และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมผ่านแม่น้ำข้ามพรมแดน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การดำเนินการเกี่ยวกับการเปิด การขยายเวลา และการปิดจุดผ่านแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน | นร.08 | 23/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการเปิด
การขยายเวลา และการปิดจุดผ่านแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้ ๑)
รับทราบการเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย - กัมพูชา (หนองเอี่ยน - สตึงบท)
อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยใช้สำนักงานชั่วคราวไปพลางก่อน ๒)
รับทราบการปรับเวลาเปิดทำการจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
จากเดิมเวลา ๐๖.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ของทุกวัน เป็น ๘.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. ของทุกวัน ๓)
รับทราบการขยายเวลาเปิด - ปิด จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
เป็นเวลา ๐๗.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. ๔) รับทราบการปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านปากห้วย ตำบลหนองผือ
อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ๕) การดำเนินการใด ๆ บริเวณพื้นที่ชายแดน
จะต้องระมัดระวังมิให้เกิดความเสียหายและผลกระทบต่อความมั่นคง
โดยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม
๒๕๔๒ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ อย่างเคร่งครัด และ ๖)
ให้กระทรวงมหาดไทยออกประกาศตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงแจ้งให้จังหวัดและส่วนราชการในพื้นที่รับทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก
รวมถึงการเตรียมอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ให้มีความเหมาะสม
เพื่อให้สามารถรองรับการปฏิบัติงาน ณ จุดผ่านแดนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงสาธารณสุข เห็นควรให้มีการจัดตั้งเป็นด่านอาหารและยาในพื้นที่ที่ไม่มีด่านอาหารและยาตั้งอยู่
และควรขอรับการจัดสรรบุคลากรเพิ่มเติมเพื่อประจำด่านฯ ดังกล่าว |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ร่างกฎกระทรวงระบบความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กษ. | 09/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงระบบความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ
(ฉบับที่ ... ) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงระบบความปลอดภัย
สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตสามารถใช้ผู้ควบคุมเรือที่ทำงานอยู่บนเรือประมงซึ่งผ่านการอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากสถาบันหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐแทนการใช้คนประจำเรือได้
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | รายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (เรื่อง ความเดือดร้อนจากการดำเนินโครงการเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร และเขื่อนธาตุน้อย) | กษ. | 09/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบสรุปผลการดำเนินการ
กรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ (เรื่อง
ความเดือดร้อนจากการดำเนินโครงการเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร - พนมไพร
และเขื่อนธาตุน้อย) โดยให้กรมชลประทานและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดการประชุมและพิจารณารับรองรายชื่อผู้ได้รับผลกระทบ
เพื่อเสนอของบประมาณภายในปี ๒๕๖๗ พิจารณาศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมภายหลังจากการสร้างเขื่อนในลำน้ำชีทั้งระบบ
และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในด้านบริหารจัดการน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปโดยรวดเร็ว
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และแจ้งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินทราบต่อไป ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยกรมชลประทานเร่งรัดดำเนินการจ่ายค่าทดแทนให้กับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการฯ
อย่างถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชน
และกรณีให้กรมชลประทานพิจารณาศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมภายหลังจากการสร้างเขื่อนในลำน้ำชีทั้งระบบ
ควรให้กรมชลประทานเร่งรัดดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานโดยเร่งด่วน
เพื่อดำเนินการคำนวณพื้นที่น้ำท่วมในแต่ละปีของที่ดิน และดำเนินการในส่วนของผู้ยื่นคำร้องใหม่อย่างต่อเนื่อง กระทรวงมหาดไทย เห็นควรเร่งรัดการศึกษาและแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างอาคารและองค์ประกอบเขื่อน
การแก้ปัญหาผลกระทบจากคันกั้นน้ำและโครงการสูบน้ำขนาดใหญ่
และกำหนดมาตรการฟื้นฟูระบบนิเวศ
โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ
เพื่อให้การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นไปอย่างรวดเร็ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่ และภาพรวม ปี 2566 | นร.11 สศช | 11/06/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่
และภาพรวม ปี ๒๕๖๖ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
สรุปได้ ดังนี้ ๑) ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสสี่ และภาพรวม ปี ๒๕๖๖ เช่น (๑) การจ้างงาน
มีจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น ๔o.๓
ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ ๑.๗
จากการขยายตัวของการจ้างงานทั้งในภาคเกษตรกรรม ร้อยละ ๑.๐ และนอกภาคเกษตรกรรม
ร้อยละ ๒.๐ (๒) หนี้สินครัวเรือน โดยไตรมาสสาม ปี ๒๕๖๖ มีมูลค่า ๑๖.๒ ล้านล้านบาท
ขยายตัวร้อยละ ๓.๓ ซึ่งชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (๓)
การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๗o โดยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่สูงสุด
(๔) การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒.๘ (๕)
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คดีอาญาโดยรวมลดลงร้อยละ ๑๐.๕
จากการลดลงของคดียาเสพติดที่ร้อยละ ๑๖.๗ (๖) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าและบริการลดลงร้อยละ ๑๕.๒ และร้อยละ ๑๔.๑
ตามลำดับ ๒) สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ เช่น
การไม่มีกฎระเบียบสำหรับกลุ่ม Influencer อย่างชัดเจน
การเจาะเหตุพฤติกรรมเพื่อป้องกันความรุนแรงจากการกระทำผิดของเด็ก
และการเพิ่มประสิทธิภาพข้าวไทย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร ๓) ปัจจัยที่กระทบต่อคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทย
ซึ่งทำให้ไทยมีคะแนนเฉลี่ย PISA ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
ของ OECD ได้แก่ (๑)
ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ (๒)
การกระจายทรัพยากรทางการศึกษามีความแตกต่างกันตามขนาดโรงเรียนและสังกัด (๓)
บทบาทของครอบครัวที่น้อยลง (๔) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กลดลง (๕)
ความรู้สึกไม่ปลอดภัยที่โรงเรียน และ (๖)
บรรยากาศในการเรียนที่ไม่เหมาะสมและไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ทั้งปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 | นร.11 สศช | 11/06/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี
๒๕๖๖ ทั้งปี ๒๕๖๖ และแนวโน้มปี ๒๕๖๗ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
สรุปได้ ดังนี้ ๑) เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี ๒๕๖๖ มูลค่า GDP ขยายตัวร้อยละ ๑.๗
เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ ๑.๔ ในไตรมาสที่สาม ๒) เศรษฐกิจไทยปี ๒๕๖๖ ขยายตัวร้อยละ ๑.๙
ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ ๒.๕ ในปี ๒๕๖๕ อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ ๑.๒ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ
๑.๓ ของ GDP และ ๓) แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี ๒๕๖๗
คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ ๒.๒ - ๓.๒
โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้า การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนและการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว
โดยคาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ ๓.๐ และร้อยละ ๓.๕
ตามลำดับ ส่วนการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหาภาคในปี ๒๕๖๗
รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ เช่น (๑)
การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่มีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้น (๒)
การเร่งรัดผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี ๒๕๖๔ -
๒๕๖๖ (๓) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และ (๔)
การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
|