ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 6 จากข้อมูลทั้งหมด 6 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2566 | สช. | 17/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างคำมั่นของประเทศไทยสำหรับการประชุมกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ครั้งที่ 34 | กต. | 22/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างกฎกระทรวงการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... | สธ. | 03/09/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดสิทธิในการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบให้มีสิทธิได้รับการตรวจสุขภาพโดยหน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียน
๓ กรณี ได้แก่ การตรวจสุขภาพแรกเข้าทำงานภายในสามสิบวันและตรวจสุขภาพเป็นระยะ
การตรวจสุขภาพก่อนกลับเข้าทำงานหลังจากเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
และการตรวจสุขภาพกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ทั้งนี้
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพของแรงงานนอกระบบ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงแรงงาน สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ เช่น กระทรวงแรงงาน เห็นควรกำหนดให้กฎกระทรวงฯ
มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และควรมีการระบุลักษณะการประกอบอาชีพอื่นที่ควรเฝ้าระวังด้วย เช่น
โรคที่เกิดจากรังสีแตกตัว โรคหูเสื่อมจากเสียงดัง และโรคติดเชื้อจากสัตว์ เป็นต้น สำนักงาน ก.พ.ร.
เห็นควรพิจารณาให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้เร็วกว่าที่กำหนด
และกระทรวงสาธารณสุขต้องมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้กับหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมได้ทราบถึงบทบาทของหน่วยบริการที่จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขภายหลังจากกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับโดยเร็ว
รวมถึงควรพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรองรับการเชื่อมโยงฐานข้อมูลการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงการต่างประเทศ เห็นว่ากระทรวงสาธารณสุขอาจพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมที่จะให้แรงงานต่างด้าวซึ่งมีจำนวนมากและเป็นสัดส่วนที่สูงของแรงงานทั้งหมดในประเทศไทย
สามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงมากขึ้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เห็นควรมีการสื่อสารสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชนผู้เป็นแรงงานนอกระบบ
เพื่อให้รับรู้ถึงสิทธิการตรวจสุขภาพ รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้อง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การแต่งตั้งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก (นายวิทิต มันตาภรณ์) | กต. | 09/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายวิทิต มันตาภรณ์
เป็นสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก สืบต่อไปอีกวาระหนึ่ง
โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง ๖ ปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | มาตรการในการส่งเสริมอาชีพและการควบคุมความปลอดภัยของสังคมโดยรวม | นร. | 23/01/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาการรวมกลุ่มของวัยรุ่นที่ไม่มีงานทำหรือมีรายได้ไม่เพียงพอ
รวมทั้งมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงและมีการใช้อาวุธทำร้ายผู้อื่น
ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของสังคมโดยรวม (Public Safety) แม้หน่วยงานด้านความมั่นคงจะได้กำหนดมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยในภาพรวมไว้แล้วก็ตามแต่ปัญหาดังกล่าวยังคงเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
จึงขอมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัด กวดขัน
และดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจอย่างเข้มงวด รวมทั้งพิจารณากำหนดมาตรการหรือกลไกในการส่งเสริมการมีงานทำและการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนวัยทำงานและมาตรการในการรักษาความปลอดภัยให้มีความรัดกุมและต่อเนื่อง
เพื่อลดปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมและให้ประชาชนมีความมั่นใจในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัยต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง “แนวทางการขับเคลื่อนศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (ศส.ปชต.)” ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา | สว. | 09/01/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง “แนวทางการขับเคลื่อนศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย
(ศส.ปชต.)” ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ ๒.
มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานหลักรับรายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว
และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|